เราขอพาท่านผู้อ่านเดินทางท่องเที่ยวไปกับบริษัท อินโดไชน่าเอ็กพลอเร่อร์ ถึงยังตอนกลางของประเทศเวียดนาม โดยผ่านทางจังหวัดมุกดาหารข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวไปยังแขวงสะหวันนะเขตของ สปป.ลาวผ่านด่านลาวบาวของเวียดนามเดินทางไปล่องเรือยังถ้ำฟองญ่าในจังหวัด กวางบินห์ถ้ำที่ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทาง ธรรมชาติ แวะเที่ยวชมอุโมงค์วินม๊อคในจังหวัดกวางตรี ความภาคภูมิใจของชาวเวียดนามที่มีชัยชนะเหนือมหาอำนาจอเมริกา จากนั้นเดินทางไปท่องเที่ยวยังเมืองเว้ราชธานีเก่ามรดกโลกทางวัฒนธรรมของชาว เวียดนามก่อนที่จะเดินทางลอดอุโมงค์ฮายเวิ่นที่มีความยาว 6,280กิโลเมตร ไปท่องเที่ยวยังเมืองดานัง เมืองพักต่างอากาศที่มีชื่อเสียงของเวียดนาม เมืองชายทะเลที่มีชายหาดสีขาวเป็นแนวยาวหลายสิบกิโลเมตรติดกับทะเลจีนใต้จาก นั้นเดินทางขึ้นกระเช้าไปบนยอดเขา Banahill ที่มีความสูง 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในเมืองดานังแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ตอนกลางของประเทศ เวียดนาม จากนั้นเดินทางไปท่องเที่ยวยังเมืองฮอยอันเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทูโบน เมืองมรดกโลกของประเทศเวียดนามพร้อมชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนตึกราม บ้านช่องอันสวยงามของเมืองฮอยอันที่ยังคงดูแลรักษาไว้เป็นอย่างดี ตลอดเวลาในการเดินทาง 5 วัน 4 คืน ทางทีมงาน www.idotravellers.com ได้ ประสบพบเห็นอะไรบ้างและการท่องเที่ยวกับทัวร์ในครั้งนี้จะสนุกสนานมากน้อย ขนาดไหนขอเชิญท่านผู้อ่านคลิ๊กเข้าไปเที่ยวชมได้เลยครับ แล้วพบกันใหม่ที่นครวัดนครธมเมืองโบราณในเมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาครับ
5 คืน 4 วัน เที่ยวกับทัวร์เวียดนามกลาง กวางบินห์ เว้ ดานัง ฮอยอัน
ในค่ำวันหนึ่งของเดือนกรกฎาคมทีมงาน สองชีวิตพร้อมกันที่จุดนัดพบบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 สวนลุมพินี เพื่อร่วมกับคณะทัวร์ fan tip ของบริษัทอินโดไชน่าเอ็กพลอเร่อร์(ประเทศไทย) จำกัด เดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศเวียดนามตอนกลาง ณ เมืองกวางบินห์ เว้ ดานัง ฮอยอัน
สำหรับ บริษัทอินโดไชน่าเอ็กพลอเรอร์ จำกัด เป็นบริษัทประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถบอินโดจีน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ พม่า ท่านผู้อ่านที่อ่านท่องเที่ยวฉบับนี้เสร็จแล้วสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว ยังประเทศเวียดนามกลางสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท อินโดไชน่าเอ็กพลอเรอร์ (ประเทศไทย )จำกัด โทรศัพท์ 02 898 1817 ,898 2324 ,081 9307030 หรือคลิ๊กเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซด์ได้ที่ www.indochinaexplorer.comหรือ E-mail: indochina@hotmail.comชอบโปรแกรมท่องเที่ยวที่ไหนจะเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะหรือจะเดินทาง ไปท่องเที่ยวเป็นการส่วนตัวพร้อมครอบครัวบริษัท อินโดไชน่าเอ็กพลอเรอร์ (ประเทศไทย )จำกัด สามารถจัดให้ได้ทั้งนั้นครับ ขอให้ติดต่อเข้าไปเถอะครับรับรองไม่ผิดหวังแน่นอนเพราะบริษัทฯ ประกอบธุรกิจทัวร์บนเส้นทางอินโดจีนนี้มายาวนานโดยเฉพาะประเทศกัมพูชาจะ เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วไปที่สนใจเดินทางท่องเที่ยวในประเทศแถบ อินโดจีน และเมื่อลูกทัวร์ครบทุกอย่างพร้อมจากนั้นรถทัวร์โดยสารของบริษัทอินโดไชน่า เอ็กพลอเร่อร์ ก็เดินทางออกจากกรุงเทพฯ แล่นฝ่าความมืดมุ่งหน้าสู่ยังอำเภอเมืองจังหวัดมุกดาหารประตูสู่อินโดจีนใน ทันที
คณะ ของเราดินทางมาถึงยังตัวเมืองมุกดาหารเมื่อเวลา 06.00 น.จากกรุงเทพฯถึงจังหวัดมุกดาหาร ระยะทาง 642 กิโลเมตรใช้เวลาในเดินทางประมาณ 9-10 ชั่วโมง คณะของเราแวะปฎิบัติภารกิจส่วนตัวและรับประทานอาหารเช้ากันที่ร้านเมือง มุกดา ตั้งอยู่ริมถนนบายพาสสาย 212 ห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรใช้เป็นที่พักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเป็นหมู่คณะหรือเดินทาง มาเป็นส่วนตัว แวะมาพักผ่อนปฎิบัติภาระกิจส่วนตัว ก่อนที่จะเดินทางข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 สู่แขวงสะหวันนะเขตในสปป.ลาว สำหรับภายในร้านของเมืองมุกดานอกจากจะมีอาหารเช้าพร้อมชา กาแฟไว้บริการนักท่องเที่ยวแล้วยังมีบริการห้องอาบน้ำห้องน้ำที่สะอาดได้ มาตราฐานพร้อมอุปกรณ์อาบน้ำครบครัน อีกทั้งยังมีบริการรถตู้ปรับอากาศ 10ที่นั่งรับส่งนักท่องเที่ยวจากตัวเมืองมุกดาหารถึงสนามบินจังหวัด อุบลราชธานี พร้อมจัดบริการท่องเที่ยวในสปป.ลาวและเวียดนามอีกด้วย พร้อมกันนี้ในร้านเมืองมุกดายังจำหน่ายสินค้าOTOP ที่คัดสรรสินค้าดีมีคุณภาพจากภูมิปัญญาคนไทยจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองอีสาน และผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย
ร้าน เมืองมุกดาเปิดให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุด สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 081 910 7165 081 564 4981 042-661 029 หรือคลิ๊กเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซด์ได้ที่ www.mukda.asia หรือ E-mail:muangmukda@hotmail.com
เรา สองคนถือโอกาศอาบน้ำชำระล้างร่างกายเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงมานั่ง ดื่มกาแฟและรับประทานอาหารเช้าเพื่อรอเวลาที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เปิดทำการเวลา 08.00 น.
เรา สองคนถือโอกาศอาบน้ำชำระล้างร่างกายเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงมานั่ง ดื่มกาแฟและรับประทานอาหารเช้าเพื่อรอเวลาที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เปิดทำการเวลา 08.00 น.
เมื่อ ด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหารเปิดทำการคณะทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่าฯ พร้อมเราสองคนออกเดินทางจากร้านเมืองมุกดามุ่งหน้าสู่ด่านตรวจคนเข้าเมือง มุกดาหารบรรยากาศคับคั่งไปด้วยประชาชนทั้งสองประเทศที่เดินทางข้ามสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวทำมาค้าขายกันเป็นกิจวัตรประจำวันที่เราเห็นกันจนชินตาตาม ด่านตรวจคนเข้า-ออกเมืองทุกแห่งที่มีพรมแดนใกล้ชิดติดกับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับสะพานไทยลาวแห่งที่ 2 มีรายละเอียดตามที่ผมจะเล่าให้ท่านผู้ที่สนใจฟังดังต่อไปนี้ครับ
สะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่บ้านสงเปือย ตำบลบางไทรใหญ่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร โดยข้ามไปลงที่ บ้านนาแก เมืองคันทะบูลี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวแขวงสะหวันนะเขตไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โดยรูปแบบสะพานเป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.5 เมตร ความยาวสะพานทั้งสิ้น 2,702 เมตร
สะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่บ้านสงเปือย ตำบลบางไทรใหญ่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร โดยข้ามไปลงที่ บ้านนาแก เมืองคันทะบูลี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวแขวงสะหวันนะเขตไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โดยรูปแบบสะพานเป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.5 เมตร ความยาวสะพานทั้งสิ้น 2,702 เมตร
สะพาน มิตรภาพฯ แห่งที่ 2 นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางขนส่ง เชื่อมโยงจากตะวันออกคือเมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงที่แขวงสะหวันนะเขต ต่อมายังมุกดาหาร และผ่านไปยังตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอด และเมืองเมียวดี และไปสิ้นสุดที่ เมืองมะละแหม่งของพม่า สำหรับในการเดินทางข้ามสะพานฯ จะต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศเท่านั้น โดยค่าโดยสารท่านละ 45 บาท โดยฝั่งไทยจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเหยียบแผ่นดิน ส่วน สปป.ลาว มีการจัดเก็บดังนี้ หนังสือเดินทาง (Passport) วันธรรมดา 20 บาท วันหยุด 40 บาท หนังสือผ่านแดน (Borderpass และ Temporary Borderpass) วันธรรมดา 50 บาท วันหยุด 100 บาท โดยมีจุดจอดรถโดยสารบริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ส่วนการเดินทางข้ามไปเที่ยวที่แขวงสะหวันนะเขต มีรายละเอียดการข้ามสะพานฯ ดังนี้น่ะครับ
สำหรับบุคคลทั่วไป
1. หนังสือเดินทาง (Passport) ที่ยังไม่หมดอายุสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย สัญชาติลาว และบุคคลที่มีสัญชาติในประเทศที่ 3 บุคคลที่มีสัญชาติไทย ติดต่อทำได้ที่สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัด ขอนแก่น หรือ
2. หนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporaty Borderpass) ชนิดแผ่นใช้ครั้งเดียว (ไป-กลับ) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดใดก็ได้ เดินทางได้ 3 วัน 2 คืน สามารถดำเนินการได้ที่ อาคารท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จ.มุกดาหาร(ด่านท่าเรือ), ที่ทำการบริษัทขนส่ง จำกัด ภายในอาคารสถานีผู้โดยสาร จ.มุกดาหาร เชิงสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
เอกสารหลักฐานประกอบคำขอประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ จำนวน 2 รูป ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือผ่านแดนชั่วคราวจำนวน 30 บาท หรือ
3. หรือหนังสือผ่านแดน (Borderpass) ชนิดเล่ม ต้องมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดมุกดาหารเท่านั้น ใช้ได้ 1 ปี ซึ่งสามารถดำเนินการได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดมุกดาหาร ใกล้ท่าเรือเทศบาล และอาคารอ่านควบคุมขาออกสะพานฯ
หลักฐานประกอบคำขอ ประกอบด้วย รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ จำนวน 2 รูป ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือผ่านแดนจำนวน 200 บาท ผู้ติดตามที่เป้นเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากบิดา-มารดา ก่อนจึงจะได้รับอนุญาต
สำหรับรถยนต์
1. หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (Passport รถยนต์) ที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่ และติดเครื่องหมายแสดงประเทศไว้ที่รถ ติดต่อขอทำได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่จดทะเบียน หรือที่สำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหาร
2. เตรียมเอกสารจัดทำประกันภัยรถยนต์ เพื่อคุ้มครองผู้ประสพภัยจากรถที่ด่านพรมแดน แขวงสะหวันนะเขต ตามกฎหมายของ สปป.ลาว
1. หนังสือเดินทาง (Passport) ที่ยังไม่หมดอายุสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย สัญชาติลาว และบุคคลที่มีสัญชาติในประเทศที่ 3 บุคคลที่มีสัญชาติไทย ติดต่อทำได้ที่สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัด ขอนแก่น หรือ
2. หนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporaty Borderpass) ชนิดแผ่นใช้ครั้งเดียว (ไป-กลับ) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดใดก็ได้ เดินทางได้ 3 วัน 2 คืน สามารถดำเนินการได้ที่ อาคารท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จ.มุกดาหาร(ด่านท่าเรือ), ที่ทำการบริษัทขนส่ง จำกัด ภายในอาคารสถานีผู้โดยสาร จ.มุกดาหาร เชิงสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
เอกสารหลักฐานประกอบคำขอประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ จำนวน 2 รูป ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือผ่านแดนชั่วคราวจำนวน 30 บาท หรือ
3. หรือหนังสือผ่านแดน (Borderpass) ชนิดเล่ม ต้องมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดมุกดาหารเท่านั้น ใช้ได้ 1 ปี ซึ่งสามารถดำเนินการได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดมุกดาหาร ใกล้ท่าเรือเทศบาล และอาคารอ่านควบคุมขาออกสะพานฯ
หลักฐานประกอบคำขอ ประกอบด้วย รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ จำนวน 2 รูป ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือผ่านแดนจำนวน 200 บาท ผู้ติดตามที่เป้นเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากบิดา-มารดา ก่อนจึงจะได้รับอนุญาต
สำหรับรถยนต์
1. หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (Passport รถยนต์) ที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่ และติดเครื่องหมายแสดงประเทศไว้ที่รถ ติดต่อขอทำได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่จดทะเบียน หรือที่สำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหาร
2. เตรียมเอกสารจัดทำประกันภัยรถยนต์ เพื่อคุ้มครองผู้ประสพภัยจากรถที่ด่านพรมแดน แขวงสะหวันนะเขต ตามกฎหมายของ สปป.ลาว
สำหรับ รายละเอียดที่ผมเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ถือว่าเป็น เกร็ดความรู้เล็กน้อยๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะเดินทางมาท่อง เที่ยวด้วยตนเองแต่ถ้าต้องการตัดปัญหายุ่งยากในการทำเอกสารขับรถยนต์ส่วนตัว ข้ามไปท่องเที่ยวยังฝั่งสปป.ลาว ก็ให้ร้านเมืองมุกดา ช่วยเป็นธุระจัดการให้จะสะดวกสบายกว่าโดยเสียค่าบริการเพียงเล็กน้อยเท่า นั้น ถือเสียว่าซื้อความสะดวกก็แล้วกันนะครับ สำหรับการเดินทางข้ามไปยังแขวงสะหวันเขตเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศ เวียดนามกลางในสมัยก่อนที่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 จะเปิดให้ใช้งานได้นั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควรโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงนั้นจะลดระดับลงมาก นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวด้วยตนเองจำเป็นจะต้องขนสัมภาระขึ้นลง เรือข้ามฟากด้วยตนเอง แต่ถ้าเดินทางมากับบริษัททัวร์ก็สบายไปเพราะทางบริษัททัวร์ทัวร์จะจัดการขน กระเป๋าสัมภาระให้ท่านทั้งหมด ท่านเพียงแต่เดินขึ้นและลงเรือเท่านั้นและในปัจจุบันสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 นี้เปิดให้ใช้งานได้แล้วนั้นทำให้นักท่องเที่ยวสะดวกสบายขึ้นเป็นอัน มาก นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถของบริษัททัวร์ที่ท่านใช้บริการเดินทางมายังด่าน ตรวจคนเข้าเมืองทางฝั่งไทยจากนั้นก็ลงจากรถให้เจ้าหน้าที่ ต.ม ตรวจเช็คพาสปอร์ตหลักฐานเป็นที่เรียบรอยแล้วจากนั้นจึงกลับมาขึ้นรถของ บริษัททัวร์ที่ท่านใช้บริการเดินทางข้ามสะพานมิตรภาพที่ภาษาลาวเรียกกัน ว่า “ขรัว” เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมายังบ้านนาแก เมืองคันทะบูลี ในแขวงสะหวันะเขตอันเป็นที่ตั้งของด่านตรวจคนเข้าเมือง สปป.ลาว เป็นอันเรียบร้อยโรงเรียนลาว เป็นไงครับเดินทางมากับบริษัทอินโดไชน่าฯ สะดวกสะบายกว่าเดินทางมาด้วยตัวเองเยอะเลย
แต่ ถ้ามีความประสงค์จะเดินทางมาท่องเที่ยวด้วยตัวเองชนิดค่ำไหนนอนนั่นประเภท Back package อันนี้ก็ต้องลำบากกันนิดหน่อยในเรื่องการจัดเตรียมเอกสารและการซื้อตั๋วรถ ข้ามสะพานมิตรภาพจากฝั่งไทยข้ามไปยังฝั่งลาวจะมาแบกเป้เดินเทิ่งๆ เดินข้ามสะพานเหมือนกับเดินข้ามสะพานพุทธหรือสะพานพระนั่งเกล้านั้นไม่ได้ น่ะครับและก็อีกอย่างหนึ่งสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 นี้มีความยาว3-4 กิโลเมตร เดินแบกเป้ไปเห็นท่าจะไม่ไหวแน่ จะต้องนั่งรถทัวร์โดยสารระหว่างประเทศคนละ 45 บาท เท่านั้นนะครับถึงจะเดินทางข้ามมายังสปป.ลาวได้
สำหรับ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวด้วยตัวเองประเภทBack packageสามารถเดินทางไปยังประเทศเวียดนามได้โดยใช้บริการรถทัวร์โดยสาร ระหว่างประเทศ ลาว-เวียดนาม เดินทางไปยังเวียดนามตอนกลาง เช่น เมืองเว้ มีบริการรถทัวร์โดยสารเดินทางไปเมืองเว้อาทิตย์ละ 3 วันๆละหนึ่งเที่ยวคือวันอังคาร วันพฤหัส และ วันเสาร์โดยออกจากสถานีขนส่งสะหวันนะเขตเวลา 10.00 น. ถึงเมืองเว้เวลา 18.00 น. ค่าโดยสารคนละประมาณ 500 บาทระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร
สนใจ จะนั่งรถไปเที่ยวเองก็ได้น่ะครับ แต่ต้องทำใจนิดหน่อยกับการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถโดยสารท้องถิ่น (LOCAL BUS) ของลาวซึ่งเป็นรถหวานเย็นและก็รับผู้โดยสารไม่อั้นทั้งคนทั้งของจักรยานและ มอเตอร์ไซด์เต็มบนหลังคารถไปหมด เราสองคนเรียกกันว่า “รถมหาสนุก” ท่านใดที่อยากเรียนรู้ประสบการณ์การเดินทางแบบทรมานบันเทิงก็ขอเรียนเชิญได้ เลยครับ แต่เราสองคนต้องขอตัวก่อนน่ะครับเพราะได้เรียนรู้มาแล้วจากประสบการณ์การ เดินทางจากเมืองขรัวของลาวไปยังเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม ทรมานบันเทิงตลอดการเดินทางเลยครับ ลองคลิ๊กเข้าไปชมใน www.idotravellers.com ปีที่ 1 ฉับบที่ 5 ก็ได้นะครับ
คณะ ทัวร์โดยสารเดินทางข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 มาถึงยังด่านตรวจคนเข้าเมืองสปป.ลาวหลังจากผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาวเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงจัดการเปลี่ยนรถโดยสารมาใช้รถโดยสาร ของลาวแทนเพราะสามารถขับเข้าไปในประเทศเวียดนามได้เลย โดยระหว่างลาวและเวียดนามนั้นมีสนธิสัญญาการคมนาคมซึ่งกันและกันระหว่างสอง ประเทศ
เมื่อ คณะทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่าฯและรถโดยสารทางฝั่งลาวพร้อมเป็นที่เรียบร้อย แล้ว การเดินทางจากสปป.ลาว สู่ตอนกลางของประเทศเวียดนามก็ได้เริ่มต้นขึ้น
รถ โดยสารพาคณะทัวร์และเราทั้งสองคนเดินทางไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 9 เส้นทางสายหลักที่สามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศเวียดนามกลางได้สะดวกและเร็ว ที่สุดระยะทางประมาณ 240 กิโลเตรใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น
รถ โดยสารของคณะทัวร์บริษัทอินโดไชน่าฯ พาเราเดินทางผ่านสี่แยกทางหลวงหมายเลข13 มีเส้นทางเลี้ยวขวาเดินทางไปยังเมืองปากเซ หัวเมืองทางตอนใต้ของสปป.ลาว ห่างจากแขวงสะหวันนะเขตระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตร เลยต่อมาเล็กน้อยมีเส้นทางถนนราดยางเลี้ยวซ้ายมือไปยังกำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสปป.ลาว ระยะทางประมาณ 480 กิโลเมตร
เสียง ไกด์พูสาวลาวก็เริ่มอธิบายเรื่องราวการเดินทางตลอดสองข้างทางที่รถแล่นผ่าน ให้ลูกทัวร์และเราทั้งสองคนฟังอย่างเพลิดเพลิน เดินทางต่อมาได้ประมาณเกือบ 45 นาที รถโดยสารก็พาคณะทัวร์เดินทางมาถึงเซโดน(XENO) ไกด์พูสาวลาวได้เล่าให้พวกเราฟังว่า “ชื่อเมืองเซโดน(XENO) นี้เป็นภาษาฝรั่งเศสส่วนภาษาลาวเรียกว่าเมืองอุทุมพรตั้งอยู่ห่างจากเมือง สะหวันเขตระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
ใน สมัยที่ลาวตกอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศสเมืองเซโดนนี้เคยใช้เป็นสถานที่ตั้ง ของกองทหารฝรั่งเศส สังเกตุได้จากสองข้างทางยังมีตึกเก่าๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับค่ายทหารสภาพชำรุดทรุดโทรมตั้งเรียงรายอยู่ตลอดสองข้าง ทาง เมืองเซโดนแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นสมรภูมิสู้รบอันดุเดือดและหนักหน่วงที่สุด ทางภาคใต้ของลาวระหว่างกองทัพของขบวนการประเทศลาวที่ได้รับการสนับสนุนจาก เวียดนามและรัสเซีย สำหรับจุดประสงค์ใหญ่คือต้องการขับไล่กองทัพฝรั่งเศสให้ออกไปจากแผ่นดินลาว จนล่วงเลยเข้าสู่สมัยสงครามเวียดนามซึ่งมีพี่เบิ้มสหรัฐอเมริกาเป็นหัวโจก ใหญ่เข้ามาปกครองลาวเสียหลายปี การต่อสู้ในดินแดนแถบนี้ก็ยังไม่สิ้นสุดลงแต่เป็นการเปลี่ยนคู่ชกจาก ฝรั่งเศสมาเป็นอเมริกา มวยรุ่นใหญ่กว่าแต่ก็โดนมวยรุ่นเล็ก คือลาวฝ่ายซ้ายจากการนำของท่านไกสอน พมวิหานไล่ถลุงจนตกเวทีพ่ายแพ้ไปอย่างน่าอับอายขายหน้าชาวโลก ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ตั้งของค่ายทหารกองทัพประชาชนลาว ซึ่งรวมทั้งรันเวย์สนามบินที่ปัจจุบันโดนแปรสภาพมาเป็นลานตากข้าวโพดของ เกษตรกรชาวลาว รวมทั้งฝูงวัวควายใช้เป็นลานเดินเล่นออกกำลังกายกันเป็นที่สบายอุราไป
นอก จากนี้บริเวณสองข้างทางของถนนสายสะหวันนะเขต-เซโดน นี้ยังมีโรงงานอุตสหกรรมของนายทุนต่างชาติ เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฯลฯ มาเปิดโรงงานอุตสหกรรมประกอบรถจักรยานยนต์ โรงงานทอผ้า โรงงานปูนซีเมนต์ตรากระทิง เรียงรายอยู่ตลอดสองข้างทางของเส้นทางสายนี้ ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้เงินช่วยเหลือรัฐบาลลาวในการสร้างเส้นทางถนนสาย นี้ รถทัวร์โดยสารพาคณะทัวร์และเราสองคนเดินทางออกจากเมืองเซโดนผ่านเมืองผลาญ ไชย เมืองพินจนถึงเมืองบ่อคำ จะมีทางแยกถนนราดยางเข้าไปทางซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตรจะเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่ทองคำของลาวซึ่งแต่ก่อนบริษัทของ ออสเตรเลียได้รับสัมปทานในการขุดแร่ทองคำ แต่ในปัจจุบันบริษัทจากประเทศจีนได้เข้ามารับสัมปทานแทนบริษัทจากประเทศ ออสเตรเลียแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งผลิตแร่ทองคำแล้วยังใช้เป็นแหล่งผลิตแร่ทองแดงขึ้นรูป ใช้ในงานอุตสหกรรมอีกด้วย
จาก นั้นเราสองคนเดินทางผ่านเมืองเซโปนซึ่งเป็นชุมชนชาวเผ่าพูไทซึ่งเป็นชนเผ่า หนึ่งคล้ายกับชนเผ่าภูไทที่จังหวัดกาฬสินธุ์บ้านเรา และในที่สุดเวลาเที่ยงเศษๆ คณะทัวร์ของเราก็เดินทางมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองแดนสวรรค์ของสปป.ลาว ซึ่งมีพรมแดนติดกับด่านลาวบาวของเวียตนาม
ระยะ ทางจากสะหวันเขตถึงด่านลาวบาว พรมแดนเวียดนามระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตรใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมงเศษๆ คณะทัวร์พร้อมเราทั้งสองคนแวะพักรับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านอาหารที่ ตั้งอยู่ใกล้กันด่านตรวจคนเข้าเมืองแดนสวรรค์ของลาวเพื่อรอเวลาให้พนักงาน ของบริษัทอินโดไชน่าฯ ได้ดำเนินการทำเอกสารผ่านสปป.ลาว เข้าสู่เวียดนามโดยที่ลูกทัวร์ไม่ต้องไปยืนเข้าแถวยื่นเรื่องทำเอกสารผ่าน แดนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นความสะดวกสบายที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเมื่อเดินทางมากับบริษัท ทัวร์อินโดไชน่าฯ
บริเวณ ด่านแดนสวรรค์ของลาวเราจะเห็นแม่ค้าชาวเวียดนามรับแลกเปลี่ยนเงินไทยไปเป็น เงินด่องในอัตราแลกเปลี่ยน 400โด่งเท่ากับ 1 บาท หรือ400,000โด่งเท่ากับ 1,000 บาทไทย ส่วน 1 ยูเอสดอลล่าร์จะเท่ากับ 17,000โด่ง ซึ่งลูกทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่าฯใช้บริการกันอย่างคับคั่ง สำหรับธนบัตรรุ่นใหม่ของเวียดนามได้รับการปรับปรุงคุณภาพการพิมพ์และกระดาษ จากที่เคยใช้กระดาษธรรมดาในการพิมพ์ที่มีคุณภาพแย่เอามากๆ คล้ายกับแบงค์กงเต็กในงานศพของชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านเราใช้เพียงไม่กี่ครั้ง ธนบัตรก็ยับยู่ยี่เปื่อยยุ่ยจนเน่าคามือ ปัจจุบันหันมาใช้โพลีเมอร์ในการพิมพ์ธนบัตรเหมือนกับแบงค์ 50 บาท
ใน สมัยก่อนของบ้านเราที่ปัจจุบันได้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว ซึ่งหลังจากที่ได้ปรับปรุงการพิมพ์พร้อมทั้งกระดาษที่นำมาพิมพ์ทำเป็นธนบัตร ของเวียดนามที่ใช้ในปัจจุบันดูสวยงามสะอาดตาน่าใช้กว่าแต่ก่อนมาก แต่ถ้าขากลับใช้เงินโด่งไม่หมดสามารถนำกลับมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคืนได้ใน อัตราแลกเลี่ยนอีกอัตราหนึ่งซึ่งอาจจะขาดทุนไปบ้างเล็กน้อยก็ไม่ว่ากัน ถือเสียว่าซื้อความสะดวกก็แล้วกัน ดังนั้นก่อนที่จะแลกเงินไทยเป็นเงินโด่งก็ขอให้เช็คดูอัตราการแลกเปลี่ยน เงินให้ดีๆเสียก่อนเพราะแม่ค้าเวียตนามแต่ละคนให้อัตราการแลกเปลี่ยนไม่ เหมือนกัน แม่ค้าบางคนเอากำไรมากบางคนก็เอากำไรน้อยแต่อยากจะขอเตือนว่า สายตาของท่านได้โปรดอย่าสับสนกับจำนวนของเลขศูนย์ที่อยู่บนธนบัตรญวน เพราะเคยมีนักท่องเที่ยวบางคนงงกับเลขศูนย์มองเห็นธนบัตร100,000โด่งเป็น 10,000โด่งซื้อสินค้าราคา 10000โด่งแต่ควักแบงค์100,000โด่งจ่ายให้แม่ค้าญวนหน้าตาเฉยโดยไม่รับเงิน ทอน ถ้าเจอแม่ค้าที่มีจิตใจดีก็ดีไปแต่ถ้าเจอแม่ค้าขี้โกงก็ถือว่าเป็นความซวย ของท่านไปที่ซื้อสินค้าราคาแพงกว่าปกติหลายเท่าเพราะฉะนั้นอย่าสับสนกับการ ใช้เงินญวนควรนับเลขศูนย์ให้ดีๆว่าเป็นหลักพัน หลักหมื่นหรือหลักแสนโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสูงวัยไม่ใส่แว่นสายตาควรระมัด ระวังเป็นพิเศษเดี๋ยวจะมาหาว่าไอ้ปื้ดไม่เตือน
เมื่อทำการแลกเปลี่ยนสกุล เงินตรากันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราสองคนจึงร่วมวงรับประทานอาหารกลางวัน พร้อมกับคณะทัวร์ของอินโดไชน่าฯ สำหรับเมนูอาหารกลางวันในมื้อนี้ของคณะทัวร์จะออกไปทางลาวผสมเวียดนามนิดๆ เพราะร้านอาหารตั้งอยู่ติดกับพรมแดนเวียดนามรวมทั้งเจ้าของร้านอาหารก็เป็น คนเวียดนามเสียด้วย กลิ่นไอของเวียดนามจึงเริ่มโชยเข้ามาแตะจมูกของเราเล็กน้อย
เรา สองคนจัดการกับเมนูอาหารด้วยความหิว อร่อยหรือไม่อร่อยนั้นค่อยว่ากันอีกเรื่องหนึ่งเพราะตอนเช้าที่ร้านเมือง มุกดากินกาแฟและข้าวต้มกันคนละเล็กน้อยเท่านั้น พอเราสองคนจัดการกับอาหารกลางวันเสร็จสรรพ การทำเอกสารผ่านเข้าเมืองของทางเจ้าหน้าที่บริษัทอินโดไชน่าฯ ก็เสร็จพร้อมกันพอดีไม่ต้องเสียเวลามากจะได้มีเวลาอยู่ท่องเที่ยวเวียดนาม ได้อย่างคุ้มค่าราคาทัวร์
เรา สองคนพร้อมกับคณะทัวร์เดินเท้าจากด่านแดนสวรรค์ของลาวข้ามฟากมายังด่านลาวบา วของเวียตนามระยะทางห่างกันประมาณ 300 เมตร พอเดินเท้ามาถึงด่านลาวบาวบรรดาลูกทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่าฯ ก็ถ่ายรูปหมู่ร่วมกันเป็นที่ครึกครื้นบริเวณประตูทางเข้าด่านลาวบาว
ปัจจุบัน ด่านลาวบาวแห่งนี้ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก มีความสะอาดสะอ้านมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งรวมถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคน เข้าเมืองของเวียดนามก็รวดเร็วฉับไวกว่าเดิม แตกต่างจากที่เราสองคนเคยเดินทางมาเมื่อ 3-4 ปีก่อนโดยสิ้นเชิง
ซึ่ง ในอดีตเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้า-ออกเมืองของเวียตนามทำงานอืดเหมือนเรือเกลือ เครื่องเสีย ซึ่งกว่าจะจัดการตรวจเช็คเอกสารและสัมภาระเสร็จเรียบร้อยได้ก็ทำเอาเสีย เวลาเข้าไปตั้งครึ่งค่อนวัน ปัจจุบันทุกอย่างมีแนวโน้มการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นและเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจ คนเข้า-ออกเมืองของเวียดนามทำการตรวจสอบเอกสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นรถทัวร์โดยสารก็พาคณะทัวร์ของอินโดไชน่าฯ เข้าสู่เวียดนามในทันที
สำหรับ จังหวัดแรกที่คณะทัวร์พร้อมเราสองคนเดินทางเข้ามาเป็นจังหวัดแรกในเวียดนาม ตอนกลางนั้นก็คือจังหวัดกวางตรี (QUANG TRI) ซึ่งมีพรมแดนติดกับสปป.ลาว สำหรับจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยวของคณะทัวร์บริษัทอินโดไชน่าฯ ในวันนี้ก็คือ ถ้ำฟองญ่า (PHONG NHA CAVES) ในจังวัดกวางบินห์ (QUANG BINH) ห่างจากเมืองโด่งฮา (DONG HA) เมืองเอกในจังหวัดกวางตรี ซึ่งจะเป็นที่พักของเราในคืนนี้ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร
รถ ทัวร์โดยสารขับพาเราสองคนพร้อมคณะทัวร์ไปตามถนนหมายเลข 9 เลียบแม่น้ำ DAKRONG ผ่านสะพานแขวนที่เชื่อมกับถนนหมายเลข 9 เข้ากับเส้นทางสายโฮจิมินห์ซึ่งในสมัยสงครามอินโดจีน ปี ค.ศ. 1960-1974 เวียดนามได้ใช้ถนนสายนี้ทำการส่งอาวุธยุทธโธปกรณ์และเสบียงอาหารไปช่วยลาว ฝ่ายซ้ายขบวนการประเทศลาวที่นำโดยท่านไกสอน พมวิหานรบกับลาวฝ่ายขวาที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา เราสองคนเพลินเพลินไปกับวิวทิวทัศน์ท้องไร่ท้องนาสายน้ำอันงดงามสลับกันกับ เทือกเขาอันสลับซับซ้อนในจังหวัดกวางตรี ซึ่งครั้งหนึ่งที่ผ่านมาในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นสมรภูมิสู่รบอันดุเดือดระ หว่างฝ่ายเวียดกงกับทหารอเมริกันผุ้รุกราน
แต่ ในปัจจุบันไม่เห็นซากผลพวงของสงครามอินโดจีนที่ผ่านมาให้เราสองคนได้เห็นอีก ต่อไปแล้ว มีแต่ท้องไร่ท้องนาอันเขียวชะอุ่มชาวนาเวียดนามกำลังก้มหน้าก้มตาทำนากัน อยู่อย่างขะมักขะเม้น ลืมเรื่องราวความโหดร้ายของสงครามครั้งที่ผ่านมาร่วมกันก้มหน้าก้มตาทำงาน สร้างชาติกันอย่างขยันขันแข็ง รถทัวร์โดยสารพาคณะทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่าฯเดินทางผ่านเมืองก่าม โล่(KAMLO)ในจังหวัดกวางตรีซึ่งตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 9 ไกด์เวียดนามได้เล่าให้ลูกทัวร์และเราทั้งสองคนฟังว่า ในสมัยสงครามเวียดนามประมาณปี ค.ศ 1972 เมืองก่ามโล่แห่งนี้อยู่ในการปกครองของเวียดนามเหนือเคยให้การต้อนรับ ฟิลเดีย คาสโตรอดีตผู้นำคิวบาเพื่อนร่วมรุ่นกับเช กูวาร่า นายแพทย์นักปฎิวัติชาวอาเจนไตน์เดินทางมาเยี่ยมเยียนแนวรบของเวียดนามเหนือ ที่เมืองก่ามโล่แห่งนี้ในสมัยที่เวียดนามยังไม่รวมประเทศเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันเหมือนเช่นทุกวันนี้ ซึ่งในสมัยสงครามเวียดนาม เวียดนามกับคิวบามีลูกพี่ใหญ่เดียวกันคือสหภาพโซเวียตเมื่อครั้งยังไม่ล่ม สลายเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยเหมือนทุกวันนี้และยังมีศัตรูตัวสำคัญเหมือน กันอีก คือ อเมริกานักเลงโตแห่งโลกทุนนิยม ดังนั้นเวียดนามกับคิวบาจึงให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอดในฐานะ ประเทศที่ปกครองในระบอบเดียวกันคือคอมมิวนิสต์เวียดนามปลูกข้าวได้ก็ส่งไป ช่วยคิวบาส่วนคิวบาผลิตน้ำตาลได้ก็ส่งมาให้เวียดนาม ในช่วงสงครามเวียดนาม คิวบาได้ส่งครูฝึกการรบแบบกองโจรมาช่วยฝึกเวียดกงรบกับอเมริกาจนเวียดกงได้ รับชัยชนะต่ออเมริกาในเวลาต่อมา ปัจจุบันยังมีบ้านพักของฟิลเดีย คาสโตรเป็นหลักฐานการเดินทางมาเยี่ยมเยือนของฟิลเดีย คาสโตรตั้งอยู่ภายในเมืองก่ามโล่แห่งนี้เผอิญบ้านพักของฟิลเดีย คาสโตรไม่อยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวนี้เราจึงอดแวะเข้าไปเยี่ยมชมเอาไว้โอกาส หน้าก็แล้วกันน่ะครับ
จาก เส้นทางหลวงหมายเลข 9 รถทัวร์โดยสารพาคณะทัวร์เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 15 เรื่อยขึ้นไปทางตอนเหนือมุ่งหน้าสู่ถ้ำฟองญ่าซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกวาง บินห์ (QUANG BINH) และเนื่องจากในประเทศเวียดนามใต้มีกฎหมายกำหนดความเร็วในการขับรถไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีการตรวจจับความเร็วของตำรวจทางหลวงเวียดนามตลอดเส้นทางโชเฟอร์ชาวเวียดนาม ของเราจึงต้องขับรถด้วยความระมัดระวังในเรื่องของความเร็ว แต่บางครั้งก็ไม่วายถูกตำรวจทางหลวงเรียกตลอดเส้นทาง ซึ่งก็ต้องจ่ายเงินค่าปรับใต้โต๊ะให้เหมือนกับบ้านเรา แต่เงินใต้โต๊ะตำรวจเวียดนามแพงกว่าที่เมืองไทยหลายเท่า เช่น ถ้าเมืองไทยจ่ายใต้โต๊ะ100 บาท ที่เวียดนามต้องจ่ายถึง 500 บาท ต่อคัน สาเหตุเพราะกฎหมายควบคุมความเร็วในเวียดนามนั้นรุนแรงกว่าเมืองไทยหลายเท่า มีสิทธิถึงยกเลิกใบอนุญาตตลอดชีวิตเลยทีเดียว โชว์เฟอร์เวียดนามจึงต้องขับรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษไม่เช่นนั้นอาจ ถึงกับโดนยึดใบอนุญาตขับรถตลอดชีวิตหมดอาชีพขับรถไปเลยก็ได้
ใน ที่สุดคณะทัวร์ของ บริษัท อินโดไชน่าฯ ก็เดินทางมาถึงถ้ำฟองญ่า ตราสัญญลักษณ์มรดกโลกขององค์การมรดกโลกตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเทือกเขาหิน ปูนซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกล อุทยานแห่งชาติ ฟองญ่า-แกะบ่าง (Phong Nha-Ke Bang National Park) หนึ่งในมรดกโลกทางธรรมชาติ รับรองโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองด่งเฮย จังหวัดกวางบินห์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร
บริเวณ พื้นที่อุทยานฯ ซึ่งกินเนื้อที่ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร เป็นภูเขาหินปูนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชีย คาดว่ามีอายุกว่า 400 ล้านปี ถ้ำฟองญ่าเป็นถ้ำ ซึ่งยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นมรดกโลกอันดับล่าสุดของเวียดนาม
ถ้ำฟองยาได้รับการยอมรับจากนัก สำรวจถ้ำทั่วโลกว่า เป็นถ้ำอันดับหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นเจ้าของสถิติถึง 4 รายการได้แก่ น้ำลอดยาวที่สุดในโลก โถงถ้ำสูงที่สุด ยาวที่สุด และกว้างที่สุด มีหาดทรายภายในถ้ำที่สวยงาม และความอลังการของหินงอกหินย้อย วิจิตรตระการตา ตัวถ้ำลึกเกือบ 8 กิโลเมตร ส่วนที่มีน้ำลอดทั้งหมดยาว 14 กิโลเมตร มีถ้ำแยกย่อยทั้งหมด 14 ถ้ำ ซึ่งรวมระยะทางที่สำรวจแล้วถึง 44.5 กิโลเมตร กระแสน้ำภายในถ้ำแห่งนี้ไหลมาจาก สปป.ลาว ลอดเข้ามาภายในถ้ำแล้วไหลออกมาเป็นแม่น้ำซอง จากนั้จึงไหลไปลงยังทะเลจีนใต้ของประเทศเวียดนาม พอลงจากรถทัวร์โดยสารไกด์สาวชาวเวียดนามพูดไทยได้ก็จัดการแบ่งลูกทัวร์ออก เป็นกลุ่มๆ ละ 8-10 คน เพื่อให้พอดีกับจำนวนที่นั่งในเรือมังกรที่ทำจากไม้ติดเครื่องยนต์รองรับนัก ท่องเที่ยวได้ลำละ 8-10 คน
เมื่อ ลูกทัวร์ลงไปในเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้วเจ้าเรือมังกรก็ออกเดินทางล่องไปตาม แม่น้ำซอนสู่ถ้ำฟองญ่าในทันที สภาพอากาศของเวียดนามในวันนี้ท้องฟ้าสวยแดดใสเป็นใจให้กับการถ่ายรูปของเรา ทั้งสองคนเป็นอย่างยิ่ง
เจ้า เรือมังกรพาคณะทัวร์แล่นไปตาแม่น้ำซอนอันกว้างขวางสองข้างทางเรียงรายไปด้วย บ้านเรือนชาวเวียดนามสลับกับเทือกเขาหินปูนอันสลับซับซ้อนและสูงชันอากาศ เย็นสบายทำให้บรรดาลูกทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่า ฯ เพลิดเพลินกับวิวทิวทัศน์ตลอดสองข้างทาง
ใช้ เวลาในการล่องเรือประมาณ 30 นาที เจ้าเรือมังกรก็พาคณะเดินทางล่องเรือเข้ามายังภายในถ้ำฟองญ่าจากนั้นคนขับ เรือจึงดับเครื่องยนต์ใช้ไม้พายแจวเรือเข้าไปภายในถ้ำอย่างเงียบ ๆ ลำแสงของดวงอาทิตย์สะท้อนผิวน้ำภายในถ้ำน้ำใสอย่างกับสระมรกต
เรือ มังกรพายฝ่าความมืดเข้าไปได้ประมาณ 800 เมตร จากนั้นก็หยุดให้ลูกทัวร์ชมหินงอกหินย้อยภายในถ้ำที่วางไฟไว้ตามหินงอกหิน ย้อยหลายจุดด้วยกัน เจ้าเรือมังกรเข้าไปไกลมากกว่านี้ไม่ได้แล้วเพราะอาจเกิดอันตรายจากหินปูน ที่ผุกร่อนบนผนังถ้ำอาจตกลงมาทำอันตรายกับนักท่องเที่ยวทั่วๆไปได้ จากนั้นจึงปล่อยให้ลูกทัวร์ขึ้นฝั่งเดินชมความสวยงามของหินงอกหินย้อยภายใน ถ้ำตามทางเดินที่ทางอุทยานฯ ได้ทำไว้ให้ระยะทางประมาณ 500 เมตร
จาก นั้นจึงออกมาลงเรือมังกรลำเดิมที่จุดจอดเรือรอลูกทัวร์อยู่บริเวณด้านหน้า ของถ้ำฟองญ่า เราสองคนเข้าไปเที่ยวในถ้ำฟองญ่าแล้วชวนให้นึกถึงถ้ำเลเขากอบที่จังหวัดตรัง เพราะมีลักษณะสภาพทางภูมิศาตร์ใกล้เคียงกันมากจะแตกต่างกันตรงที่ขนาดความ ใหญ่โตของถ้ำ ซึ่งถ้ำฟองญ่ามีขนาดใหญ่กว่าถ้ำเลเขากอบที่จังหวัดตรังหลายสิบเท่า
แต่ ถึงถ้ำเลเขากอบจะเล็กกว่าถ้ำฟองญ่า แต่ถึงจะจิ๋วก็แจ๋วกว่าในเรื่องความสวยงามของหินงอกหินย้อยภายในถ้ำแล้วถ้ำ เขากอบของเรากินขาดสำหรับถ้ำฟองญ่าเหนือกว่าถ้ำเลเขากอบก็เพียงแต่ความใหญ่ โตและความยาวของถ้ำเท่านั้นเอง เราสองคนไม่ใช่ชาตินิยมน่ะครับไม่เชื่อท่านลองไปชมเองก็แล้วกันครับ
คณะ ทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ และเราสองคนเดินทางออกจากอุทยานแห่งชาติฟองญ่า-แกะบ่างโดยใช้เส้นทางถนนหมาย เลข 15 จากนั้นจึงมาเข้าสู่เส้นทางหลวงสายหลักของประเทศเวียดนามคือหมายเลข 1A เชื่อมถนนตั้งแต่เหนือสุดจดใต้สุดของประเทศเวียดนาม ระยะทางประมาณ 2,000 กว่ากิโลเมตร เปรียบเทียบระยะทางก็ประมาณจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงประเทสสิงค์โปร์ล่ะครับ ถ้าขับรถท่องเที่ยวตั้งแต่เหนือสุดจดใต้สุดของประเทศเวียดนามก็เรียกว่าขับ กันจนหายอยากล่ะครับ ยิ่งในประเทศเวียดนามจำกัดเรื่องความเร็ว 80กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถนนสายหลักมีเพียงแค่สองเลนเหมือนถนนสายย่อยเข้าสู่อำเภอต่างๆ ของบ้านเรา แถมจะต้องขับรถขึ้นเขาลงเขาเลียบถนนสายทะเลจีนใต้ด้วยแล้ว ลองนึกภาพดูเอาเองเถอะครับว่าจะมันยกร่องฟักทองแตงไทขนาดไหน แถมกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์รถมอเอร์ไซด์วิ่งกันให้เพ่นพ่านเหมือนผึ้งแตก รัง ไม่ทราบว่าจะทำใจได้หรือเปล่าครับกับจราจรของเวียดนาม ส่วนป้ายบอกทางต่างๆ ก็เป็นภาษาเวียดนามอีกต่างหาก ตำรวจจราจรก็คุยกันไม่รู้เรื่อง อีกคนหนึ่งคุยภาษาไทยหรืออังกฤษแต่อีกคนหนึ่งตอบกลับมาเป็นภาษาเวียดนาม ลองคิดดูซิครับว่ามันจะวุ่นวายขนาดไหนล้มเลิกความตั้งใจที่จะขับรถท่อง เที่ยวในประเทศเวียดนามกันเสียเถอะน่ะครับ ขับรถท่องเที่ยวในประเทศลาวถึงจะขับชิดเลนซ้ายแต่เรื่องของภาษาพูดและภาษา เขียนแล้วใกล้เคียงกันก็ยังพอสื่อสารกันรู้เรื่องบ้าง ไม่ใช่งงเป็นไก่ตาแตกเหมือนขับรถในเวียดนามเชื่อผมเถอะครับ สำหรับการจัดคาราวานทัวร์จากเมืองไทยขับรถไปเที่ยวยังประทศเวียดนามนั้นทาง รัฐบาลเวียดนามอนุญาติให้เฉพาะในเวียดนามกลางเท่านั้นส่วนในเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้นั้นไม่อนุญาติให้เดินทางไปท่องเที่ยวในรูปแบบจัดแบบคาราวาน ขับรถท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะโดยเด็ดขาดเพราะการจราจรในสองเมืองใหญ่คือกรุง ฮานอยและนครโฮจิมินห์การจราจรจะคับคั่งเป็นอันมาก
ใน ที่สุดคณะทัวร์และเราทั้งสองคนก็เดินทางมาถึงยังอุโมงค์วินม๊อคในยามแดดร่ม ลมตก จากนั้นชำระค่าเข้าชมคนละ 30000โด่ง(60บาท) จากนั้นจึงเดินเท้าตามเส้นทางเดินเท้าเข้าไปยังภายในบริเวณที่ตั้งของ อุโมงค์วินม๊อค บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบใกล้ชิดติดกับทะเลจีนใต้บริเวณโดยรอบมีร่องรอยหลุม ระเบิดที่บอมบ์ลงมาจากทางอากาศกระจายอยู่ทั่วไป
สำหรับ อุโมงค์วินม๊อคตั้งอยู่ในหมู่บ้านวินม๊อค (Vinh Moc village) ในเขตเมืองกวางตรี เป็นผลพวงมาจากสงครามเพื่อแสวงหาการอยู่รอดจากการทิ้งระเบิดอย่างหนัก ของอเมริกา และการกวาดล้างจนแทบจะล้างเผ่าพันธุ์
ชาว เวียดนามจึงร่วมใจกันขุดอุโมงค์ใต้ดิน (Vin Moc tunnels) ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านจำนวน 66 ครอบครัว เมื่อปี ค.ศ. 1966 ใช้ระยะเวลาในการขุดอยู่ราว 20 เดือน
โดยภายอุโมงค์ ถูกแบ่งเป็นออกเป็นชั้นๆ ลึก 12, 15 และ 23 เมตรตามลำดับ อุโมงค์ทุกอุโมงค์สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด โดยมีเด็กที่เกิดในอุโมงค์วินม๊อคจำนวน 17 คน แต่ละคนมีสภาพผอมโซตัวขาวซีด เนื่องจากไม่ได้รับแสงแดดมาเป็นเวลานาน
ใน อุโมงค์มีคอกเลี้ยงสัตว์ มีบ่อน้ำ ห้องพยาบาล ห้องสุขา ห้องซักล้าง ห้องครัว ห้องประชุม และใช้เป็นที่เก็บสะสมอาวุธนานาชนิด การขุดอุโมงค์จะทำในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนจะช่วยกันลำเลียงดินออกไปทิ้งทะเลที่อยู่ติดกัน ทำให้อเมริกาไม่เห็นซากดินที่ขุดออกจากอุโมงค์ อุโมงค์วินม๊อกจึงรอดพ้นจากการตรวจตราของอเมริกาไปได้ แต่ก็ไม่วายโดนหางเลขไปด้วยเหมือนกันดังที่เห็นอยู่ทั่วไปในบริเวณรอบๆ ของอุโมงค์วินม๊อก
ชาว บ้านทั้ง 66 ครอบครัว ใช้อุโมงค์แห่งนี้เป็นที่หลบภัยสงครามอยู่นานถึง 6 ปี นับเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์และเป็นความเพียรพยายามอย่างแรงกล้าในการเอาตัว รอดของมนุษย์ที่ถูกกระทำจากมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งต่างกันเพียงลัทธิการปกครองเท่านั้นเอง
เรา สองคนเดินเท้าเที่ยวชมบริเวณโดยรอบของอุโมงค์วินม็อคและเข้าไปเยี่ยม ชมภายในพิพิธภัณฑ์ซึ่งแสดงรูปชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเวียดนามที่อาศัย อยู่ภายในอุโมงค์วินม็อคแห่งนี้พร้อมอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในสมัย สงครามทั้งของอเมริกาและเวียดกง
เรา สองคนเดินมาหยุดอยู่ที่สมุดบันทึกการมาเยี่ยมเยียนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้พร้อม เปิดเข้าไปดูภายในสมุดบันทึกซึ่งลายมือภายในสมุดบันทึกส่วนใหญ่เป็นของนัก ท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้พร้อมเขียนบันทึกลง ในสมุดเยี่ยมชมแสดงความยินดีต่อชาวเวียดนามทุกคนที่ต่อสู้กับศัตรูผู้รุกราน จนได้รับเอกราชมาจนตราบเท่าทุกวันนี้จากนั้นเราสองคนเดินเท้ามายังจุดชม วิวที่ตั้งอยู่ภายในอุโมงค์วินม็อคมองลงไปแลเห็นทะเลจีนใต้และชายหาดโค้ง เว้าเป็นแนวยาวสวยงามมากจากนั้นจึงออกเดินทางต่อสู่เมืองดองฮา
คณะ ทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่าฯ และเราทั้งสองคนออกเดินทางข้าสู่โรงแรมที่พักเมืองดองฮาในจังหวัดกวางตรี สำหรับโรงแรมที่พักของคณะทัวร์ในคืนนี้ได้แก่โรงแรมหูงี่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองดองฮา
หลัง จากจัดการเก็บสัมภาระเข้าสู่ห้องพักเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคน จึงลงมารับประทานอาหารค่ำที่ห้องอาหารของโรงแรมกับคณะทัวร์ ซึ่งได้รับการต้อนรับจากผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในเมืองดองฮาอย่างดี ยิ่ง
สำหรับ อาหารค่ำที่รับประทานส่วนใหญ่จะเป็นอาหารทะเล สาเหตุเพราะเมืองดองฮาเป็นเมืองชายทะเลอยู่ใกล้ชิดติดกับทะเลจีนใต้เราสองคน รับประทานอาหารค่ำด้วยความเอร็ดอร่อยจากนั้นจึงกลับเข้าห้องพักเพื่อพักผ่อน หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางมาตลอดทั้งวันเพื่อเก็บแรงเอาไว้เดิน ทางในวันรุ่งขึ้น
เช้าวันที่สองของการเดินทาง
เราสองคนตื่นนอนแต่เช้าตรู่จากนั้นจึงเดินลงมายังด้านหน้าของโรงแรมเรียก แท๊กซี่พร้อมตกลงราคา City tour ในเมืองดองฮา
เราสองคนตื่นนอนแต่เช้าตรู่จากนั้นจึงเดินลงมายังด้านหน้าของโรงแรมเรียก แท๊กซี่พร้อมตกลงราคา City tour ในเมืองดองฮา
หลัง จากตกลงราคาเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางท่องเที่ยวชมบรรยากาศ ยามเช้าของเมืองดองฮาในยามเช้า สำหรับเมืองดองฮา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเบนไห่ ในแนวเส้นขนานที่17 เป็นแม่น้ำสายประวัติศาสตร์ที่เคยแบ่งแยกเวียดนามเหนือ-ใต้ ในเขตจังหวัดกวางตรี ในอดีตเป็นจุดแบ่งเส้นขนานที่ 17 ระหว่าง เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้และเป็นยุทธภูมิที่มีการสู้รบอย่างนองเลือด เมื่อครั้งสงครามเวียดนาม คนขับรถ Taxi เวียดนามขับพาเราสองคนไปยังตลาดเช้าในเมืองดองฮา
สำหรับคำว่าตลาดใน
ภาษา เวียดนามออกเสียงว่า “ เจอะ” บรรยากาศภายในตลาดแห่งนี้เป็นตลาดแบบชาวบ้านๆ แม่ค้าเวียดนามนำพืชผักผลไม้ผักสดและเนื้อสัตว์มาจำหน่ายกันอย่างคับคั่ง เสียงภาษาเวียดนามต่อรองราคากันให้วุ่นวายดังลั่นตลาดไปหมด
เรา สองคนเดินเที่ยวชมพืชผักผลไม้ที่บรรดาแม่ค้าญวนนำมาวางขายอย่างเพลิดเพลินจน มาหยุดอยู่ที่ร้านขายบันหมี่ ด้วยความสงสัยที่มีเด็กๆ ชาวเวียดนามพากันมามุงรอซื้อบันหมี่อยู่บริเวณหน้าร้าน
สำหรับ คำว่าบันหมี่ก็คือขนมปังฝรั่งเศสสอดไส้ด้วยผักและหมูยอ ภาษาลาวเรียกว่าข้าวจี่ ราคาอันละ 8 บาทโดยลาวและเวียดนามได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศสสมัยตกเป็นอาณานิคมของ ฝรั่งเศสรวมทั้งเขมรด้วย แต่สำหรับเขมรเรียกขนมปังแท่งยาวๆ แข็งนอกอ่อนในนี้ว่าปาเต ส่วนในเรื่องรสชาติแล้วผมว่าปาเตของเขมรนั้นอร่อยที่สุดไม่ต้องใส่ผักใส่หมู ยอเพียงแค่ทาเนยนิดหน่อยกินกับกาแฟก็อร่อยแล้วครับ เราสองคนมองเข้าไปในร้านเห็นคุณลุงชาวเวียดนามกำลังเขมักเขม้นอยู่กับการจัด เรียงขนมปังเข้าสู่เตาอบซึ่งเราไม่สามารถเห็นกันได้บ่อยนัก
เราสองคนยืนดูกรรมวิธีในการทำบันหมี่อยู่สักครู่ใหญ่จากนั้นจึงซื้อติดไม้ติดมือมาเอาไว้กินเวลาหิวในระหว่างเดินทางสู่เมืองเว้
คน ขับรถTaxi เวียดนามพาเราสองคนเที่ยวชมเมืองดองฮาในยามเช้าบรรยากาศค่อนข้างเงียบสงบไม่ วุ่นวายเหมือนกับเมืองหลวงใหญ่ของเวียดนามเช่น ฮานอย หรือโฮจิมินห์
เรา สองคนนั่งรถผ่านสวนสาธารณะใจกลางเมืองดองฮาอันเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ของ ท่านเลอหย่วนอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามผ่านศูนย์วัฒนธรรมที่มี ลักษณะของสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสตั้งอยู่กลางเมืองดองฮา
จาก นั้นเราทั้งสองคนจึงหาอาหารเช้ารับประทานกันที่ร้านขายอาหารเช้าแห่งหนึ่งใน เมืองดองฮาซึ่งมีชาวเวียดนามมานั่งกินกันหนาตาพอสมควรสำหรับอาหารเช้ายอด นิยมของชาวเมืองดองฮาก็คือ “บุ้น” ภาษาลาวก็คือ “ข้าวปุ้น” สำหรับภาษาไทยก็คือ “ขนมจีน” นั่นเอง
เรา สองคนใช้ภาษามือชี้ไปยังอุ้งเท้าหมูและชี้ไปที่ขนมจีนแม่ค้าญวนบอกเราว่า “บุ้นยอเฮว” หมายถึงขนมจีนขาหมู เราสองคนพยักหน้าจากนั้นก็เดินไปหาที่นั่งจากนั้นเพียงไม่กี่นาทีชามขนม จีนขาหมูก็มาตั้งอยู่เบื้องหน้ากลิ่นหอมฉุยเตะจมูก
เรา สองคนเข้าอย่างจังจากนั้นเราสองคนไม่รอช้าจัดการกับขนมจีนขาหมูอาหารเช้าของ วันนี้ด้วยความเอร็ดอร่อยเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงเรียกแม่ค้ามาคิดสตางค์ตก ชามละ15,000 โด่งหรือ 27 บาทไทย จากนั้นจึงให้คนขับรถ Taxi ขับรถมาส่งเราทั้งสองคนที่โรงแรมสมทบกันกับคณะทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ ออกเดินทางไปยังเมืองเว้ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองดองฮาในจังหวัดกวางตรีระยะ ทางประมาณ 60 กิโลเมตร
รถ ทัวร์โดยสารของคณะทัวร์อินโดไชน่าฯ ขับพาเราสองคนพร้อมคณะทัวร์ไปตามถนนสาย 1Aซึ่งเป็นถนนสายหลักสายสำคัญของประเทศเวียดนาม เชื่อมประเทศเวียดนามเหนือ เวียดนามกลาง เวียดนามใต้เข้าด้วยกันระยะยาวประมาณ 2,000 กว่ากิโลเมตร ถนนหมายเลข 1A เรียกว่า ถนนสายแมดาริน (Mandarine Route) เป็นถนนสายสำคัญที่สุด และเป็นถนนสายที่ยาวที่สุด สร้างขึ้นในคริสตศตวรรษที่19 สมัยจักรพรรดิ์ญวน เริ่มต้นที่เมืองลังซัน (Long Son) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงฮานอย หรืออยู่ทางทิศใต้ของมณฑลกวางสี เป็นเมืองชุมทางที่สำคัญ มีถนนหมายเลข 4 ขนานกับเขตแดนจีน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงเมืองคาวบัง (Coa Bang) และในระหว่างทางที่เมืองดองเดง (Dong Deng) มีทางแยกไปยังเมืองปิงเซียง (Ping Siang) ในมณฑลกวางสี ประเทศจีน
หาก จะเดินทางไปนครโฮจิมินห์โดยเริ่มจากเมืองลังซัน (Long Son) ไปยังเมืองฮานอย แล้วผ่านไปยังเมืองนินห์บินห์ (Ninh Binh) ขนานไปกับชายฝั่งทะเล ผ่านเมืองสำคัญคือ ทันห์หัว (Thanh Hoa) ดองฮอย (Dong Hoi) ลงมาทางใต้ถึงเมืองกวางตรี ผ่านเมืองต่าง ๆ จนไปถึงนครโฮจิมินห์
ใน ที่สุดรถทัวร์โดยสารก็พาคณะทัวร์และเราทั้งสองคนเดินทางมาแวะยังเส้นขนานที่ 17 ในสมัยสงครามบริเวณแห่งนี้เคยใช้เป็นเขตปลอดทหาร (DM ZONE) ซึ่งตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 1A ใกล้กับเมืองดองฮาในจังหวัดกวางตรี สำหรับเส้นขนานที่ 17 แห่งนี้ เกิดขึ้นจากมติในที่ประชุมสันติภาพที่นครเจนีวา ในปี ค.ศ. 1954 ตกลงให้มีการแบ่งเขตแดนระหว่างเวียดนามตอนเหนือที่ยึดครองโดยเวียดมินห์ กับสาธารณรัฐเวียดนามใต้ที่อเมริกาหนุนหลังอยู่ แต่ละด้านของเส้นขนานนี้มีเขตแดนกว้าง 5 กิโลเมตร มีจุดเชื่อมคือสะพานข้ามแม่น้ำเบนไห่ ซึ่งได้ถูกระเบิดทำลายในปี ค.ศ. 1975
ภายหลัง กองกำลังเวียดนามเหนือบุกเข้ายึดครองเวียดนามใต้ได้สำเร็จและ ก่อนจะสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1976 ว่ากันว่าในยุคสงครามเวียดนามนั้น เส้นขนานที่มีความกว้างเพียง 5 กิโลเมตรนี้เองที่ได้แบ่งแยกและพลัดพรากพี่น้องชาวเวียดนามสายเลือดเดียวกัน ออกจากกันนานเป็นเวลาถึง 20 ปี และในช่วงเวลาที่สะพานเบนไห่ถูกทิ้งระเบิดโดยฝีมือของอเมริกา แท้จริงก็คือเวลาแห่งการพลัดพรากและความโหยหา
ทุก ครั้งที่ชาวเวียดนามได้ยินเสียงระเบิดปูพรมดังขึ้นจากอีกฝั่งหนึ่งของเส้น ขนานที่ 17 ครั้งใดมันก็คือความเจ็บปวดรวดร้าวของชาวเวียดนาม ต่างคนต่างไม่มีสิทธิที่จะรู้ได้เลยว่าญาติพี่น้องที่พวกเขารักซึ่งอาศัย อยู่ยังอีกฝั่งหนึ่งของประเทศเวียดนามจะอยู่หรือจะตายซึ่งไม่มีใครสามารถ ล่วงรู้ได้เลย
บริเวณ เส้นขนานที่ 17 แห่งนี้เป็นอนุสรณ์สถานมีธงชาติเวียดนามดาวเหลืองบนพื้นแดงขนาดใหญ่ตั้งเด่น เป็นสง่าอยู่บนฐานวงกลมขนาดใหญ่ โดยรอบบริเวณของฐานวงกลมนี้มีรูปภาพที่ทำมาจากแผ่นโมเลสขนาดเล็กนำมาจัดวาง เป็นรูปการเซ็นสัญญาสงบศึกระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสที่กรุงเจนีวาตลอด จนภาพการสร้างชาติของเหล่าบรรดากรรมกรและชาวนาของเวียดนาม
ภาพแสดง ถึงความดีใจของประชาชนชาวเวียดนามที่ได้รับเอกราชกลับคืนมาข้ามมาอีกฟาก หนึ่งของถนนสายนี้จะเป็นสะพานเบนไห่ซึ่งมีลักษณะเป็นสะพานเหล็กรุ่นเก่าความ ยาวประมาณ 200 เมตร ข้ามแม่น้ำเบนไห่ขนานไปกับสะพานคอนกรีตที่สร้างขึ้นมาใหม่บนถนนสาย1Aในอดีต ที่ผ่านมาสะพานเบ่นไห่แห่งนี้ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนเรียกว่าเส้นขนานที่ 17 แบ่งเวียดนามออกเป็นสองประเทศสองลัทธิการปกครอง
สำหรับ สะพานเบนไห่เก่าที่ทำด้วยเหล็กครั้งหนึ่งในสมัยสงครามเวียดนามถูกอเมริกา ทิ้งระเบิดทำลายลงปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยมีธงชาติเวียดนามโบกสะบัดไป ตลอดสองข้างของราวสะพานแห่งนี้ซึ่งปัจจุบันไม่อนุญาติให้ยานพาหนะทุกชนิด ผ่านนอกจากคนสามารถเดินผ่านได้เท่านั้น
ใน แต่ละวันจะแลเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติแวะเวียนมาเที่ยวชมกันเป็นจำนวนมาก พร้อมกับเดินข้ามสะพานประวัติศาตร์แห่งนี้ สำหรับบริเวณด้านข้างของสะพานเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สงครามไม่ต้องเสีย ค่าเข้าชมภายในจัดแสดงอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในสมัยสงคราม รวมถึงภาพการรบอย่างดุเดือดในการกอบกู้เอกราชของชาวเวียดนาม
เรา สองคนเดินเที่ยวชมภาพประวัติศาตร์การสู้รบอันเด็ดเดี่ยวเพื่อกอบกู้เอกราช ของชาวเวียดนามพร้อมกับความหดหู่ใจที่ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามเวียดนามรัฐบาล เผด็จการทหารของไทยในสมัยนั้นได้ร่วมมือกับอเมริกาส่งเครื่องบินมาทิ้ง ระเบิดและส่งทหารมารุมสกรัมกินโต๊ะพี่น้องชาวอินโดจีนของเรา
แต่ นั้นคือเรื่องราวในอดีตความผิดพลาดการดำเนินนโยบายการทหารของรัฐบาลเผด็จการ ทหารของเราที่ต้องการเอาใจพี่เบิ้มอเมริกาแห่งโลกทุนนิยมที่มองเห็นว่า คอมมิวนิสต์เป็นปีศาจร้าย
เราสองคนเดินเท้าข้ามสะพานประวัติศาตร์ แห่งนี้จากนั้นจึงมาขึ้นรถพร้อมกับคณะทัวร์ที่ขับมาจอดรอเราอยู่ที่อีกฟาก หนึ่งของสะพานแห่งนี้ และเมื่อทุกคนในคณะทัวร์พร้อมแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางต่อไปบนถนนสาย 1A ซึ่งคู่ขนานไปกับทางรถไฟตั้งแต่เหนือจดใต้
รถ ทัวร์โดยสารของบริษัท อินโดไชน่าฯ ขับพาเราผ่านอนุสรณ์สถานแห่งการต่อสู้ซึ่งมีลักษณะเป็นหยดเลือด ไกด์สาวชาวเวียดนามได้เล่าให้คณะทัวร์และเราทั้งสองคนฟังว่าบริเวณนี้เรียก ว่าเส้นขนานที่ 16 เป็นเส้นแบ่งเขตเวียดนามออกเป็นสองประเทศในสมัยฝรั่งเศส แต่ถ้าเป็นเส้นขนานที่ 17 ก็เป็นในสมัยอเมริกานะครับอย่าเข้าใจสับสน
ซึ่ง ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามเวียดนาม ปี ค.ศ.1965 บริเวณแห่งนี้เคยเป็นสมรภูมิสู้รบอันดุเดือดที่สุดกว่าทุกๆสมรภูมิการสู้ รบในสงครามเวียดนาม เพราะรบกันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีการพักยก
โดย ทั้งสองฝ่ายทำการสู้รบแย่งชิงสะพานข้ามแม่น้ำThanh Han แห่งนี้อยู่นานถึง 81 วันจนแม่น้ำ Thanh Han แห่งนี้กลายเป็นสีเลือดโดยทหารเวียดกงยอมสละชีวิตเพื่อเข้ายึดสะพานแห่งนี้ เป็นจำนวนถึง 10,000 คน
และ เมื่อยึดได้แล้วก็ทำการตีร่นทหารของประธานาธิบดีโงดินห์เดียมที่ได้รับการ สนับสนุนจากอเมริกาจนถอยร่นลงไปทางตอนใต้จนถึงกรุงไซง่อนปัจจุบันคือนครโฮจิ มินห์เมืองหลวงของเวียดนามใต้ก็แตก
ใน ที่สุดเป็นชัยชนะจากความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของทหารเวียดกงหรือที่พวกเราบางคน เรียกพวกเขาอย่างดูถูกเหยียดหยามว่า “ไอ้แกว” สามารถสู้รบอย่างห้าวหาญจนมีชัยชนะเหนืออเมริกาประเทศมหาอำนาจที่เพียบพร้อม ไปด้วยอาวุธยุทธโปกรณ์ต่างๆ ที่ล้ำหน้าและทันสมัยกว่าพวกเวียดกงหลายเท่า
และ ด้วยการต่อสู้อันห้าวหาญเด็ดเดี่ยวของเหล่าทหารเวียดกงนี้บริเวณแทบทุก จังหวัดตั้งแต่เหนือจดใต้ของประเทศเวียดนามจะแลเห็นอนุสรณ์สถานของบรรดาทหาร กล้าเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดในประเทศเวียดนาม
จาก นั้นคณะทัวร์ของบริษัทอินโดไชน่าฯก็พาเราสองคนออกเดินทางไปตามถนนสาย 1Aขนานกับเส้นทางรถไฟมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองเว้ตลอดสองข้างทางเต็มไปด้วยท้อง ไร่ท้องนาอันเขียวขจี แลเห็นชาวนาเวียดนามกำลังก้มหน้าก้มตาหลังสู้ฟ้าหน้าสู่ดินสร้างชาติกัน อย่างขะมักขะเม้นตลอดสองข้างทางสลับกับสุสานในท้องทุ่งนาที่มีอยู่อย่างมาก มาย
ตลอด สองข้างทางที่คณะทัวร์ของเราเดินทางผ่านจนปัจจุบันกลายมาเป็นปัญหาในเรื่อง ที่ดินทำกินของชาวไร่ชาวนาไม่มีพื้นที่พอที่จะทำการเกษตรกรรมเพราะติดสุสาน หลุมฝังศพเหล่านี้ จนรัฐบาลเวียดนามต้องออกกฎใหม่ให้ชาวเวียดนามที่เสียชีวิตหันมาทำการเผาแทน การฝังดินแทนถ้าไม่เช่นนั้นแล้วประเทศเวียดนามทั้งประเทศจะกลายเป็นสุสานไป หมดเพราะประชากรชาวเวียดนามมีจำนวนถึง 80 ล้านคนเกือบเท่ากับบ้านเราแต่มีพื้นที่น้อยกว่าประเทศไทย
จาก เมืองดองฮาในจังหวัดกวางตรีระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ในที่สุดคณะทัวร์ของเราก็เดินทางเมืองเว้ การจราจรเริ่มคับคั่งขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่เป็นที่นิยมกัน เป็นอย่างมากในประเทศเวียดนามมีจำนวนนับเป็นล้านๆ คัน คณะทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ พาลูกทัวร์และเราสองคนแวะรับแระทานอาหารกลางวันกันที่ร้านอาหารแห่ง หนึ่งภายในเมืองเว้ หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ ก็พาลูกทัวร์พร้อมเราทั้งสองคนออกเดินทางต่อสู่เมืองดานังจุดหมายปลายทางใน วันนี้ของเราจะแวะพักค้างคืนที่เมืองฮอยอัน เมืองมรดกโลกส่วนที่เมืองเว้คณะของเราจะพักค้างแรมกันในคืนวันพรุ่งนี้และ มะรืนนี้
รถ ทัวร์โดยสารของบริษัท อินโดไชน่าฯ พาคณะทัวร์และเราสองคนเดินทางออกจากเมืองเว้ไปตามถนนสาย 1A มุ่งหน้าสู่เมืองดานัง ซึ่งเส้นทางถนนสายนี้นอกจากขนานไปกับเส้นทางรถไฟแล้วยังขนานไปกับทะเลจีนใต้ อีกด้วย
เรา สองคนจึงได้ชมวิวทิวทัศน์ของชายทะเลเวียดนามซึ่งมีความยาวตั้งแต่เหนือจดใต้ มีระยะทาง 2,000 กว่ากิโลเมตร สำหรับเส้นทางสาย1A จากเมืองเว้เข้าสู่เมืองดานังระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร บนถนนเส้นนี้จะต้องขับรถลัดเลาะเดินทางไปตามถนนบริเวณไหล่เขาจากนั้นไปลอด อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้คืออุโมงค์ฮายเวิ่น(Haivan) ที่มีความยาวประมาณ 6,280 เมตร โดยได้รับเงินสนับสนุนในการสร้างอุโมงค์แห่งนี้จากประเทศญี่ปุ่น เริ่มการก่อสร้างในปีค.ศ. 2000ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง5ปี เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ.2005 อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านโฮจิมินห์วีรบุรษของชาวเวียดนาม
ใน สมัยที่เราสองคนเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศเวียดนามกลางครั้งแรกเมื่อกลาง ปีค.ศ 2002 อุโมงค์แห่งนี้ยังสร้างไม่เสร็จเราสองคนจะต้องนั่งรถประจำทางจากเมืองเว้ ข้ามภูเขาลูกนี้ระยะทางคดเคี้ยววกวนและอันตรายมากในยามที่ฝนตกหนักและหมอก ลงจัด
เรา สองคนนั่งท่องนะโมพร้อมอาราธนาคุณพระคุณเจ้าตั้งแต่ขึ้นเขายันลงเขา ภาวนาขอให้เดินทางผ่านภูเขาลูกนี้ไปพบหน้าพ่อหน้าแม่ที่เมืองไทยเถิดลูก ช้างสองคนจะถวายพวงมาลัยให้เป็นการแก้บน
เรา สองคนใช้เวลาเดินทางบนเส้นทางอันคดเคี้ยววกวนบนถนนที่เต็มไปด้วยรถ บรรทุก18ล้อรถเทเลอร์ รถทัวร์โดยสารประมาณชั่วโมงกว่าๆ จึงจะหลุดพ้นมาจากความเสียวสุดขั้วหัวใจมาได้โดยเฉพาะตามหัวโค้งต่างๆบนนเขา ลูกนี้คนขับจะต้องบีบแตรส่งสัญญานให้รถที่ขับสวนมาทราบเป็นเช่นนี้ไปตลอด สองข้างทางแห่งความตื่นเต้นเร้าใจที่สุดในชีวิตการนั่งรถโดยสารในประเทศแถบ อินโดจีนก็คือเส้นทางบนภูเขาสายนี้ล่ะครับที่ตื่นเต้นเร้าใจที่สุดแต่ใน ความเสียวก็ยังมีความสวยทดแทนความเสียว ก็คือวิวทิวทัศน์อันงดงามของทะเลจีนใต้บนเส้นทางถนนสายนี้สวยงามเกินคำ บรรยายในยามฟ้าใสแดดสวยบนถนนสายนี้ครั้งเดียวก็เกินพอแล้วครับกับถนนสุด เสียวสายนี้ เดินทางลัดลอดเข้าอุโมงค์ดีกว่าไม่ต้องมานั่งทนทรมานกับความเสียวแถมประหยัด เวลาการเดินทางอีกด้วย แต่ถ้านักท่องเที่ยวท่านใดที่ต้องการทดสอบกำลังใจบนถนนสายนี้ว่าจะมีความ เสียวและสวยดั่งที่ผมเล่าให้ฟังหรือเปล่าก็ลองทดสอบกำลังใจได้น่ะครับแล้วก็ อย่าลืมทำประกันชีวิตมาด้วยก็แล้วกันครับ
สำหรับ อุโมงค์แห่งนี้มีข้อห้ามสำหรับรถบรรทุกที่บรรทุกวัสดุไวไฟหรือสารเคมีห้าม เข้าโดยเด็ดขาดรวมทั้งจักรยานยนต์อีกด้วย รถทุกชนิดที่เข้าไปเสียภายในอุโมงค์จะต้องเสียค่าบริการรถยกและรถลากแพงมาก เพื่อให้ผู้ใช้รถตรวจสภาพรถให้ดีก่อนที่จะนำรถลอดผ่านเข้ามาในอุโมงค์แห่ง นี้
แต่ ก็ไม่วายมีรถเสียภายในอุโมงค์ในขณะที่รถทัวร์โดยสารของเราแล่นผ่านเข้ามาภายในอุโมงค์แห่งนี้ ซึ่งต้องใช้เวลาสับหลีกเลนภายในอุโมงค์กันพอสมควรซึ่งภายในอุโมงค์มีเจ้า หน้าที่จราจรและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูแลตรวจตราการจราจรภายในอุโมงค์แห่งนี้อย่างใกล้ชิดถ้ามีอุบัติเหตุอยู่เบื้องหน้าภายในอุโมงค์ แสงไฟไซเร็นสีแดงจะสว่างขึ้นและก็หมุนเป็นระยะเพื่อให้คนขับรถชะลอความเร็ว และระวังกับอุบัติเหตุที่กำลังเกิดขึ้นเบื้องหน้า
อุโมงค์ แห่งนี้ช่วยให้การเดินทางจากเมืองเว้ไปดานังนั้นประหยัดเวลาการเดินทางและ ย่นระยะทางเป็นอย่างมากรวมถึงความปลอดภัยอีกด้วย สำหรับค่าบริการสำหรับรถที่จะเดินทางเข้าไปในอุโมงค์รถสี่ล้อคันละ 15,000โด่ง (50บาท) ส่วนรถบรรทุกราคาก็จะเพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนล้อและจะต้องขับรถภายในอุโมงค์ ด้วยความเร็วไม่เกิน 40-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยต้องปฎิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดห้ามฝ่าฝืนโดยเด็ดขาด
จาก นั้นรถทัวร์โดยสารของบริษัท อินโดไชน่าฯ พาลูกทัวร์พร้อมเราทั้งสองคนเดินทางผ่านอุโมงค์เข้าสู่เขตเมืองดานังโดยสวัส ดิภาพสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรกที่ไกด์สาวชาวเวียดนามจะพาลูกทัวร์ของ บริษัท อินโดไชน่าฯ และเราสองคนไปเที่ยวชมก็คือ Bana Hill ภูเขาที่สูงที่สุดในเวียดนามกลางตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองดานังระยะทาง ประมาณ 30กิโลเมตร
สำหรับ Bana Hill คือแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองดานังมีบริการกระเช้าลอยฟ้าให้นักท่อง เที่ยวได้นั่งชมวิวทิวทัศน์ของเมืองดานังและเดินทางขึ้นไปบนยอดเขา Bana Hill แห่งนี้ที่มีความสูงเหนือจากระดับน้ำทะเลประมาณ1,300 เมตร ยาว 5,000 เมตร
ใน ขณะที่ลูกทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ และเราสองคนรอขึ้นกระเช้าไฟฟ้าขึ้นไปบน Bana Hill อยู่นั้นอากาศร้อนอบอ้าวจนเราสองคนบ่นออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่าร้อน
จาก นั้นกระเช้าพาเราสองคนชมวิวทิวทัศน์ยังเบื้องล่างที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ต้นไม้ขนาดใหญ่และน้ำตกที่ไหลลงมาจาก Bana Hill แต่พอกระเช้าไฟฟ้าพาเราขึ้นมายังบนยอดเขา Bana Hill แล้วนั้นอากาศที่ร้อนอบอ้าวเมื่อสักครู่กลับกลายมาเป็นอากาศที่เย็นสบาย จริงๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตกอยู่ในราว 12-15 องศาเซสเซียส จนลูกทัวร์บางคนเอ่ยปากว่าอากาศเย็นสบายจริงๆ
บน ยอดเขา Bana Hill กำลังก่อสร้างโรงแรมที่พักต่างอากาศสถาปัตยกรรมสไตล์ยุโรปจำนวนห้องพัก ประมาณ 200 ห้องและบ่อนคาสิโนพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติและชาวเวียดนามที่มีฐานะและมีอันจะกิน เราเดินทางมาท่องเที่ยวกันบน Bana Hill แห่งนี้โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงซาปาทางตอนเหนือของประเทสเวียดนาม
เรา สองคนยืนสูดอากาศอันบริสุทธิ์สัมผัสอากาศอันเย็นสบายพร้อมเก็บภาพวิว ทิวทัศน์อันสวยงามแบบสุดสายตาพานอราม่าจนมองเห็นทะเลจีนใต้อยู่ลิบๆ เมฆหมอกลอยคล้อยเคลื่อนผ่านหน้าเราสองคนไปอย่างอ้อยอิ่ง เราสองคนเก็บภาพวิวทิวทัศน์ความปะทับใจพร้อมเก็บอากาศอันบริสุทธิ์อัดใส่ กระป๋องมาฝากท่านผู้อ่านที่ยังไม่เคยเดินทางมาสัมผัสบนยอดเขา Bana Hill แห่งนี้
จาก นั้นเราสองคนเดินเท้าขึ้นไปยังบริเวณที่ตั้งขององค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที ตั้งตระหง่านประดิษฐานไว้นยอดเขา Bana Hill แห่งนี้จากนั้นจึงเดินลัดเลาะเข้าไปกราบนมัสการองค์พระพุทธรูปภายในวัดหลิน อึ้งซึ่งแปลว่าศักดิ์สิทธิ์วัแห่งเดียวบนยอดเขา Bana Hill แห่งนี้พร้อมทั้งกราบนมัสการองค์เจ้าแม่กวนอิมที่หันหน้าออกสู่ทะเลจีนใต้ คอยปกปักษ์รักษาชาวเวียดนามให้อยู่รวมกันอย่างมีความสุขตลอดไป
เรา สองคนเดินเท้าเที่ยวบันทึกภาพความทรงจำอันน่าประทับใจบนยอดเขา Bana Hill จนสมควรแก่เวลา จากนั้นจึงนั่งกระเช้ากลับลงมาสัมผัสกับอากาศร้อนอบอ้าวยังเบื้องล่าง
ไม่ วายต้องหนีอากาศร้อนไปขึ้นรถทัวร์โดยสารเดินทางกลับเข้ามาภายในเมืองดานัง ถนนภายในเมืองดานังกว้างขวางใหญ่โต ตึกรามบ้านช่องพร้อมอาคารพาณิชย์อันทันสมัยทั้งที่ก่อสร้างแล้วและที่กำลัง เริ่มการก่อสร้างผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดรองรับธุรกิจที่กำลังเติบโตขึ้นอย่าง รวดเร็วในเมืองดานังซึ่งเป็นเมืองธุรกิจการค้าและเมืองตากอากาศชายทะเลที่ สำคัญและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางภาคกลางของเวียดนาม
สำหรับ เมืองดานังเป็นเมืองเอกของจังหวัดกวางน่าม (Quang nam)ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกริมแม่น้ำฮานแต่เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงขนาด ใหญ่ต่อมาถูกพัฒนามาเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเวียดนาม มีประชากรอาศัยอยู่ราว 6 แสนคน
สำหรับ ชื่อที่มาของคำว่าดานังนั้นในสมัยยุคอาณานิคมฝรั่งเศสเรียกเมืองนี้ว่าทูเรน (Tourane) เมืองดานังเป็นเมืองท่าทำการค้าที่สำคัญที่สุดในเวียดนามกลางเรือเดินทะเลขน ส่งสินค้าขนาดใหญ่จากทุกประเทศทั่วโลกที่เดินทางผ่านมาในแถบทะเลจีนใต้มักจะ มาแวะพักที่ท่าเรือดานังแห่งนี้จนท่าเรือดานังกลายมาเป็นท่าเรือที่มีความ สำคัญจนถึงทุกวันนี้
นอก จากนี้เมืองดานังยังเป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญมีหาดทรายหมี่เข้ (My khe) อันสวยงามมีความยาวหลายสิบกิโลเมตร พรั่งพร้อมไปด้วยอาหารทะเลสดๆ ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้แล้วเมืองดานังยังมีสนามบินนานาชาติอยู่หนึ่งแห่งเป็นสนามบินขนาด ใหญ่ที่อเมริกาได้สร้างไว้ใช้ในสงครามเวียดนามจุดประสงค์ใหญ่คือใช้เป็นฐาน ทัพสำหรับรองรับป้อมบินยักษ์ B-52 บรรทุกระเบิดไปทิ้งยังเวียดนามเหนือในช่วงสงครามเวียดนาม หลังสงครามสิ้นสุดลงสนามบินดานังถูกปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นสนามบินพาณิชย์ขนาด ใหญ่มีเครื่องบินโดยสารบินขึ้นลงทุกวันๆ ละหลายๆ เที่ยว
ภายใน สนามบินนานาชาติดานังยังมีร่องรอยของสงครามเวียดนามให้เห็นอยู่นั้นก็คือโรง เก็บเครื่องบินB-52 ที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารพอๆ กับเครื่องบินแต่ภายในโรงเก็บไม่มีเครื่องบิน B-52 หลงเหลือให้เห็นอีกแล้ว ซากของเครื่องบิน B-52 ถูกเวียดนามนำมาแปรรูปเป็น ช้อน ซ่อม ชามกาละมังซักผ้า และข้าวของใช้ในครัวเรือนหมดแล้วขืนเก็บไว้ไม่รู้ว่าจะเอาไปรบกับใคร เพราะสงครามสงบแล้วแถมยังไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการดูแลรักษาอีกด้วย ในปี พ.ศ.2508 กองทหารนาวิกโยธินอเมริกันชุดแรกจำนวน 3,500 คนได้ยกพลขึ้นบกที่บริเวณชายหาดเมืองดานัง จากพันเป็นหมื่นและจากหมื่นก็เป็นแสน จนทหารอเมริกันเดินเพ่นพ่านเต็มเมืองดานังไปหมด หลังจากนั้นต่อมากองกำลังเวียดกงได้ทำการเข้าตีโอบล้อมเมืองดานังทุกด้านยก เว้นทางทะเล กองกำลังเวียดกงที่ถูกอเมริกาดูถูกดูผิดมาโดยตลอดก็สามารถมีชัยชนะเหนือ อเมริกาขับไล่ทหารอเมริกันจนแตกกระเจิงหนีตกทะเลจีนใต้กลับอเมริกาไปแทบไม่ ทัน นับว่าเป็นประวัติศาตร์ของโลกหน้าหนึ่งที่อเมริกาไม่อยากจะจดจำที่กองทัพอัน ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรด้วยแสนยานุภาพมากมายไปด้วยอาวุธยุทธโธปกรณ์อันทัน สมัยนานาชนิดเดินทางข้ามน้ำทะเลมาพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพเวียดกงที่นุ่งกางเกง ขาก๊วยใส่รองเท้ายางสวมหมวกญวน ซึ่งถือว่าเป็นความซวยของอเมริกาที่ส่งนายจอนห์ แรมโบ้มาช่วยไม่ทันไม่อย่างงั้นอเมริกาคงไม่ต้องอับอายขายหน้าชาวโลกจนถึง ทุกวันนี้แน่นอนและด้วยผลพวงจากสงครามเวียดนามที่ผ่านมาทำให้เราไม่สามารถ เห็นสิ่งปลูกสร้างเก่าๆในเมืองดานังซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเวียดนาม สาเหตุเพราะเมืองดานังเคยเป็นเมืองที่มีการสู้รบอย่างหนักหน่วงเพราะว่า เมืองดานังเป็นเมืองยุทธศาตร์ที่สำคัญที่สุดตอนกลางของประเทศ ซึ่งถ้าฝ่ายใดสามารถยึดเมืองดานังเอาไว้ได้ก็เท่ากับได้รับชัยชนะไปแล้ว เกือบครึ่งหนึ่งดังนั้นในช่วงสงครามเมืองดานังจึงเป็นเมืองที่มีการสู้รบ อย่างหนักหน่วงเพื่อแย่งชิงเมืองดานัง ซึ่งมีผลทำให้สิ่งปลูกสร้างเก่าๆ ที่เป็นสัญญาลักษณ์ของเวียดนามถูกทำลายไปพร้อมกับสงคราม
ปัจจุบัน เราสองคนจึงได้เห็นแต่สิ่งปลูกสร้างใหม่ๆผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในเมืองดานัง แทนสิ่งปลูกสร้างเก่าๆที่พังทลายไปเพราะสงคราม แตกต่างจากเมืองเว้เมืองหลวงเก่าของเวียดนามที่ยังคงกลิ่นไอบรรยากาศของความ เป็นเวียดนามแท้ๆ อยู่เต็มเมือง
คณะ ทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ พาลูกทัวร์และเราสองคนแวะเข้าไปเที่ยวชมยังพิพิธภัณฑ์จามซึ่งตั้งอยู่ใน เมืองดานังริมแม่น้ำฮาน(Hanh) ชำระค่าผ่านประตูคนละ 20,000 โด่ง (50บาท) จากนั้นจึงเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นอาคารสองชั้นทาด้วยสี เหลืองอ่อนสำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1915 หรือเมื่อประมาณเกือบ 100 ปี ล่วงมาแล้วโดยรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ในการสร้างให้
ภายใน พิพิธภัณฑ์จัดแสดงรูปสลักหินประติมากรรมของชนเผ่าจามในสมัยต่างๆ ถูกจัดแสดงไว้ตามห้องต่างๆสะท้อนถึงบุคคลต่างๆ ตามแหล่งกำเนิดของอารยธรรมคือ หมีเซิ่น, ตราเกียว, ด่งเดือง, นานเมิน ฯลฯ สำหรับชนเผ่าจามหรือจามปาในสมัยโบราณเมื่อเกือบพันปีล่วงมาแล้วเคยมี อาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลตั้งเต่เมืองเว้ของประเทศเวียดนามกลางลงไปถึง เมืองวุงเต่าตอนใต้ของประเทศเวียดนาม
อาณาจักร จามปาประกอบด้วยแคว้นต่างๆรวม 5 แคว้นด้วยกันคือ อมราวดีวิชัย, โอรี, เคาธาระ, พันธรังคะ และบริเวณที่ตั้งของเมืองดานังที่เราสองคนกำลังยืนอยู่ในขณะนี้ ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของอารยะธรรมชนเผ่าจามปามาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ ก่อนที่ชนผ่าเวียดนามจะอพยพลงมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีนเข้ามาอาศัยอยู่จน ถึงปัจจุบันนี้ สำหรับเมืองหลวงที่เก่าแก่ที่สุดของชนเผ่าจัมปาคือเมืองสิงหปุระ หรือแปลว่าป้อมสิงโตที่ตราเกียว สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 4 ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 8ได้ย้ายกลับมายังบริเวณเมืองดานัง อีกครั้งหนึ่งโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรปุระหรือเมืองแห่งเทพเจ้าสายฟ้า สำหรับเมืองอิทรปุระนั้นเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงศตวรรษที่ 11 ก็เริ่มเสื่อมสลายลงพร้อมกับอาณาจักรขอมโบราณศัตรูตัวสำคัญของอาณาจักรจามปา ก็เรืองอำนาจขึ้นมาแทนที่
จาก นั้นอาณาจักรทั้งสองก็เริ่มทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กันในภูมิภาคแถบ นี้นับเป็นเวลาหลายร้อยปี ในที่สุดอาณาจักรจัมปาก็ถึงคราวล่มสลาย ภาพการทำยุทธนาวีรบพุ่งกันระหว่างชนชาติขอมโบราณและชนเผ่าจามสามารถหาชมได้ จากภาพแกะสลักนูนต่ำที่บริเวณระเบียงชั้นนอกสุดของปราสาทบายนภายในเมือง พระนครที่เมืองเสียมเรียบประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าอาณาจักร ขอมโบราณและอาณาจักรจัมปาทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กันมาโดยตลอด สำหรับเมืองสิงหปุระสมัยโบราณอยู่ที่เมืองหมีเซิ่นทางตะวันตกเฉียงใต้ของดา นังระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ซึ่งยังคงมีอนุสรณ์สถานต่างๆ ของชนเผ่าจามอีกหลายสิบแห่งซึ่งรวมทั้งรูปปั้นและภาพแกะสลักนูนต่ำอีกหลาย ร้อยชิ้นอันเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงวัฒธนธรรมอันเก่าแก่มั่งคั่งของชนเผ่าจาม หรือจามปาซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมาก่อนชนชาติ เวียดนาม
ส่วน เมืองอินทระปุระที่นับถือศาสนาพุทธนั้นปัจจุบันมีชื่อว่าดงเดืองในภาษา เวียดนามอยู่ห่างจากเมืองดานังออกไปประมาณ 60 กิโลเมตร โบราณสถานตลอดจนวัตถุอันล้ำค่ากระจัดกระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ ซึ่งมีหลักฐานเป็นศิลาจารึกเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์จาม 9พระองค์ตลอดจนพระราชกรณียกิจของแต่ละพระองค์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสสามารถขุดค้นพบวัตถุโบราณได้เป็นจำนวนมากบริเวณนี้ รวมทั้งพระพุทธรูปหล่อสำริดในสมัยศตวรรษที่ 2 ปัจจุบันถูกนำไปเก็บรักษายังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่นครโฮจิมินห์เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว
สำหรับ พิพิธภัณฑ์จามหรือจัมปาที่เมืองดานัง เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุของพวกจามไว้มากที่สุด และมีอยู่เพียงแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ สำหรับงานศิลปะของจาม หากว่ามองผ่านๆจะคล้ายกับศิลปะขอม เช่นหินแกะสลักเทวรูป พระศิวะ และศิวลึงค์ เช่นเดียวกับที่มหาปราสาทนครวัด - นครทม แต่ภาพสลักหินของจามดูจะมีความละเอียดอ่อนมากกว่า บางชิ้นดูคล้ายกับทำด้วยโลหะมากกว่าจะเป็นการแกะสลักมาจากหิน เพราะมีลวดลายที่ละเอียดมาก โดยมีเทวรูปอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นเทวรูปนั่งองค์ใหญ่ เป็นการนำหินที่แตกหักเป็นชิ้นใหญ่ๆมาประกอบกันให้เป็นรูปร่าง แต่ส่วนที่เป็นศรีษะขาดหายไป เทวรูปองค์นี้ดูลักษณะแล้วน่าจะเป็นพระพุทธรูป ตามแบบพุทธศาสนา เพราะดูคล้ายนุ่งจีวร สันนิษฐานว่าในยุคแรกๆที่เข้ามาตั้งรกรากนั้น เป็นพวกจามที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ต่อมาได้เปลี่ยนมานับถือพราห์มฮินดู ตามอิทธิพลของขอม และสุดท้ายได้หันมานับถืออิสลาม จากการที่ติดต่อค้าขายกับแขกอาหรับทางแหลมมลายู และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย หากพิจารณาดูงานศิลปะของพวกจามที่มีอารยะธรรมมานับพันๆปี (พุทธศตวรรศที่ 6 -20 ) จะเห็นว่า สะท้อนถึงความการเปลี่ยนแปลงในการนับถือศาสนาได้อย่างชัดเจนว่า มีทั้งพุทธ พราห์ม-ฮินดู และอิสลาม ตามลำดับ
สำหรับ ความสัมพันธ์กันระหว่างชนเผ่าจามกับสยามประเทศนั้นในพุทธศตวรรษที่ 17 อาณาจักรจามปาได้ถูกกองทัพของพระเจ้าไชยวรมันที่ 2 กษัตริย์ขอมเข้าโจมตี และต่อมาใน พ.ศ. 1856 พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยได้ให้กองทัพสยามยกทัพเข้าโจมตี และ พ.ศ. 2014 อาณาจักรจามปาได้ถูกกษัตริย์ราชวงศ์เลของเวียดนามยกกองทัพเข้าตียึดราชธานี คือ เมืองวิชัย (เมืองบิญดิ่ญ) ได้ การทำสงครามกับเวียดนามครั้งนี้ชาวจามเสียชีวิต 60,000 คน และถูกจับเป็นเชลยอีก 30,000 คน จึงทำให้อาณาจักรจามปาสิ้นสูญความเป็นชาติไป โดยถูกญวนครอบครอง และชาวจามบางส่วนได้พากันอพยพหนีเข้ามาในอาณาจักรสยาม โดยเข้ามารับราชการเป็นทหารอาสาจามในกองทัพสยามสมัยกรุงศรีอยุธยา ทหารอาสาจามนี้มีบทบาทในการรบหลายครั้ง ส่วนใหญ่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านเรือทะเล โดยรับหน้าที่เป็นพนักงานกำปั่นหลวงมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจน ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันคนไทยเชื้อสายจามที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นยังสืบเชื้อสายอยู่ที่ ชุมชนบ้านครัว หลังตลาดเจริญผล เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
ภายใน พิพิธภัณฑ์จาม มีสิ่งที่สร้างความน่าแปลกให้กับนักท่องเที่ยว ก็คือไม่มีการห้ามถ่ายภาพ ซึ่งแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์โดยทั่วไป นักท่องเที่ยวจึงสามารถถ่ายภาพได้ในทุกซอกทุกมุม น่าจะเรียกว่าเป็นความใจกว้างของผู้ดูแลสถานที่ก็ว่าได้
ซึ่ง แน่นอนว่าภาพถ่ายจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จะเป็นการ ช่วยประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์จามไปด้วยในตัว นอกจากนี้ยังอนุญาติให้ช่างแกะสลักหินชาวเวียดนามนำภาพที่ถ่ายนี้ไปเป็นต้น แบบ สลักหินทรายให้เหมือนของจริง เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์อีก ด้วย เราสองคนใช้เวลาเดินเท้าเที่ยวชมและถ่ายรูปภายในพิพิธภัณฑ์จามจนสมควรแก่ เวลา จากนั้นจึงออกเดินทางจากเมืองดานังสู่เมืองฮอยอันระยะทางประมาณ 35กิโลเมตร รถทัวร์โดยสารของบริษัท อินโดไชน่าฯ พาคณะทัวร์พร้อมเราสองคนนั่งรถข้ามสะพาน Causong Hanh ข้ามแม่น้ำฮานชาวเวียดนามเรียกสะพานข้ามแม่น้ำฮานแห่งนี้ว่าสะพานทักษิณ เพราะในวันที่ทำพิธีเปิดสะพานแห่งนี้อย่างเป็นทางการอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางมาเยือนประเทศเวียดนามพอดีรถทัวร์โดยสารของบริษัท อินโดไชน่าฯ พาคณะทัวร์และเราเดินทางถึงเมืองฮอยอันก็เมื่อเวลาจวนเจียนจะใกล้ค่ำ หลังจากที่ทำการ Checkin เข้าสู่โรงแรม Vanloi Hotel ที่ตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำทูโบน T-Bone อยู่ตรงข้ามกับเมืองออยอันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนพร้อมกับลูก ทัวร์บางคนก็ออกมาเดินเล่นชมแสงสีของเมืองฮอยอันในยามราตรีกัน
บรรยากาศ ในยามราตรีของเมืองฮอยอันน่าเดินเล่น แต่เสียอย่างเดียวอากาสในคืนนี้ร้อนอบอ้าวไปหน่อย เราสองคนรู้จักกับเมืองฮอยอันพอสมควรเพราะเคยเดินทางมาหลายครั้งแล้วจึง รู้จักถนนทุกสายในเมืองฮอยอันเป็นอย่างดี สำหรับเมืองออยอันเคยเป็นเมืองท่าค้าขายเก่าแก่สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่ สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากเมืองออยอันตั้งอยู่ในภูมิประเทศอันเหมาะสมเพราะตั้งอยู่ริมชาย ฝั่งใจกลางประเทศเวียดนามพอดี เมืองฮอยอันเคยเป็นเมืองท่าชุมชนทางการค้าขายทางทะเลของเรือสินค้าจากจีน ญี่ปุ่น ยุโรป สยาม อินเดีย อินโดนีเซีย และพ่อค้าจากแดนไกลอย่างเปอร์เซีย
ปัจจุบัน ร่องรอยในอดีตยังปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปในเมืองฮอยอันจนองค์การยูเนส โกประกาศขึ้นทะเบียนเมืองฮอยอันให้เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมของโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในยามค่ำบรรดาร้านรวงต่างๆ ในเมืองฮอยอันจะแขวนโคมไฟทำด้วยกระดาษสีหลากหลายสีบริเวณหน้าร้านชายคาของ บ้านซึ่งมีลักษณะเป็นห้องแถวไม้เก่าแก่หลังคารูปทรงจีนเปิดหน้าร้านโล่งขาย เซรามิคเวียดนามสไตล์โบราณ งานหัตถกรรมผ้าไหม งานปักไหมและห้องแสดงภาพของศิลปินเวียดนามหลายคน
ถนน หนทางในเมืองฮอยอันค่อนข้างแคบไม่มีรถยนต์วิ่งผ่าน มีก็แต่จักรยานและรถมอเตอร์ไซด์เท่านั้นที่วิ่งสวนกันไปมา เราสองคนพร้อมลูกทัวร์บางคนเดินเท้าลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำทูโบนบริเวณกลาง แม่น้ำมีรูปร่างของสัตว์ชนิดต่างๆ ถูกประดับประดาด้วยแสงไฟลอยอยู่ในลำน้ำทูโบน
ร้าน อาหารของชาวเวียดนามติดโคมไฟหลากหลายสีมีฝรั่งชาวต่างชาตินั่งดื่มเบียร์พูด คุยกันเงียบๆ ภายในร้านบรรยากาศในยามค่ำคืนของเมืองฮอยอันเต็มไปด้วยชีวิตชีวาเป็นเมือง แห่งศิลปะและหัตถกรรมอันรื่นรมย์เหมาะสำหรับคนหนุ่มสาวที่พึ่งแต่งงานใหม่ๆ เดินทางมาฮันนีมูนกัน
และ ด้วยบรรยากาศยามค่ำคืนที่แสนจะคลาสิคและโรแมนติกเช่นนี้จึงเป็นที่ถูกตาต้อง ใจผู้กำกับละครทีวีเรื่อง “ฮอยอันฉันรักเธอ” จนต้องยกกองมาถ่ายทำละครเรื่องนี้กันที่เมืองฮอยอันโดยการให้พระเอกที่เป็น หนุ่มไทยตามหารักจากสาวเวียดนามที่ชื่อ เฮืองมาย ซึ่งมีอาชีพเป็นแม่ค้าขายผักอยู่ในตลาดเมืองฮอยอัน พอละครเรื่องนี้ออกอากาศทางทีวีช่อง 3ได้ไม่นานละครเรื่องนี้ ก็ดังเป็นพลุแตก นักท่องเที่ยวคนไทยเริ่มรู้จักเมืองฮอยอันแต่พอละครเรื่องนี้จบลงนักท่อง เที่ยวคนไทยก็พากันแห่แหนมาท่องเที่ยวยังเมืองฮอยอันกันเป็จำนวนมากโดยเฉพาะ จำพวกหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่หนุ่มมากพากันจองทัวร์แอบหนีเมียมาตามหาเฮืองมาย นางเอกของเรื่องกันจ้าละหวั่นทำเอาโรงแรมที่พักในเมืองฮอยอันในช่วงเวลานั้น เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวไทยแทบทุกอาทิตย์ แม่ค้าในเมืองฮอยอันก็ได้รับผลบุญจากละครเรื่องนี้ไปด้วยรับเงินบาทไทยหน้า บานไปตามๆ กันเพราะคนไทยเรื่องช้อปปิ้งแล้วไม่เป็นที่สองรองใครในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหนในเมืองฮอยอันก็จะต้องพบกับนักท่องเที่ยวคนไทย นี่แหล่ะครับคือผลของละครทีวีในบ้านเราที่มีอิทธิพลต่อคนไทยทุกสาขาอาชีพ
ไม่ เฉพาะแต่เมืองฮอยอันของประเทศเวียดนามเท่านั้นเมืองหลวงพระบางในประเทศลาวก็ เหมือนกันพอหนัง “สบายดีหลวงพระบาง” ออกฉายเมืองหลวงพระบางเมืองมรดกโลกของลาวที่ดังอยู่แล้วก็ดังเป็นพลุแตกนัก ท่องเที่ยวชาวไทยแห่แหนกันไปท่องเที่ยวกันอย่างมืดฟ้ามัวดิน เดินท่องราตรีในเมืองฮอยอันจนท้องเริ่มหิวหาอาหารค่ำรับประทานกันดีกว่าน่ะ ครับ
ร้าน อาหารหัวมุมริมถนนริมแม่น้ำทูโบนบรรยากาศคล้ายร้านอาหารโต้รุ่งบ้านเรากำลัง คับคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคณะของเราเดินเข้าไปในร้านประเภทยอง ยองเหลา สั่งเบียร์มาดื่มเป็นการเรียกน้ำย่อยรอบะหมี่ที่สั่งพร้อมกับสอบถามราคาค่า เบียร์ว่าราคาเหยือกล่ะเท่าไหร่? แต่พอทราบราคาเบียร์ว่าราคาเหยือกละ 8 บาท เท่านั้นทุกคนก็ขออาสาเป็นเจ้ามือเลี้ยงเบียร์ จากนั้นก็สั่งเบียร์มาดื่มแบบไม่อั้นจนโต๊ะที่วางอาหารแปรสภาพกลายมาเป็น โต๊ะวางแก้วเบียร์กินกันแทนกินน้ำ
ลูก ทัวร์บางคนที่ติดตามเราสองคนมาเอ่ยปากออกมาว่าไม่เคยกินเบียร์ที่ไหนที่ถูก ที่สุดในโลกเหมือนกับกินที่เมืองฮอยอัน ส่วนเรื่องปริมาณของเบียร์หนึ่งเหยือกนั้นมีปริมาณเท่ากับเบียร์ช้างขวดใหญ่ หนึ่งขวด ลำพังผมคนเดียวก็ปาเข้าไป 7 เหยือกแล้วรวมทั้งลูกทัวร์อีก 4-5 คนรวมแล้วก็ปาเข้าไปสามสิบกว่าเหยือก เล่นเอาเบียร์หมดเกลี้ยงร้านจนเจ้าของร้านต้องไปเอาเบียร์จากร้านอื่นมาเติม ให้พวกเราใหม่ เฉพาะราคาค่าเบียร์ของพวกเรากินกันจนเมาหัวทิ่มราคาไม่ถึง 300 บาท เราสองคนนึกในใจถ้าเป็นเมืองไทยกินเบียร์ขนาดนี้แค่ร้านพื้นๆ แถวรัชดาฯไม่ต้องถึงกับโรงเบียร์เยอรมันตะวันดงตะวันแดงอะไรนั่นราคาคงอยู่ ที่ประมาณ 3,000 บาท แน่ๆ เฉพาะแค่เบียร์น่ะครับส่วนเรื่องค่าอาหารอีกต่างหาก
คณะ ของเราตบท้ายด้วยบะหมี่หมูแดงรสชาติอร่อยพร้อมน้ำซุปอีกคนละชามๆ ละ 30 บาท รวมอาหารมื้อค่ำพร้อมเบียร์ในวันนี้ทั้งหมด 500 บาท ถ้านักท่องเที่ยวท่านใดเดินทางมาท่องเที่ยวยังเมืองฮอยอันแล้วอยากกินเบียร์ เหยือกละ 8 บาทพร้อมบะหมี่หมูแดงรสชาตินุ่มนวลก็ขอเชิญได้ที่ร้าน Mr Linh บริเวณหัวมุมถนนริมแม่น้ำทูโบนในเมืองฮอยอันเดินเที่ยวเลียบแม่น้ำทูโบนใน ยามค่ำคืนเดี๋ยวก็เจอร้าน Mr Linh หาได้ไม่อยากเพราะในบริเวณนั้นมีร้านอาหารเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวประ เภทแบกเป้อยู่หลายร้านด้วยกัน ลองดูเอาเองในรูปก็แล้วกันครับ จากนั้นเราสองคนพร้อมลูกทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ ที่หลวมตัวมากับเราก็พากันเดินโซซัดโซเซข้ามสะพานแม่น้ำทูโบนกลับโรงแรมที่ พักพร้อมกับกล่าวคำว่า “ราตรีสวัสดิ์ ฮอยอันฉันรักเธอ..เอิ๊ก”
วันที่สามของการเดินทาง
Goodmorning Vietnam เราสองคนตื่นนอนแต่ตอนเช้าตรู่รับประทานอาหารเช้าเสร็จสรรพจากนั้นจึงเดิน เท้าข้ามสะพานแม่น้ำทูโบนมายังตลาดเช้าในเมืองฮอยอันเพื่อตามหาเฮืองมายว่า จะมาขายผักที่ตลาดเช้าของเมืองฮอยอันหรือไม่
บริเวณ ตลาดเช้าของเมืองฮอยอันซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำทูโบนกำลังคับคั่งไปด้วยผู้คน ที่มาจับจ่ายซื้ออาหารกันในยามเช้าพ่อค้าแม่ขายส่งภาษาเวียดนามต่อรองราคา กับผู้ซื้อดังลั่นไปทั้งตลาด กุ้งหอยปูปลาสดๆ ที่หามาได้จากทะเลจีนใต้ถูกลำเลียงขึ้นมาบนฝั่งและนี่ก็คือภาพกิจวัตรประจำ วันของตลาดเช้าในเมืองฮอยอัน
เราสองคนเดินออกมาจากตลาดไปตามถนนเลียบแม่น้ำทูโบนสองข้างทางก็ยังสินค้าจำพวกพืชผักผลไม้นำมาวางขายเรียงรายอยู่สองข้างทาง
เรา สองคนเดินเท้ามาถึงท่าเรือเมืองฮอยอันที่อยู่ห่างจากตลาดระยะทางประมาณ 100 เมตร ซึ่งกำลังคับคั่งไปด้วยผู้คนที่เดินทางข้ามฟากสัญจรผ่านไปมาเป็นกิจวัตร ประจำวัน เรือโดยสารแน่นขนัดไปด้วยผู้คนรวมทั้งรถมอเตอร์ไซด์รถจักรยานจนมองดูคล้าย กับBoatpeople ในสมัยสงครามตอนเวียดนามแตก สมมุติถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาคาดว่าคงมีคนตายแน่นอนเพราะเรือแต่ละลำมีผู้ โดยสารจำนวนมาก แต่ก็น่าแปลกที่ไม่เคยได้ข่าวว่าเรือข้ามฟากเกิดอุบัติเหตุ
เรา สองคนเดินถ่ายรูปเลียบแม่น้ำทูโบนไปเรื่อยๆ เสียงเรียกจากหญิงชราชาวเวียดนามชักชวนให้เราสองคนใช้บริการของเรืออีแปะที่ แกพายอยู่ท่องเที่ยวไปในแม่น้ำทูโบน ดูสภาพและสังขารของคุณยายแล้วคาดว่าอายุคงไม่ต่ำกว่า 70 ปี ถ้าเป็นเมืองไทยอายุขนาดนี้ลูกหลานคงไม่ให้มาทำงานอยู่บ้านเลี้ยงหลานไปแล้ว
แต่ คนเวียดนามก็คือคนเวียดนามที่มีความอดทนขยันขันแข็งที่จะสร้างชาติหลังจาก ต้องทนทรมานกับพิษภัยของสงครามมายาวนาน งานอะไรที่สามารถทำเงินทำทองได้คนเวียดนามทำหมดด้วยจำนวนประชากรที่มากขึ้น เรื่อยๆ แต่พื้นที่เท่าเดิมจึงทำให้เกิดการแข่งขันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมให้ได้ นั้นสูงมากซึ่งจะสังเกตุได้จากสองข้างทางที่เรานั่งรถผ่านจะเต็มไปด้วยร้าน ขายของโชว์ห่วยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อะไรที่พอจะขายได้คนเวียดนามขายหมด
ด้วย ความขยันขันแข็งของคนเวียดนามทำให้ประเทศเวียดนามที่พึ่งฟื้นตัว จากภัยสงครามพัฒนาประเทศได้เจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะทางด้านการค้าจนเกือบจะ ขึ้นมาทัดเทียมกับไทยในตลาดโลกโดยเฉพาะในเรื่องราวข้าว ถ้าประเทศไทยของเรายังมัวแต่ทำตัวแบบสบายๆ ตามใจฉัน ทะเลาะกันเองอยู่อย่างนี้ต่อไปรับรองได้เลยว่าเวียดนามแซงหน้าเราแน่ๆ ยกตัวอย่างในเรื่องกีฬาฟุตบอลแต่ก่อนเวียดนามเป็นลูกไล่เรามาโดยตลอดแต่ ปัจจุบันกลับขึ้นมาทัดเทียมเคียงบ่าเคียงไหล่กับเรา สำหรับกีฬาฟุตบอลบางแมทซ์ทีมฟุตบอลชาติไทยของเราแพ้คาบ้านให้กับเวียดนามก็ มีให้เห็นเมื่อไม่นานมานี้เอง
เราสองคนเดินเที่ยวต่อไปเรื่อยๆ ผ่านร้านที่มีรถจักรยานให้นักท่องเที่ยวได้เช่าขี่ชมเมืองฮอยอันนอกจากนี้ ยังมีบริการรถซีโคล่หรือสามล้อถีบเที่ยวชมเมืองอีกด้วยซึ่งเป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอันมาก
สำหรับ ค่าบัตรผ่านประตูเข้ามาเดินเที่ยวชมในเมืองออยอันนักท่องเที่ยวต่างชาติจะ ต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 75,000โด่ง (150บาท) เราสองคนจ่ายเงินค่าบัตรผ่านประตูเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นก็เดินเท้า เที่ยวชมร่องรอยสถาปัตยกรรมของเมืองโบราณฮอยอัน
นัก โบราณคดีเชื่อกันว่าชื่อเมือง “ฮอยอัน” ปรากฎขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ประวัติศาสตร์ของเมืองฮอยอันมีความเก่าแก่กว่านั้นมากเพราะมีมาตั้งแต่ ก่อนการก่อตั้งอาณาจักรไดเวียดของชนเผ่าเวียดตั้งแต่สมัย 200 ปี ก่อนคริสตกาล ในปลายยุค Sa Huynh อันเก่าแก่ของเวียดนาม ซึ่งยังเป็นยุคที่ผู้คนทำการเกษตรและใช้เครื่องมือเหล็กในการเก็บเกี่ยวกับ การล่าสัตว์ดังปรากฏร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในฮอยอันในหลุมขุดค้น ทางโบราณคดีหลายแห่ง แต่ประวัติศาตร์ของเมืองฮอยอันมารุ่งเรืองเคียงคู่ไปกับอาณาจักรจามปาของชน เผ่าจามที่เคยเป็นเจ้าของแผ่นดินอันนัมตอนกลางของประเทสเวียดนามในปัจจุบัน และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงคริสต์ศตวรรษที่10 เมืองหลวงของอาณาจักรจามปาตั้งอยู่ที่เมืองตราเกียวและศาสนสถานอันศักดิ์ สิทธิของพวกจามอยู่ที่เมืองหมี่เซิ่น(Myson) ซึ่งไม่ห่างจากเมืองฮอยอันมากนัก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเมืองฮอยอันเป็นเมืองท่าที่สำคัญเป็นศูนย์กลางทางด้าน เศรษฐกิจของอาณาจักรจามปาและเกาะจามนอกชายฝั่ง เมืองฮอยอันก็คือแหล่งน้ำจืดของเรือสินค้าจากต่างชาติที่เดินทางเข้ามาค้า ขายกับเวียดนาม ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 หรือเมื่อประมาณ 1,300 ปีที่ผ่านมากองเรือของพ่อค้าวานิชจากเปอร์เซียได้เดินทางเข้ามาในทะเลจีนใต้ ทำมาค้าขายกันอย่างคึกคักซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชื่อของเมืองฮอยอันเริ่มปรากฎอยู่ในบันทึกของพ่อค้าจากเปอร์เซียว่าเป็น แหล่งส่งออกสมุนไพรชั้นดีขณะเดียวกันก็มีการขุดค้นพบเครี่องลายครามของจีน และเปอร์เซียซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับบันทึกของพ่อค้าเอเซียที่เมืองฮอยอันอีก ด้วย
เมือง ฮอยอันเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญของเวียดนามเป็นศูนย์กลางแห่งการขนส่งเซรา มิคที่มีอายุร่วมสมัยกับชามสังคโลกของไทยและเป็นศูนย์กางของการค้าผ้าไหม เป็นเมืองท่าที่เชื่อมต่อกับโลกภายนอกทั้งเอเซีย, ยุโรป และเปอร์เซีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือประมาณช่วงต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ่อค้าชาวญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาตั้งหลักแหล่งจนกลายเป็นชุมชนชาวญี่ปุ่น ขนาดใหญ่ในเมือฮอยอันดำเนินการค้าขายทางทะเลกับเมืองจีน สยาม หมู่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยได้สร้างสถาปัตยกรรมอันป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของญี่ปุ่นไว้ก็คือสะพาน ญี่ปุ่น
เรา สองคนเดินทางมาถึงยังสะพานญี่ปุ่นอันเก่าแก่อายุประมาณ 400 ปีที่ได้รับการอนุรักษ์และรักษาไว้เป็นอย่างดี สะพานแห่งนี้เป็นสะพานไม้สีแดงสไตล์ญี่ปุ่นแท้ข้ามคลองเล็กๆ ที่แยกมาจากแม่น้ำทูโบน นักโบราณคดีชาวญี่ปุ่นเคยเดินทางเข้ามาศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมโบราณของ สะพานแห่งนี้ที่ปัจจุบันเริ่มสูญหายไปมากแล้วในประเทศญี่ปุ่น
เรา สองคนเดินข้ามสะพานญี่ปุ่นเลียบฝั่งของแม่น้ำทูโบนเป็นชุมชนชาวญี่ปุ่นขนาด ใหญ่แม้ลูกหลานคนญี่ปุ่นในปัจจุบันจะกลายเผ่าพันธุ์กลายเป็นคนเวียดนามไปหมด แล้วและบริเวณกลางทุ่งนาในชุมชนชาวญี่ปุ่นภายในเมืองฮอยอันยังมีหลุมศพของ พ่อค้าชาวญี่ปุ่นอยู่หลายแห่งบรรยากาศเงียบสงบวังเวงปรากฎแผ่นศิลาจารึกชื่อ ของผู้ตายปักหันหน้าไปทางทิศที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นแผ่นดินแม่ที่ตัวเองได้ จากมาอย่างไม่มีวันกลับ และเมื่อญี่ปุ่นมีนโยบายปิดประเทศ โดดเดี่ยวตัวเองในยุคสมัยของโชกุนโตกุกาวะ ชุมชนชาวจีนก็รุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่
ใน เมืองฮอยอันบ้านเรือนไม้หลังคาทำมาจากกระเบื้องดินเผาแบบจีน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ยังคงใช้งานอยู่จนถึงทุกวันนี้ สองฟากถนนของเมืองฮอยอันเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้า ขายที่สุดในเวียดนามจึงมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตน เอง ส่วนคนจีนที่เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองฮอยอันก็มาจากหลากหลายกลุ่มโดย การสร้างศาลเจ้าเก่าแก่ประจำตระกูลเอาไว้หลายแห่งทั้ง ฮกเกี้ยน,กวางตุ้ง, แต้จิ๋ว, ไหหลำ บ้านเรือนเหล่านี้ปัจจุบันได้รับการดูแลรักษาไว้เป็นอย่างดีและในยามค่ำคืน แต่ละบ้านก็จะแขวนโคมกระดาษสีสวยๆโดยจุดไฟสว่างเป็นสีแดง, สีส้ม, สีเหลือง ฯลฯ ตามอิทธิพลวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เคยรุ่งเรืองในอดีตที่ผ่านมา
ดัง นั้นการเดินเท้าท่องเที่ยวอยู่ในชุมชนคนญี่ปุ่นในเมืองฮอยอันจึงคล้ายกับมา เดินเที่ยวอยู่ในนครเกียวโตในอดีตเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา บรรยากาศเงียบสงบแต่มีชีวิตชีวา นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินเที่ยวชมกันอย่างรื่นรมย์แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว บ้างก็ตาม ร้านรวงอันเล็กๆ แคบๆ ห้องแถวไม้อันแคบลึกแบบเกียวโตที่ยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นบ้างในเมืองฮอย อัน เราสองคนสงสัยกันมากในช่วงของสงครามเวียดนามทำไมเมืองฮอยอันแทบจะไม่มีรอย บอบช้ำจากพิษภัยของสงครามครั้งที่ผ่านมาเลย เราสองคนสอบถามไกด์สาวชาวเวียดนามจึงได้ความว่า ในช่วงของสงครามเวีดนามเมืองฮอยอันไม่ใช่เมืองที่อยู่ในยุทธศาตร์ของการทำ สงครามเหมือนกับเมืองดองฮาในจังหวัดกวางตรี การสู้รบจะเกิดขึ้นนอกเมืองแถบทุ่งนาและหุบเขาห่างไกลจากตัวเมืองมาก
สำหรับ ค่ายทหารก็ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปมากและในตัวเมืองฮอยอันไม่มีสถาน บันเทิงเริงรมย์ใดๆ ถนนภายในเมืองก็แคบรถบรรทุกทหารและรถถังวิ่งเข้ามาไม่ได้เมืองฮอยอันจึงรอด พ้นจากพิษภัยของสงครามมีตึกรามบ้านช่องสมัยโบราณให้เราสองคนได้เดินเที่ยว ชมจนทุกวันนี้ ในยุคประมาณคริสศตวรรษที่ 17-19 เมืองฮอยอันเคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็น เมืองร่วมสมัยกันกับมาเก๊าและมะละกา นักเดินเรือรู้จักเมืองฮอยอันในนามของเมืองไฟโฟ ทั้งเมืองในเวลานั้นจะเต็มไปด้วยพ่อค้าวาณิชจากต่างประเทศเดินทางมาติดต่อ ค้าขายกันตลอดทั้งปีเรือสินค้าจากแดนไกลเช่น ดัทซ์, สเปน, โปรตุเกศ ,อินเดีย, เปอร์เซียเดินทางหมุนเวียนกันเข้ามาติดต่อค้าขายกันอย่างคับคั่ง ร่องรอยประวัติศาตร์การค้าขายอันยิ่งใหญ่จึงปรากฎขึ้นมาในเมืองฮอยอัน มากกว่าเมืองท่าใดๆ ในเวียดนาม
สำหรับ การเดินทางมาค้าขายยังเมืองฮอยอันของบรรดาพ่อค้าจากจีนและญี่ปุ่นจะอาศัยลม ว่าวและลมอุกาที่พัดมาจากทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่ตะวันตกเฉียง ใต้นำพากองเรือสำเภาขนสินค้ามายังเมืองฮอยอันในเดือนตุลาคมถึงเดือน พฤศจิกายน เหล่าพ่อค้าจากต่างชาติจะพักอยู่ตามบ้านพักริมแม่น้ำทูโบนซึ่งเป็นย่าน ธุรกิจการค้าขายของเมืองรวมทั้งใช้เป็นโกดังเก็บรวบรวมสินค้าเหล่าพ่อค้าชาว ต่างชาติจะรออยู่จนลมพัทยาพัดผ่านมาจึงจะออกเรือขนสินค้ากลับสู่บ้านเมือง ตัวเอง นอกจากนี้ฮอยอันยังเป็นเมืองแรกของเวียดนามที่ชาวบ้านเริ่มนับถือศาสนา คริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาที่สำคัญในเวียดนามมาโดยตลอดในช่วงคริสศตวรรษที่ 17 มีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสองค์หนึ่งได้ทำการปรับปรุงตัวอักษรโรมันใช้แทนระบบ เสียงในภาษาเวียดนามจนกลายมาเป็นตัวอักษรที่ใช้เขียนเป็นภาษาเวียดนามมาจน ถึงทุกวันนี้
สำ หรับเมืองฮอยอันที่เราสองคนเดินเที่ยวชมกันอยู่ในขณะนี้นั้นยังมิได้มีหน้า ตาเหมือนกับเมืองฮอยอันดั้งเดิมเมื่อหลายร้อยปีก่อนประมาณปลายคริสศตวรรษ ที่18 (ช่วงปลายกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ) กบฎไตเซิ่นของเวียดนามได้ทำการเผาทำลายเมืองฮอยอันไปจนเกือบหมด จากนั้นในช่วงของราชวงศ์เหวียนก็ได้สร้างเมืองฮอยอันขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นต้น แบบของบ้านเรือนอายุสองร้อยกว่าปี ตลอดสองฟากของถนนสายสำคัญที่ยังคงเหลือร่องรอยปรากฎให้เราสองคนเห็นอยู่ใน ปัจจุบันนี้
ฮอย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญจนถึงปลายคริสศตวรรษที่19เมื่อแม่น้ำทูโบนที่เชื่อม ต่อเมืองฮอยอันกับทะเลจีนใต้ประตูสู่โลกภายนอกเกิดการตื้นเขินจากดินโคลน และตะกอนที่สะสมมานานนับร้อยปีจนเรือสินค้าขนาดใหญ่ไม่สามารถเดินทางเข้าออ อกได้โดยสะดวกจึงทำให้เมืองดานังที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองฮอยอันระยะทาง ประมาณ 35 กิโลเมตร เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ในขณะที่เมืองฮอยอันถูกทิ้งให้เหลือเพียงความทรง จำของผู้คน แต่ก็ยังคงเป็นเมืองค้าขายเล็กๆ น้อยของชาวเวียดนามภายในประเทศ
ต่อ มาในปี ค.ศ. 1916 เส้นทางรถไฟระหว่างเมืองดานังสู่เมืองฮอยอันถูลมมรสุมพัดทำลายเสียหายอย่าง หนักจนไม่สามารถซ่อมแซมกลับมาให้ดีอย่างเดิมได้เมืองฮอยอันจึงยุติบทบาทการ เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดในเวียดนามตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เราสองคนใช้เวลาเดินเที่ยวชมเมืองฮอยอันจนสมควรแก่เวลาจากนั้นหาอาหารกลาง วันแบบง่ายๆ รับประทานกันในเมืองฮอยอันเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเดินเท้ากลับมารวมกับคณะ ทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ ออกเดินทางกลับสู่เมืองเว้จุดหมายปลายทางของการพักค้างแรมของคณะทัวร์ในคืน นี้ ระยะทางจากเมืองฮอยอันมายังเมืองดานัง 35 กิโลเมตร จากนั้นจึงเดินทางออกจากเมืองดานังลอดอุโมงค์ Haivanเดินทางกลับมายังเมืองเว้ระยะทาง 108 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเมืองฮอยอันมาถึงเมืองเว้ 143 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง คณะทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ ก็เดินทางมาถึงเมืองเว้เมื่อเวลาบ่ายคล้อย
สำหรับ แหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกที่คณะทัวร์และเราทั้งสองคนจะเดินทางไปท่องเที่ยวก็ คือวัดเทียนมู่หรือวัดเทพธิดารามซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำหอมห่างจากตัวเมือง เว้ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ในตำนานเล่าขาน มีเรื่องเล่าว่าชาวบ้านบริเวณนี้ได้เคยเห็นหญิงสูงอายุคนหนึ่งตรง บริเวณภูเขาที่ได้สร้างเจดีย์ในปัจจุบัน หญิงผู้นี้ได้บอกว่าวันหนึ่งจะมีผู้ยิ่งใหญ่มาสร้างเจดีย์บริเวณนี้และจะนำ สันติสุขมาสู่เมืองและเมื่อกษัตริย์ Nguyen Hoang ได้ผ่านมาและทรงทราบเรื่องเข้าจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ในปี ค.ศ. 1601 และให้ชื่อว่า Chua Thien Mu (เจดีย์นางฟ้า)
วัด เทียนมู่มีความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวต่างๆในประเทศเวียดนามคือไม่ต้อง ซื้อบัตรผ่านประตูเข้าเที่ยวชมภายในวัด นักท่องเที่ยวจะต้องเดินขึ้นบันไดที่มีความสูงชันประมาณ 20 ชั้น
จาก ถนนก็จะถึงองค์เจดีย์แปดเหลี่ยมที่มีจำนวน 7 ชั้นซึ่งแต่ละชั้นมีความหมายถึงชาติภพต่างๆ ของพระพุทธเจ้าโดยมีรูปปั้นของเทพเจ้า 6 องค์คอยปกป้องเจดีย์แห่งนี้ รวมทั้งพระพุทธรูปที่รายล้อมด้วยกระจกหมดทุกด้านและระฆังสำริดขนาดใหญ่ น้ำหนักหลายตันแขวนอยู่ทั้งสองข้างเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมและใกล้กับเจดีย์ทรง แปดเหลี่ยมมีจุดชมวิวสามารถชมวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำหอมที่มีเรือมังกรแล่น ผ่าน
ใน อดีตจนถึงปัจจุบันวัดเทียนมู่แห่งนี้ถูกใช้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกาย เซ็น และมีความสำคัญทางด้านประวัติศาตร์การเมืองในช่วงสงครามเวียตนามอีกด้วย เราสองคนเดินตามทางเท้าเข้าไปยังด้านในของบริเวณวัดบรรยากาศเงียบสงบสะอาด สะอ้านแสดงถึงได้รับการดูแลอย่างดีภายในวัดเทียนมู่จะเห็นสามเณรและแม่ชี แต่งกายแบบพระเวียดนามในสมัยก่อน แม่ชีจะนุ่งสีออกเทาๆ ส่วนสามเณรจะนุ่งจีวรสีเข้มหรือสีกรัก คล้ายพระทางภาคอีสานในบ้านเรา แต่สามเณรที่วัดนี้จะต่างจากบ้านเราตรงที่จะไม่โกนผมทั้งศีรษะแต่จะไว้ทรงผม แบบเป๋ๆ เข้าใจว่าเมื่อบวชเป็นพระก็จะค่อยๆโกนจนหมดทั้งศีรษะ
สำหรับ ศาสนาพุทธในเวียดนามได้ล่มสลายไปเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ปัจจุบันวัดพุทธในเวียดนามเหลืออยู่น้อยมาก สำหรับวัดเทียนมู่ดูแล้วน่าจะคงไว้เพื่อการทำวัตรสวดมนต์และศึกษาธรรมะเท่า นั้น สภาพภายในวัดยังคงไว้เช่นเดียวกับวัดเซ็นทั่วๆไปคือโดยมีโรงครัว ส่วนพระสามเณรในวัดจะหุงหาอาหารรับประทานกันเอง เช่นเดียวกับวัดเซ็นในญี่ปุ่น
วัด นี้มีประวัติศาตร์การเมืองที่น่าสนใจถ้าหากย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 44 ปีที่ผ่านมา หรือ พ.ศ. 2507 ในครั้งนั้นมีผู้นับถือศาสนาพุทธอยู่ในประเทศเวียดนามมากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ จำนวนไม่ต่างกับประเทศไทยในเวลานั้น เท่าใดนักซึ่งรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น ลาว กัมพูชา และพม่า แต่พุทธศาสนาในเวียดนามต้องพบกับการบีบคั้นเป็นอย่างมากจากรัฐบาลที่เป็น กลุ่มตัวแทนของผู้นับถือคาทอลิค และมีใบสั่งจากอเมริกา
เหตุการณ์ เลวร้ายในเวียดนามเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดี โง ดินห์ เดียมของเวียดนามใต้ ผู้โค่นล้มระบอบกษัตริย์บ่าวได๋และตั้งตนเองขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของ เวียดนาม โดยการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกรุงวาติกันจนกลายเป็นรัฐบาลคริสเตียนโรมันคาทอลิค โดยโง ดินห์ เดียมได้แต่งตั้งญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดที่เป็นคาทอลิคด้วยกันเข้าร่วม รัฐบาล พร้อมกับให้ความสำคัญและให้สิทธิพิเศษแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ รวมถึงประชาชนที่นับถือศาสนาคริสต์
ส่วน ผู้นับถือศาสนาพุทธกลายเป็นประชาชนชั้นสองไป หลังจาก โง ดินห์ เดียม ได้เป็นประธานาธิบดี ก็ได้ออกกฏหมาย และระเบียบต่างๆที่หักหาญจิตใจชาวพุทธเป็นอย่างมาก จนเกิดการต่อต้านจากพระสงฆ์ กลุ่มแม่ชี และชาวพุทธในเวียดนาม แต่เป็นการต่อต้านแบบอหิงสา เช่น การเดินขบวน แจกจ่ายแถลงการณ์ และอดอาหารประท้วง สำหรับกฏเหล็กที่ย่ำยีจิตใจชาวพุทธในเวียดนาม และต่อชาวพุทธทั่วโลกมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ความพยายามที่จะให้ประเทศเวียดนามเปลี่ยนจากศาสนาพุทธมานับถือศาสนาคริสต์ ด้วยวิธีการอันเหี้ยมโหด เช่น ส่งกำลังตำรวจเข้าปราบปราบฆ่าพระ แม่ชี และเผาวัด โดยใช้กลุ่มทหารตำรวจที่เป็นคาทอลิคด้วยกัน หรือใช้รถยนต์วิ่งเข้าหาฝูงชนขณะที่รวมตัวประท้วงตามท้องถนน ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งพระ แม่ชีและประชาชนทั่วไปทันทีนับร้อยๆ คน และไม่อนุญาตให้ออกหนังสือพิมพ์ทางพุทธศาสนา รวมทั้งให้งดออกรายการทางวิทยุกระจายเสียงในวันสำคัญทางศาสนา ให้ประชาชนนำภาพพระเยซูที่ได้รับมาจากทางการนำมาตั้งไว้ในบ้าน หากถูกทำลายจะได้รับโทษอย่างร้ายแรง
การ ประกอบศาสนกิจในวัดจะต้องขออนุญาตจากรัฐบาลพร้อมต้องแจ้งด้วยว่าจะใช้เวลา นานแค่ไหน และจำนวนคนกี่คนรวมไปถึงดัดแปลงแก้ไขคำสอนในพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นแบบเรียน โดยเป็นคำสั่งของ โง ดินห์ ถึก (พี่ชาย โง ดินห์ เดียม) ซึ่งคุมกระทรวงศึกษาธิการด้วย และที่น่าขันก็คือ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2506 เป็นเวลาที่โง ดินห์ ถึก สังฆราชคริสเตียนโรมันคาทอลิคเวียตนาม ซึ่งเดินทางไปประชุมสังคายนาวาติกัน 2 ณ กรุงวาติกัน ประเทศอิตาลี ได้แถลงต่อที่ประชุมวาติกันว่า "ประเทศเวียดนามเป็นประชากรของพระเจ้า ประชาชนเวียดนามล้วนแต่นับถือในพระเจ้า และซื่อสัตย์ต่อสันตะปาปา" พร้อมกันนั้น โง ดินห์ ถึก ได้โทรเลขด่วน สั่งให้บาทหลวงใต้บังคับบัญชาของตนในเมืองเว้ สั่งให้ประชาชนทุกบ้านชักธงรูปไม้กางเขนขึ้นที่หน้าบ้าน เพื่อจะได้เป็นข่าวทางสื่อมวลชน ยืนยันให้สันตะปาปา เชื่อถือและมอบตำแหน่งคาร์ดินัลให้กับโง ดินห์ ถึก
เหตุการณ์ เริ่มมีความตึงเครียดขึ้นตามลำดับทั่วทั้งประเทศเวียดนาม ทางการได้ส่งตำรวจทหารไปตรึงอยู่ตามวัดต่างๆ ที่มีการชุมนุมของชาวพุทธ โดยเฉพาะเมืองเว้ที่มีวัดสำคัญๆ อยู่หลายวัด และเป็นที่ประทับของสังฆราชหรือประมุขของสงฆ์ในประเทศเวียดนาม พระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก วัยุ 73 ปี จากวัดเทียนมู่ ทนเห็นความทารุณโหดร้ายจากการใช้อำนาจของรัฐปราบปรามเข่นฆ่าชาวพุทธต่อไปไม่ ได้ จึงได้ประกาศอุทิศชีวิต เพื่อป้องกันพระพุทธศาสนาโดยนั่งรถออสตินคันที่เราสองคนกำลังยืนดูอยู่นี้ ออกจากวัดเทียนมู่ในคืนวันที่ 10 มิถุนายน 2506 ถึงกรุงไซ่ง่อนในเช้าวันที่ 11 มิถุนายน 2506 เพื่อร่วมประท้วงกับกลุ่มชาวพุทธ ที่กำลังเดินขบวนอยู่ที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล หลังจากพระ ทิจ กวาง ดึ๊ก ได้เขียนข้อเรียกร้องถึง 6 ข้อ ให้รัฐบาลหยุดทารุณกรรม จากนั้นท่านก็ได้เข้าสู่ขบวนพุทธศาสนิกชนประมาณ 1,000 คนด้วยความสงบ เพื่อไปสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลให้พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และพุทธศาสนิกชนที่ถูกเจ้าหน้าที่ขับรถพุ่งชนขบวนผู้ประท้วงเสียชีวิตในวัน ที่ 8 พฤษภาคม 2506 ที่ผ่านมา (มีพระและแม่ชีเสียชีวิต 70 คน ชาวพุทธอื่นๆ อีก 30 คน) จากนั้นขบวนชาวพุทธก็เดินต่อไปอย่างสงบ โดยมีรถออสตินนำพระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก ไปยังกลางเมืองหลวงกรุงไซ่ง่อนในขณะนั้นปัจจุบันคือนครโฮจิมินห์ พระ ทิจ กวาง ดึ๊ก ก้าวลงจากรถจากนั้นไปนั่งขัดสมาธิกลางวงเวียนซึ่งมีชาวพุทธล้อมเป็นวงกลม ใหญ่ จากนั้นได้มีผู้หยิบถังน้ำมันเบนซิน 5 แกลลอนออกมาจากรถคันนั้น แล้วนำน้ำมันราดลงบนร่างกายของพระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก จนหมดถัง ต่อจากนั้นก็เอาไฟจุดเปลวไฟได้ลุกโชติช่วงท่วมร่างพระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก อยู่นานประมาณ10 นาที
ร่าง ที่นั่งขัดสมาธิของพระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊กอยู่นั้นก็หงายหลังลงและมรณภาพลงอย่างสงบโดยไม่ได้แสดงอาการทุกขเวทนา ทุรนทุรายแต่อย่างใด เหตุการณ์นี้มีผลกระทบต่อพุทธศาสนาและชาวพุทธในเวียดนามเมื่อสี่สิบกว่าปี ที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก หลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ก็มีการปฏิวัติเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2506 โดยกลุ่มทหารยังเติร์กที่ทนดูรัฐบาลทำร้ายพระสงฆ์และชาวพุทธต่อไปไม่ได้ และการปฏิวัติครั้งนี้ได้รับไฟเขียวจากอเมริกา ในฐานะที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังประธานาธิบดีโง ดินห์ เดียม มาตั้งแต่แรก ประธานาธิบดี โง ดินห์ เดียม สังฆราชตริสเตียน โง เดียม คาน และพี่ชาย โง ดินห์ ถึก ถูกทหารยิงเสียชีวิต หลังหนีกบดานไปอยู่ในโบสถ์แห่งหนึ่งในย่านโชลอง ซึ่งเป็นย่านคนจีนในไซ่ง่อน ส่วนผู้ร่วมในคณะรัฐบาล ทหาร ตำรวจ ที่เข่นฆ่า พระ นางชี และประชาชนในเหตุการณ์ที่ผ่านมาถูกประหารชีวิตทั้งหมด ส่วนรถออสตินคันที่พระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก ขับไปยังกรุงไซง่อนปัจจุบันถูกนำมาแสดง ณ ที่วัดเทียนมุแห่งนี้
เรา สองคนเดินเที่ยวชมภายในวัดเทียนมู่จนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงเดินออกมาขึ้น รถที่จอดรอคณะทัวร์อยู่ที่ลานจอดรถใกล้กับวัดเทียนมู่มองเห็นลูกทัวร์บางคน ทำตัวเป็นไทยมุงเราสองคนจึงแวะเข้าดู เห็นคุณลุงชาวเวียดนามสอบถามได้ความว่าชื่อทังลองซึ่งแปลว่ามังกร กำลังแสดงฝีมือศิลปะในการตัดกระดาษด้วยกรรไกรให้เป็นรูปใบหน้าคน
ลุง มังกรใช้เวลาเพียง1 นาทีก็ตัดได้หนึ่งรูปราคารูปละ 30 บาท เราสองคนจึงทดลองดูปรากฎว่าลุงมังกรแกตัดกระดาษได้เหมือนเราทั้งสองคน จริงๆ เราจึงช่วยอุดหนุนลุงมังกรสองรูปเป็นเงิน 60 บาท จากนั้นลูกทัวร์คนไทยเห็นก็แห่มาอุดหนุนลุงมังกรกันอย่างหนาตาเพราะลุงมังกร แกสามารถพูดไทยได้นิดหน่อยแถมไหว้กล่าวขอบคุณลูกค้าเป็นภาษาไทยได้อีกด้วย
เรา ไต่ถามว่าทำไมถึงพูดภาษาไทยได้ลุงมังกรบอกเราว่ามีคนไทยมาเที่ยวยัง เวียดนามมากโดยเฉพาะวัดเทียนมู่ที่ทัวร์ไทยทุกทัวร์ต้องเดินทางมาท่องเที่ยว แกจึงหัดพูดภาษาไทยเพื่อเอาใจลูกค้าคนไทย สำหรับศิลปะการตัดกระดาษด้วยกรรไกรให้เป็นรูปคนนั้นครูชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ สอนให้ จากนั้นแกก็ก้มหน้าก้มตาตัดกระดาษต่อไป
นัก ท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศเวียดนามกลางสามารถพบกับลุงมังกร ได้ทุกวันที่ลานจอดรถเจดีย์เทียนมู่แกจะประจำอยู่ที่นั้นเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นเราสองคนจึงมานั่งพักผ่อนคลายร้อนระหว่างรอคณะทัวรเราสองคนลอง สั่งน้ำแข็งใส่น้ำหวานภาษาเวียดนามเรียกว่า “โลโซ” ชื่อคล้ายกับวงดนตรีไทยราคาแก้วละ 20 บาท มากินคลายร้อนรสชาติเย็นช่ำชื่นใจจริงๆ และเมื่อทุกอย่างพร้อมลูกทัวร์มาครบรถโดยสารของบริษัท อินโดไชน่าฯ ก็พาลูกทัวร์และเราทั้งสองคนเดินทางออกจากวัดเทียนมู่ข้ามสะพานแม่น้ำหอม มุ่งหน้าสู่โรงแรมที่พักในเมืองเว้
สำหรับโรงแรมที่พักของคณะทัวร์บริษัท อินโดไชน่าฯ ในคืนนี้ได้แก่ Hue heritage hotel โรงแรมระดับสามดาวตั้งอยู่ใจกลางเมืองเว้ หลังจากจัดการกับอาหารค่ำภายในโรงแรมที่พักเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเรา ทั้งสองคนจึงขอตัวพักผ่อนเอาแรงไว้ท่องเที่ยวต่อในวันพรุ่งนี้ ซึ่งคณะทัวร์มีโปรแกรมจะเดินทางไปท่องเที่ยวยังพระราชวังในเมืองเว้กันครับ
วันที่สี่ของการเดินทาง
อรุณ สวัสดิ์เมืองเว้ เช้าวันแรกในเมืองเว้หลังจากจัดการกับอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะ ทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ พร้อมเราสองคนเดินทางไปท่องเที่ยวยังพระราชวังเว้ คณะทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ เดินทางมาถึงยังพระราชวังเว้ในตอนสายจากนั้นจึงปล่อยลูกทัวร์ให้เข้าไปท่อง เที่ยวในพระราชวัง
สำหรับ ค่าธรรมเนียมเข้าชมพระราชวังคนละ55,000โด่ง หรือประมาณ 140 บาท เพื่อไมให้เสียเวลาเราเดินเข้าไปเที่ยวชมภายในพระราชวังกันเลยครับ เราสองคนเดินเท้าไปตามถนนราดยางแคบๆ พอรถวิ่งสวนกันได้
ส่วน ประตูพระราชวังก็แคบไปตามขนาดของถนน รถทัวร์โดยสารขนาดใหญ่ไม่สามารถแล่นผ่านประตูพระราชวังเข้าไปได้ ถึงขนาดของรถจะผ่านได้แต่ทางรัฐบาลเวียดนามก็ไม่อนุญาติให้รถใหญ่ผ่านเข้าไป ในกำแพงพระราชวัง อนุญาติให้ก็แต่รถจักรยานและรถซีโคล่เท่านั้น บริเวณพระราชวังถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำทั้งสี่ด้านด้านหน้าของป้อมปราการมีธง ชาติเวียดนามขนาดใหญ่โบกสะบัดปลิวไสวเห็นเด่นเป็นสง่าแต่ไกลๆ
ก้าว แรกที่เราสองคนก้าวเข้าไปในประตูเมืองเจืองติ๊กก็ได้พบกับปืนใหญ่ 9 เทพเจ้า ซึ่งหมายถึงเทพเจ้า 5 องค์ คือตัวแทนของธาตุดิน, น้ำ, ลม,ไฟ และโลหะ ส่วนอีก 4 องค์ คือ ฤดูกาลทั้ง 4 ฤดูในหนึ่งปี
กระบอก ปืนใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ด้านข้างประตูพระราชวังจากนั้นเราสองคนจึงเดินเท้า เข้าไปในพระราชวังชั้นในมีชี่อเรียกว่า “พระราชวังต้องห้าม”สามารถเข้าได้เฉพาะจักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์เท่านั้นมี ชื่อว่า “ตือกามแทงค์ Tu Cam Thanh”
สำหรับ พระราชวังเว้หรือนครจักรพรรดิ์ไดโนย (DaiNoi) ถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อในแบบจีนซึ่งได้รับอิทธิพลจากการที่ประเทศเวียดนาม ตกอยู่ในการปกครองของจีนมามากกว่าพันปีโดยรอบของพระราชวังแห่งนี้มีกำแพง ล้อมโดยรอบสามชั้นสำหรับกำแพงด้านนอกสุดถูกสร้างด้วยหิน, อิฐ, ดินโดยมีความสูงประมาณ 8 เมตร หนา 20 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้ายาลอง ต่อมามีการสร้างประตูขึ้นมาอีกหลายแห่ง ตามกำแพงแต่ละแห่งมีหอคอยสังเกตุการณ์อยู่โดยรอบ
สำหรับ กำแพงเหลืองที่เป็นกำแพงชั้นกลางล้อมรอบด้วยนครจักรพรรดิ พระราชวัง และวัด เอาไว้ ในส่วนนี้มีประตูที่ถูกตกแต่งไว้อย่างสวยงาม 4 ประตูคือประตู “โหงะโมน”หรือแปลเป็นไทยว่า “ประตูเที่ยงวัน” อยู่ทางด้านทิศใต้สร้างด้วยหินแกรนิตในปี ค.ศ. 1834 ในสมัยของพระเจ้ามินห์หม่าง
ต่อ มาได้รับการซ่อมแซมใหม่ในปี ค.ศ. 1921 และที่อยู่เหนือประตูซุ้มทางเดินขึ้นมาคือพระที่นั่ง “เลาหงู ฟู” หรือพระที่นั่งหงส์ทั้งห้า ซึ่งใช้เป็นที่ประทับยามเสด็จออกมาว่าราชการแผ่นดินและดูแลทุกข์สุขของราษฎร และใช้เป็นสถานที่ที่ซึ่งกษัตริย์บ๋าวได่ได้ทรงทำพิธีมอบตราพระราชสัญจก รซึ่งเปรียบเสมือนตราแห่งพระราชอำนาจให้กับรัฐบาลสังคมนิยมเวียดนามภายใต้ การนำของโฮจิมินห์ บริเวณนี้ห้ามถ่ายรูป
เรา สองคนเดินเท้าผ่านประตูโหงะโมนโดยเดินข้ามสะพานน้ำทองซึ่งครั้งหนึ่งเคยสงวน ไว้เฉพาะจักรพรรดิเท่านั้น เราสองคนเดินเท้ามาถึงยังพระราชวังไท ฮวาหรือพระราชวังสันติสุขสูงสุดสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 ในสมัยพระเจ้ายาลองโดยใช้เป็นสถานที่รับรองเชื้อพระวงศ์ระดับสูงและนักการ ทูตจากต่างประเทศและใช้เป็นสถานที่จัดงานฉลองสำคัญต่างๆ ซึ่งภายในถูกตกแต่งไว้อย่างสวยงามโดยเฉพาะเพดาน, เสา, คาน และผนังถูกตกแต่งด้วยน้ำมันครั่งสีแดงตัดด้วยลวดลายสีทองมีตำหนักหลายหลัง, วัด, ศาลเจ้าของจักรพรรดิราชวงศ์เหวียนเจ็ดพระองค์ ตำหนักโกศของราชวงศ์เก้าโกศสร้างขึ้นโดยพระเจ้ามิงห์หม่างในปี ค.ศ.1922 ซึ่งในแต่ละโกศคือตัวแทนของจักรพรรดิแต่ละพระองค์ ในทุกๆ ปีชาวเมืองเว้จะเดินทางมาประกอบพิธีสักการะดวงวิญญาณของเหล่าจักรพรรดิผู้ ที่สร้างอารยธรรมอันรุ่งเรืองให้กับเมืองเว้จนทั่วโลกได้รู้จักจนทุกวันนี้
สำหรับ ในส่วนต่างๆ ของพระราชวังที่อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางเป็นอาคารที่เหลือรอดมาจากการ ต่อสู้ครั้งสำคัญระหว่างทหารอเมริกันและพวกเวียดกงในช่วงสงครามเวียดนาม เมื่อปี ค.ศ.1969 ที่เรียกกันว่า “สงครามตรุษญวน” ซึ่งผลพวงของการปะทะกันในครั้งนั้น ทำให้สิ่งก่อสร้างอายุนับร้อยปีในเขตพระราชฐานชั้นในของนครจักรพรรดิซึ่ง เรียกกันว่า “พระราชวังต้องห้าม” แห่งนี้เสียหายอย่างหนัก
เรา สองคนเดินเที่ยวชมความสวยงามของพระราชวังพร้อมบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึกจาก นั้นจึงเดินเท้าออกมานั่งพักผ่อนหย่อนใจพร้อมให้อาหารปลาบริเวณสระน้ำหน้า ทางเข้าพระราชวังต้องห้าม
หลัง จากลูกทัวร์พร้อมหน้าพร้อมตากันแล้วคณะทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ ก็เดินทางต่อไปยังสุสานพระเจ้ามินห์หม่างซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเว้ ประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่นานนักคณะทัวร์และเราทั้งสองคนก็เดินทางมาถึงยังสุสานพระ เจ้ามินห์หม่างซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำหอมสามารถเดินทางมาได้ทั้งทางรถยนต์และ ทางเรือมังกรโดยแล่นจากตัวเมืองเว้ลอยลำชมวิวทิวทัศน์มาตามแม่น้ำหอมจนถึง สุสานพระเจ้ามินห์หม่าง เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมสุสานคนละ 55,000โด่ง เท่ากับ 140 บาทจากนั้นก็เดินเท้าเข้ามายืนอยู่ภายในบริวณสุสานสัมผัสแรกที่เราสองคนได้ สัมผัสภายในสุสานพระเจ้ามินห์หม่างก็คือความเย็นสบายร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ ขนาดใหญ่อายุนับเป็นร้อยๆ ปี
เรา สองคนเริ่มเดินเท้าเข้าไปเที่ยวชมภายในสุสานฯ ซึ่งไกด์สาวชาวเวียดนามได้เล่าให้ลูกทัวร์และเราสองคนฟังว่าพระเจ้ามินห์ หม่างเป็นโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้ายาลองจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์เหวียนพระองค์ทรงสร้างพระราชวังเว้หรือนครจักรพรรดิและทรงปฎิรูป ขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณและการเกษตรกรรมทรงนำความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิ ทยาการสุ่เมืองเว้
พระองค์ ทรงวางแผนบริหารการปกครองโดยการให้หัวเมืองต่างๆ มาขึ้นตรงต่อราชสำนักอย่างเคร่งครัดรวมทั้งนโยบายต่อต้านฝรั่งเศสและปราบ ปรามพวกนอกศาสนาอย่างรุนแรง ซึ่งนโยบายอันนี้นำพาเวียดนามตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
บริเวณ ลานกว้างเบื้องหน้าของสุสานมีรูปแกะสลักด้วยหินทรายของเหล่าขุนนางคล้ายเป็น ผู้ดูแลสุสานพร้อมรูปแกะสลักหินทรายของช้างศึกและม้าศึกและบริเวณของศิลา จารึกขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่เหนือแท่นบูชาดวงพระวิญณานของพระองค์
สำหรับภายใน ส่วนในของสุสานแวดล้อมไปด้วยสระน้ำขนาดใหญ่เต็มไปด้วยบัวและสวนหย่อมอันร่ม รื่นด้วยไม้นานาพันธุ์และจากแท่นบูชาฯ สามารถมองเห็นเนินดินลักษณะเป็นวงกลมขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยรั้วสูงและถ้าสัง เกตุให้ดีแล้วเนินดินแห่งนี้จะตั้งอยู่ตรงกลางสุสานพอดี
แต่ ก็ยังไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้เลยว่าตำแหน่งของที่ฝังพระศพของพระองค์ที่แน่ นอนนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ เพราะตอนฝังพระศพไม่อนุญาติให้ใครเข้าไปได้นอกจากคนฝังพระศพและเมื่อทำการ ฝังพระศพเสร็จแล้วคนฝังพระศพก็จะต้องฆ่าตัวเองตายตามไปด้วยเพื่อคอยติดตามไป เป็นข้ารับใช้พระองค์อีกในภพหน้า
สำหรับ การก่อสร้างสุสานแห่งนี้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ.1840 ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์เพียงหนึ่งปีและสร้างเสร็จสมบูรณ์โดยพระเจ้า เคี่ยวตรีรัชทายาทของพระองค์ในปี ค.ศ.1843 สุสานของพระองค์ตั้งอยู่ที่บริเวณแม่น้ำตาตรัด และแม่น้ำหูตรัดไหลมาบรรจบกันที่แม่น้ำหอมสำหรับสุสานพระเจ้ามินห์หม่างแห่ง นี้ผสมผสานความสวยงามตามธรรมชาติเข้ากับสถาปัตยกรรมอันสง่างามจากฝีมือของ ช่างชาวเมืองเว้
สุสาน แห่งนี้จะมีความสวยงามมากในยามเช้าของเดือนมีนาคมดอกบัวภายในสระน้ำจะออก ดอกบานสะพรั่งสีสันสวยงามมากเป็นที่ตื่นตาตื่นใจนักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาส เดินทางมาท่องเที่ยวยังสุสานแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง
เรา สองคนเดินเที่ยวชมภายในบริเวณสุสานพระเจ้ามินห์หม่างจนสมควรแก่เวลาจากนั้น จึงออกเดินทางต่อมารับประทานอาหารกลางวันในเมืองเว้พร้อมพักผ่อนหย่อนใจจน ได้เวลาแดดร่มลมตกคณะทัวร์พร้อมเราทั้งสองคนจึงออกเดินทางท่องเที่ยวต่อสถาน ที่ที่คณะทัวร์จะเดินทางไปก็คือสุสานของพระเจ้าไคดิงห์
เรา ใช้เวลาเดินทางประมาณ20นาทีจากเมืองเว้ก็ถึงสุสานของพระเจ้าไคดิงห์ชำระค่า ธรรมเนียมเข้าชมคนละ55,000โด่งหรือเท่ากับ 120 บาท จากนั้นเราสองคนก็เดินเท้าตามบันไดหินทรายอันสูงชันที่มีทั้งหมดสามชั้น
จาก บันไดชั้นล่างสุดมีลักษณะเป็นมังกรอันสวยงามนำพาเราสองคนเดินเท้าขึ้นไปอยู่ บนชั้นที่หนึ่งจากนั้นจากชั้นที่หนึ่งมีบันไดมังกรขึ้นไปยังชั้นที่สองซึ่ง เรียงรายไปด้วยรูปปั้นหินทรายของช้างศึก, ม้าศึก, ขุนศึก และเหล่าเสนาบดีที่จงรักภักดีต่อพระองค์กลางลานกว้างมีแผ่นหินจารึกเขียน ด้วยตัวอักษรจีนเป็นพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยกษัตริย์บ๋าวได่เพื่อระลึกถึงคุณ ความดีของพระราชบิดาของพระองค์
ส่วน การตกแต่งภายในสุสานมีการใช้กระเบื้องสีปูพื้นเป็นรูปจิตรกรรมฝาผนัง “มังกรในม่านเมฆ”ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยวาดขึ้นมาด้วยฝีมือของจิตกรชาว เวียดนามที่วาดภาพด้วยเท้าประดับอยู่บนเพดานกลางห้องโถงและบริเวณห้อง โถงกลางห้องมุขสีเขียวหยกนำไปสู่ทางเดินซ้ายขวาภาพผนังสีสดใสประกอบขึ้นจาก การฝังกระจกสีและกระเบื้องสีหลายพันชิ้นบอกเรื่องราวต่างๆของสัตว์, ต้นไม้, ดอกไม้ ฯลฯ ตลอดจนรูปปั้นสำริดมีขนาดใหญ่ขนาดเท่าองค์จริงของกษัตริย์ไคดิงห์ซึ่งสร้าง ขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1922 ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนราชบังลังก์ยกพื้นด้านบนกลางสุสาน
สำหรับ สุสานพระเจ้าไคดิงห์ซึ่งมีความแตกต่างทางสถาปัตยกรรมจากสุสานของพระเจ้า มินห์หม่างโดยสิ้นเชิงแต่สิ่งหนึ่งที่มีความเหมือนกันก็คือรูปแกะสลักด้วย หินทรายของเหล่าขุนนางคล้ายกับเป็นผู้ดูแลสุสานพร้อมรูปแกะสลักหินทรายของ ช้างศึกและม้าศึกตั้งเรียงรายอยู่สองข้างทางเข้าสู่สุสาน สำหรับสุสานของพระเจ้าไคดิงห์จะมีขนาดเล็กกว่าสุสานของพระเจ้ามินห์หม่า งประมาณ 2 เท่า
สำหรับ สถาปัตยกรรมของสุสานแห่งนี้เป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเข้า ด้วยกันคือสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องใช้เวลาในการสร้างถึง 11 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1931 ส่วนพระเจ้าไคดิงห์เป็นพระราชบิดาบุญธรรมของกษัตริย์บ๋าวได่และทรงครองราชย์ อยู่นาน 9 ปีในยุคของเวียดนามตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสสุสานพระเจ้าไคดิงห์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 06.30-18.00 น. (ในฤดูร้อน) และตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น.(ในฤดูหนาว)
เรา สองคนใช้เวลาบันทึกภาพภายในสุสานไคดิงห์จนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงออกเดิน ทางไปตามถนนราดยางข้ามสะพาน TroungTien ข้ามแม่น้ำหอมกลับมายังเมืองเว้เพื่อให้ลูกทัวร์ได้ทำการช้อบปิ้งกันที่ ตลาดภายในเมืองเว้ซึ่งตั้งอยู่ติดกับสะพาน TroungTien
ตลาด แห่งนี้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวยัง เมืองเว้เป็นอย่างดีและนักท่องเที่ยวชาวไทยก็เป็นที่รู้จักของพ่อค้าแม่ขาย ในตลาดเมืองเว้เป็นอย่างดีด้วยเหมือนกันในเรื่องการเป็นนักช้อบปิ้งตัวยง เข้าไปตลาดไหนช้อปกันกระจายที่นั่น ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าแถมต่อราคากันแบบแหลกหลาญไม่ได้เที่ยวไม่เป็นไรแต่ ขอให้ได้ช้อบปิ้งเท่านั้นเป็นพอ สำหรับตลาดเมืองเว้แห่งนี้แบ่งออกเป็นสัดส่วนคือตลาดขายเสื้อผ้าของที่ ระลึก, ตลาดผลไม้, ตลาดดอกไม้ตลาดพืชผลทางการเกษตรเนื้อสัตว์, ร้านจำหน่ายสิ่งของอุปโภคบริโภคเช่นน้ำมันพืช, สบู่, ยาสีฟัน สินค้าส่วนใหญ่ผลิตในประเทศเวียดนาม
พอ รถทัวร์เดินทางถึงตลาดเมืองเว้เหล่าลูกทัวร์ก็แตกกระจายเหมือนผึ้งแตกรังแยก ย้ายไปช้อบปิ้งในตลาดคนละทิศคนละทางส่วนเราสองคนไม่ถนัดในเรื่องช้อบปิ้งจึง เดินเล่นมานั่งพักผ่อนหย่อนใจในยามเย็นริมแม่น้ำหอม ที่อยู่บริเวณหลังตลาดเมืองเว้สำหรับแม่น้ำหอมมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ว่า “LoDung” หรือ “DinhRiver” ชาวเวียดนามเรียกว่า “ซงเฮือง” แปลว่าแม่น้ำหอมขณะที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกรู้จักกันในนามว่า “Perfume River” ชื่อว่าแม่น้ำหอมนั้นเริ่มมาจากบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำหอมที่อยู่บนภูเขาสูง ซึ่งบนภูเขาลูกนี้เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ไม้ที่มีกลิ่นหอมมากมายหลากหลายชนิด ในฤดูใบไม้ร่วงดอกไม้นานาชนิดได้หล่นร่วงลงจากกิ่งตกลงสู่แม่น้ำสายนี้จาก นั้นดอกไม้ก็ละลายไหลพากลิ่นหอมนานาชนิดผ่านเทือกเขาสูงเกาะแก่งต่างๆไหลลง สู่แม่น้ำเบื้องล่างหล่อเลี้ยงผู้คนบนแผ่นดินเวียดนามมายาวนานหลายศตวรรษ ยามเวลากลางวันแม่น้ำหอมจะมีสีประหลาดล้ำไม่เหมือนแม่น้ำที่เคยเห็นสีของน้ำ จะใสกระจ่างเหมือนผลึกแก้วสีเขียวอมเหลืองไหลเอื่อยลัดเลาะลงมาบนแผ่นดิน อานัม ครั้นในยามค่ำคืนแม่น้ำหอมกลับแปรฉากเป็นมืดมัวมนที่นานครั้งจะแลเห็นเรือ สำปั้นแจวผ่านไปมาอย่างช้าๆ ความสวยงามของแม่น้ำหอมจึงเกิดเป็นธรรมเนียมโบราณของชาวเวียดนามเรียกว่า “กาเว้”ในการต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลด้วยการเชิญให้ลงเรือมังกรล่องชมความ งดงามของแม่น้ำหอมในยามค่ำคืนพร้อมดื่มสุราพื้นบ้านของชาวเวียดนามฟังเพลง พื้นบ้านของชาวเว้ ซึ่งขับร้องและเล่นดนตรีโดยหญิงสาวชาวเมืองเว้
ซึ่ง เป็นธรรมเนียมโบราณที่สืบทอดกันมานานจนตราบเท่าทุกวันนี้ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับบริษัททัวร์ทุกบริษัทจะต้องบรรจุกิจกรรมล่อง เรือชมแม่น้ำหอมในยามค่ำคืนนี้ลงในโปรแกรมด้วย บริษัทไหนไม่มีโปรแกรมนี้ถือว่าเชยสุดๆ ซึ่งบริษัท อินโดไชน่าฯ ก็ได้บรรจุกิจกรรมนี้ลงในโปรแกรมด้วยเหมือนกันซึ่งไกด์ของบริษัททัวร์จะพา คณะทัวร์ทั้งหมดไปลงเรือล่องแม่น้ำหอมหลังอาหารค่ำคืนนี้แน่นอน
หลัง จากรอคอยบรรดานักช้อบปิ้งพร้อมหน้าค่าตากันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นไกด์ สาวชาวเวียดนามก็พาคณะทัวร์เดินทางไปรับประทานอาหารค่ำกันที่ร้านอาหาร เวียดนามแห่งหนึ่งในเมืองเว้ หลังอาหารค่ำไกด์ก็พาคณะทัวร์เดินทางมาลงเรือมังกรที่จอดคอยอยู่ที่บริเวณ ท่าเรือเมื่อผู้โดยสารครบจำนวนเจ้าเรือมังกรก็เริ่มเดินทางออกจากท่าเรือจาก นั้นเสียงสล้อ ซ้อ ซึง ก็เริ่มดังขึ้นพร้อมกับการกล่าวคำต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกล
จาก นั้นนักร้องสาวชาวเวียดนามในชุดประจำชาติ “อ๋าวหญ่าย” ก็ดังขึ้นส่วนเรือมังกรก็แล่นฝ่าความมืดไปตามแม่น้ำหอมที่สองฟากฝั่งระยิบ ระยับไปด้วยแสงไฟจากบ้านเรือนผู้คนชาวเมืองเว้จากนั้นเรือมังกรแล่นมาได้สัก ครู่ใหญ่จากนั้นจึงหันหัวเรือกลับเสียงเพลงลอยกระทงก็เริ่มดังขึ้นพร้อมกับ นักร้องสาวชาวเวียดนามบนเรือต่างก็ชักชวนให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับ เรือมังกรมาร่วมรำวงและลอยกระทงร่วมกันในแม่น้ำหอม ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกทัวร์ในทริปนี้เป็นอย่างยิ่ง
เรือ มังกรใช้เวลาสองชั่วโมงเศษๆในการล่องแม่น้ำหอม จากนั้นก็นำเรือมังกรมายังท่าเรือเพื่อส่งลูกทัวร์ขึ้นฝั่งเป็นอันสิ้นสุด กิจกรรมการล่องเรือชมแม่น้ำหอมในคืนนี้แต่เพียงเท่านี้
ส่วน โปรแกรมต่อไปก็คือโรงแรมใครโรงแรมมัน หรือใครที่ต้องการจะท่องเที่ยวยามราตรีชมแสงสีของเมืองเว้ไกด์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ ก็จะเป็ผู้อาสาเป็นไกด์พาไปให้ ส่วนเราสองคนขอนอนหลับพักผ่อนเอาแรงไว้เดินทางกลับเมืองไทยในวันพรุ่งนี้ วันนี้ขอกล่าวคำว่าราตรีสวัสดิ์ครับ
วันที่ห้าของการเดินทางเช้า วันสุดท้ายในเมืองเว้วันนี้คณะทัวร์ของบริษัท อินโดไชน่าฯ จะเดินทางกลับเมืองไทยกันแล้วหลังจากจัดการกับอาหารเช้าเสร็จสรรพจัดการขน สัมภาระขึ้รรถทัวร์โดยสาร
จากนั้นจึงเชิญลูกทัวร์มาร่วมกลุ่มถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกที่บริเวณหน้าโรงแรม Hue heritage Hotel จากนั้นจึงเดินทางจากเมืองเว้สู่แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ระยะ 400 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมงโดยใช้เส้นทางหลวงสายหลักหมายเลข 1 A เลียบเส้นทางรถไฟผ่านท้องไร่ท้องนาจนมาแวะพักรถเข้าห้องน้ำห้องท่าและให้ลูก ทัวร์ได้ช้อบปิ้งกันที่โรงงานแกะสลักหินอ่อนแห่งหนึ่งในเขตเมืองกวางตรี
ที่ นี่นอกจากจะเป็นโรงงานแกะสลักหินอ่อนแล้วยังจำหน่ายหินอ่อนแกะสลักหลายรูป แบบ ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ถ้าชอบใจแบบไหนยกกลับบ้านไปไม่ไหวมีบริการ Dilivery ส่งให้ถึงที่โดยทางเรือหรือทางเครื่องบิน ส่วนเรื่องราคาค่าส่งขึ้นอยู่ที่ระยะทางไกลใกล้
ลูก ทัวร์บางคนอยากจะซื้อหินอ่อนแกะสลักขนาดใหญ่แต่เสียดายค่าจัดส่งที่มีราคา ค่อนข้างแพงไอ้ครั้นจะแบกกลับไปเองเห็นท่าจะไม่ไหวแน่ๆ เอาไว้โอกาสหน้าดีกว่า
จาก นั้นคณะทัวร์ฯ ก็ออกเดินทางไปบนเส้นทางหลวงสาย1 A จากนั้นเปลี่ยนมาใช้ถนนหมายเลข 9 ถึงด่านลาวบาวก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดีคณะทัวร์รับประทานอาหารกลางวันกัน ที่ร้านอาหารเวียดนามบริเวณด่านลาวบาวพร้อมรอเจ้าหน้าที่ของบริษัท อินโดไชน่าฯ จัดการกับพาสปอรต์ เอกสาร และเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วคณะทัวร์จึงออกเดินทางข้ามด่านลาวบาวไปยัง ด่านแดนสวรรค์ของสสป.ลาว ผ่านขั้นตอนตรวจคนเมืองอีกเล็กน้อยจากนั้นก็ออกเดินทางต่อไปตามทางหลวงหมาย เลข 9 มุ่งหน้าสู่ด่านสะหวันนะเขต
คณะ ทัวร์ของบริษันอินโดไชน่าฯเดินทางมาถึงแขวงสะหวันนะเขตในยามบ่ายคล้อยจาก นั้นจึงแวะเข้าไปนมัสการพระธาตุอิงฮังสิ่งศักดิ์สิทธิเป็นที่เคารพนับถือของ ชาวลาวทั่วทั้งประเทศ
เรา สองคนจ่ายเงินเป็นค่าธรรมเนียมเข้าชมพระธาตุอิงฮัง คนละ 5,000 กีบ (20บาท) จากนั้นจึงเดินเท้าเข้าไปนมัสการยังองค์พระธาตุอิงฮัง สำหรับพระธาตุอิงฮัง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนกระดูกสันหลังของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ในเมืองคันทะบุลี แขวงสุวรรณเขตสปป.ลาว ห่างจากแขวงสะหวันเขตระยะทางประมาณ15กิโลเมตรพระธาตุองค์นี้ถือเป็นพระธาตุ คู่แฝดกับพระธาตุพนมซึ่งตามประวัติเล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมายัง บริเวณที่เป็นพระธาตุอิงฮังในปัจจุบันนี้และทรงประทับฉันภัตตาหารเพลบริเวณ ใต้ "ต้นฮัง" หรือต้นสาละ พระธาตุอิงฮัง เป็นศิลปและสถาปัตยกรรมที่สวยงามของลาวโดยมีอายุมากว่า 2000 ปี สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 400 โดยพระเจ้าสุมิตราธรรมวงศาผู้ปกครองอาณาจักรโคตรตะบอง พระธาตุอิงฮังเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางภาคกลางและภาคใต้ของลาว ระหว่างเส้นทางสะหวันนะเขต-เซโน
พระ ธาตุสูงกว้างด้านละ 9 เมตร มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมย่อมุมเหมือนหอปราสาท เป็นเจดีย์แบบผสมวิหาร คือใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ เพราะมีประตูเข้าออกได้ องค์พระธาตุเจดีย์จัดเป็นฐานสามชั้น ลดหลั่นกันเป็นลำดับ ฐานล่าง ฐานกลางเป็นศิลปดั้งเดิม ฐานบน และยอดเจดีย์ เป็นศิลปสมัยล้านช้าง บริเวณโดยรอบของพระธาตุอิงฮังมีพระพุทธรูปประดิษฐานไว้โดยรอบกำแพงชั้นใน เป็นจำนวนมาก
เรา สองคนเก็บบันทึกภาพพร้อมกับกราบนมัสการองค์พระธาตุอิงฮังสังเกตุเห็นชาวลาว เดินทางมากราบนมัสการพระธาตุอิงฮังไม่ขาดสาย พร้อมกับนำเครื่องบูชาที่คนลาวเรียกกันว่า “ขันหมากเป็ง” ซึ่งทำมาจากใบกล้วยพับเป็นรูปทรงกรวยสูงขึ้นมาเป็นชั้นๆ เสียบด้วยดอกมะลิตรงบริเวณปลายแหลมของกรวยนำมาบูชาองค์พระธาตุอิงฮัง
ซึ่ง บริเวณทางเข้าพระธาตุมีชาวลาวนำมาวางขายในราคาอันละ 2,500 กีบ (10บาท) หลังจากนมัสการพระธาตุอิงฮังเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นรถทัวร์โดยสารของ บริษัท อินโดไชน่าฯ ก็นำพาคณะทัวร์พร้อมเราสองคนเดินทางมายังสะหวันเวกัส เพื่อรับประทานอาหารค่ำ
สำหรับสะหวันเวกัสเป็นโรงแรมที่พักพร้อมบ่อนคาสิโนขนาดใหญ่ซึ่งเปิดดำเนินการมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ 2009 มานี้เอง
โดย มีโรงแรมที่พักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอันทันสมัยจำนวน 176 ห้องพร้อมห้องประชุมและสัมนาขนาดใหญ่ลงทุนโดยนักลงทุนชาวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวที่อ่อนเพลียจากการเดินทางท่องเที่ยวหลังกลับจากเวียดนามแล้ว ยังพอมีเวลาเหลือไม่อยากกลับเมืองไทย อาจจะนอนพักผ่อนพร้อมกับเสี่ยงโชคหาค่ารถกลับบ้านได้ที่สะหวันเวกัสน่ะครับ ระยะทางห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ประมาณ 7 กิโลเมตรเท่านั้นเอง
สนใจคลิ๊กเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ www. savanvesas.com หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดทาง E-mail:info@savanvesas.com
หลังจาก เดินเที่ยวชมบรรยากาสภายในสะหวันเวกัส พร้อมรับประทานอาหารค่ำเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นรถทัวร์โดยสารของบริษัท อินโดไชน่าฯ ก็นำพาคณะทัวร์พร้อมเราสองคนเดินทางผ่านการตรวจคนเข้าออกเมืองของทั้งสอง ประเทศเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเดินทางข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 สู่จังหวัดมุกดาหารจัดการอาบน้ำอาบท่าเปลี่ยนเครื่องแต่งกายที่ร้านเมือง มุกดาจนสบายตัวแล้วจึงเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯโดยทิ้งความสนุกสนานและความ ประทับใจไว้เบื้องหลังเก็บมาแต่เพียงแค่ภาพถ่ายและเรื่องราวอันสนุกสนานที่ เก็บมาเล่าให้ท่านที่ชอบท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้สนุกเพลิดเพลินไปกับเราทั้ง สองคน แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าที่นครวัด-นครธม เมืองเสียมราฐประเทศกัมพูชานะครับ บ้าย บาย...........
สนใจโปรมแกรมท่องเที่ยว ติดต่อข้อทราบรายละเอียดได้ที่
บริษัท อินโดน่าเอ็กพลอเร่อร์ (ประเทศไทย) จำกัดโทรศัพท์ 0-2898-2324, 0-2898-1817
E-mail: indochina@hotmail.com
www.idc-explorer.com
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.idotravellers.com