พระธาตุอินทร์แขวน หรือ ไจ้ก์ทิโย (Kyaikhtiyo)
• สถานที่ตั้ง : พระธาตุอินทร์แขวน
ตั้งอยู่ที่เมืองไจ้ก์โถ่ อำเภอสะเทิม เขตรัฐมอญของประเทศพม่า
บนยอดเขา Paung Laung เหนือระดับ น้ำทะเล 3,615 ฟุต ลักษณะเด่นของพระธาตุอินทร์แขวนคือ
มีลักษณะเป็นก้อนหินสีทองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่
เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมาอย่างเหลือเชื่อ
พระธาตุอินทร์แขวนนับเป็น 1ใน 5 มหาบูชาสถาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพม่าต้องไปสักการะ
และตามความเชื่อล้านนาเชื่อว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีจอ
(ปีหมา) ที่คนเกิดปีนี้ต้องไปนมัสการสักครั้งหนึ่งในชีวิตครับ
• ไจ้ก์ทิโย (Kyaikhtiyo) ในภาษามอญ หมายความว่า หินรูปหัวฤๅษี โดยมีตำนานเล่าขานกันในสมัยพุทธกาล
• ตำนานที่ 1 : เล่าว่า ฤาษีติสสะผู้หนึ่งได้รับพระเกศาจากพระพุทธเจ้าที่ได้มอบให้ไว้เป็นตัวแทนพระพุทธองค์ให้ประชาชนสักการะ เมื่อครั้นได้มาแสดงธรรมเทศนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ผู้ที่ได้รับมอบพระเกศาต่างก็นำไปบรรจุในสถูปเจดีย์ แต่ว่าฤๅษีติสสะกลับนำไปซ่อนไว้ในมวยผม พอเวลาล่วงเลยถึงคราวที่ฤๅษีติสสะจะต้องละสังขาร โดยมีความตั้งใจจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของตน จึงให้พระอินทร์ช่วยหาก้อนหินที่มีลักษณะเหมือนกับศีรษะ ซึ่งได้มาจากใต้ท้องมหาสมุทร และก็ให้พระอินทร์นำมาวางหรือแขวนไว้บนภูเขาหิน จึงเป็นที่มาของชื่อ "พระธาตุอินทร์แขวน" แต่ชาวพม่าและชาวมอญจะเรียกพระธาตุอินทร์แขวนว่า "ไจก์ทิโย" ซึ่งเป็นภาษามอญ หมายถึง เจดีย์บนหินที่มีรูปร่างคล้ายศีรษะฤๅษี
• ตำนานที่ 2 : เล่าว่า มีฤๅษีองค์หนึ่งซ่อนพระเกศาที่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้นมาโปรดสัตว์ในถ้ำไว้ในมวยผมมาเป็นเวลานาน เมื่อใกล้ถึงวาระที่จะต้องละสังขารจึงตัดสินใจมอบพระเกศาให้กับพระเจ้าติสสะ กษัตริย์ผู้ครองนครแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นบุตรของลูกศิษย์ที่นำมาฝากให้ฤๅษีช่วยเลี้ยงดูตั้งแต่เล็ก แต่ก่อนอื่นพระเจ้าติสสะต้องหาก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายศีรษะของฤๅษี โดยมีพระอินทร์เป็นผู้ช่วยค้นหาจากใต้สมุทรนำมาวางไว้ที่หน้าผา
• ไจ้ก์ทิโย (Kyaikhtiyo) ในภาษามอญ หมายความว่า หินรูปหัวฤๅษี โดยมีตำนานเล่าขานกันในสมัยพุทธกาล
• ตำนานที่ 1 : เล่าว่า ฤาษีติสสะผู้หนึ่งได้รับพระเกศาจากพระพุทธเจ้าที่ได้มอบให้ไว้เป็นตัวแทนพระพุทธองค์ให้ประชาชนสักการะ เมื่อครั้นได้มาแสดงธรรมเทศนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ผู้ที่ได้รับมอบพระเกศาต่างก็นำไปบรรจุในสถูปเจดีย์ แต่ว่าฤๅษีติสสะกลับนำไปซ่อนไว้ในมวยผม พอเวลาล่วงเลยถึงคราวที่ฤๅษีติสสะจะต้องละสังขาร โดยมีความตั้งใจจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของตน จึงให้พระอินทร์ช่วยหาก้อนหินที่มีลักษณะเหมือนกับศีรษะ ซึ่งได้มาจากใต้ท้องมหาสมุทร และก็ให้พระอินทร์นำมาวางหรือแขวนไว้บนภูเขาหิน จึงเป็นที่มาของชื่อ "พระธาตุอินทร์แขวน" แต่ชาวพม่าและชาวมอญจะเรียกพระธาตุอินทร์แขวนว่า "ไจก์ทิโย" ซึ่งเป็นภาษามอญ หมายถึง เจดีย์บนหินที่มีรูปร่างคล้ายศีรษะฤๅษี
• ตำนานที่ 2 : เล่าว่า มีฤๅษีองค์หนึ่งซ่อนพระเกศาที่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้นมาโปรดสัตว์ในถ้ำไว้ในมวยผมมาเป็นเวลานาน เมื่อใกล้ถึงวาระที่จะต้องละสังขารจึงตัดสินใจมอบพระเกศาให้กับพระเจ้าติสสะ กษัตริย์ผู้ครองนครแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นบุตรของลูกศิษย์ที่นำมาฝากให้ฤๅษีช่วยเลี้ยงดูตั้งแต่เล็ก แต่ก่อนอื่นพระเจ้าติสสะต้องหาก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายศีรษะของฤๅษี โดยมีพระอินทร์เป็นผู้ช่วยค้นหาจากใต้สมุทรนำมาวางไว้ที่หน้าผา
ไขปริศนาก้อนหินแห่งศรัทธา
ก้อนหินแห่งศรัทธา ที่ชาวมอญ-พม่า เรียกขานว่า "ไจ้ติโย" หรือ "พระธาตุอินทร์แขวน" เป็น 1 ใน 3 มหาบูชาสถานศักดิ์สิทธิ์สูงสุดแห่งลุ่มอิระวดี เคียงคู่มหาเจดีย์ชเวดากอง กรุงย่างกุ้ง และพระมหามัยมุนี กรุงมัณฑะเลย์
หินหนักกว่า 600 ตันก้อนนี้ ตั้งอยู่บนหน้าผาหินบนภูเขาปองลอง เขตเมืองไจ้โถ่ ในรัฐมอญของพม่า ตั้งอยู่อย่างหมิ่นเหม่ว่าจะตกมิตกแหล่ เพราะมองด้วยสายตาแล้ว กว่าครึ่งของเนื้อก้อนหินนั้นยื่นออกมานอกหน้าผา แถมหน้าผายังลาดเอียงลงต่ำ มิได้ยื่นและพุ่งขึ้นสูงเหมือนภูชี้ฟ้าที่เชียงรายบ้านเรา แล้วยังมีการสร้างองค์เจดีย์ตั้งไว้บนก้อนหิน เพิ่มน้ำหนักกดทับเข้าไปอีก จำได้ว่าเคยถามคุณยายชาวพม่าจากเมืองหงสาวดีท่านหนึ่ง ว่าคุณยายคิดอย่างไรกับหินก้อนนี้ จะร่วงหล่นลงมาในวันใดวันหนึ่งหรือไม่ ? คำตอบผ่านล่ามที่ผมได้รับพร้อมกับใบหน้าบึ้งตึงของคุณยาย คือมันไม่มีวันตกลงมาดอกหลายเอ้ย เพราะพระอินทร์ท่านจับแขวนไว้ให้เราได้กราบไหว้กัน เดาจากสีหน้าท่าทางแล้ว คุณยายคงอยากบอกผมว่า...แกนี่ปากเสีย พูดอะไรไม่เป็นมงคล... มากกว่า
เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ชาวมอญ พม่า ล้านนา เชื่อว่าบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นวิมานที่ประทับของพระอินทร์ มีเจดีย์หรือพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่องค์หนึ่ง ภายในประดิษฐานเส้นพระเกศาส่วนพระเมาลี หรือมวยผมที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดออกในคราวออกบวช ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเรียกกันว่า "พระเกศแก้วจุฬามณี" ถือเป็นเจดีย์ประจำคนที่เกิดปีจอ แต่เมื่อตั้งอยู่บนดาวดึงส์สวรรค์ ชาวพุทธไม่สามารถขึ้นไปกราบไหว้ได้ อย่างมากก็จุดโคมไฟลอยขึ้นไปถวายเป็นพุทธบูชา
พระอินทร์จึงมีเมตตาจับก้อนหินประหลาดก้อนนี้แขวนลอยไว้ให้สร้าง "พระเกศแก้วจุฬามณี" จำลองไว้บนโลกมนุษย์ หินก้อนนี้จึงไม่มีวันตกลงมา แถมเชื่อกันว่าคนมีบุญเอาไก่ทั้งตัวลอดใต้ก้อนหินได้ เพราะหากดูรูปทรงแล้ว ส่วนฐานของหินก้อนนี้แตะผิวพื้นหน้าผาเพียงบางส่วนเท่านั้น เคยมีคนเอาหลอดกาแฟยาวสักคืบไปสอดค้ำไว้ข้างใต้ แล้วใช้ไหล่ดันจนก้อนหินโคลงเคลงเล็กน้อย หลอดกาแฟก็ยวบยาบให้ผมเห็นกับตามาแล้ว (ปัจจุบันรัฐบาลพม่าสั่งห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด)
การ ตั้งอยู่อย่างน่าประหลาดใจของก้อนหินแห่งศรัทธา ทำให้คนรุ่นใหม่ตั้งสมมติฐานคาดเดาไปต่าง ๆ นานา อาทิ บริเวณนั้นมีแรงแม่เหล็กดึงดูดก้อนหินไว้ บ้างว่าตรงกลางมีแกนเหล็กที่คนโบราณสร้างไว้แล้วยกหินก้อนนี้มาสวมครอบไว้ บ้างว่าเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว บริเวณนี้เคยเป็นพื้นโลกใต้ทะเล หินก้อนนี้อาจตั้งอยู่โดยมีกรวดทรายหนุนไว้ ก่อนเปลือกโลกจะดันตัวขึ้นมากลายเป็นภูเขา ก้อนหินจึงแลดูตั้งอยู่อย่างหมิ่นเหม่ และยังมีอีกหลายทฤษฎีที่เพียรพยายามจะไขปริศนาก้อนหินแห่งศรัทธาก้อนนี้ แต่ที่น่าสนใจคือนักวิชาการพม่าอธิบายความน่าอัศจรรย์ใจนี้อย่างไร?
ในหนังสือ "ประวัติพระธาตุอินทร์แขวน" (The History of Kyaik hti yo Pagoda) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โปปา กล่าวถึงรายงานการสำรวจพระธาตุอินทร์แขวนอย่างเป็นทางการตามคำสั่งรัฐบาล พม่า เมื่อปี 2544 โดยคณาจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งกรุงย่างกุ้ง ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำ ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจคือ หินก้อนนี้เป็นหินแกรนิต น้ำหนัก 611.45 ตัน สูง 8.15 เมตร แต่มีจุดสัมผัส (Contact Area) เพียง 0.714 ตารางเมตร หรือไม่ถึง 1 ตารางเมตร ขณะที่องค์เจดีย์หนัก 19.45 ตัน สูง 3.11 เมตร รวมก้อนหินกับเจดีย์หนักรวมกัน 630.9 ตัน ซึ่งคณะสำรวจมีความเห็นว่าน้ำหนักขององค์เจดีย์ไม่มีผลต่อการตั้งอยู่ของ ก้อนหิน
อย่างไรก็ตาม คณะสำรวจไม่สามารถยืนยันฟันธงได้ 100% ว่าแท้ที่จริงแล้วหินก้อนนี้ตั้งอยู่ได้อย่างไร? นอกจากข้อสังเกตบางประการคือ
1. จุดศูนย์ถ่วงของก้อนหินและพระเจดีย์ (Centre of Gravity) ยังตั้งอยู่ตรงจุดสัมผัสของก้อนหินราว 0.7 ตร.ม. คิดเป็นเพียง 1.4% ของพื้นที่ก้อนหินด้านล่าง ซึ่งถือว่ามีจุดสัมผัสน้อยมาก
2. หินก้อนนี้รับแรงปะทะตามแนวขวางได้ราว 46.6 ตัน และรับแรงปะทะจากลมพายุได้ไม่เกิน 6.5 ตัน หมายความว่าถ้าเจอลมพายุเกินกว่านี้ ก้อนหินอาจเขยื้อนหล่นลงได้
ซึ่งข้อสังเกตนี้ตรงกับความเห็นของ ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์ แห่งภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้สัมภาษณ์ผมไว้ตั้งแต่ปี 2540 ว่าก้อนหินตั้งอยู่ได้เพราะจุดศูนย์กลางมวลหรือจุดศูนย์ถ่วงยังอยู่บนฐาน หรือบนหน้าผา ประกอบกับแรงลมที่มาปะทะยังไม่มากพอ นั่นคือถ้าแรงเสียดทานที่มากระทำยังมีไม่เกินกว่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน ของก้อนหิน หรือไม่มากพอที่จะทำให้จุดศูนย์กลางมวลหลุดจากฐานได้ ก้อนหินก็จะไม่ตกลงมา ส่วนเรื่องที่ก้อนหินขยับได้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมันไม่เสถียร คือก้อนหินมีจุดที่แตะบ้าง -ไม่แตะบ้างกับฐานหน้าผา แต่ก็ไม่มีผล ตราบเท่าที่จุดศูนย์กลางมวลยังไม่หลุด
ฟังทัศนะของนักวิทยาศาสตร์แล้ว ทำให้ได้ข้อคิดว่า "สิ่งที่เห็น อาจไม่เป็นอย่างที่คิด" คือมองด้วยตาเปล่า ก้อนหินมันตั้งหมิ่นเหม่ แต่ความเป็นจริง ส่วนของก้อนหินที่อยู่บนฐานหน้าผา แม้ดูน้อยกว่า แต่อาจมีน้ำหนักมากกว่า ก้อนหินจึงไม่หล่นลงมา ในทางตรงกันข้าม ถ้าความเชื่อว่าหินก้อนนี้ไม่มีวันหล่น เพราะพระอินทร์จับแขวนไว้ มันหล่อเลี้ยงจิตใจคนให้มีกำลังใจที่จะทำความดี รังสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ส่งผลให้สังคมสงบสุข...
ก้อนหินแห่งศรัทธา ที่ชาวมอญ-พม่า เรียกขานว่า "ไจ้ติโย" หรือ "พระธาตุอินทร์แขวน" เป็น 1 ใน 3 มหาบูชาสถานศักดิ์สิทธิ์สูงสุดแห่งลุ่มอิระวดี เคียงคู่มหาเจดีย์ชเวดากอง กรุงย่างกุ้ง และพระมหามัยมุนี กรุงมัณฑะเลย์
หินหนักกว่า 600 ตันก้อนนี้ ตั้งอยู่บนหน้าผาหินบนภูเขาปองลอง เขตเมืองไจ้โถ่ ในรัฐมอญของพม่า ตั้งอยู่อย่างหมิ่นเหม่ว่าจะตกมิตกแหล่ เพราะมองด้วยสายตาแล้ว กว่าครึ่งของเนื้อก้อนหินนั้นยื่นออกมานอกหน้าผา แถมหน้าผายังลาดเอียงลงต่ำ มิได้ยื่นและพุ่งขึ้นสูงเหมือนภูชี้ฟ้าที่เชียงรายบ้านเรา แล้วยังมีการสร้างองค์เจดีย์ตั้งไว้บนก้อนหิน เพิ่มน้ำหนักกดทับเข้าไปอีก จำได้ว่าเคยถามคุณยายชาวพม่าจากเมืองหงสาวดีท่านหนึ่ง ว่าคุณยายคิดอย่างไรกับหินก้อนนี้ จะร่วงหล่นลงมาในวันใดวันหนึ่งหรือไม่ ? คำตอบผ่านล่ามที่ผมได้รับพร้อมกับใบหน้าบึ้งตึงของคุณยาย คือมันไม่มีวันตกลงมาดอกหลายเอ้ย เพราะพระอินทร์ท่านจับแขวนไว้ให้เราได้กราบไหว้กัน เดาจากสีหน้าท่าทางแล้ว คุณยายคงอยากบอกผมว่า...แกนี่ปากเสีย พูดอะไรไม่เป็นมงคล... มากกว่า
เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ชาวมอญ พม่า ล้านนา เชื่อว่าบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นวิมานที่ประทับของพระอินทร์ มีเจดีย์หรือพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่องค์หนึ่ง ภายในประดิษฐานเส้นพระเกศาส่วนพระเมาลี หรือมวยผมที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดออกในคราวออกบวช ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเรียกกันว่า "พระเกศแก้วจุฬามณี" ถือเป็นเจดีย์ประจำคนที่เกิดปีจอ แต่เมื่อตั้งอยู่บนดาวดึงส์สวรรค์ ชาวพุทธไม่สามารถขึ้นไปกราบไหว้ได้ อย่างมากก็จุดโคมไฟลอยขึ้นไปถวายเป็นพุทธบูชา
พระอินทร์จึงมีเมตตาจับก้อนหินประหลาดก้อนนี้แขวนลอยไว้ให้สร้าง "พระเกศแก้วจุฬามณี" จำลองไว้บนโลกมนุษย์ หินก้อนนี้จึงไม่มีวันตกลงมา แถมเชื่อกันว่าคนมีบุญเอาไก่ทั้งตัวลอดใต้ก้อนหินได้ เพราะหากดูรูปทรงแล้ว ส่วนฐานของหินก้อนนี้แตะผิวพื้นหน้าผาเพียงบางส่วนเท่านั้น เคยมีคนเอาหลอดกาแฟยาวสักคืบไปสอดค้ำไว้ข้างใต้ แล้วใช้ไหล่ดันจนก้อนหินโคลงเคลงเล็กน้อย หลอดกาแฟก็ยวบยาบให้ผมเห็นกับตามาแล้ว (ปัจจุบันรัฐบาลพม่าสั่งห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด)
การ ตั้งอยู่อย่างน่าประหลาดใจของก้อนหินแห่งศรัทธา ทำให้คนรุ่นใหม่ตั้งสมมติฐานคาดเดาไปต่าง ๆ นานา อาทิ บริเวณนั้นมีแรงแม่เหล็กดึงดูดก้อนหินไว้ บ้างว่าตรงกลางมีแกนเหล็กที่คนโบราณสร้างไว้แล้วยกหินก้อนนี้มาสวมครอบไว้ บ้างว่าเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว บริเวณนี้เคยเป็นพื้นโลกใต้ทะเล หินก้อนนี้อาจตั้งอยู่โดยมีกรวดทรายหนุนไว้ ก่อนเปลือกโลกจะดันตัวขึ้นมากลายเป็นภูเขา ก้อนหินจึงแลดูตั้งอยู่อย่างหมิ่นเหม่ และยังมีอีกหลายทฤษฎีที่เพียรพยายามจะไขปริศนาก้อนหินแห่งศรัทธาก้อนนี้ แต่ที่น่าสนใจคือนักวิชาการพม่าอธิบายความน่าอัศจรรย์ใจนี้อย่างไร?
ในหนังสือ "ประวัติพระธาตุอินทร์แขวน" (The History of Kyaik hti yo Pagoda) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โปปา กล่าวถึงรายงานการสำรวจพระธาตุอินทร์แขวนอย่างเป็นทางการตามคำสั่งรัฐบาล พม่า เมื่อปี 2544 โดยคณาจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งกรุงย่างกุ้ง ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำ ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจคือ หินก้อนนี้เป็นหินแกรนิต น้ำหนัก 611.45 ตัน สูง 8.15 เมตร แต่มีจุดสัมผัส (Contact Area) เพียง 0.714 ตารางเมตร หรือไม่ถึง 1 ตารางเมตร ขณะที่องค์เจดีย์หนัก 19.45 ตัน สูง 3.11 เมตร รวมก้อนหินกับเจดีย์หนักรวมกัน 630.9 ตัน ซึ่งคณะสำรวจมีความเห็นว่าน้ำหนักขององค์เจดีย์ไม่มีผลต่อการตั้งอยู่ของ ก้อนหิน
อย่างไรก็ตาม คณะสำรวจไม่สามารถยืนยันฟันธงได้ 100% ว่าแท้ที่จริงแล้วหินก้อนนี้ตั้งอยู่ได้อย่างไร? นอกจากข้อสังเกตบางประการคือ
1. จุดศูนย์ถ่วงของก้อนหินและพระเจดีย์ (Centre of Gravity) ยังตั้งอยู่ตรงจุดสัมผัสของก้อนหินราว 0.7 ตร.ม. คิดเป็นเพียง 1.4% ของพื้นที่ก้อนหินด้านล่าง ซึ่งถือว่ามีจุดสัมผัสน้อยมาก
2. หินก้อนนี้รับแรงปะทะตามแนวขวางได้ราว 46.6 ตัน และรับแรงปะทะจากลมพายุได้ไม่เกิน 6.5 ตัน หมายความว่าถ้าเจอลมพายุเกินกว่านี้ ก้อนหินอาจเขยื้อนหล่นลงได้
ซึ่งข้อสังเกตนี้ตรงกับความเห็นของ ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์ แห่งภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้สัมภาษณ์ผมไว้ตั้งแต่ปี 2540 ว่าก้อนหินตั้งอยู่ได้เพราะจุดศูนย์กลางมวลหรือจุดศูนย์ถ่วงยังอยู่บนฐาน หรือบนหน้าผา ประกอบกับแรงลมที่มาปะทะยังไม่มากพอ นั่นคือถ้าแรงเสียดทานที่มากระทำยังมีไม่เกินกว่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน ของก้อนหิน หรือไม่มากพอที่จะทำให้จุดศูนย์กลางมวลหลุดจากฐานได้ ก้อนหินก็จะไม่ตกลงมา ส่วนเรื่องที่ก้อนหินขยับได้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมันไม่เสถียร คือก้อนหินมีจุดที่แตะบ้าง -ไม่แตะบ้างกับฐานหน้าผา แต่ก็ไม่มีผล ตราบเท่าที่จุดศูนย์กลางมวลยังไม่หลุด
ฟังทัศนะของนักวิทยาศาสตร์แล้ว ทำให้ได้ข้อคิดว่า "สิ่งที่เห็น อาจไม่เป็นอย่างที่คิด" คือมองด้วยตาเปล่า ก้อนหินมันตั้งหมิ่นเหม่ แต่ความเป็นจริง ส่วนของก้อนหินที่อยู่บนฐานหน้าผา แม้ดูน้อยกว่า แต่อาจมีน้ำหนักมากกว่า ก้อนหินจึงไม่หล่นลงมา ในทางตรงกันข้าม ถ้าความเชื่อว่าหินก้อนนี้ไม่มีวันหล่น เพราะพระอินทร์จับแขวนไว้ มันหล่อเลี้ยงจิตใจคนให้มีกำลังใจที่จะทำความดี รังสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ส่งผลให้สังคมสงบสุข...
by: Muggle
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น