วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เที่ยวแดนดินถิ่นอีสาน

          เที่ยวแดนดินถิ่นอีสานชมทุ่งบัวแดงบานแหล่งโบราณคดีมรดกโลกบ้านเชียงที่อุดรธานี

      ใกล้เทศกาลปีใหม่เข้ามาทุกทีแล้ว ปีใหม่ปีนี้มีวันหยุดหลายวันหลายท่านคงจะเริ่มต้นมองหาแหล่งท่องเที่ยวตามต่างจังหวัดกันบ้างแล้วก็เลยอยากจะแนะนำแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติในแดนดินอีสานบ้านเฮามาให้รู้จักกันเพื่อจะได้ใช้เป็นทางเลือกในการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้อย่างสนุกสนานสำราญใจสบายกระเป๋ากันถ้วนหน้า
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกที่อยากจะแนะนำให้เดินทางไปท่องเที่ยวกันก็คือ      ทะเลบัวแดงในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหาน ตำบลเชียงแหวอ.กุมภวาปี จ.อุดรธานีห่างจากตัวเมืองอุดรธานีระยะทางประมาณ50กิโลเมตร
-                   ทะเลบัวแดงในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานเริ่มออกดอกเบ่งบานต้อนรับเทศกาลท่องเที่ยวกันแล้ว ชมภาพความงามของทะเลบัวแดงหนองหานซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน 22 สุดยอดเส้นทางดอกไม้ของเมืองไทย จากโครงการ Dream Destinations 2  “ กาลครั้งนั้น...ความฝันผลิบาน"แคมเปญสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

-  ทะเลบัวแดงในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหาน       สำหรับ "ทะเลบัวแดง" ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ที่ตอนนี้กำลังเริ่มต้นเบ่งบานต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเที่ยวชมความสวยงามในยามเช้าตรู่ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย ซึ่งในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะนั่งเรือรับลมหนาว ท่องเที่ยวท่ามกลางบึงใหญ่อย่างหนองหานที่กำลังบานสะพรั่งไปด้วยดอกบัวสายสีแดงอมชมพู บนพื้นที่กว้างถึง 22,500 ไร่ จนได้รับการยกย่องให้เป็น "ทะเลบัวน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย" กันเลยทีเดียวจึงถือได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์ของระบบนิเวศแห่งทะเลน้ำจืดในหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีที่ไม่ควรพลาดหากมีโอกาสได้มาเยือนเมืองอุดรธานี
     เทศกาลทะเลบัวแดงดังกล่าวจะจัดขึ้นในบริเวณหนองหาน สถานที่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ในตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี และบางส่วนในอำเภอประจักษ์ศิลปาคม ของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งบึงแห่งนี้จะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลา,พันธุ์นก และพืชน้ำนานาชนิด ซึ่งช่วงเวลาที่ดอกบัวจะออกดอกบานสะพรั่งและมีปริมาณมากที่สุดจะอยู่ในช่วงระหว่าง เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และจะค่อย ๆลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นดอกบัวแดงบานเต็มบึงน้ำหนองหานสุดลูกหูลูกตาอย่างงดงามตระการตา จนเป็นที่มาของคำว่า "ทะเลบัวแดง"
     สำหรับอัตราค่าบริการเรือเที่ยวชมทะเลบัวแดงเรือหางยาวนั่งไม่เกิน2คนๆละ100บาทเรือท้องแบนนั่งได้ไม่เกิน8-10 คนๆละ100บาทเหมาลำๆละ500บาทใช้เวลาเที่ยวชมครั้งละ1ชั่วโมง ส่วนช่วงเวลาดีที่สุดที่จะเดินทางมาเที่ยวชมความสวยงามของทะเลบัวแดงจะอยู่ในช่วงเช้าระหว่างเวลา 06.00-11.00 น.
-                  เรือบริการชมทะเลบัวแดง     นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลเชียงแหว โทรศัพท์ 0 4223 6022เทศบาลตำบลแชแล โทรศัพท์ 0 4291 0196 และสอบถามได้ที่คุณไพรสิทธิ์ สุขรมณ์ประธาน กลุ่มเรือบริการท่องเที่ยวและสภาผู้ประสานงานกลุ่มเรือบริการท่องเที่ยว โทรศัพท์ 08 7193 9508 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุดรธานี โทรศัพท์  0 4232 5406-7 และ เฟซบุ๊ก เที่ยวอีสาน.com
 -  ทะเลบัวแดงในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานตำบลเชียงแหวอ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี     จากทุ่งบัวแดงจากนั้นพาท่านเดินทางมาท่องเที่ยวกันต่อที่  “แหล่งโบราณคดีมรดกโลกบ้านเชียง”

     สำหรับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 55 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ บ้านเชียงนับเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยและของโลก ซึ่งมีการดำเนินการขุดค้นและศึกษาวิจัยในลักษณะสหวิทยาการตามโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาจนได้คำตอบจากการค้นคว้าว่า ผู้คนในอดีตที่บ้านเชียงเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเกษตรกรรม ตั้งแต่ประมาณ 5,600 ปีมาแล้ว

โดยการค้นพบครั้งนั้นเปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนแนวคิดของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีในรุ่นก่อน เกี่ยวกับวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยเชื่อกันว่าล้าหลังกว่าภูมิภาคอื่น เพราะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เช่นการผลิตภาชนะดินเผาด้วยฝีมือระดับสูง การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ โดยเป็นการประดิษฐ์คิดค้นที่มีวิธีการเป็นของวัฒนธรรมบ้านเชียงเอง ไม่ได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียตามที่เคยเข้าใจกันนอกเหนือจากโบราณวัตถุประเภทต่างๆที่ช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องสังคมและเทคโนโลยีแล้ว การขุดค้นที่บ้านเชียงยังพบกระดูกสัตว์ชนิดต่างๆ และเปลือกหอยจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งทำให้นักโบราณคดีสามารถเข้าใจ และอธิบายถึงวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงนั้นได้ จากหลักฐานการใช้เหล็กและจากกระดูกควายที่พบ น่าจะเป็นควายที่ถูกนำมาเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน เนื่องจากกระดูกเท้ามีลักษณะผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการกดทับจากการใช้แรงงาน นักโบราณคดีสรุปได้ว่ามนุษย์รู้จักการทำนาในที่ลุ่มและมีการไถนาแล้วเมื่อราวเกือบ 3,000 ปีมาแล้ว และจากการศึกษายังพบอีกว่าไม่เพียงการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เท่านั้น คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงยังคงทำการล่าสัตว์ป่า และสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น เก้ง กวาง สมัน เสือ แรด ปลาดุก ปลาช่อน และหอยหลายชนิด ฯลฯ อีกด้วย อ้างอิงจากหลักฐานทางด้านโลหกรรมที่บ้านเชียง พบว่าสำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก ซึ่งเป็นโลหะที่ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติในบริเวณบ้านเชียง ดังนั้นช่างสำริดที่บ้านเชียงจึงต้องได้โลหะทั้งสองชนิดนี้มาจากชุมชนอื่น แสดงให้เห็นว่าการติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป ได้เกิดขึ้นเมื่อไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว

      สำหรับเรื่องของภาชนะดินเผาบ้านเชียง เป็นเครื่องใช้ที่เริ่มปรากฏตั้งแต่ชั้นดินล่างสุดของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จากหลักฐานพบว่ามีการใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและฝนการฝังศพ ภาชนะดินเผาที่ใช้อุทิศให้กับศพในยุคแรกจะมีเนื้อดินเป็นสีดำ แต่งด้วยลายเชือกทาบ ลายขูดขีด และลายกดประทับ สมัยถัดมาเริ่มมีภาชนะดินเผาสีขาวลายเชือกทาบ ตกแต่งขูดขีดและเขียนสีบริเวณไหล่ ในยุคถัดมาอีกเริ่มปรากฏภาชนะดินเผาสีนวลเขียนลายสีแดงลักษณะต่างๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียงมาจนถึงปัจจุบัน  นอกจากภาชนะดินเผาแล้ว หลุมฝังศพหลายหลุมที่ได้พบสิ่งของ เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ ของบุคคลที่ตายไปแล้วฝังรวมอยู่ในหลุมศพในปริมาณที่ต่างกัน แสดงให้เห็นว่าในสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงน่าจะประกอบด้วยสมาชิกที่มีฐานะแตกต่างกัน อีกทั้งยังพบว่าปริมาณสิ่งของที่อุทิศให้ศพในสมัยหลังมีเพิ่มมากขึ้นกว่าสมัยแรกเริ่ม รวมทั้งแบบแผนการจัดวางภาชนะดินเผาลงในหลุมศพแต่ละสมัยก็มีความแตกต่างกัน ด้านการใช้เหล็กจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าชาวบ้างเชียงเริ่มรู้จักการใช้เหล็กเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว เครื่องมือเหล็กที่พบมากในบ้านเชียง ได้แก่ใบหอก,หัวขวาน ,หัวลูกศร นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือคล้ายเคียว และมีด ทั้งหมดทำจากเหล็กที่ได้มาจากการถลุงจากสินแร่เหล็กด้วยความร้อนสูงจนได้ก้อนโลหะเหล็ก แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการถลุงแร่เหล็กที่บ้านเชียง จึงสันนิษฐานได้ว่าคนบ้านเชียงอาจนำเหล็กที่ถลุงแล้วมาจากที่อื่นนำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งรวมถึงการได้เครื่องมือเหล็กจากการแลกเปลี่ยนค้าขายกับชุมชนอื่นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง นับเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญระดับโลกที่คนไทยทุกคนควรให้ความสนใจ และลองเข้ามาศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ในที่แห่งนี้ดูสักครั้งหนึ่ง ซึ่งทุกวันนี้สามารถเข้าชมโบราณวัตถุต่างๆของบ้านเชียงในแต่ละยุคสมัยได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หมู่ที่ 13 ถ.สุทธิพงษ์ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0 4220 8340อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
-                  เครื่องปั้นดินเผาของที่ระลึกจากบ้านเชียง

-                  เรือนไทพวนใน ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี     สำหรับการเดินทางไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง มีความสะดวก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตรก็จะถึงพิพิธภัณท์แห่งชาติบ้านเชียง
-            การทอผ้าไหมลายขิดที่บ้านเชียง
-                  การยอมผ้าที่บ้านเชียง      ก่อนเดินทางกลับแวะช้อบปิ้งติดไม้ติดมือฝากคนทางบ้านกันที่ตลาดผ้าบ้านนาข่า
ภายในตลาดมีร้านรวงมากมาย ขายผ้าหมี่ขิด หรือ ผ้าไหมลายขิด ซึ่งแต่ละผืนผ่านการทอเก็บขิด ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงามมีความมันวาว นูนซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผ้าอีสาน และนอกจากผืนผ้าแล้ว แต่ละร้านก็ยังนำเสนอออกมาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างเช่น เสื้อ,กางเกง,กระโปรง,ผ้าพันคอ,หมอนอิงและของที่ระลึกที่ทำมาจากลายผ้าสวยๆนอกจากตลาดแล้วอีกแหล่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเดินทางไปเที่ยวชมก็คือชุมชนบ้านนาข่าเพราะที่นี่เป็นสถานที่ผลิตผ้าไหมและตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยชาวบ้านนาข่าให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมความประณีตของหัตถศิลป์ฝีมือคนเมืองอุดรธานีแดนดินถิ่นอีสานบ้านเฮา
-                  แฟชั่นหลากหลายสไตล์บ้านนาข่า
-                  บรรยากาศภายในตลาดผ้านาข่า   การเดินทาง ตลาดผ้านาข่าตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตรบนเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคายขอขอบคุณ-                  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-       ขอบคุณข้อมูลจาก : www.idotravellers.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น