วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

ตามรอยเกจิฯ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

 ตามรอยเกจิฯ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ทางทีมงานขอพาท่านผู้อ่านเดินทางตามรอยเส้นทางเกจิ อาจารย์แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสู่จังหวัด กำแพงเพชร,นครสวรรค์ ,พิจิตร,อุทัยธานี นมัสการเกจิอาจารย์ดังท่านต่างๆ อาทิเช่น หลวงพ่อเงิน แห่งวัดบางคลาน, หลวงพ่อพรหม แห่งวัดช่องแค, หลวงพ่ออั้น แห่งวัดโรงโค, หลวงปู่ทองดีแห่งวัดใหม่ปลายห้วยและเกจิอาจารย์ดังๆ อีกมาก เดินทางท่องเที่ยวทำบุญทำทานอิ่มบุญสบายใจในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองการเมือง วุ่นวายเช่นในปัจจุบันนี้ ทางทีมงานทุกคนขอขอบพระคุณนักท่องโลกเว็บไซด์ทุกท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม เว็บไซด์ของเรา และหวังว่าทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาชมเว็บไซด์ของเราแล้วจะช่วยเป็นสื่อ กลางบอกกล่าวเพื่อนนักเดินทางคนต่อๆไปให้แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยียนชม เว็บไซด์ของเราบ้างมีข้อแนะนำติชมอะไรอีเมล์เข้ามาพูดคุยกับพวกเราไดัยินดี น้อมรับคำติชมจากทุกท่านด้วยความเต็มใจครับ 
วันแรกของการเดินทาง
ทีมงานพร้อมกับคณะออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 11 มุ่งหน้าสู่ จ.นครสวรรค์ พวกเราใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงเศษ ๆ ก็เดินทางมาถึงวันจันเสนซึ่งตั้งอยู่ใน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และ ณ วัดจันเสนแห่งนี้ พวกเราได้พบกับคณะเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลางเขต 4 ซึ่งคอยดูแลรับผิดชอบในเรื่องการท่องเที่ยว 5 จังหวัดดังนี้ ตาก พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ซึ่งเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวได้ต้อนรับพวกเราพร้อมทั้งคณะสื่อมวลชนทุถก คนอย่างดียิ่ง จากนั้นเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวก็พาพวกเรามารู้จักกับมัคคุเทศก์น้อย ซึ่งเป็นไกค์พาพวกเราเดินเที่ยวชม พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดจันเสนให้พวกเราได้ ทราบอย่างละเอียดอีกด้วย หลังจากทำความรู้จักกับมัคคุเทศก์ตัวน้อยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นมัคคุเทศก์ตัวน้อยจากโรงเรียนวัดจันเสนก็พาพวกเราพร้อมทั้งคณะสื่อ มวลชนเดินเข้าเที่ยวชมภายในวัดจันเสน พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของวัดจันเสนให้พวกเราฟังว่า
วัด จันเสนสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2450 โดยมีหลวงพ่อเขียนเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก สถานที่ตั้งของวัดจันเสนนั้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เป็นเมืองโบราณ สมัยทราวดี ซึ่งมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 และจากการสำรวจของนักโบราณคดีได้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายเช่น ลูกปัด, เครื่องปั้นดินเผา, อาวุธโบราณ และโครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณจำนวนมาก ภายในวัดจันเสน มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ “หลวงพ่อทวด” ซึ่งเป็นพระพุทธปทินทราชปางนาคปรกศิกปะแผนลพบุรี โดยหลวงพ่อเขียน และชาวบ้านได้ทำการอัญเชิญมาจากลพบุรี นับตั้งแต่หลวงพ่อเขียนสร้างวัดจันเสนแล้ว ต่อมาวัดจันเสนก็ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ เพราะขาดการทำนุบำรุงจนแทบจะกลายเป็นวัดร้างต่อมาจนถึงสมัยพระครูนิสัยวริ ยคุณหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโอค” อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่สิบเป็นแกนหลักใน ทางประสานกับชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันทำนุบำรุงพัฒนาวัดจันเสนขึ้นมาจนเป็น ศูนย์รวมจิตใจสร้างพลังศรัทธาความรู้รักสามัคคีให้เกิดแก่ชุมชนจันเสน
หลวง พ่อโอคได้ทำการพัฒนาและก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาใหม่ โดยท่านมีความคิดที่จะสร้างพระมหาธาตุเจดีขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลาง ชุมชน ต่อมาเมื่อหลวงพ่อโอคถึงแก่มรณภาพพระครูนิวิฐธรรมขันธ์ หรือหลวงพ่อเจริญ เจ้าอาวาสวัดจันเสนรูปปัจจุบัน จึงได้เป็นกำลังสำคัญในการสานต่องานสร้างพระมหาเจดีย์ศรีจันเสนจนเสร็จ สมบูรณ์ และได้สืบทอดเจตนาด้านการพัฒนาวัดโดยมีนักวิชาการเสียสละเวลาแรงกายตลอดจน ทุนทรัพย์เข้าร่วมโครงการพัฒนาวัดกับหลวงพ่อโอค ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ลงมือปฏิบัติล้วนมีความหมายและเชื่อมโยงไปสู่ประวัติ ศาสตร์ความเป็นรากฐานดั้งเดิม จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมที่เหมาะสมลงตัว สำหรับการพัฒนาวัดใช้หลักการของภูมิทัศนวัฒนธรรมกล่าวคือ ทำการวัดแบ่งพื้นที่ภายในวัดให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม โดยการแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่เป็นสังฆาวาส พุทธาวาส และ ธรรมาวาส สำหรับการพัฒนาวัดจันเสนก็ทำกันแบบค่อยเป็นค่อยไปตามหลักธรรมชาต ซึ่งเป็นแหล่งก่อเกิดธรรมะขึ้นทั้งต่อจิตใจ, ผู้คน, คุณค่าทางสถานที่ สำหรับในด้านการพัฒนาชุมชน หลวงพ่อเจริญ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ทำการส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนภายในชุมชนการยกย่องเชิดชู เกียรติ จากสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และยังได้รับเสวเสนาธรรม ในฐานะที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนาจากกระทรวง วัฒนธรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นศาสนาสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาแล้ว วัดจันเสนยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มทอผ้า กลุ่มขนมของฝาก พิพิธภัณฑ์จันเสน หอสมุดประชาชน สยามบรมราชกุมารี และยังใช้เป็นสถานที่วัดทางประชุมอบรม สัมนาของหน่วยงานราชการตลอดจนองค์กรต่าง ๆ อีกด้วย สำหรับพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน และพิพิธภัณฑ์นธ์ท้องถิ่นของชาวจันเสนคือสิ่งเกิดจากดำริของอดีตเจ้าอาวาส วัดจันเสน คือหลวงพ่อโอค โดยท่านมีดำริที่จะสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางชุมชน โดยภายในวัดจัดให้มีพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวของจันเสนในอดีตไปพร้อม ๆ กัน สำหรับสถาปนิกที่ออกแบบพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน คืออาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกรและผู้ช่วยศาสตราจารย์บัญชา ชุ่มเกสร เป็นวิศวกร โดยมีรองศาสตราจารย์ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม จากคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปกรเป็นหัวหน้าคณะนักวิชาการ ดำเนินงานสร้างพิพิธภัณฑ์ พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน ได้มีการออกแบบโดยใช้สัญลักษณะของสถูปในสมัยทราวดีเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูป แบบ รายละเอียดของลวดลายสถาปัตยกรรมเป็นแบบสมัยทราวดี ซึ่งมีคำจารึกที่บริเวณฐานของพระมหาธาตุเจดีย์ ศรีจันเสน ในครั้งแรกแบบที่สำมาเสนอนั้นมีเพียงช่วงบนที่เป็นมณฑป ทำขึ้นแต่หลวงพ่อโอคท่านบอกว่าต้องการใช้งานข้างล่างด้วย จึงมีการร่างแบบต่อฐานเพิ่มเติมขึ้นอีก โดยหลวงพ่อโอคได้ตระหนักในเรื่องความสำคัญของเมืองจันเสน โดยมีความมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูเมืองพระพุทธศาสนา จึงมีดำริที่จะสร้างมณฑปเจดีย์ขึ้นในวัดจันเสน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ให้ส่วนยอดของมณฑปเจดีย์เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาต องค์เรือนธาตุประดิษฐาน “หลวงพ่อนาค” พระพุทธรูปปางนาคปรกที่นำมาจากลพบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของชุมชน อาคารส่วนฐานของพระมหาเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของท่านและใช้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองจันเสนโดยแสดง โบราณวัตถุที่ค้นพบทั้งในเขตเมืองโบราณและบริเวณใกล้เคียงอย่างมีระบบ ตลอดจนแสดงถึงพัฒนาการของชุมชนจนเสนตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน หลังจากหลวงพ่อโอดมรณภาพ พระครูนิวิธรรมขันธ์หรือหลวงพ่อเจริญเจ้าอาวาสวัดจันเสนรูปปัจจุบัน จึงได้เป็นกำลังสำคัญในการสานต่องานพิพิธภัณฑ์จนเสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจ ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้า และเข้าชมโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยทราวดีตลอดจนภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจปลุกจิตสำนึกบุคคลในท้องถิ่น และผู้เข้าชมให้ช่วยกันรักษาหวงแหนสิ่งดีงามที่บรรพบุรุษได้สร้างเอาไว้ด้วย
สำหรับ การสร้างพระมหาเจดีย์และพิพิธภัณฑ์จันเสนต้องใช้ความอดทนและใช้เวลาหลาย ปี แต่ด้วยความศรัทธาต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่อโอคจึงทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้ ด้วยดี โดยได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการและชาวบ้านในด้านต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์จันเสนสำเร็จลุล่วงด้วยความร่วมมือจากชาวบ้านจันเสน และคณะศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสในหลวงพ่อโอค โดยใช้เงินทุนสนับสนุนการดำเนินงาน โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากรัฐบาล และเป็นการให้การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อความเข้าใจในท้องถิ่นและชุมชนของ ตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งพระมหาธาตุเจดีย์จันเสนตลอดจนพิพิธภัณฑ์จันเสน จึงถือได้ว่าเกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของชาวบ้านโดยแท้จริง ส่วนในการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสนนี้ ส่วนในการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่นจนสำเร็จไปได้ด้วยดี เสริมด้วยมหามงคลวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเจดีย์ศรี จันเสน และทรงทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์จันเสนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อันนำมาซึ่งความปลาบปลื้มและปิติยินดีแก่ชุมชนจันเสนเป็นล้นพ้น
สำหรับ จุดเด่นของพิพิธภัณฑ์จันเสนคือจะมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในเรื่องของ กิจกรรม นอกเหนือไปจากการจัดแสดงถาวร และเป็นตัวอย่างการริเริ่มสร้างสรรค์ที่สำคัญนั่นคือการให้เยาวชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ภายใต้โครงการ “อาสาสมัครยุวมัคคุเทศก์ ซึ่งในโครงการนี้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดยโรงเรียนวัดจันเสนตลอดจนคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์จันเสนได้นำเด็ก ๆ ทั้งที่เรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ในชุมชนมาอบรมเกี่ยวกับเรื่องราวที่นำเสนอในพิพิธภัณฑ์รวมทั้งประวัติ ศาสตร์และโบราณคดีในท้องถิ่น จนในที่สุดเด็กๆ สามารถที่จะบรรยายและนำเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์จันเสน ได้ด้วยตนเอง โดยที่เด็ก ๆ เหล่านี้จะมีการผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่ยุวมัคคุเทศก์ด้วยความสมัครใจใน ระหว่างวันเสาร์ - อาทิตย์
สำหรับการเดินทางมายังวัดจันเสนสามารถ เดินทางมาได้ทั้งทางรถยนต์และทางรถไฟ โดยการเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายเข้าจันทบุรี (ทางหลวงหลายเลข 11) จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3196 เลี้ยวซ้ายตรงป้ายวัดจันเสน เข้าไปอีกประมาณหนึ่งกิโลเมตร และทางมาจาก จ.นครสวรรค์ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 มุ่งหน้าสู่ จ.ชัยนาท ระยะทางประมาณ 52 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าสู่ อ.ตาคลี ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3190 ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร เลี้ยวขวาก่อนข้ามทางรถไฟเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร ตรงเข้าสู่วัดจันเสน
สำหรับ พระพุทธรูปหินทรายที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดจันเสน คือ หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก มี 3 องค์ด้วยกัน เป็นพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่ 2 องค์ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 20 นิ้ว ขนาดเล็กหนึ่งองค์ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 13 นิ้ว องค์ขวามีนามว่า “หลวงพ่อนาคปัดถวี” องค์ช้ายมีนามว่า “หลวงพ่อนาค” ส่วนหลวงพ่อนาคน้อย ประดิษฐานอยู่บนตึกนิสิสสามัคคี (ตึกที่หลวงพ่อโอคเคยจำพรรษาอยู่ คณะกรรมการวัดได้ทำการอัญเชิญหลวงพ่อนาคน้อยลงมาประดิษฐาน ณ ศาลาประชาสามัคคี เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้นมัสการปีละ 2 ครั้งด้วยกัน คือเทศกาลสงกรานต์ และประเพณีลอยกระทง ปิดทองหลวงพ่อนาคเท่านั้น หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก มีความศักดิ์สิทธิ์เมื่อชาวบ้านมีความประสงค์สิ่งใดก็มาบนบานศาลกล่าว และเมื่อประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาแล้วก็จะแก้บนด้วยขนมประกริมไข่ เต่า และดอกไม้ธูปเทียนทอง
จาก วัด จันเสนเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวฯ ได้พาพวกเราเดินทางต่อไปยังวัดช่องแค ซึ่งตั้งอยู่ใน ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ วัดช่องแคแห่งนี้หลายท่านอาจจะรู้จักและคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ถ้าจะกล่าวถึงนาม หลวงพ่อ พรหม ถาวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องแค เกจิอาจารย์ดังแห่งลำน้ำเจ้าพระยา และเมื่อถึงวัดช่องแคทางเจ้าหน้าที่ ท.ท.ท. ก็พาพวกเราขึ้นไปยังศาลาการเปรียญของวัดช่องแค พร้อมกราบสักการะร่างของหลวงพ่อพรหม ถาวโร ซึ่งบรรจุอยู่ในโลงแก้ว ซึ่งท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2518 หรือเมื่อประมาณ สามสิบกว่าปีล่วงมาแล้ว รวมสิริอายุได้ประมาณ 91 ปี ซึ่งในขณะที่พวกเราขึ้นไปกราบสักการะร่างของหลวงพ่อพรหม มีชาวบ้านทยอยเดินทางมาเคารพศพของหลวงพ่อพรหมกันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านที่มากราบขอพรจากหลวงพ่อพรหมเล่าให้พวกเราฟังว่า หลังจากหลวงพ่อพรหมมรณภาพแล้ว ทางคณะกรรมการจัดให้ทำการทำการบรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้วซึ่งตั้งอยู่บน ศาลาการเปรียญแต่ศพของท่านไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และแมลงไม่มารบกวน ทำลายชิ้นใด ๆ ในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย จึงดูคล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้วถึง 30 กว่าปี ศพของหลวงพ่อพรหมมีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นเหนือกว่าคนธรรมดาทั่วไปคือมีเส้น ผม ขนคิ้ว ขนตา เล็บมือและเล็บเท้างอกออกมาเหมือนท่านยังมีชีวิตอยู่ สำหรับอัตชีวประวัติของหลวงพ่อพรหม ถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2426 ณ หมู่บ้านโก่งธนูตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อนายหมี มารดาชื่อนางลอมหรือล้อม นามสกุล โกสะลัง อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ 1.นางลอย 2.นายปลิว 3.หลวงพ่อพรหม 4.นางฉาบ
หลวง พ่อพรหมในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดวัดปากคลองยาง ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยาและได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่มปฎิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน ซึ่งก่อนบวชนั้นหลวงพ่อพรหมได้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่ เป็นฆราวาส ชื่ออาจารย์พ่วงมาก่อน ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษาอสุภกรรมฐาน สมถกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆเป็นเวลา 5 ปีเต็ม จนกระทั่งอาจารย์ปู่วอนถึงแก่กรรม จากนั้นหลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษากับอาจารย์ท่านใดโดยตรงมีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์ รุ่นพี่และรุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น
หลวง พ่อพรหมจะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อพรหมเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสมนัสการพระมหาเจดีย์ชะเวดากอง ก่อนจะเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ และธุดงอยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ซึ่งขณะนั้นได้เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อพรหมจึงได้หลบฝนเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อเห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้นซึ่งมีความนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อได้นิมนต์ให้หลวงพ่อ ลงมาจำพรรษาข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหมจึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฎิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อเอง หลวงพ่อพรหมไม่เคยย้ายไปอยู่วัดใดเลยตลอดระยะเวลา 58 ปี โดยที่หลวงพ่อได้ลาออกจากเจ้าอาวาสเมื่อปี 2514 รวมเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อพรหม มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ.โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา
หลังจากหลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และ แมลง ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดๆในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาแล้วถึง 30กว่าปี
สิ่ง มหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือ หลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพแล้วศพของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อย แถม ยังเกิดเหตุอัศจรรย์ โดย เส้นผม เส้นขนคิ้ว เส้นขนตา หนวด เครา เล็บมือ เล็บเท้า ของสังขารหลวงพ่อได้งอกยาวขึ้นต่างจากศพธรรมดาทั่วไป
หลังจากการกราบศพของหลวงพ่อพรหมถาวโรเรียบร้อยแล้วพวกเราจึงออกเดินทางไปรับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านเจ๊อึ่ง ใน อ.ตาคลี
ซึ่ง เมนูอาหารกลางวันในมือนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารจีนรสชาติจืด ๆ สำหรับเมนูที่มีชื่อเสียงของร้านเจ๊อึ่งก็คือ ขาหมูต้มพะโล้ และแกงส้มชะอมทอด เรื่องรสชาติของความอร่อยไม่เป็นรอง ๆ ใคร

หลัง จากอิ่มอร่อยกับอาหารกลางวันมื้อแรกใน จ.นครสวรรค์ เป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ของ ท.ท.ท. ก็พาพวกเราออกเดินทางต่อไปยังวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ อันเป็นที่ตั้งของเจดีย์ศรีพุทธคยา และพระพุทธเอกนพรัตน์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาความสูงประมาณ 200 เมตร บน กม.ที่ 67 (สาย 11) ต.ทำนบ อ.ท่าตโก จ.นครสวรรค์ พอเดินทางมาถึงเชิงเขาซึ่งมีลักษณะเป็นลานจอดรถกว้างขวางพวกเราจำเป็นต้อง เปลี่ยนจากรถบัสใหญ่มาใช้รถตู้และรถปิคอัพแทนเพราะเส้นทางถนนลาดยางขึ้นไป ยังวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์นาลักษณะลาดชั้นมากรถบัสใหญ่ไม่สามารถขึ้นไป ได้ รถปิคอัพใช้เวลาเดินทางขึ้นเขาอันลาดชันและคดเคี้ยวจนประมาณ 10 นาที ก็พากพวกเราขึ้นมาถึงเจดีย์พุทธคยา จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของยุวมัคคเทศก์ตัวน้อยของโรงเรียนบ้านนาทำนบ พาพวกเราเดินเที่ยวชมเจดีย์ศรีพุทธคยา และบริเวณโดยรอบของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ซึ่งสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ ท้องไร่ท้องนาใน อ.ท่าตะโกได้แบบสุดสายตาพานอราม่า สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ผมจะเล่าให้ฟังดังต่อไป นี้
วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
วัด ป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เป็นพุทธสถานที่คณะศิษย์สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม กทม. นำโดย พระเทพโมลี (สุนทร สุนฺทราโภ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม เจ้าคณะเขตดุสิต (ธรรมยุติ) สร้างถวายสมเด็จฯ ในโอกาสที่ได้เจริญชนมายุศม์ครบ ๘๐ ปี เมื่อ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙
วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ใช้สถานที่จำนวน ๙๖ ไร่ ๒ งาน ๕๘ ตารางวา เพื่อสร้างวัดขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชมหาราช ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา และได้รับพระราชทานวิสุงคามเสมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘
ชื่อ “วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์” นี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการามได้ประทานชื่อวัดว่า “วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์” เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (ม.จ.ภุชงค์ ชมพูนุช) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ส่วน “สิริวัฒนวิสุทธิ์ (วิ.)” เป็นพระราชทินนามที่พระราชทานชื่อสมณศักดิ์แด่พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่าย วิปัสสนา ธุระ (พัดขาว) พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ (สุนทร สุนฺทราโภ เปรียญ ๓ ประโยค) ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อนี้เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๕ ซึ่งปัจจุบันเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี
วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ สร้างเป็นรูปเรือหลวง มีความหมายถึงพาหนะที่จะช่วยขนสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงแห่งสังสารวัฎ (ทะเลวน) ให้พ้นจากวัฎสงสาร ห้วงน้ำคือกิเลส เรือที่ตั้งอยู่บนเกาะหรือภูเขา หมายถึง เป็นสถานที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หรือท่วมทับแก่บุคคลที่มีปัญญาไม่ได้ ผู้มีปัญญา มีความขยัน ไม่ประมาทตามกิเลส มีความสำรวมระวังดี ก็จะอยู่บนเรือลำนี้ได้โดยปลอดภัย
เรือหลวงอันเป็นที่ตั้งของวัดป่า สิริวัฒนวิสุทธิ์ มีชื่อเรือว่า “ราชญาณนาวาทีฆายุมงคล” เพราะสร้างขึ้นในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เรือหลวงนี้มีความกว้าง ๓๐ เมตร ยาวประมาณ ๖ ไร่เศษ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงสถาบันแห่งชาติทั้งสิ้น
ภายในศาสนสถานแห่งนี้ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างอันเป็นมงคลมากมาย อาทิ
ห้อง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังสี) ห้องนี้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ประกอบด้วยพระสมเด็จโตเนื้อผงมากมายหลายขนาด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาและพิจรณาถึงปฏิปทาของพระอริยสงฆ์เจ้าพระองค์ นี้
ห้องพระไตรปิฎก เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และมีรูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แสดงธรรม รูปหล่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) หลวงพ่อทวด และหลวงปู่โง่น โสรโย
ชั้นที่ ๓ ชั้นบนสุดของเจดีย์องค์นี้ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และวัตถุมงคลต่างๆ
ขณะ นี้ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ กำลังดำเนินการสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ จำลองแบบเจดีย์พุทธคยา อินเดีย โดยย่อส่วนลงให้เหมาะสมกับพื้นที่ มีความสูง ๒๘ เมตร เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ๒๘ ภายในองค์เจดีย์จะมี ๓ ชั้น ชั้นที่หนึ่ง ประดิษฐานพระพุทธเมตตาสันติภาพ เนื้อสำริด ชั้นที่สอง เป็นที่ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรยศรีศากยสิงห์ ชั้นที่สาม ได้จำลองพระคันธกุฎีที่ประทับของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อินเดียมาไว้ ในรูปลักษณ์เดิม บริเวณยอดเจดีย์ชั้นสูงสุด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และมีห้องปฏิบัติธรรมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้อศิลา ชื่อ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพ่อดำ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงมีพระกรุณาคุณบริจาคทุนทรัพย์ร่วมทำบุญพื้นที่สร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ซึ่งนำความความปลื้มปิติโสมนัสยินดีแก่คณะกรรมการโครงการฯ เป็นที่ยิ่ง และนับเป็นพระกรุณาคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อทรงรับเป็นองค์ประธานงานสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ และ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ทรงรับวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ เป็นวัดในพระองค์

พวก เราเดินเชี่ยวชมตั้งแต่ชั้นบนสุดของเจดีย์ ศรีพุทธคยาลงบันไดเรื่อยลงมาจนถึงชั้นล่างสุดอ้นเป็นที่ตั้งของศาลกรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชบิดาแห่งกองทัพเรือไทยซึ่งมีลักษณะเป็นเรือรบขนาดใหญ่บริเวณส่วนตัว ด้านหน้าของหัวเรือซึ่งมีลักษณะเป็นเรือรบขนาดใหญ่ บริเวณส่วนด้านหน้าของหัวเรือเป็นศาลกรมหลวงชุมพรฯ ส่วนบริเวณตัวเรือเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธกญจนาภิเษกเอกนพรัตน์พร้อมบท สวด พวกเรากราบนมัสการพระบรมรูปของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เป็นที่เรียบร้อย แล้ว จากนั้นจึงนั่งรถปิคอัพกลับลงมายังลานจอดรถ บริเวณเชิงเขาเพื่อออกเดินทางต่อไปยังวัดหนองกลับใน อ. หนองบัว จ.นครนสวรรค์ พวกเราใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาทีก็เดินทางมาถึงวัดหนองกลับ (วัดหนองบัว) พอพวกเราเดินทางมาถึงภายในบริเวณวัดหนองกลับ เสียงกลองยาว, ฉิ่งฉาบของชาวบ้านหนองกลับที่มาคอยต้อนรับพวกเราก็ดังขึ้น พร้อมด้วยรำวงพื้นบ้านจากฝีมือของบรรดาหนุ่มน้อยสาวน้อย(ลง) มารำวงต้อนรับพวกเราอย่างครื่นเครง หลังจากทักทายกับชาวบ้านหนองกลับที่มาคอยต้อยรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นพวกเราจึงเข้าไปกราบนมัสการรูปหล่อเหมือนขนาดเท่าองค์จริง ของหลวงพ่อเดิม สำหรับประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเดิมพุทธสโร หรือพระครูนิวาสธรรมขันธ์ นามเดิมชื่อ เดิม นามสกุล ภู่มณี เกิดเมื่อวันพุธ พ.ศ. 2403 แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก จุลศักราช 1222 ณ บ้านหนองโพอ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี หลวงพ่อเดิม มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2494 ระหว่างปี พ.ศ. 2466 – 2493 หลวงพ่อเดิมได้ทำการบูรณะ พัฒนาวัดหนองกลับมากมาย อาทิ เช่น พ.ศ. 2466 สร้างศาลการเปรียญ กว้าง 24 เมตร ยาว 28 เมตร โดยใช้เสาไม้ เต็งรัง ชนิดกลมขนาดใหญ่ ยาว 12 เมตร จำนวน 64 ต้น
จาก นั้นพวกเราจึงเดินทางเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อไกร ฐวนิสสโรหรือ พระนิภากรโสภณ เจ้าอาวาสวัดหนองกลับ พร้อมกับสนทนาธรรมกับท่าน สำหรับประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อไกร ฐานิสสโร เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2486 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม ณ บ้านโคกขี้เหล็ก ต.หนองกลับ อ.หนองกลับ จ. นครสวรรค์ จนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนบ้านกลับ (พิทยาคม) อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2506 โดยมีท่านพระครูนักรบกุมรักษ์ เจ้าคณะอำเภอหนองบัวในขณะนั้นเป็นอุปัชฌาย์ จากนั้นหลวงพ่อไกร เจ้าอาวาสวัดหนองกลับได้เล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้ ให้พวกเราฟังว่า วัดหนองบัวหรือชาวบ้านเรียกว่าวัดหนองกลับ เพราะตั้งอยู่ใน ต. หนองกลับ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2363 ในสมัยรัชกาลที่ 2 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ประมาณ 63 ไร่ สำหรับรูปหล่อหลวงพ่อเดิมขนาดเท่าองค์จริง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 ในวาระอายุครบ 30 ปี หลวงพ่อเดิมเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีความศักดิ์สิทธิ์จนชาวบ้านยกย่องว่า เป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” ส่วนวิหารหลวงพ่อเดิมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 โดยมีหลวงพ่อไกรเป็นประธานในการก่อสร้าง

หลัง จากสนทนาธรรมกันครู่ใหญ่ จากนั้นหลวงพ่อไกร จึงชักชวนชาวบ้านไปเยี่ยวชมพิพิธภัณฑ์ วัดหนองบัว - หนองกลับ เป็นอาคารก่อด้วยปูนสองชั้นตั้งอยู่ด้านหลังของพระอุโบสถวัดหนองกลับ ซึ่งหลวงพ่อไกรได้เล่าเรื่องราวาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้ พวกเราฟังว่า ท่านได้เริ่มเก็บสะสมวัตถุโบราณมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ โดยการขอจากชาวบ้านบ้าง รับบริจาคบ้าง และซื้อมาบ้าง จนมีสิ่งของโบราณมากพอสมควร จึงคิดสร้างอาคารลักษณะชั้นเดียวขึ้น และได้จัดการตกแต่งเปิดให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลทรงพระกรุณาโปรดเกล้า เสด็จมาเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ขึ้นดังกล่าว และต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อม เสด็จมานมัสการรูปหล่อของหลวงพ่อเดิมและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ทรงให้ความสำคัญกับพิพิธภัณฑ์ ทางวัดจึงทำการสร้างอาคารขึ้นใหม่เป็นอาคารปูนสองชั้นดังที่ใช้ในปัจจุบัน นี้ สำหรับสิ่งของและวัตถุโบราณที่หลวงพ่อไกรได้สะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์พื้น บ้าน วัดหนองกลับแห่งนี้ได้ทำการวัดเป็นหมวดหมู่ถึง 18 หมู่ ด้วยกันอาทิเช่น เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร สมัยรัชการที่ 1 – 9, แสตมป์รัชการที่ 1 – 9 พร้อมแสตมป์ต่างประเทศ, โฉนดที่ดินสมัยรัชกาลที่ 5, เงินพดด้วง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเดิมและวัตถุโบราณสมัยต่าง ๆ ฯลฯ
ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหนองกลับ (วัดหนองบัว)
พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดหนองกลับ ตั้งอยู่ที่ 36 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ภาค 4 ผู้ก่อตั้งคือ พระครูวาปีปทุมรักษ์ เจ้าคณะอำเภอหนองบัว เจ้าอาวาสวัดหนองบัว 76 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มเก็บสะสมวัตถุโบราณมา เมื่อปี พ.ศ. 2517 เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ โดยการขอชาวบ้านบ้าง ซื้อบ้าง รับบริจาค จากผู้มีจิตศรัทธาบ้างและได้เก็บรักษาไว้ในกุฏิสงฆ์และในห้องเก็บของต่าง ๆ จนมีสิ่งของมากพอสมควรแล้ว อาตมาจึงได้ปรึกษาหารือกับ หัวหน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำอำเภอหนองบัว ที่ได้ตั้งอยู่ในวัด คือ นายกาศ กล่ำน้อย จึงมีความคิดเห็นที่ตรงกันตกลงสร้างอาคารชั้นเดียว ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 42 เมตร และได้จัดตกแต่งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น เปิดอาคารชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 โดยพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองคืเจ้าภาณุพันฑ์ยุคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า สมเด็จมาเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านดังกล่าว มีพ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ในเขตอำเภอ เขตจังหวัด และต่างอำเภอ ต่างจังหวัดให้ความสนใจ มาศึกษาหาความรู้ เป็นจำนวนมาก อาตมาเล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงระดมกำลังช่วยกันจัดให้มีความพร้อม มีความสวยงาม เป็นที่น่าต้องตา ต้องใจ แก่ผู้มาเยี่ยวชม จนเป็นที่รู้จักกันทั่ว ต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จมานมัสการรูปหล่อเหมือนหลวงพ่อเดิม ขนาดเท่าองค์จริง และทรงเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ในขณะนั้นก็มีผู้ที่เห็นความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ มีจิตศรัทธานำสิ่งของมาบริจาคบ้าง ขายบ้าง ทางวัดก็เก็บสะสมสิ่งของเหล่านั้นไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ดังนี้
1.หมวดเหรียญกระษาปณ์และธนบัตร สมัยรัชกาลที่ 1 – 9
2. หมวดแสตมป์ สมัยรัชกาลที่ 1 – 9 แสตมป์ต่างประเทศ
3. หมวดโฉนดที่ดิน สมัยโบราณ ร.5
4. หมวดเงินพดด้วง ฯลฯ สมัยรัตนโกสินทร์, อยุธยา,สุโขทัย, พูนัน สุวรรณภูมิ
5. หมวดวัตถุมงคล วัตถุมงคลหลวงพ่อเดิม พระพุทธรูป สมัยกรุงศรียุธยา – สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ – สมัยอู่ทอง ฯลฯ – พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศไทย มีรูปหล่อเหมือน เหรียญ พระเนื้อผง - พระเนื้อดิน พระเนื้อโลหะ พระเนื้องาแกะ ภาพถ่าย ฯลฯ
6. หมวดเครื่องมือประกอบอาชีพชาวนา เกวียน, ไถ, คุบ, คาด, เครื่องฝัด ข้าวเปลือก, เครื่องสีข้าวใช้มือหมุน, เครื่องหีบอ้อย ฯลฯ
7. หมวดเครื่องจับสัตว์น้ำ ฯลฯ
8. หมวดเครื่องมือจับสัตว์บก ฯลฯ
9. หมวดตะเกียงโบราณ ฯลฯ
10. หมวดเตารีดสมัยเก่า (เครื่องมือรีดผ่านุ่งห่มให้เรียบ)
11. หมวดเครื่องมือช่างไม้ สมัยโบราณ ฯลฯ
12. หมวดอาวุธโบราณ เช่น ปืนคาศิลา, หอก, หลาว เป็นต้น ฯลฯ
13. หมวดนาฬิกาโบราณ ฯลฯ
14. หมวดเครื่องขายคราม ฯลฯ สมัยอยุธยา, รัตนโกสินทร์, เมืองจีน
15. หมวดเครื่องปั้นดินเผา สมัยต่าง ๆ ฯลฯ สุโขทัย, บ้านกรวดบุรีรัมย์, ศิลปะบ้านเชียง
16. หมวดชุดงาช้างแกะสลักรูปต่าง ๆ
17. หมวดชุดสมัย ร.5 เครื่องเบญจรงค์ – พระบรมรูปทุกกิริยาบท
18. หมวดพัดยศ, เปรียญธรรม

เมื่อ ทางวัดเก็บสะสมวัตถุโบราณไว้ได้มาก ทำให้อาคารพิพิธภัณฑ์หลังเก่าคับแคบ ทางวัดจึงสร้างอาคารขึ้นใหม อาคารพิพิธภัณฑ์ปัจจุบัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนม 60 พรรณนา ขนาด กว้าง 9 เมตร ยาว 45 เมตร ในขณะนี้ทางวัดได้จัดตกแต่งวัตถุโบราณ และสิ่งของเป็นที่น่าชมแล้ว
ประวัติผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โดยย่อ พระครูวาปีปทุมรักษ์ (นามเดิม ไกร ฐานิสฺสโร) เจ้าคณะอำเภอหนองบัว และเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เกิดวันพุธที่ 5 มกราคม 2486 บ้านโคกขี้เหล็ก บ้านเลขที่ 150 หมู่ 12(6) ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ บวชเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 256 วัดหนองกลับ พระครูนิกรปทุมรักษ อดีตเจ้าคระอำเภอหนองบัว - เจ้าอาวาสวัดหนองกลับ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระครูวาปีปทุมรักษ์ ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ที่ พระนิภากรโสภณ
พวก เราเดินเที่ยวชมภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวหนองกลับด้วยความสนใจจน สมควรแก่เวลาจากนั้นจึงกราบหลวงพ่อไกรเจ้าอาวาสวัดหนองกลับเดินทางเข้าสู่ บวรฟาร์ม ฟาร์มนกกระจอกเทศใน จ.พิจิตร ฝนที่ตั้งเค้ามาตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ก็โปรยปรายลงมา ทางเจ้าหน้าที่ของบวรฟาร์มจึงชักชวนให้พวกเราเข้ามาหลบฝนในห้องอาคารของบวร ฟาร์มพร้อมกับเชื้อเชิญให้พวกเรารับประทานอาหารค่ำรอเวลาฝนหายเพื่อเช็คอิน เข้าสู่ห้องพัก สำหรับเมนูอาหารค่ำของพวกเราในค่ำคืนนี้เป็นเมนูเด็ดของบวรฟาร์มคือ เนื้อนกกระจอกเทศทอดกระเทียมพริกไทย เนื้อนุ่มรสชาติอร่อยพร้อมด้วยทอดมันปลากราย ฯลฯ พวกเรารับประทานอาหาร ค่ำมื้อนี้ด้วยความเอร็ดอร่อยจนอิ่มหนำสำราญกันก่อนหน้า จากนั้นจึงแยกย้ายกันเข้าสู่ห้องพักเพื่อพักผ่อนเก็บเกี่ยวแรงเอาไว้ในวัน รุ่งขึ้น
วันที่ 2 ตามรอยเกจิฯ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
วันที่สองของการเดินทาง
เช้า นี้เราเดินทางจากที่พักสู่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง เพื่อไปยังวัดหิรัญญาราม หรือที่ชาวบ้านมักจะเรียกชื่อวัดกันจนติดปากว่า วัดบางคลาน ประวัติความเป็นมา ของวัดหิรัญญาราม หรือ วัดบางคลาน เดิมมีชื่อว่า “วัดวังตะโก” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของ “หลวงพ่อเงิน” อยู่ชั้นบนของพิพิธภัณฑ์นครไชยบวร ส่วนชั้นล่างจัดเป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุ และโบราณวัตถุที่พบในเมืองนครไชยบวร ทุกยุค ทุกสมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดบางคลานแห่งนี้มีพระเกจิชื่อดังที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันในนาม หลวงพ่อเงิน เป็นเกจิอาจารย์ที่ประชาชนชาวไทยทั่วไปรู้จัก และให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “เทพเจ้าอำเภอโพทะเล และเพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร”
สำหรับ ประวัติของหลวงพ่อเงิน ท่านถือกำเนิดที่บ้านบางคลาน หมู่ที่ 1 ต.บางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงินอายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 เมื่อหลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร อายุถึงอายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัย เรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่าน อยู่ได้ 1 พรรษาที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ ด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทาง สงบ ท่านจึงได้ย้ายมาจากวัดคงคารามไปอยู่ยังหมู่บ้านวังตะโก ซึ่งลึกเข้าไปทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า โดยท่านได้หักกิ่งโพธิ์ไปด้วย 3 กิ่ง และปักลงตรงบริเวณป่าตะโก แล้วท่านก็ได้อธิฐานจิตว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตข้างหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง 3 กิ่ง จงเจริญงอกงามตามไปด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานของหลวงพ่อทุกประการ
หลวง พ่อเงินท่านได้ได้สร้างกุฏิ วิหาร อุโบสถ และเสนาสนะภายในวัดจนสมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกประการ และเมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลาน หรือวัดหิรัญญาราม องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ

พิพิธภัณฑ์ นครไชยบวร เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดบางคลาน โทรศัพท์ 0 56669111, 08 1962 8445, 08 7194 4613
จากวัดบางคลาน เจ้าหน้าที่ ท.ท.ท. ก็พาพวกเราออกเดินทางมายังวัดใหม่ปลายห้วย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 11 ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร วัดนี้สร้างขึ้นโดยหลวงปู่ทองดี อนิโฆสำหรับหลวงปู่ทองดี อนิโฆนี้ เดิมชื่อ ทองดี เพชรวิจิตร เกิดมีปีขาล เดือนอ้าย วันอาทิตย์ พ.ศ. 2505 ที่บ้านวังกระทิง อ.สามง่าม จ.พิจิตร พอโยมแม่ได้เสียชีวิตลงท่านก็เลยตัดสินใจบวชเมื่ออายุได้ 21 ปี โดยตั้งใจที่จะประพฤติและปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ตามคำสั่งสอนของ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พอบวชเสร็จหลวงปู่ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่สี ธัมรัตโต เป็นพระที่หลวงปู่ทองดีไปจำพรรษาอยู่กับท่าน ท่านก็ได้สอนการปฏิบัติให้ พิจารณารูปนามและสอนให้หลวงปู่เจริญวิปัสสนา หลวงปู่ฯ อยู่กับหลวงปู่สี ธัมรัตโตได้ 4 – 5 ปี จากนั้นหลวงปู่เรือง อาภัสสรโร ท่านก็สอนแนวมหาสติปัฎฐานสี่ หลวงปู่ทองดีฯ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่เรืองอาภัสสโร อยู่นานหลายปี จากนั้นหลวงปู่ทองดี ก็เดินทางสร้างและจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่ปลายห้วยตราบ จนกระทั่งทุกวันนี้

สำหรับ บริเวณที่เป็นสถานที่ตั้งของวัดใหม่ ปลายห้วยในปัจจุบันนี้ตามนิมิตของหลวงปู่ทองดีกล่าวว่า ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นเมือเก่าลึกลงไปในชั้นใต้ดินจะเป็นคูเมือง, กำแพงเก่า มีวัดวาอารามอยู่หลายแห่ง มีชื่อว่าเมืองสว่างพอดี เพราะถ้าคนจากนครสวรรค์จะไปสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ก็จะมาสว่างที่นี่พอดี ก็เลยเรียกกันว่าเมืองสว่างพอดีหรือสว่างบุรี
ทางกรม ศิลปกรได้เข้ามาค้นคว้าและศึกษาประวัติศาสตร์เมืองนี้สันนิฐานว่าจะมีอายุ เก่าแก่ประมาณ 800 – 1,000 ปี และมีอาณาเขตกว้างขวางมาก สำหรับสาเหตุที่หลวงปู่ทองดีมีควาประสงค์สร้างวัดใหม่ ปลายห้วยก็เพราะว่าชาวบ้านปลายห้วย ได้อพยพมาจากหมู่บ้านวังกะทึง แต่ยังไม่มีสถานที่ที่จะประกอบศาสนพิธี ต้องเดินทางไปทำบุญที่วัดวังกระทึง ซึ่งอยู่ไกลจากหมู่บ้านระยะทางประมาณสิบกิโลเมตร ชาวบ้านจึงช่วยกันบริจาคที่ดินให้หลวงปู่ทองดี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ อยู่ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2538 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 โดยมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เพียงหนึ่งรูป
ปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสชื่อพระสมุห์อุดมฐานุตตโร ต่อมาหลวงปู่ทองดีฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุ และมาทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อขยายวัดเพิ่มขึ้น มาอีกเป็นพื้นที่ธรณีสงฆ์ 30 ไร่ ตั้งชื่อว่า “วัดใหม่ปลายห้วย” และต่อมาปี พ.ศ. 2551 ได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 25 ไร่ รวมมีเนื้อที่ทั้งหมดเกือบ 70 ไร่ หลวงปู่ทองดีมีโครงการที่จะสร้างตึกสงฆ์อาพาธขึ้นภายในพื้นที่ของวัดใหม่ ปลายห้วย เพราะหลวงพ่อทองดีเล็งเห็นคือความยากลำบากของพระสงฆ์ไทยในชนบทยามอาพาธที่จะ ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลรวมกับคนไข้อื่น ๆ ท่านจึงมีความคิดที่จะสร้างตึกสงฆ์อาพาธแห่งนี้ขึ้นเอง สำหรับสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดใหม่ปลายห้วยมีดังต่อไปนี้ หลวงปู่โต พรหมรังสี องค์ขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง 9 ศอก สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีขึ้นท่านเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้กราบ สักการบูชา หลวงปู่ใหญ่ เทพโลกอุดรองค์ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาดองค์กว้าง 12 ศอก สูง 48 ศอก นั่งอยู่บนตอไม้
พวกเราเดินเที่ยวชมพุทธ ประติมากรรมต่าง ๆ ภายในวัดใหม่ปลายห้วย อย่างเพลิดเพลินจนสมควรแก่เวลาหลังจากนั้นจึงกราบลาหลวงปู่ทองดี อนีโฆแห่งวัดใหม่ปลายห้วย เพื่อออกเดินทางต่อไป

เจ้า หน้าที่ ททท. ได้พาพวกเราแวะรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารครัวปลาใหญ่ ตั้งอยู่ใน อ.โพธิ์ประทับช้าง ใน จ.พิจิตร สำหรับเมนูอาหารทำมาจากปลาน้ำจืดเป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่น ปลาเนื้ออ่อนทอดกระเทียมพริกไทย, ผัดช่าปลากด ทอดมันปลากราย และเมนูพิเศษที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ก็คือ ต้มยำปลากดในกระทะใบบัวขนาดเท่าหม้อแกง รสชาติจัดจ้าน กินไปบ่นไปเอ้ย ไม่ใช่ เช็ดน้ำหูน้ำตาไป ส่วนปลาน้ำจืดที่นำมาปรุงเป็นอาหารก็มีขนาดใหญ่สมกับชื่อร้านจริง ๆ แถมยังสดอีกต่าง ๆ เพราะทางร้านทำบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่อยู่หลังร้านเอาไว้ขังปลาที่จะนำมาปรุง เป็นอาหารโดยเฉพาะดังนั้นจึงรับประกันในเรื่องของความสด สำหรับความจัดจ้านในเรื่องรสชาติผู้ที่นิยมอาหารจัดจ้านรับรองไม่ผิดหวัง แน่ นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางผ่านไปผ่านมาใน อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตรลองแวะมาลิ้มชิมรสได้ที่ครัวปลาใหญ่ โทรศัพท์ 086 – 601188 รับประกันความผิดหวัง พวกเรารับประทานอาหารปลาในมื้อนี้กันอย่างเอร็ดอร่อย กินไปเช็ดเหงื่อไปจนเมนูอาหารปลาต่าง ๆ หายวับไปในพริบตา จากนั้นจึงพากันนั่งพักผ่อนหย่อนใจย่อยอาหาร ก่อนจะออกเดินทางท่องเที่ยวต่อไปในช่วงบ่าย
จาก จังหวัดพิจิตร เจ้าหน้าที่ ททท. พาพวกเราเดินทางสู่ จ.นครสวรรค์ เมื่อนมัสสการร่างของหลวงพ่อจ้อย วนทสุวณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุทุมพรหรือวัดวังเสือ ใน จ.หนองกรด อ.เมือง จ. นครสวรรค์ ซึ่งท่านได้มรณภาพไปเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2550 รวมสิริอายุได้ 94 ปี 3 วัน แต่ศพท่านยังไม่เน่าเปื่อย บรรจุอยู่ภายในโลกแก้วภายในวัดมีประชาชนเดินทางมา นมัสการร่างของหลวงพ่อจ้อย ซึ่งบรรจุอยู่ในโลงแก้วไม่ขาดสายในแต่ละวัน หลวงพ่อจ้อยเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังในด้านโชคลา เมตตามหานิยม บูชาวัตถุมงคล เป็นที่รู้จักของชาวนครสวรรค์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป

สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพวงมาลาและพระราชทานดินบรรจุศพหลวงพ่อจ้อย จทนสุวรณโณ ณ มลฑปวัดศรีอุทุมพร ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์
หลวงพ่อจ้อย จนทสุวณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุทุมพร เป็นพระมหาเกระมีสมบูรณ์ด้วยศิลาจารวัตรที่งดงามจนเป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสศรัทธาของบรรดาศิษยานุศิลย์ และศรัทธาสาธุชนทั่วไป หลวงพ่อจ้อยมีอัธยาศัยน้อมไปในการเสียสละ พัฒนาสร้างสรรค์และเอื้อเฟื้อต่อการบำเพ็ญประโยชน์สิ่งในส่วนของคณะสงฆ์ และประชาชนมาตลอดมีคุณสมบัติที่เด่นชัด 2 ประการคือ
1. อัตตสมบัติ หมายถึง สมบัติส่วนตัว หลวงพ่อได้สร้างเสริมอบรมสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่นสารให้เกิดขึ้นภายในตนเอง ด้วย ศีล, สมาธิ, ปัญญา
2. ปริหตปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติของหลวงพ่อที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้อื่นด้วยการพัฒนาสร้าง สรรค์ส่งเสริมให้สำเร็จเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาตลอดจนประชาชนทั่วไป
นอกจากนี้ หลวงพ่อยังประกอบด้วยความงาม 3 ประการ ที่สามารถพึงนำมาเป็นแบบอย่างให้อนุชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติคือ
1. กัลยคาสีโล หลวงพ่อมีศีลจารวัตรที่งดงาม อ่อนน้อมถ่อมตน มีวาจาสุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน
2. กัลยาณธัมโม หลวงพ่อมีจิตใจอันงดงาม เมตตาต่อทุกคนที่เข้าไปหาไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน
3. กัลป์ยาณปัญโญ หลวงพ่อมีปัญญางาม รอบรู้ทั้งในเรื่องคดีโลก และคดีธรรม สามารถนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติ

พวกเรากราบนมัสการศพของหลวงพ่อจ้อยที่บรรจุอยู่ในโลงแก้ว จากนั้นจึงออกมาถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่ด้านหน้าบริเวณวัดศรีอุทุมพร
จาก นั้นเจ้าหน้าที่ ททท. จึงพาพวกเราออกเดินทางไปยัง อ.เมือง จ. กำแพงเพชร เพื่อเปิดงาน “เทศกาลเปิดเมืองกำแพงเพชรเมองมรดกโลก ประจำปี 2551” ณ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.กำแพงเพชร เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร โดยมีการประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐาน ณ ซุ้มบุษบกภาษในอาคารอเนกประสงค์ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรเดินทางมาถึงบริเวณสนามแข่งขันกีฬาทาง น้ำคูเมือง อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เดินทางมาถึงบริเวณสนามแข่งขันกีฬาทางน้ำคูเมือง อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงกล่าวเปิดงาน และกระทำพิธีเปิดงาน “เทศกาลเมืองกำแพงเพชร เมืองมรดกโลก” สำหรับเทศกาลเปิดเมืองกำแพงเพชรเมืองมรดกโลกจะเริ่มงานตั้งแต่วันที่วัน ที่ 3 – 12 พฤษภาคม พ.ศ.2551
พวกเรามาร่วมในพิธีเปิดและชมการแสดง กำแพงเพชรเมืองมรดกโลก และการแข่งขันกีฬาทางน้ำ
จาก นั้นจึงเดินเที่ยวชมภายในงานซึ่งมีสินค้า OTOP ใน อ.กำแพงเพชร ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียงมาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก
พวก เราซื้อสินค้า OTOP คนละอย่างสองอย่างติดไม้ติดมือกลับบ้านจากนั้นเจ้าหน้าที่ ททท. ก็พาพวกเราออกเดินทางสู่ โรงแรมชากังราว ในตัวเมืองกำแพงเพชร สถานที่พักค้างแรมของพวกเราในคืนนี้
ที่ โรงแรมชากังราว คุณเกศินี ก่อสูงศักดิ์ เจ้าของโรงแรมชากังราว ได้ให้การต้อนรับคณะของพวกเราอย่างดียิ่ง สำหรับโรงแรมชากังราวเป็นโรงแรมระดับห้าดาวในตัวอ.เมือง จ.กำแพงเพชร อยู่ติดกับแม่น้ำปิง นักท่องเที่ยวที่เข้าพักจะได้สัมผัสวิวทิวทัศน์ ของแม่น้ำปิง ในยามเช้า ท่านที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนเมืองกำแพงเพชรและสนใจที่จะเข้าพักที่โรงแรมชา กังราว
วันที่สามของการเดินทางตื่นนอนตอนเท้า จากนั้นลุกขึ้นมายืนที่ระเบียงด้านหน้าของโรงแรมชากังราวชมวิวทิวทัศน์ของ แม่น้ำปิงที่ไหลผ่านเมืองกำแพงเพชร จากนั้นจึงปฏิบัติภารกิจส่วนตัวพร้อมเก็บภาระเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ

หลัง รับประทานอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ ททท. ก็พาพวกเราเดินทางออกจากโรงแรมชากังราวมุ่งหน้าสู่วัดป่าเขาเขียวใน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
ใช้ เวลาเดินทางผ่านท้องไร่ท้องนาอันเขียวขจีใน อ.กำแพงเพชร ในที่สุดเจ้าหน้าที่ ททท. ก็พาพวกเราเดินทางมาถึงวัดป่าเขาเขียว บรรยากาศภายในวัดสงบเงียบ เหมาะสมกับเป็นวัดป่าจริง ๆ
พวก เราเดินเข้าไปราบนมัสการ พระครูปัญญาศิลคุณ เจ้าคณะตำบลจันโท หรือที่ชาวบ้านน้อมเรียกกันว่าหลวงพ่อถัง บรรยากาศภายในกุฏิที่ใช้สำหรับจำพรรษาของท่านมีถังไม้ตองข้าวสารลงยันต์ อยู่เต็มไปหมด ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปมีความเชื่อว่า ท่านมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์และเสกคาถาอาคมลงบันถังไม้ตวงข้าวสาร
หาก ใครนำไปบูชาแล้วจะทำให้ทำมาค้าขาดี ในทุก ๆ วันจะมีประชาชนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าแม่ขาย จำนวนมาก เดินทางมาทำบุญพร้อมบริจาคเงินซื้อถังข้าวสารลงยันต์ไปบูชา เพื่อให้ทำมาค้าขายดี ซึ่งนอกจากชาวบ้านแล้วก็ยังมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลย์ และสิงค์โปร์ที่มีความศรัทธาในหลวงพ่อถังเดินทางมากราบสักการะบูชาหลวงพ่อ ถังอีกด้วย

สำหรับ ประวัติ วัดป่าเขาเขียว ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 บ้านปางใหม่พัฒนา ต.ปางตาไว อ.ปางศิลาทอง จ.กำแพงเพชร การเดินทางใช้เส้นทางกำแพงเพชร ปางศิลาทอง ระยะทางประมาณ 34 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านเขาน้ำอุ่นเลี้ยวขวา 2 กิโลเมตร จะมีทางแยกด้านซ้ายสู่บ้านปางตาไว ระยะทาง 14 กิโลเมตร สองข้างทางมีร้านจำหน่ายถังตวงข้าวตลอดเส้นทาง วัดป่าเขาเขียวเป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทธาของ ประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียงโดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโซโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “หลวงพ่อถัง” ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี นอกจากนี้ภายในวัดป่าเขาเขียว จัดให้มีพิพิธภัณฑ์ถังตวงข้าวสารแบบโบราณ และแบบสมัยใหม่ หลายขนาดมากมาย 1,000 ถัง เพื่อนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้วิวัฒนาการ การใช้มาตรการตวงในอดีต และปัจจุบัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : วัดป่าเขาเขียว โทร 0892705420
จากวัด ป่าเขาเขียวเราเดินทางมายังจังหวัด อุทัยธานี เพื่อนมัสการพระเกจิเรืองวิทยาคมแห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง อีกองค์หนึ่งที่ พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชาได้โดยสนิทใจ คือ หลวงพ่ออั้น อภิปาโล วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนธรรมและเมตตาบารมีธรรมสูง มีคณะศิษยานุศิษย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมไปถึงวงการนักนิยมสะสมวัตถุมงคล รู้จักในนามของพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคม แก่กล้า และพลังจิตตานุภาพ สุดยอดพระเกจิพระเถราจารย์ซึ่งชาวอุทัยธานีขนานนามท่าน “พระจี้กงแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง” หรือ “หลวงพ่ออั้นเทวดา” หรือ เทวดาตาทิพย์ ผู้สำเร็จธาตุกสิณดินน้ำลมไฟ ตำรับหลวงปู่สุข วัดปากมะขามเฒ่า พระเถระอาจารย์ผู้บำเพ็ญทานมหาบารมีสืบสานมหาเวทย์ “พิรุณกำบัง” และ “เทพรัญจวน” สายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เคยเป็นศิษย์ก้นกุฏิรับใช้ใต้รอยบาทพระอริยเจ้าเมืองเหนือครูบาศรีวิชัย ติดตามธุดงค์ไปทางภาคเหนือหลายปีท่านเคยรับราชการตำรวจเป็นลูกน้องคู่ใจใน การดับเสือร้ายของขุนพันธรักษ์ราชเดช ยอดมือปราบหนังเหนียวก่อนที่จะมาอุปสมบทในปี พ.ศ. 2498

อัต โนประวัติ เกิดในสกุล โพธิพิทักษ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2476 ณ บ้านดอนฉนวน ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายชอ้อนและนางกระถิน โพธิพิทักษ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา ในช่วงวัยเยาว์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนท่าเรือนุกูล อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2492 พ.ต.ต.ตุ๊ วงศ์อุทัย เป็นโยมลุง ได้พาท่านไปสมัครเป็นตำรวจที่ปารุสกวัน กรมตำรวจ รับราชการได้ 4 ปี มีผลงานด้านการปราบปรามดีเด่น และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจโท ต่อมาได้ลาออกจากการรับราชการตำรวจในช่วงอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นทหารเกณฑ์ที่ค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์นาน 1 ปีครึ่ง
เมื่อท่านพ้นจากรั้วทหาร เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายทางโลก จึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2498 ณ พัทธสีมาวัดหัวเมือง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี โดยมีพระครูอุปการโกวิท (หลวงพ่อแอ๋ว) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ออม สุขาโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ฟื้น ฐานวุฑโฒ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อภิปาโล หมายความว่า ผู้รักษาที่ยิ่งใหญ่
เมื่ออุปสมบทอยู่จำพรรษาที่วัดแจ้ง อ.หนองฉาง ได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ
พ.ศ.2506 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนปริยัติธรรม วัดหนองขุนชาติ อ.หนองฉาง
พ.ศ.2508 ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดธรรมโฆษก อ.เมือง จ.อุทัยธานี ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดธรรมโฆษก และเป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง อ.เมืองอุทัยธานี หลวงพ่ออั้น เล็งเห็นว่า การแพทย์พื้นบ้านเป็นระบบแพทย์พื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาความเจ็บป่วยตามวิถีชีวิตและความเชื่อตาวัฒนธรรมและระบบนิเวศ ของแต่ละท้องถิ่น ได้มีดำริจัดตั้งศูนย์การแพทย์แผนไทยที่วัดโรงโค เป็นการกด คลึง บีบ ประคบ หลักสูตรวัดโพธิ์ หลวงพ่ออั้น มีความเคร่งครัดในระเบียบวินัยการปกครองวัด โดยพระภิกษุ-สามเณร ทุกรูปต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทุกรูป และต้องตั้งอยู่ในสาราณียธรรม 6 ทำวัตรสวดมนต์ทุกเช้า-เย็น เว้นแต่อาพาธ หรือมีเหตุจำเป็น รวมไปถึงให้ความสะดวกในการบำเพ็ญบุญกุศลแก่พุทธศาสนิกชนตามความสามารถ มีการทำอุโบสถกรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดพรรษา
ย้อนหลังกลับไปเมื่อ ครั้งหลวงพ่ออั้น เป็นฆราวาส อายุ 11 ขวบ ได้มีโอกาสเดินธุดงควัตรกับหลวงพ่อครูบาศรีวิชัย จากเขาฆ้องชัย อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี จนถึง จ.ลำพูน รวมเวลา 3 เดือนเศษ พร้อมศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับท่านด้วย และช่วงที่รับราชการตำรวจ ได้ใช้เวลาว่างเรียนวิชาโหราศาสตร์ กับหม่อมหลวงขาบ กุญชร และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ
พ.ศ.2501 ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อเขียน สำนักขุนเณร จ.พิจิตร จนกระทั่ง พ.ศ.2520 พระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทัตโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (ทุ่งแก้ว) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี พระเถราจารย์ผู้เข้มขลังวิทยาคม ศิษย์เอกสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชา พร้อมกับนำตำราหลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี, ตำราหลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง และตำราหลวงพ่อพูนวัดหนองตางู มาถ่ายทอดเพิ่มเติมอีกด้วย

หลวง พ่ออั้น เป็นศิษย์อาจารย์เดียวกับหลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ วัดหลวงราชาวาส เกจิดังในอดีต ได้รับกิจนิมนต์ให้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวัดต่างๆ มาโดยตลอด
ปัจจุบัน หลวงพ่ออั้น อภิปาโล สิริอายุ 74 พรรษา 52 เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี และเจ้าคณะตำบลน้ำซึม-ท่าซุง ผู้ที่มีจิตศรัทธาจะเดินทางมายังวัดก็แสนจะสะดวก ด้วยการเดินทางที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก
สามวันที่เราตะเวนเดิน ทางกราบนมัสการพระสุปฏิปัณโณ ทำให้จิตใจที่ว้าวุ่นด้วยสารพันเรื่องราวสงบลงเยอะทีเดียว ว่างๆ ก็หาเวลาเดินทางไปกราบนมัสการพระเกจิแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ต่างก็ขึ้นชื่อ ในความมีเมตตา และที่สำคัญเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่เราในภาวะการณ์ปัจจุบันที่ต่างก็ต้องการ สิ่งยึดเหนี่ยวทางใจให้ต่อสู้ไปข้างหน้า ก็ต้องลองเดินทางกันมาละครับ
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์ : http://www.idotravellers.com