อุทยานโบราณสถานอังกอร์
ความเป็นมา:
อังกอร์ (ภาษาเขมรหมายถึง ดินแดนศักดิ์สิทธิ์) ในประเทศกัมพูชา เป็นดินแดนแห่งอาณาจักรขอมโบราณราวศตรรษวรรษที่ 9 ถึงศตรรษวรรษที่ 15 คำว่าอังกอร์นั้นเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกริตซึ่งหมายถึง “นคร
กัมพูชานั้นได้รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดีย ซึ่งศาสนานี้ยกย่องกษัตริย์เสมือนเทพเจ้าเรียกว่า ลัทธิเทวราชา ซึ่งหมายความว่ากษัตริย์คือตัวแทนของเทพเจ้า พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิชะแมร์หรือกัมพูชา นครวัด นครธม เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร จนกระทั่งภ่ายแพ้ตกเป็นเมืองขึ้นแก่อยุธยาจวบถึงปีค.ศ.ที่ 1431 จากการถูกโจมตีและได้เผาเมืองหลวงของเขมร ทำให้ชาวบ้านต้องย้ายรากฐานไปอยู่ทางตอนใต้ที่ Longvek
ในศรรตวรรษที่ 20 มีนักวิชาการหลายคนเชื่อว่านครและวัดต่างๆ ถูกปกคลุมไปด้วยต้ป่า ในช่วงปลายศตรรษวรรษที่ 19 เมื่อนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศษเริ่ม ทำการบูรณะซากปรักหักพัง เริ่มตั้งแต่ค.ศ. 1907 - 1970 ภายใต้การนำขององค์การ cole francais d’Extreme-Orient เริ่มมีการถางป่า ทำการซ่อมแซมฐานและทำการติดตั้งท่อระบายน้ำเพื่อปกป้องตัวอุโบสถ นอกจากนี้นักวิชาการคือ George Coedes, Maurice Glaize, Paul Mus, Philippe Stern จัดตั้งโครงการทุนการศึกษาประวัติศาสตร์และการตีความเพื่อส่งเสริมให้รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนครอังกอร์
แองกอร์เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า๔๐๐ตารางกิโลเมตรวมบริเวณป่าด้วยอุทยานโบราณแองกอร์เป็นที่ตั้งของซากที่เหลือของเมืองหลวงต่างๆของอาณาจักรเขมร ประเทศกัมพูชาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่๙-๑๕ (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๒๐) รวมถึงนครวัดนครธมปราสาทบายนอันงดงามด้วยการประดับประดาด้วยประติมากรรมมากมายUNESCOได้จัดตั้งโครงการอย่างกว้างขวาง เพื่อป้องกันสถานที่และบริเวณโดยรอบ
ช่วงศรรษวรรษที่ 21 ในปี 2007 มีนักวิจัยที่มาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ทำการบันทึกภาพถ่ายดาวเทียมประกอนกับการใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ผลสรุปว่านครอังกอร์เคยเป็นเมืองอุตสหกรรมที่ใหญ่แห่งหนึ่งในโลกคือมีการสร้างระบบสาธารณูปประโภคยาวประมาณ1,000ตารางกิโลเมตรซึ่งใจกลางสำคัญอยู่ที่วัดหลักๆลักษณะการสร้างจะคล้ายคลึงกับเมืองมารยัน ประเทศกัวเตมาลา ซึ่งระยะทางทั้งหมดประมาณ100ถึง 50 ตารางกิโลเมตร ส่วนเรื่องจำนวนประชากรนั้นยังมีการโต้เถียงกันในเรื่องของจำนวนประชากร เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมว่าพื้นที่นี้สามารถรองรับประชากรได้ถึงหนึ่งล้านคน
วัด:นครอังกอร์มีวัดเป็นจำนวนทั้งหมดราวพันกว่าวัด เริ่มจากขนาดเล็กที่ก่ออิฐขึ้นกระจัดกระจายอยู่ตามแปลงปลูกข้าวต่างๆจนถึงวัดขนาดใหญ่เช่น นครวัด ซึ่งจัดว่าเป็นศาสนศถานที่ใหญ่ที่สุดในโลกและยังเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัสจรรย์ของโลกอีกด้วยซึ่งมีวัดเป็นจำนวนมากที่ได้มีการบูรณะซ่อมแซม โดยทั้งหมดนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสถาปัตยกรรมของเขมร โดยประมาณการว่ามีผู้เข้าชมเป็นจำนวนกว่าสองล้านคนต่อปีดังนั้นนครวัดและนครธมจึงเป็นสถานที่ถูกคุ้มครองโดยองค์การ UNESCO ให้ถือเป็นเขตสงวน ดังนั้นสถานทีแห่ง่นี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวต่างๆจากทั่วโลกและถือเป็นการท้าทายอย่างยิ่งในการบูรณะซ่อมแซมซากปรักหักพัง
ศาสนา:ในยุคเขมรนั้นอาคารสถานต่างๆที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา รวมถึงพระตำหนักของกษัตริย์เองจะถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่เน่าเปื่อยได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในความเชื่อที่ว่า เทวดาหรือเทพเจ้าเท่านั้นนั้นมีสิทธิ์ประดิษสถานภายในอาคารที่สร้างขึ้นจากอิฐเท่านั้นอันเป็นเหตุให้ชาวอังกอร์โดยส่วนมากเป็นผู้เคร่งศาสนานับจากอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากกัมพูชาติดต่อค้าขายกับอินเดียอยู่เสมอ ชาวเขมรจึงได้รับอิทธิพลด้านศาสนาพุทธและฮินดูเป็นจากประเทศอืนเดีย ซึ่งวัดวาอารามต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นล้วนมีสาระสำคัญ ดังจะเห็นได้จากภาพจิตรกรรมและรูปปั้นที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานของทั้งสองศาสนา ถึงแม้ว่าวัดวาอารามต่างๆถูกสร้างขึ้นตามศาสนาฮินดูก็ตาม ในระหว่างการครองราชในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 วัดตามแบบศาสนาพุทธนั้นก็ได้มีการสร้างขึ้นในจำนวนที่เท่าเทียมกัน
ซากปรักหักพังของมหานครอังกอร์ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าไม้และพื้นที่ทำการเกษตรโดยตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ Great Lake (Tonle Sap) ทางตอนใต้ของเทือกเขา Kulen ซึ่งปัจจุบันคือเสียมเรียบ (13 24’ N, 103 51’E) ในรัฐเสียมเรียบ
ใบหน้าที่ตั้งตระหง่านอยู่บนปราสาทบายน
เป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู สังเกตให้ดีจะมีรอยยิ้ม เรียกว่า ยิ้มแบบบายน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น