วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ไหว้พระ 9 วัด เมืองพระชนกจักรี อุทัยธานี

ข้าสู่เดือนธันวาคมเดือนสุดท้ายของปี2551 อุณหภูมิอากาศลดลงตามอุณหภูมิการเมืองไทยที่ลดลง หลังจากที่ร้อนระอุมาเกือบตลอดทั้งปี แต่กว่าเหตุการณ์จะสงบเรียบร้อยลงไปได้นั้นก็ทำเอาหลายคนใจหายใจคว่ำไปตามๆ กัน และจากวิกฤตการณ์การเมืองในครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ อย่างใหญ่หลวงโดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจการท่องเที่ยวที่เสียหายจนประเมินค่ามิ ได้ จนไม่ทราบว่าจะต้องใช้เวลากอบกู้ชื่อเสียงและความเชี่อมั่นจากต่างชาติอีก นานสักเท่าไหร่ ความเชื่อมั่นถึงจะกลับคืนมาดั่งเดิมซึ่งจะต้องใช้เวลาและงบประมาณอีกมาก มายมหาศาลกว่าจะกอบกู้ความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวและนักลงทุนให้กลับคืน มาเหมือนเดิม
สำหรับผู้ที่ประสบผลกระทบหนักที่สุด โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม รีสอรท์ตลอดจนบริษัททัวร์ ต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ปีหน้าเรามาช่วยกอบกู้ความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจของชาติให้กลับคืนมาโดยเร็ว ด้วยการหันมาช่วยเที่ยวเมืองไทยกันเถิดครับ ให้สมกับสโลแกนที่ว่า “เที่ยวไทยคึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก”
เลยถือโอกาศขออาสาพาท่านผู้อ่านเดินทางไปไหว้พระไหว้เจ้าทำจิตใจให้ สงบกันที่เมืองพระชนกจักรี จังหวัดอุทัยธานี ใช้เวลาเดินทางประมาณสองชั่วโมงเศษๆจากกรุงเทพฯ เป็นการส่งท้ายปีเก่าเพื่อทำใจให้สบายต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่ วันข้างหน้านี้น่ะครับ พบกันใหม่ปี 2552 ครับ
ปีนี้อากาศบ้านเราดูจะหนาวกว่าทุกปีที่ผ่านมา ในขณะที่สภาพเศรษฐกิจการเงินของโลกทำท่าจะอ่อนยวบยาบน่ากลัว ประจวบกับเหตุบ้านการเมืองบ้านเราก็เริ่มเข้าที่เข้าทาง เลยขอนำท่านท่องเที่ยวไหว้พระให้สบายใจ แล้วค่อยตั้งสติ หาลู่หาทางประคองตัวในยามที่เศรษฐกิจโลกกำลังจะรุมเร้าเราอย่างจริงจังในปี หน้าที่กำลังจะมาถึง ท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด ที่มีการจัดขึ้นในแต่ละจังหวัดก็น่าสนใจทั้งหมด แต่ด้วยเวลาที่น้อยนิด บวกกัลบการเดินทางที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ยิ่งมามองเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว จังหวัดอุทัยธานี เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ที่ทางทีมงานเลือกที่จะพาท่านมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด ให้ท่านได้รู้จัก


ถ้า จะกล่าวถึงจังหวัดอุทัยธานีหลายท่านมักจะนึกถึงประเพณีตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี หรือไม่ก็ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นมรดกโลก หากแต่หลายท่านไม่ทราบว่าจังหวัดอุทัยธานี นั้นยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายที่น่าท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ในแนวศิลปวัฒนธรรม ซึ่งที่จังหวัดอุทัยธานี นั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ ของประเทศอยู่ค่อนข้างจะมากทีเดียว โดยเฉพาะวัดวาอารามในตัวเมืองจังหวัดอุทัยธานี แล้ว เที่ยวทั้งวันก็ยังไม่ทั่ว ขนาดทีมงานได้มาเที่ยวยังจังหวัดอุทัยธานี หลายครั้งหลายคราก็ยังรู้สึกสนุกสนานทุกครั้งไปที่ได้มาเยือนจังหวัดน่ารักๆ อย่างจังหวัดอุทัยธานี ครับคงต้องบอกว่าออกเดินทางท่องเที่ยวกันเลยดีกว่าเพื่อไม่ให้เสียเวลา วัดแรกที่เราจะนำท่านท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด ก็ต้องเริ่มกันที่วัดเด่นประจำจังหวัดที่ใครไปใครมาก็ต้องคิดถึงวัดนี้เป็น แห่งแรก ครับ วัดสังกัสรัตนคีรี


วัดสังกัสรัตนคีรี ประวัติความเป็นมาแต่เดิมนั้น เป็นวัดที่มีเทวสถานตั้งอยู่บนเขาแก้ว เขาแก้วเป็นภูเขาที่อยู่ใกล้กับชุมชนบ้านสะแกกรัง ข้างบนเขาแก้วเป็นที่ตั้งของโบราณสถานเดิมน่า เชื่อว่าน่าจะเป็นโบราณสถานสมัยอยุธยา เช่นเดียวกับวัดเขาธรรมามูล และวัดเขากบ ซึ่งจะมีเทวสถานตั้งอยู่บนยอดเขา ซึ่งคติที่มีการสร้างเทวสถานอยู่บนเขานี้ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยทวาราวดี จึงทำให้ได้รับอิทธิพลของสมัยทวาราวดีอยู่มาก สังเกตได้จากซากอิฐแบบหินศิลาแลง ที่พบอยู่ข้างบน พระปลัดใจ ซึ่งเป็นเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้นได้เป็นผู้เดินทางขึ้นไปพบซากโบราณสถานแห่ง นี้ จึงคิดได้ว่า ภูเขาแห่งนี้มีลักษณะเหมือน ภูมิสถานในตำนานพุทธประวัติเรื่องตักบาตรเทโว จึงได้สร้างมณฑปขึ้นและสร้างบันไดทางลงเมื่อปี พ.ศ. 2440


การ สร้างมณฑปครั้งนั้น เนื่องจากภูเขาอยู่ใกล้เมืองและเมื่อสร้างมณฑปข้างบนก็อยากให้ผู้คนได้เห็น จึงสร้างบันไดทางลงมายังด้านล่างเชิงเขา และสร้างวัดขึ้นชื่อว่าวัดสังกัสวนาราม ตัวมณฑปนี้มีชื่อว่ามณฑปศิริมรรยาบุญดาคาร โดย สมมุติว่าตัวมณฑปด้านบนยอดเขาเป็นสวรรค์ชั้นดาวส์ดึงที่พระพุทธเจ้า เสด็จขึ้นไปเทศน์โปรดพุทธมารดา


ครั้น เมื่อเทศน์โปรดพุทธมารดาแล้วจึงได้เสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวส์ดึง ตามคติความเชื่อจึงได้สร้างบันไดลงมาจากยอดเขา โดยสร้างบันได ทั้งหมด 320 ขั้น ระหว่างทางลงบันไดจะมีขั้นพักและมีหอระฆังที่สร้างขึ้นเรียงขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันไม่มีปรากฏให้เห็นแล้ว ทำให้สันนิษฐานได้ว่า วัดสังกัสรัตนคีรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของชาวเมืองอุทัยธานี และ สร้างวัดสังกัสรัตนคีรียังด้านล่าง เพื่อเป็นเสมือนหนึ่งเป็นเมืองสังกัสนคร ซึ่งตรงกับเมืองที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์หลังจากที่ได้เทศน์ โปรดพระพุทธมารดาแล้ว


เมื่อ สร้างวัดสังกัสวนารามเสร็จวัดนี้ก็กลายเป็นวัดที่มีความสำคัญและมีประเพณี ตักบาตรเทโวเป็นประจำตลอดมา ที่สำคัญ คือ ประเพณีตักบาตรเทโวจังหวัดอุทัยหรือตักบาตรเทโวเมืองอุทัยธานี ไม่ใช่เทโวโรหนะอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน ซึ่ง


แต่ เดิมผู้ที่คิดใช้คำนี้คงเข้าใจว่าเทโวโรหนะมาจากคำว่าเทโวโรหนะสูตรซึ่งเป็น ชื่อของพระสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งที่ถูกต้องน่าจะใช้ชื่อประเพณีตักบาตรเทโวธรรมดาไม่ใช่ตักบาตรเทโวโรหนะ อย่างที่ใช้กันมานาน บางพื้นที่การตักบาตรเทโวจะเรียกแตกต่างกันบ้างซึ่งบางแห่งจะเรียกว่า ประเพณีตักบาตรดอกไม้หรืออาจจะมืชื่อเรียกต่างไปแล้วแต่จะเรียกกัน


หลัง จากสร้างวัดสังกัสรัตนคีรีแล้วต่อมาก็มีการอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญองค์ หนึ่งที่พระเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ชาวเมืองอุทัยเรียกว่า พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ มาประดิษฐานยังวัดสังกัสรัตนคีรี


พระ พุทธรูปองค์ดังกล่าวนี้แต่เดิมไม่ได้ประดิษฐานที่วัดสังกัสรัตนคีรี แต่เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน ณ วัดขวิด ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมน้ำและเป็นวัดใหญ่แห่งหนึ่งในเมืองอุทัยธานี เมื่อราว ปี พ.ศ. 2335 รัชการที่ 1 ท่านทรงมีพระราชดำริว่าควรให้นำพระพุทธรูปที่ชำรุดทรุดโทรมตามหัวเมืองต่างๆ นำมาบูรณะให้สมบูรณ์ และนำมาประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ ตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา สันนิฐานได้ว่าพระที่ชลอมาไว้ตามวัดต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะล่องแพลงมา ที่มักจะมีตำนานเล่าขานกันว่า พระลอยน้ำมา ก็น่าจะมาจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั่นเองในสมัยนั้นพระที่ชลอลงมาทางน้ำมาส่วน ใหญ่ก็มักจะล่องมาตั้งแต่เมืองสุโขทัย เมื่อมาขึ้นท่าน้ำที่จังหวัดใด หรือตำบลใดที่เหมาะสมจะอัญเชิญพระองค์นั้นขึ้นไปประดิษฐานยังวัดนั้นๆ ได้ ก็จะมีการอัญเชิญพระขึ้นไป จะสังเกตได้ว่ามีชื่อว่าตำบลท่าพระ หรือไม่ก็ อำเภอท่าพระ อยู่แทบจะทุกจังหวัดตามลำน้ำเจ้าพระยา อีกทั้งยังสังเกตได้ว่าวัดใดที่ตั้งอยู่ริมน้ำจะมีคำว่าท่าพระ ท่าพระ ดังกล่าวก็คือท่าน้ำที่ได้อัญเชิญพระขึ้น แสดงว่าได้มีการอัญเชิญพระเข้าวัด ส่วนพระองค์ที่สมบูรณ์ก็จะมีการล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน แต่จะนำไปประดิษฐานไว้ตามวัดที่มีความสำคัญ เช่นวัดมหาธาตุ วัดพระเชตุพน วัดโพธ์ วัดสุทัศน์ ซึ่งเป็นวัดหลวง แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นพระที่มีขนาดใหญ่ หรือพระสุโขทัยที่มีพุทธลักษณะที่สมบูรณ์ส่วนมากแล้วก็จะชลอมาอยู่ในเมือง หลวง ส่วนพระที่ชำรุดก็จะมีการบูรณะให้สมบูรณ์ โดยการต่อองค์ ต่อเศียร ต่อแขน เมื่อบูรณะเรียบร้อยแล้วคนก็จะเห็นพระสมบูรณ์ไม่เห็นรอยต่อ ส่วนพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ก็เป็นพระที่ได้รับการบูรณะโดยการต่อ เศียร ถ้าเข้าไปดูด้านหลังองค์พระก็จะเห็นรอยดังกล่าว
ส่วนสาเหตุที่ทำ ให้มีการอัญเชิญ พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ มาประดิษฐานยังวัดสังกัสรัตนคีรี ก็เนื่องจากขณะนั้นวัดขวิดซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำได้ถูกน้ำกัดเซาะอย่างหนัก จึงได้มีการอัญเชิญ พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ มายังวัดวัดสังกัสรัตนคีรี เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยครั้งนั้นได้ประดิษฐานไว้ที่ศาลาน้ำร้อน ซึ่งเป็นศาลาที่ชาวจีนที่มาอาศัยที่เมืองอุทัยธานีมักจะมาใช้เป็นที่พบปะ ดื่มน้ำชากัน กันยามเย็นโดยมีขุนกอบไวยกิจซึ่งเป็นมัคทายกวัดในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่ม ตั้งโรงน้ำร้อนก่อน ต่อมาภายหลังก็มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของวัด จึงได้รื้อโรงน้ำร้อนออกและสร้างวิหารขึ้นแทน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดิมที่เคยเป็นที่ตั้งเดียวกับโรงน้ำร้อน ส่วนโบราณวัตถุที่สำคัญมีสองชิ้นที่นำมายังวัดสังกัสรัตนคีรี ก็คือระฆังใบใหญ่น่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 5


ใน สมัยนั้นชาวเมืองอุทัยธานคิดที่จะหล่อกันเองแต่ไม่สำเร็จเพราะขนาดของระฆัง มีขนาดที่ใหญ่ มาก เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงทราบเรื่องเข้า ก็ทรงรับอาสาเป็นธุระที่จะไปติดต่อกับช่างหลวงที่กรุงเทพเพื่อทำระฆังขนาด ใหญ่ให้ พระปลัดใจ เจ้าคณะในสมัยนั้นจึงได้เรี่ยไรปัจจัยจากชาวเมืองอุทัยธานีช่วยกันหล่อระฆัง ขึ้น เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดที่พระปลัดใจหรือพระสุนทรมุนี (ใจ)เป็นผู้สร้าง จึงได้นำระฆังมาไว้ที่นี่ แล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปตามมา


ระฆัง นี้แต่เดิมก็แขวนอยู่ที่ใต้ต้นข่อยที่อยู่หน้าโรงน้ำร้อน ต่อมาภายหลังจึงได้นำไปไว้ที่ข้ามณฑปบนยอดเขา ที่วัดสังกัสรัตนคีรี ยังมีศิลปะที่น่าชมอีกอย่างก็คือ ตัวมณฑป ที่แต่เดิมสร้างขึ้นมาแล้วปรากฏว่าถูกไฟไหม้เสียหายไปก็มีการสร้างมณฑปขึ้น ใหม่ ที่ตัวมณฑปนี้ถ้านักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปนมัสการก็จะได้พบเห็นรอยพระพุทธบาท จำลองอยู่ ซึ่งรอยพระพุทธบาทองค์ปัจจุบันนี้แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดใหม่ คาดว่ารอยพระพุทธบาทองค์เดิมน่าจะเสียหายไปพร้อมกับมณฑป ศิลปะที่เกิดขึ้นในวัดนี้ก็จะเป็นวัดที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับจีน


จะ สังเกตุได้จากด้านหน้าก็จะทำเป็นหงส์ ด้านหลังก็จะเป็นแบบจีน เป็นลายกนกโค้งแบบศาลาจีน เพราะฉะนั้นวัดนี้ก็จะมีศิลปะทั้งไทยจีนผสมกัน ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 6 ที่เมืองอุทัยธานี มีประวัติศาสตร์ที่น้อยท่านนักจะทราบว่าเป็นเมืองที่มีเหตุให้เราได้ใช้ธงไต รงค์กันอย่างในปัจจุบันนี้ เนื่องจากในสมัยรัชการที่ 6 ได้ทรงเสด็จมาที่วัดสังกัสรัตนคีรี ในระหว่างที่พระองค์ได้ทรงพระราชดำเนินผ่านตามบ้านเรือนประชาชน ปรากฏว่ามีคนแก่คนหนึ่งด้วยอารามรีบร้อนก็เลยติดธงช้างหงายท้อง เมื่อรัชกาลที่ 6 ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นเข้าจึงทรงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปแบบของธงชาติ เสียใหม่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก จึงเป็นที่มาของการแก้ไขเปลี่ยนจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์ใน สิ่งสำคัญภายในวัดนอกจาก ตัวมณฑป ระฆัง พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธ์แล้ว ก็จะมีหอระฆังขุนกอบไวยกิจที่ยังคงมีลวดลายเดิมอยู่ วิหารจีนของขุนกอบไวยกิจ ซึ่งตั้งอยู่ข้างบันไดทางขึ้นเขา


เป็น วิหารจีนซึ่งข้างในวิหารก็จะมีหมู่เจดีย์เป็นศิลปะแบบอยุธยาแต่สร้างในสมัย รัตนโกสินทร์ โบสถ์จีนที่สร้างขึ้นอยู่ในเทวะสถานเดิม แต่เมื่อทำแท่นประดิษฐาน และมีหมู่พระพุทธรูป นี่ก็เป็นคติเดิมของสมัยอยุธยาทำให้เชื่อได้ว่าเกิดในสมัยอยุธยาแต่คนสมัย ใหม่ก็จะว่าเป็นโบสถ์รุ่นใหม่นั่นแหละ
จากวัดวัดสังกัสรัตนคีรี เราเดินทางต่อไปยัง วัดมณีสถิตย์กปิฎฐาราม หรือวัดทุ่งแก้ว วัดทุ่งแก้วสร้างขึ้นในสมัยรัชการที่5 ชื่อวัดก็ได้จากสภาพแวดล้อมเดิมบริเวณที่ตั้งของวัดเป็นลานกว้างๆ ข้างๆ ภูเขา ก็คือเขาแก้ว ทุ่งที่อยู่ตามเขาก็เรียกทุ่งแก้ว ต่อมา อาจารย์แย้ม แห่งวัดโมลีโลก กรุงเทพ เดินธุดงค์ผ่านมาและสร้างวัดขึ้นในบริเวณที่แห่งนี้ ซึ่งเดิมวัดที่สร้างเป็นวัดเล็กๆ มีพระปรางค์ ซึ่งจำลองไปจากกรุงเทพฯ


นอก จากนี้หลวงพ่อแย้มซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้นยังได้สร้างสระน้ำซึ่งเปรียบ เสมือนบ่อน้ำมนต์ขนาดใหญ่ และลงอักขละเป็นยันต์ลงในแผ่นหินกลางสระ เพื่อให้บ่อน้ำมนต์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ วิธีนี้ก็จะเป็นวิธีเดียวกับของสมเด็จพุทธจารย์โตพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม นี่ก็เป็นการสร้างคติแบบเดียวกัน


ที่ วัดนี้มีสิ่งที่สำคัญก็คือมีพระปรางค์ และสระน้ำขนาดใหญ่ เมื่อสร้างวัดทุ่งแก้วเสร็จเรียบร้อยประจวบเวลากับที่วัดขวิด ถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจนถึงตัวโบสถ์ ตัววิหาร ก็จึงได้มีการย้ายเอากุฏิเรือนไม้ มาไว้ที่วัดทุ่งแก้ว แล้วยุบวัดขวิดรวมเข้ากับวัดทุ่งแก้ว เมื่อรวมวัดกันแล้วจึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดทุ่งแก้ว เป็นวัดมณีสถิตกปิฎฐาราม มณีสถิต ก็คือ ทุ่งแก้ว ส่วน กปิฏ ก็คือมะขวิด ซึ่งหมายถึงวัดขวิด ก็เลยได้มีการตั้งชื่อขึ้นใหม่เรียกว่า วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม


วัด ทุ่งแก้วนี้มีความสำคัญก็คือเป็นวัดเจ้าคณะเมือง ซึ่งมีพระปลัดใจเป็นเจ้าอาวาสต่อจากท่านอาจารย์แย้ม ผู้ที่ครองวัดก็จะเป็นเจ้าคณะเมือง ทำให้มีการตั้งสำนักเปรียญธรรมขึ้นที่วัดแห่งนี้ วัดแห่งนี้มีความสำคัญเนื่องจากมีลูกศิษย์ที่สำคัญคือ สมเด็จพระวันรัตน์ (เฮง) เขมจารี มาบวชที่วัดนี้ จนจบเปรียญเก้าประโยค และยังเป็นพระอาจารย์สอนรัชการที่ 8 ก่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะและขึ้นเป็นอธิบดี สงฆ์ในกรุงเทพฯ ท่านเน้นที่จะส่งเสริมในการศึกษาเล่าเรียนพระปริญัตติธรรม โดยมีการตั้งกองสอบหรือเรียกกองสนามหลวง


สำหรับ การสอบพระปริญัตติธรรมต่างๆ ที่สำคัญก็คือ วัดต่างๆ ในตัวเมืองอุทัยธานีที่มีชื่อไพเราะส่วนใหญ่จะเป็นชื่อสมเด็จพระวันรัตน์ (เฮง) เขมจารี เป็นผู้ตั้งชื่อให้แทบจะทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2480 ได้เปลี่ยนชื่อวัด วัดโรงโค ก็เป็น วัดธรรมโฆษก ท่านตั้งชื่อให้หมดแต่ส่วนใหญ่คนอุทัยฯ ก็มักจะเรียกชื่อเดิมเสียมากกว่า นอกจากนี้ภายในวัดยังมีศาลาของ สมเด็จพระวันรัตน์ (เฮง) เขมจารี ที่ทำเป็นห้องสมุดอยู่ และมีศาลากองสนามหลวงอยู่ข้างหน้า ซึ่งถือได้ว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดใหญ่แห่งหนึ่งของตัวเมืองอุทัยธานี
จากวัด วัดมณีสถิตย์กปิฎฐาราม เราเดินทางต่อไปยัง วัดขวิด หรือ วัดมะขวิด ซึ่งตั้งชื่อวัดตามพื้นที่ เนื่องจากเดิมพื้นที่บริเวณนี้มีต้นมะขวิดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ชาวบ้านจะเก็บนำไปกินกัน วัดแห่งนี้ชื่อจึงได้ชื่อว่าวัดขวิด หรือวัดมะขวิด ไปโดยปริยายนั่นเอง


นอก จากนี้วัดนี้ยังเป็นสำนักเรียนขนาดใหญ่เนื่องจากหลวงวิจิตรวาทการได้เป็นลูก ศิษย์ของวัดแห่งนี้ ดังนั้นวัดขวิดในสมัยนั้นก็เป็นสำนักเรียนใหญ่ เปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนประถมในประจำตัวเมืองอุทัยธานีก็ไม่ผิด ที่ตั้งวัดขวิด ตรงนี้แต่เดิมน่าจะเป็นวัดเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เพราะโบสถ์ วิหาร จะยกชั้นสูง ต่างจากโบสถ์แถบจังหวัดอยุธยา แต่เดิมตัวโบสถ์เป็นโบสถ์ขนาดใหญ่แต่ได้มีการพังลงไปเรื่อยๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระพุทธรูปที่ทรงมีพระราชดำริให้นำมาก็ไว้ก็น่าจะอยู่ด้านหน้าเป็นพระรอง ประธาน ซึ่งพระประธานของวัดเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่ปัจจุบันอยู่ในตลาด เป็นพระประธานของโบสถ์ที่พังไปแล้ว


ซึ่ง โบสถ์ที่สร้างใหม่เป็นโบสถ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 โบสถ์วิหารเดิมเป็นโบสถ์ที่สร้างขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา หรือต้นรัตนโกสินทร์ เพราะฉะนั้นรัชการที่ 1 จะไม่นำเอา พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธ์สมัยสุโขทัยมาไว้ ถ้าไม่ใช่วัดที่สำคัญ และที่สำคัญวัดแห่งนี้เป็นสำนักเรียน เหตุการณ์ที่ทำให้วัดขวิดหลงเหลือเพียงตัวโบสถ์ก็เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ครั้ง ใหญ่ที่ตัวตลาดซึ่งตั้งอยู่ข้างวัด ก่อนที่ตลาดจะเกิดไฟไหม้นั้น ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่มณฑปที่วัดสังกัสรัตนคีรีขึ้นก่อน หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่ตัวตลาดและลามมายังหลัง วัดขวิด โบส์ถที่เห็นในปัจจุบันก็เป็นโบส์ถที่สร้างขึ้นใหม่ วิหารที่อยู่ข้างนอก ที่ไว้พระ เป็นวิหารสูงและมีศาลาเล็กๆ ที่สร้างขึ้นตามคติของสมัยอยุธยา พระก็เป็นพระสมัยอยุธยาไม่ถึงยุคสุโขทัย หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้ตลาด ประจวบกับน้ำกัดเซาะริมตลิ่งวัดขวิด ก็เลยจำเป็นต้องรื้อถาวรวัตถุต่างๆ ที่พอจะรื้อได้จากวัดขวิด ยุบรวมไปขึ้นกับวัดทุ่งแก้ว หากนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวยังวัดขวิดก็อย่าเพิ่งคิดว่าวัดนี้เล็กๆ นะครับ เพราะพื้นที่รอบๆโบสถ์ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นโรงหนัง ตัวตึกรอบวัด ตัวตลาด ตลอดจนถึงถนนศรีอุทัย ไปจนถึงตลาดที่อยู่ข้างใน เป็นส่วนของพื้นที่วัดขวิดแทบทั้งสิ้น ที่วัดขวิดปัจจุบันหลงเหลือเพียงตัวโบสถ์ที่น่าเข้าไปชมและศึกษาหาความรู้ อยู่บ้างแม้ว่าจะเป็นเพียงตัวโบสถ์เล็กๆ แต่ศิลปะที่หลงเหลือไว้น่าดูชมทีเดียว โดยเฉพาะบานประตูโบส์ถหลังใหม่จะมีรูปไม้สลักเสี้ยวกางอยู่


เป็น ศิลปะพื้นบ้านที่สวยมากแห่งหนึ่งที่เดียว ส่วนข้างในตัวโบส์ถจะมีพระพุทธรูป 3 องค์ นั่งเรียงกัน เป็นคติการประดิษฐานองค์พระแบบสมัยอยุธยา พระองค์ใหญ่หน้าโบส์ถก็จะเป็นคติของสมัยอยุธยาเช่นเดียวกัน คือมีพุทธลักษณะพระโอฐแบะ มีโครงพระพักต์รูปเหลี่ยม พระพักต์ออกจะไม่สวยงามเหมือนสมัยสุโขทัย


ซึ่ง ลักษณะดังกล่าวบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าเป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยา มีหลักสังเกตุถึงศิลปะและรูปแบบการวางตำแหน่งองค์พระอยู่ว่า โบสถ์ที่มีองค์พระประธานและมีวางตำแหน่งซ้ายขวา อีกทั้งรูปแบบการวางที่มีพระที่มีพระประธานนั่งอยู่และมีพระยืนล้อมรอบๆ ในโบส์ถและมีพระประธานองค์ใหญ่ นี่ก็สันนิฐานได้เช่นเดียวกันว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยา ทั้งนี้ ต้องสังเกตดูหน้าบันอีกจุดหนึ่ง ถ้าหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ก็จะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง ถ้ามีลายไม้ธรรมดาเป็นรูปกระต่ายหรือรูปที่นอกเหนือจากพระนารายณ์ทรงครุฑ ก็แสดงว่าเป็นวัดที่ชาวบ้านสร้าง วัดที่ชาวบ้านสร้างส่วนใหญ่จะเป็นรูปรามเกียรติ์ รูปพระพุทธเจ้า รูปนาคเกี้ยว


เรา เข้าไปนมัสการพระประธานในตัวโบสถ์อยู่ครู่ใหญ่จนสมควรแก่เวลา จึงได้เดินทางต่อไปยังวัดอุโปสถารามซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในเรื่องของความสวยงามจนนิตยสารท่องเที่ยวหลายเล่มมักจะถ่ายภาพของวัดแห่ง นี้ไปนำเสนอ ยิ่งถ้านำเสนอจังหวัดอุทัยธานีถ้าขาดวัดวัดอุโปสถาราม ไปก็เหมือนขาดสีสันในเรื่องรายและภาพสวยๆ จากวัดแห่งนี้
เราเดินทางมา ถึงวัดวัดอุโปสถารามเอาเมื่อบ่ายคล้อย นักท่องเที่ยวดูบางตาไป ซึ่งส่วนใหย่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมายังวัดแห่งนี้ในช่วงเช้าเพราะจะได้มุม แสงที่สวยงามสาดส่องไปยังตัววัดโดยเฉพาะกุฎิทรงแปดเหลี่ยมที่ถือเป็นไฮไลท์ ของวัดนี้

วัดอุโปสถาราม หรือ วัดโบสถ์ สำหรับประวัติความเป็นมา ชื่อเดิมของวัดแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่แต่เดิมทีจะเรียกชื่อว่าวัดโบส์ถมโน รมณ์ ซึ่งชื่อที่เรียกนั้นก็มาจากสถานที่ตั้งวัด อยู่ในซีกเกาะเทโพ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอมโนรมณ์ วัดแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ปลายอยุธยา ที่บอกว่าปลายอยุธยาได้เนื่องจากวัดขวิด และวัดโบสถ์ ตั้งอยู่เฉียงกัน และมีรูปแบบภายในตัวโบสถ์ที่ไม่ต่างกันมากนัก อีกทั้งวัดทั้งสองวัดนี่เป็นคู่แข่งกันโดยเฉพาะทางด้านคนตรี


ใน อดีตเมื่อตกเย็นก็จะมีชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวสวนมานั่งบรรเลงวงพิณพาทย์ประชันกันบ่อยๆ ก็สันนิฐานได้ว่าวัดทั้งสองแห่งนี้คงจะสร้างในเวลาที่ไล่เรี่ยกันคือสมัย ปลายอยุธยา อีกทั้งวัดโบสถ์แห่งนี้ยังเปรียบเสมือนโรงเรียนประจำจังหวัด สมัยก่อนนิยมเรียกโรงเรียนประจำเมืองเพราะฉะนั้นวัดโบสถ์ก็จะมีลูกของปลัด เมือง ลูกของอัยการมาเรียนกัน เหตุนี้วัดโบสถ์กับวัดมะขวิดจึงเป็นคู่แข่งขันกันในที เพราะเป็นสำนักเรียนด้วยกันทั้งคู่ ทางด้านวัดขวิดก็จะเน้นทางธรรมะ ส่วนวัดโบสถ์ก็จะเน้นในเรื่องของชั้นเรียน วัดโบสถ์เป็นวัดที่ออกจะสร้างแปลกกว่าที่วัดอื่น คือจะสร้างฐานไทกี ยกพื้นสูงขึ้นไปเพื่อป้องกันน้ำท่วม


วิหาร ที่ไว้พระก็จะหลังสูง รูปทรงเหมือนทรงยุโรป เหมือนวังลพบุรี เพราะฉะนั้นรูปแบบแบบนี้เป็นศิลปะสมัยอยุธยาค่อนข้างจะชัดเจน อีกทั้งยังปรากฏว่าภาพวิหารจะเป็นภาพพระยืนปางห้ามญาติ สมัยอยุธยาและจะมีภาพพระยืนทรงเครื่อง


สรุป ว่าวัดน่าจะสร้างขึ้นสมัยปลายอยุธยา นอกจากนี้ข้อสันนิฐานยังเกี่ยวพันกับเมืองอุทัยธานีด้วย เพราะในสมัยหนึ่งท่านออกญาราชนิกูล ซึ่งเป็น ลูกน้องของเจ้าฟ้าเพชร ในสมัยอยุธยา สมัยพระนารายณ์ เข้ามาอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี เพราะฉะนั้นน่าจะเกี่ยวข้องกับวัดต่างๆ ในพื้นที่นี้ เพราะออกญาราชนิกูลท่านนี้เป็นบิดาของพระชนก ซึ่งเป็นพระบิดาของรัชกาลที่ 1 เพราะฉะนั้นวัดโบสถ์นี้ก็น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ส่วนที่ชื่อวัดต่อท้ายด้วย ชื่อ มโนรมณ์ เพราะชื่อมโนรมณ์เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา เมืองมโนรมณ์ มีประวัติเกี่ยวข้องกับ นาย ผันซุย ซึ่งเป็นควาญช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จับช้างได้ที่ เมือง นครสวรรค์ ก็มีความชอบสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้สอบถามนาย ผัน ชุย ว่าอยากได้สิ่งใดเป็นบำเน็จความชอบ นายผัน ซุย ก็กราบทูล ขอพระราชทานเมืองที่มีอาณาเขตเท่าช้างร้อง จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองมโนรมณ์ ดังนั้นนาย ผัน ซุย มีมีบทบาทในการสร้างวัด สร้างบ้าน สร้างเมือง ดังนั้นวัดโบสถ์จึงใช้ชื่อว่าวัดโบสถ์มโนรมณ์ ต่อท้าย


ตัว โบสถ์และวิหารขณะนี้ ซึ่งถูกบูรณะแต่เดิมของน่าจะเป็นสมัยอยุธยา เนื่องจากมีการวางตำแหน่งพระเรียงกัน 3 องค์ เหมือนสมัยนิยมในยุคอยุธยาเป็นราชธานี ส่วนด้านในโบสถ์ซึ่งมีพระประธานในวัดจะมี 3 องค์ไม่ใช่ 5 รูปอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน อีกทั้งภายในตัวโบสถ์ยังมีภาพเขียน ซึ่งภาพเขียนเป็นภาพสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ถึงอยุธยา


แต่ภาพเขียน ใหญ่ในวิหารน่าจะเก่าถึงสมัยอยุธยา ดูได้จากภาพสมัยอยุธยาจะเป็นภาพลายใหญ่ ใช้สีแดงและสีน้ำเงินเป็นหลัก ทั้งนี้ภาพในโบสถ์จะเป็นภาพขนาดเล็ก หากเราเข้าไปดูจะมีการสร้างในรูปแบบจีน น่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 3 ซึ่งได้รับความนิยมมากในภาพวาดจะมีภาพคนจีนไว้ผมเปีย บ้านเรือนรูปแบบจีน วังแบบจีน


ซึ่ง สอดคล้องกับประวัติของเมืองที่มีชาวจีนเข้ามาทำมาหากินในเมืองอุทัยธานีมาก ในสมัยนั้น โดยเฉพาะในวิหารฝีมือการวาดถึงยุคสมัยอยุธยา ภาพวาดในวิหารที่วัดโบส์ถดูจะแปลกไปจากทุกที่เนื่องจากเป็นภาพวาดสงฆ์ ชุมนุมไม่ใช่เทพชุมนุม เนื่องจากมีตาลปัต ซึ่งผิดจากที่วัดอื่นเพราะที่อื่นจะนิยมวาดเป็นภาพเทพชุมนุมเพราะมีคติความ เชื่ออย่างนี้


ส่วน รูปวาดสันนิฐานได้ว่าน่าจะเป็นสมัยอยุธยาซึ่งนิยมวาดภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุฬามณี ภาพเขียนข้างๆ จะมีลักษณะแบบปลงสังขาร การวาดภาพอย่างนี้ในโบส์ถหรือวิหารก็ดีเป็นอุปกรณ์ช่วยในการสอน เวลาพระจะสอนเรื่องพุทธประวัติเรื่องใดเมื่อนึกอะไรไม่ออกก็จะดูตามภาพ เพราะในการสอนของธรรม หรือสอนพุทธประวัติ ในวัดก็จะมีหมด บางทีก็จะมีภาพทศชาติ บางทีก็จะมีเรื่องของพระเวสสันดรชาดก ก็แล้วแต่ว่าช่างวาดภาพหรือพระที่วัดแห่งนั้นจะถนัดในเรื่องอะไรก็จะวาดภาพนั้นๆ


เพราะ ฉะนั้นเมื่อเข้าวัดก็จะสามารถดูได้เป็นตัวช่วยในเรื่องของสื่อการสอน ดังนั้นสมัยก่อนเวลาเข้าวัดพระก็จะดูภาพไปแล้วก็เล่าเรื่องไปถึงเรื่องนรก สวรรค์ ยิ่งในสมัยสุโขทัยก็จะเป็นเรื่องไตรภูมิพระร่วงสังเกตุดูได้จากคติของการ วาดภาพในวัด ถ้าไม่ข้างหน้าพระประธานหรือข้างหลังพระประธานก็จะเป็นภาพมารผจญ ถ้าด้านนี้ไม่เป็นมารผจญ ก็จะเป็นภาพสวรรค์ที่มีภูเขาเป็นรูปแท่งๆ ยอดแหลม


ภาพลักษณะ นี้เรียกว่าไตรภูมิ ส่วนมากแล้วจะเป็นภาพวาดสมัยอยุธยา พระบางรูปเห็นภาพก็จะสามารถเล่าเรื่องได้เป็นฉากๆ จนโยมสัปหงกหลับแทนลิงไปเลยก็มี นี่คือการสร้างสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ก็ถือว่าวัดอุโปสถารามแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งในยุคนั้น นักท่องเที่ยวที่ได้เข้าชมภายในวิหารเห็นมีรอยพระพุทธบาทเก่าอยู่หน้าหมู่ พระพุทธรูป ส่วนด้านนอกจะเห็นเสมาศิลา สมัยอยุธยา ข้างหลังวิหารก็จะมีกุฏิแปดเหลี่ยม ทรงยุโรปที่หลวงอันณพสร้างถวาย สำหรับให้พระครูจันทร์ใช้เป็นที่จำวัด แต่พระครูจันทร์มรณะภาพไปเสียก่อน


ก็ ถือว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองอุทัยธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฎว่าเจ้าคณะเมืองที่มีชื่อหลังจากเจ้าคณะวัดทุ่ง แก้ว ก็จะมีเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งคือพระครูจันทร์ ซึ่งเป็นผู้ที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดที่จะมาสนทนาธรรมด้วยทุกครั้งเมื่อได้เสด็จประพาสผ่านมายังเมือง อุทัยธานีแห่งนี้ โดยพระองค์ได้เสด็จมายังวัดอุโปสถารามครั้งแรกเมื่อคราวเสด็จประพาสต้น และในครั้งหลังๆ ต่อมาพระองค์ก็ได้ทรงเสด็จแวะมาหาพระครูจันทร์ ทั้งเวลาที่มีการแจ้งล่วงหน้าและในบางคราวก็มิได้ทรงมีการแจ้งล่วงหน้า พระองค์ก็ทรงเสด็จ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรที่เกี่ยวกับพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพเจ้าฟ้าหรือพระบรมศานุวงศ์ พระองค์ก็จะนิมนต์ท่านไปร่วมงานด้วยทุกครั้งไป เพราะฉะนั้นเครื่องพระราชทาน หรือ เครื่องสังเค็ต (เครื่องประกอบงานศพ) ที่เป็นของขวัญ มอบให้พระครูจันทร์มา ทั้ง ตะเกียง คนโทน้ำ ตู้พระธรรม หรือ ตาลปัต ก็ได้เก็บรักษาอยุ่ที่วัดแห่ง เป็นเสทือนสิ่งยืนยันถึงความสนิทที่พระองค์ทรงมีต่อพระครูจันทร์และวัดอุโปส ถารามแห่งนี้ ที่วัดโบสถ์นี้มีภาพจิตกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปหล่อเงินที่สร้างในสมัยรัชการที่ 5 โดยชาวเมืองอุทัยธานีได้ร่วมใจกันหล่อขึ้นเพื่อถวายแด่พระองค์ ต่อมาพระองค์ท่านได้ประทานคืนให้แก่ชาวเมืองอุทัยธานี ซึ่งมีจำนวนสององค์


วัด โบส์ถในปัจจุบันได้รับการบูรณะมาเป็นอย่างดี ด้านหลังวัดก็มีเจดีย์ซึ่งน่าจะสร้างในสมัยเดียวกันกับตัววัด ซึ่งในสมัยนั้นการจำลองรูปแบบของเจดีย์ก็เป็นค่านิยมอย่างหนึ่งว่านี่เป็น สถาปัตตยกรรมอย่างหนึ่งของสมัยอยุธยา ที่นี่จะมีทั้งเจดีย์ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงแปดเหลี่ยม เจดีย์ซุ้มจรนัม เป็นแหล่งรวมรูปแบบของเจดีที่น่าจะมีมากที่สุดในเมืองอุทัยธานี วัดไหนจะสร้างเจดีย์ใหม่ก็จะมาดูรูปแบบของเจดีย์ ของวัดนี้กันแทบจะทั้งสิ้น ส่วนแพที่เห็นอยู่หน้าวัด เรียกว่าแพบวบน้ำ ไม่ใช่แพรับเสด็จอย่างที่เข้าใจกัน แต่ก็อาจจะเป็นไปได้ที่แพหลังนี้ได้เคยใช้รับเสด็จ เมื่อครั้งที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จมายังวัดโบสถ์แห่งนี้


สมัย ก่อนนั้นแพบวบน้ำเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของท้องถิ่นชาวอุทัยธานี เนื่องจากสถาพเดิมของแม่น้ำสแกกรังเป็นตลาดน้ำ แพทุกแพจะขายของอยู่ในแพ สถานที่ราชการไม่ว่าจะเป็นกรมที่ดิน ที่ว่าการอำเภอ ไปรษณีย์ ก็จะอยู่ในแพหมด ชาวบ้านจะพายเรือกันไปมาอยู่ในลำน้ำสแกกรัง เพราะฉะนั้นแพนี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือถ้ามีใครตาย หรือมีงานแต่งงาน มีงานบวชก็จะต้องมีแพขนาดใหญ่มาลากแพนี้ไปยังไปกลางแม่น้ำ สำหรับทำพิธี ซึ่งเมื่อก่อนเวลาที่ชาวบ้านจะข้ามแม่น้ำ ไม่มีสพานข้ามแม่น้ำอย่างปัจจุบันชาวบ้านก็จะต่อแพยาวเอาลูกบวบมาทาบแล้ว วางกระดานพาดลงไปตั้งแต่วัดโบสถ์จนถึงฝั่งตลาด เมื่อเรือจะผ่านก็จะมีไม้แผ่นหนึ่งยกออกให้เรือผ่าน แพลูกบวบนี้จะทอดยาวไปถึงหน้าตลาดส่วน ตรงกลางเป็นไม้พาดผ่านพอเรือผ่านก็จะยกไม้ขึ้น จนกระทั่งมีการตัดถนนทำให้การเดินทางโดยเรือในแม่น้ำสแกกรังลดความสำคัญลง อีกทั้งเมื่อมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสะแกกรังแพลูกบวบเหล่านี้จึงลดความจำ เป็นไปโดยปริยายและแทบจะหายไปในที่สุด


ปัจจุบัน ยังคงหลงเหลือแพลูกบวบที่เป็นของเก่าแก่แต่ดั้งเดิมที่ยังใช้การได้อยู่ที่ วัดโบสถ์เพียงหลังเดียวเท่านั้น นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังวัดโบสถ์จึงไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่งที่จะไปไป สัมผัสกับแพลูกบวบที่มีประวัติอันน่าสนใจ เราถ่ายภาพอยู่ในวิหารจนพระต้องมากระซิบขอปิดวิหารก่อนนะโยม เอาไว้วันพรุ่งนี้ค่อยมาใหม่ เราสองคนโจรอ้วนผอม เอ๊ย!ไม่ใช่นักท่องเที่ยวขี้เกรงใจโดยเฉพาะพระสงฆ์องเจ้า จึงต้องรีบเก็บอุปกรณ์ลงกระเป๋าสาวเท้าออกมาก่อนที่หลวงพี่จะเกณฑ์เด็กวัดมา ช่วยอุ้มออกไปจากวิหาร นี่ถ้าไม่ใช่ว่าเราเดินทางมายังวัดแห่งนี้จนคุ้นหน้าค่าตาหลวงพี่หลวงพ่อ แล้วละก็มีสิทธิ์โดนประกบเป็นรายบุคคลแน่ เพราะสมัยนี้โจรโขมยชุกชุมยิ่งกว่ายุงเสียอีก เผลอเป็นไม่ได้วัดไหนก็วัดนั้นข้าวของ วัตถุโบราณมีหวังไปโผล่ที่ตลาดมืด วัดต่างๆ จึงต้องคอยระวังจนนักท่องเที่ยวอย่างเราพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย ซึ่งก็ต้องทำใจปลอดภัยไว้ก่อนดีที่สุด
ค่ำนี้เราจะไปพักกันที่พญาไม้ รีสอร์ท ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดโบส์ถ ไปสักเท้าไหร่นัก เพียงแค่เดินตามถนนจากตัววัดไปไม่ทันเหนื่อยก็ถึงพญาไม้รีสอร์ทแล้ว ที่พญาไม้รีสอร์ทแห่งนี้นักท่องเที่ยวที่มาพักก็มักจะเดินทางมาเที่ยวที่วัด แห่งนี้ช่วงเช้าและเย็น เนื่องจากการเดินทางที่สะดวก สามารถใช้จักรยานที่ทางรีสอร์ทมีไว้ให้บริการเดินทางมาเที่ยวได้ หรือถ้าต้องการเที่ยวตลาดเช้าเย็นหาของทานก็เพียงแค่ข้ามสะพานปูนก็จะมีของ ให้เลือกทานในราคาประหยัดกระเป๋าเบาสตางค์อีกด้วย
เรารอถ่ายตัวโบสถ์ วิหาร ของวัดโบส์ถในยามใกล้ค่ำจนแสงหมดจึงเดินทางกลับพญาไม้รีสอร์ท เพื่อพักผ่อน พรุ่งนี้เราจะเดินทางเที่ยวไหว้พระในตัวเมืองอุทัยธานีกันต่อให้ครบ 9 วัด สมกับที่ตั้งใจ ค่ำนี้ราตรีสวัสดิ์ครับ


เช้าวันที่สองของการเดินทาง เราตื่นแต่เช้ารีบกลับไปเก็บภาพยามเช้าที่วัดโบสถ์ต่อจาดเมื่อวาน ก่อนที่จะข้ามไปเที่ยวที่ตลาดเช้าเมืองอุทัยธานี ที่มีขนมฝีมือให้เลือกทานหลายเจ้า มาเที่ยวเมืองอุทัยธานี แต่ละครั้งพลาดไม่ได้ ถ้ามีโอกาสต้องแวะชิมขนมที่ตัวตลาด ส่วนขากลับก็ไม่ลืมขนมปังไส้สังขยาที่มีให้เลือกหลายร้าน ซึ่งแต่ละร้านก็อร่อยพอๆกัน เลือกวื้อเจ้าไหนไม่ผิดหวัง เพราะอร่อยลืมโลกจริงๆ
หลังจากทานอาหารที่ตัวตลาดเรียบร้อยแล้วเราก็เดินทางไปยังวัดธรรมโศภิต ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากตัวตลาดมากนัก เดินไม่ทันเหนื่อยก็ถึง

สำหรับประวัติความเป็นมาของ วัดธรรมโศภิต ก็คือ วัดแห่งนี้ริเริ่มก่อสร้างโดยนาย หม่อง โค่ง เปียง ซึ่งเป็นชาวพม่า มีอาชีพรับจ้างผูกแพประกบไม้ซุง และล่องไม้ซุงไปส่งที่กรุงเทพฯ วัดนี้ปัจจุบันตรงบริเวณข้างวัดยังเห็นร่องรอยเป็นแอ่งสำหรับขังท่อนซุง ในสมัยที่ยังมีการล่องไม้ซุงไปส่งยังกรุงเทพฯ นั้นวิธีการในการล่องไม้ซุงก็โดยการผูกท่อนไม้ซุงให้เป็นแพขนานใหญ่ และนำเรือยนต์ลากแพไม้ไป ซึ่งกิจการทำไม้นี้เป็นของอังกฤษเพราะอังกฤษได้สัมปทานตัดไม้ไปสบทบกับขบวน แพซุงที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณมโนรมณ์ และไปพูกพ่วงต่อกับแพซุงที่นครสวรรค์แล้วจึงล่องไปถึงกรุงเทพฯ หม่อง โคก เปียง ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ดำเนินกิจการล่องไม้ซุงเหมือนกับพ่อค้าอีกหลายราย โดยการล่องไม้ซุงนั้นจะนำไม้มาพักไว้ที่หน้าวัดดุสิต เป็นธรรมดาที่คนในสมัยนั้นเมื่อไปถึงแห่งหนตำบลไหนก็ต้องเข้าวัดฟังธรรม เหมือนกับเราเข้าร้านสะดวกซื้อสมัยนี้ก็ประมาณนั้น เมื่อเข้าวัดมากเข้าก็เกิดศรัทธา ยิ่งตัวเองทำกิจการล่องไม้ ขายที่ดิน ร่ำรวยขึ้นมาก็มักจะคิดถึงพระถึงเจ้า ส่วนใหญ่ในยุคนั้นจะนิยมทำบุญกันโดยไม่สร้างวัดก็บริจาคที่ ทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาให้กับวัดที่ตัวเองศรัทธา วัดแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน ด้วยสาเหตุนี้เองวัดแห่งนี้จึง ได้ชื่อว่า วัดโค่ง เปียง ครั้นต่อมาจึงเรียกสั้นๆ ว่าวัดโค่ง สันนิฐานว่าวัดแห่งนี้เสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากสมัยนั้นยังมีการทำสัมปทานให้กับอังกฤษ ครั้นเมื่อ หม่อง โคก เปียง ล่องเรือกลับจากกรุงเทพฯ ก็ได้นำพระจากวัดพลับกลับมาเป็นปี๊บๆ มาจากกรุงเทพฯ พระที่นำกลับมาด้วยมาด้วยนั้น นาย หม่อง โค่ง เปียง ได้นำมาบรรจุลงในเจดีย์ ริมน้ำที่วัดโคก เมื่อนานวันเข้าเจดีย์ที่อยู่ริมน้ำถูกน้ำซัดและกรุแตกคนอุทัยธานี สมัยนั้นส่วนมากก็จะมีพระวัดโค่งกันหมด เพราะชาวบ้านนิยมว่าเนื้อดี เหมือนพระสมเด็จ สาเหตุที่พระวัดโคกมีเนื้อหาละม้ายคล้ายพระสมเด็จวัดระฆังก็เพราะเพราะพระ วัดพลับสร้างโดยเป็น สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ผู้เป็นอาจารย์ของสมเด็จพุทธจารย์โตพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ด้วยเหตุนี้พระที่แตกกรุในคราวนั้นจึงได้ชื่อว่าพระกรุวัดโค่ง เมืองอุทัยธานีไป แต่พิมพ์ทรงเนื้อหาก็เป็นพระวัดพลับนี่แหละจะต่างกันก็คราบกรุที่ทำให้แยก ออกว่าเป็นพระที่แตกกรุจากวัดพลับหรือแตกกรุจากวัดโค่ง ต่อมาในภายหลังพระเหลือน้อยลง ก็เลยมีการสร้างพระขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดย พระธรรมโสพิศ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้นซึ่งต่อมา ก็สร้างได้สร้างพระนาคปรกซึ่งเป็นพระจำวันเสาร์องค์ใหญ่ขึ้นเพื่อบรรจุพระ ที่เหลืออยู่


แต่ เดิมวัดโค่งแห่งนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก มาตอนหลังก็ถูกกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งจนเนื้อที่ของวัดบางส่วนไปยู่ในลำน้ำ สะแกกรังเหมือนกับวัดหลายๆ วัด ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง จนกระทั่งปัจจุบันนี้โบสถ์เก่าหลังเดิมของวัดโค่งก็ต้องปิดตามใช้ทำสังฆกรรม ไม่ได้เหมือนกัน


สมัย ก่อนที่วัดจะมีท่าน้ำยื่นเข้าไปถึงกลางแม่น้ำสะแกกรัง ยามเช้าพระจะพายเรือมาบิณฑบาต ตามแพอย่างเดียว เมื่อก่อนพระจะต้องลงบิณฑบาตรในเรือตลอดเพราะคนจะอยู่ในแพกันหมด ข้างบนไม่เป็นที่นิยมใช้สัญจรเดินทางกัน จะมีก็แต่ชาวสวนเท่านั้นที่ใช้ แต่ส่วนมากแล้วเมื่อถึงเวลาที่ต้องลำเลียงสินค้าการเกษตรก็หนีไม่พ้นอยู่เอง ที่ต้องอาศัยทางน้ำ จนกระทั่งการคมนาคมทางบกดีขึ้นจึงได้เปลี่ยนจากการสัญจรทางน้ำมาใช้ถนนบนบก แทน


หลัง จากที่ได้กราบนมัสการและสนทนากับเจ้าอาวาสจากวัดธรรมโศภิต อยู่พักใหญ่ เห็นสมควรแก่เวลาเราจึงออกเดินทางต่อไปยังวัดใหม่จันทาราม ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อสมัยที่รัชการที่ 6


ก่อน ที่จะมีวัดใหม่จันทราราม เดิมที่แห่งนี้เคยมีวัดอยู่แล้ว แต่ชาวบ้านไม่เรียกวัดแต่เป็นเพนียดช้าง เนื่องจากสถานที่แห่งนี้จะเป็นทางลงตรงไปยังท่าช้าง ซึ่งควาญช้างจะต้อนช้างข้ามไปยังฝั่งเกาะเทโพ ก่อนที่ช้างจะถูกส่งไปยามหน้าแล้ง เพราะตรงมโนรมณ์ ท่าฉนวน มีสถานที่แห่งหนึ่งชื่อ ท่าน้ำอ้อย สถานที่แห่งนั้นมีชื่อว่าท่าน้ำอ้อย ก็เพราะบริเวณนั้นปลูกอ้อยไว้มากเพื่อให้ช้างกินเวลามีการต้อนช้าง ในสมัยอยุธยาสถานที่นี้เคยเป็นเพนียด ดังนั้นที่แห่งนี้ก็จะมีเสาตลุงช้างและช้างอยู่มากมาย


เจ้า พิธีกรรม หรือควาญช้างซึ่งต้องบวงสรวงศาลปะกำก็จะอยู่กับความศักดิ์สิทธิ์ ก็สร้างศาลเป็นเหมือนศาลา ชาวบ้านเรียกศาลพระธรรม มีเพนียดอยู่ ต่อมาภายหลังเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์การต้อนช้างไปยังอยุธยาก็ลด ความสำคัญลงจนหมดไปในที่สุด ต่อมาในสมัยรัชการที่ 3 มีชาวจีนกลุ่มหนึ่งมาอาศัยอยู่ที่ บริเวณท่าซุงราว 3,000 คน มาทำการถลุงเหล็กให้เป็นแท่งส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ เพื่อเป็นเป็นสินค้าส่งออก


เมื่อ มีชาวจีนมาอาศัยอยู่ที่ท่าซุงมากเข้า จึงกลายเป็นชุมชนใหญ่และหนาแน่นจนต้องขยับขยายมายังบริเวณที่เคยเป็นเพนียด ช้างมาแต่เดิม ในช่วงรัชกาลที่ 3 มีชาวจีนเข้ามาอยู่ที่แห่งนี้กันมาก โดยมีนายจันทา เป็นผู้ดูแลชุมชนที่ตั้งขึ้นใหม่ หลังจากนั้น จึงมีการบูรณะโดยสร้างวัดขึ้นมาใหม่บนพื้นที่ที่เคยเป็นเพนียดเดิม จึงเรียกชื่อวัดที่สร้างนี้ว่า วัดใหม่ ต่อมาจึงเรียกชื่อวัดว่า วัดใหม่นายจันทาราม จนกระทั่งปัจจุบันมีชื่อเป็นทางการว่าวัดใหม่จันทาราม


นอก จากวัดใหม่จันทารามแล้วบริเวณนี้ก็จะมีวัดที่สำคัญอีกวัด คือวัดหลวง แต่โบราณสถานของที่นั่นจะเก่าแก่กว่าวัดใหม่ เนื่องจากมีพระปรางค์ ลวดลายจีน สันนิฐานว่าวัดทั้งสองแห่งนี้สร้างมาพร้อมกัน โบสถ์ของวัดใหม่จะงดงาม


สมัยก่อนวัดใหม่จันทารามนี้มีชื่อมากในเรื่องของการเทศน์มหาชาติ พระเทศน์เก่งๆ ก็ที่วัดแห่งนี้แทบจะทั้งสิ้น
จากวัด ใหม่จันทาราม เราทั้งสองคนเดินทางต่อมายังวัดธรรมโฆษก หรือวัดโรงโค ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นโรงโคที่รวบรวมโคเพื่อไว้สำหรับเทียมเกวียน การเลี้ยงโคจำนวนมากก็จำเป็นต้องมีคนเลี้ยงโคพักอาศัยอยู่ ต่อมาภายหลังโรงโคดังกล่าวไม่เป็นที่นิยม พื้นที่ที่เคยเป็นโรงโคจึงถูกปล่อยให้รกร้างอยู่ระยะหนึ่ง กลายเป็นพื้นที่สาธารณะจนกระทั่งมีการสร้างเป็นวัดขึ้นในพื้นที่ที่เคยเป็น โรงโคเดิม

โรง โคแห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพนียดช้างก็มีมาในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากสมัยนั้น โค กับช้างก็เป็นสินค้าส่งออกไปอยุธยาด้วยกันทั้งคู่ จะสังเกตุได้ว่า วัดใหม่จันทาราม ซึ่งเป็นเพนียดช้างเก่า กับ วัดธรรมโฆษก หรือวัดโรงโค อยู่บนถนนเดียวกัน ก็เนื่องจากพื้นที่สร้างวัดทั้งสองแห่งเป็นตลาดส่งสินค้าไปยังอยุธยา ด้วยกันทั้งสองแห่ง


ตัว โบส์ถของโรงโค ที่นี่เท่าที่ดู น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เพราะว่าเข้าไปในโบส์ถจะมีแท่นพระนั่ง คือสมัยอยุธยาในวิหารก็จะมีภาพเขียนอยูด้วย ซุ้มกำแพงแก้วเป็นซุ้มโค้งแบบจีน เจดีย์แบบอยุธยาอยู่ข้างหน้า


ที่ นี่มีการขุดพบเศียรพระที่เป็นหินทราย จึงคาดว่าน่าจะเป็นวัดที่มีอยู่แล้วได้ถูกบูรณะขึ้นใหม่ ถ้าดูในช่องวิหารก็จะเห็นรูปปั้นเป็นรูปตัวละครในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ อยู่ตรงมซุ้มหน้าต่าง แต่ซุ้ม ข้างหน้าจะมีพระพุทธรูปยืนอยู่ข้างหน้า


นี่ ก็เป็นคติสมัยอยุธยา ว่าถ้าหากไม่สามารถเข้าไปกราบไหว้พระในโบสถ์ได้ ก็สามารถกราบไหว้จากข้างนอกได้เช่นเดียวกัน ภายในตัวโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่ ซึ่งเป็นภาพวาดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย คาดว่าตัวโบสถ์ภายนอกจะมีการซ่อมแซมต่อมาในภายหลังจึงได้มีศิลปะทั้ง อยุธยาและรัตนโกสินทร์อยู่ด้วยกัน


หาก ศึกษาจากด้านในตัวโบสถ์สันนิฐานได้ว่าวัดน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา เช่นเดียวกับวัดเพนียดแต่บังเอิญว่าวัดนี้ได้ร้างลง จนเจ้าเมืองได้เข้ามาบูรณะวัดโรงโค วัดแห่งนี้จึงเป็นวัดที่บูรณะขึ้นเพื่อให้เจ้าเมืองได้ใช้เป็นที่ประหาร ชีวิตนักโทษ
ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะรู้จักวัดโรงโคในฐานะเป็นวัดที่มี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองอุทัยธานี ซึ่งก็คือ หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค นั่นเองนักท่องเที่ยวที่มายังวัดแห่งนี้ส่วนใหญ่แล้วก็จะมานมัสการ กราบหลวงพ่ออั้นอภิปาโล หรือพระครูอุทัยธรรมสาร กันแทบจะทั้งสิ้น
จากวัด โรงโค เราเดินทางต่อไปยังวัดพิชัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เดิมชื่อว่า วัดกร่าง หรือ วัดกลาง เป็นวัดที่สร้างโบส์ทรงเตี้ย พื้นเรียบ นี่เป็นการสร้างในรูปแบบสมัยสุโขทัย ด้านขวาจะสร้างห้องเป็นเหมือนกุฏิพระ ส่วนตรงกลางจะเปิดโล่งยาวไปถึงพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธชินราช


คติ การสร้างพระพุทธชินราช ที่สร้างขึ้นมานั้นได้รับอิทธิพลจากสุโขทัยอยู่มาก เนื่องจากเมืองนครสวรรค์ เมืองชัยนาท เป็นเมืองชายแดนของสุโขทัย เพราะฉะนั้นพระที่มีพระพุทธชินราชปูนปั้น ไม่ได้มีที่นี่ที่เดียว ก็ยังจะมีวัดอื่นคือวัดที่จังหวัดชัยนาท รูปแบบโบสถ์แบบเดียวกัน จะมีร่องแบบเดียวกับวัดนางพญาที่สุโขทัย ไปวัดมหาธาตุ โบส์ถ ประตูก็แบบเดียวกัน แสดงว่าวัดนี้ต้องถึงยุคสมัยสุโขทัยอย่างแน่นอน


ส่วน หลังคาโบสถ์ปัจจุบันที่เป็นลอนเนิองจากถูกซ่อมแซมในสมัยอยุธยา แสดงให้เห็นว่าวัดห่งนี้มีมาก่อนสมัยอยุธยาซึ่งอยู่ในสมัยสุโขทัยแต่อยุธยา มาซ่อม ยิ่งได้ชมดูข้างหน้าก็จะเห็นเจดีย์แบบลอมฟางซึ่งเป็นศิลปะแบบสุโขทัยอย่าง ชัดเจน


นอก จากโบส์ทรงเตี้ยแล้วที่วัดแห่งนี้ยังมีโบส์ใหม่อีกหลังหนึ่งอยู่ถัดไปซึ่ง เป็นโบสถ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยสมัยนั้นใช้ชื่อวัดว่า วัดกลาง และเป็นวัดประจำเมือง มีโรงเรียนประถมแห่งแรก ของจังหวัดขึ้นที่นี่ชื่อว่าโรงเรียนพิชัยสุรนาราม ซึ่งได้ชื่อมาจากชื่อของพระยาพิชัยสุนทร ซึ่งเป็นชื่อของตำแหน่งเจ้าเมืองก็เลยเอาชื่อนี้มาตั้ง พระพุทธรูปพระประธานประจำโบสถ์มีนามว่า พระพุทธไชยสิทธิ์ บริเวณวัด เมื่อก่อนเมีเนื้อที่มากจัดได้ว่าเป็นวัดที่ใหญ่วัดหนึ่งของเมืองอุทัยธานี ต่อมามีถนนตัดผ่านทำให้เนื้อที่ของวัดเล็กลง จนกลายเป็นวัดที่ไม่มีกำแพงไปเลยทีเดียว
เราทั้งสองคนถ่ายภาพภายนอกอยู่ครู่ใหญ่จึงได้เข้าไปยังในโบสถ์เพื่อกราบพระประธานในโบสถ์ จากนั้นเราจึงเดินทางต่อไปยังวัดท่าซุง


วัด ท่าซุงเดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังเป็นเรื่องพุทธประวัติ สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้างที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้ ตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระถาวร (หลวงพ่อฤๅษีพ่อฤๅษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่าง และประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือช่างชั้นครู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชดำเนินตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก ความน่าสนใจ ที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตา เช่น มหาวิหารแก้ว เป็นวิหารจำลองสวรรค์ลงมาให้มนุษย์ได้ชมตามนิมิตรของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ


วิหาร นี้สร้างด้วยโมเสกสีขาวใสดูเหมือนแก้ว และเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และสรีระของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย หลังจากถ่ายภาพที่วิหารแก้วแล้วเราจึงเดินมายังวิหารทอง


ซึ่ง ในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการตกแต่ง ถึงแม้ว่างานตกแต่งภายในจะยังไม่เรียบร้อยแต่ก็สวยงามเสียจนน่าชม ในความวิริยะของช่างผู้ออกแบบและแกะสลักไม้ภายในตัวอาคาร


เรา เดินชมความสวยงามของวัดท่าซุงอยู่พักใหญ่ก็เดินมายังท่านน้ำ เพื่อพักผ่อนกินลมชมภาพแม่น้ำสะแกกรัง ก่อนที่จะซท่ออาหารปลามาโปรยเรียกปลาขึ้นมาชมจนลายตา


เรา พักเหนื่อยอยู่อีกครู่ใหญ่ก็ต้องออกเดินทางเพื่อกลับกรุงเทพฯ กันเสียที การเดินทางไหว้พระ 9 วัดในครั้งนี้ ผมมีความรู้สึกว่าน่าจะเป็นอีกเส้นทางที่น่าจะลองมาเที่ยวชม เพราะนอกจากจะได้ชมความสวยงามของศิลปะในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น แล้ว ท่านยังจะได้รับความอิ่มอกอิ่มใจกลับไปอย่างไม่เสียเที่ยวอีกด้วย สุดท้ายของการเดินทางคงต้องกล่าวคำว่า แล้วพบกันใหม่เมื่อการเดินทางครั้งหน้ามาถึง..สวัสดีครับ
การเดินทาง

1. วัดสังกัสรัตนคีรี


ที่ตั้ง อยู่เชิงเขาสะแกรัง เดิมชื่อ หมู่บ้านสะแกกรัง หมู่ 3 บ้านน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
การ เดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 – 1 เลี้ยวซ้าย กม. เข้าตัวเมืองอุทัยธานี (ระยะประมาณ 15 กิโลเมตร) วิ่งตรงสุดถนนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 333 แล้ววิ่งตรงถึงสี่แยกสังกัสรัตนคีรี แล้วให้เลี้ยวขวาทางเข้าวัดประมาณ 200 เมตร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : วัดสังกัสรัตนคีรี โทรศัพท์ 056-511573 , 056-511598
2. วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (พระอารามหลวง) หรือวัดทุ่งแก้ว


ที่ตั้ง อยู่ ถ. สุนทรสิตย์ หลังสวนสุขภาพ ตรงวงเวียนหอนาฬิกา อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
การ เดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32- 1 เลี้ยวซ้าย กม. ที่ 206 เข้าตัวเมืองอุทัยธานี (ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร) วิ่งตรงถึงสามแยกป้ายประตูเข้าเมืองอุทัยธานี แล้วให้เลี้ยวซ้ายวิ่งตรงถึงวงเวียนหอนาฬิกาจะเห็นวัดอยู่ใกล้กับสวนสุขภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : พระราชอุทัยกวี โทร. 056-524817
3. วัดขวิด


ที่ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันตก ในตาดสดอุทัยธานี หรือตลาดโบราณบ้านสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 – 1 เลี้ยวซ้าย กม. ที่ 206 เข้าตัวเมืองอุทัยธานี (ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร) วิ่งตรงสุดถนนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 333 แล้ววิ่งตรงถึงสี่แยกสังกัสรัตนคีรีแล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง ถึงวงเวียนห้าแยกวิทยุ (วงเวียนมีเสาไฟเป็นสัญลักษณ์) แล้วเลี้ยวซ้ายวิ่งตรงผ่านวงเวียนปลาแรด แล้ววิ่งตรงถึงวงเวียนช้าง วัดจะอยู่ในตลาดสดริมแม่น้ำสะแกกรัง
4. วัดอุโปสถาราม หรือวัดโบสถ์


ที่ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันออก ตรงข้ามตลาดสดอุทัยธานี ต. สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี
การ เดินทาง จากกรุงเทพฯ ให้ทางหลวงหมายเลข 32 – 1 เลี้ยวซ้าย กม. เข้าตัวเมืองอุทัยธานี (ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร) วิ่งตรงสุดถนนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 333 แล้ววิ่งตรงถึงสี่แยกสังกัดรัตนคีรีเลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง ถึงวงเวียนห้าแยกวิทยุ (วงเวียนมีเสาไฟเป็นสัญลักษณ์) จะเห็นทางขึ้นสะพานอยู่ด้านหน้า แล้วให้เดินเท้าข้ามสะพานก็จะถึงวัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : วัดอุโปสถาราม โทรศัพท์ 056 – 512644
5. วัดธรรมโศภิต หรือวัดโค่ง


ที่ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันตก ต. อุทัยใหม่ อ. เมือง จ.อุทัยธานี
การ เดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลย 32 – 1 เลี้ยวซ้าย กม. ที่ 206 เข้าตัวเมืองอุทัยธานี (ระยะประมาณ 15 กิโลเมตร) วิ่งตรงสุดถนนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 333 แล้ววิ่งตรงถึงสี่แยกสังกัสรัตนคีรีแล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง ถึงวงเวียนห้าแยกวิทยุ (วงเวียนมีเสาไฟเป็นสัญลักษณ์) แล้วเลี้ยวซ้ายวิ่งตรงผ่านวงเวียนปลาแรด ถึงวงเวียนช้างตรงเข้าหมู่บ้าน ประมาณ 500 เมตร จะถึงวัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : พระครูอุทัยปริยัติโสภณ โทร 056 – 511468
6. วัดใหม่จันทราราม หรือวัดใหม่


ที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 78 ถนนณรงค์วิถี ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
การ เดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 – 1 เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลย 333 แล้ววิ่งตรงถึงสี่แยกสังกัสรัตนคีรี แล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง ถึงวงเวียนห้าแยกวิทยุ (วงเวียนมีเสาไฟเป็นสัญลักษณ์) เลี้ยวขวาตามถนนศรีอุทัย ถึงสามแยกวัดธรรมโฆษก แล้วให้เลี้ยวขวาวิ่งตรงจะเห็นวัดอยู่ข้างหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : พระปลัดจรูญ ฐานสุโ โทร 056 – 511494
7. วัดพิชัยปุรณาราม


ที่ตั้ง อยู่เลขที่ 199 ถ. ศรีอุทัย ต. อุทัยใหม่ อ. เมือง จ.อุทัยธานี
การ เดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 – 1 เลี้ยวซ้าย กม.ที่ 206 เข้าตัวเมืองอุทัยธานี (ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร) วิ่งตรงถนนถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 333 แล้ววิ่งตรงถึงสี่แยกสังกัสรัตนคีรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง ถึงวงเวียนห้าแยกวิทยุ (วงเวียนมีเสาไฟเป็นสัญลักษณ์) เลี้ยวขวาตามถนนศรีอุทัย วัดอยู่ขวามือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : พระครูอุทัยกาญจนคุณ โทร 056 – 511476
8. วัดธรรมโฆษก หรือ วัดโรงโค


ที่ตั้ง อยู่ ถ. ศรีอุทัย ต. อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี
การ เดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 – 1 เลี้ยวซ้าย กม. ที่ 206 เข้าตัวเมืองอุทัยธานี (ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร) วิ่งตรงถนนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 333 แล้ววิ่งตรงถึงแนกสังกัสรัตนคีรี แล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง ถึงวงเวียนห้าแยกวิทยุ (วงเวียนมีเสาไฟเป็นสัญลักษณ์) เลี้ยวขวาตามถนนศรีอุทัย ถึงสามแยกไฟแดง วัดอยู่ขวามือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : วัดธรรมโฆษก โทร 056 – 511450
9. วัดจันทาราม หรือวัดท่าซุง


ที่ตั้ง อยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
การเดินทาง1)จากกรุงเทพ ฯ ขับเข้ามาในตัวเมืองอุทัยและขับออกจากเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ของชัยนาทประมาณ 8 กิโลเมตร ดูแผนที่ตัวเมืองอุทัย
2)จากกรุงเทพฯ ขับมาตามทางหลวงหมายเลข 32 ถึงส่วนของจังหวัดชัยนาท ให้ขับตรงมาจนถึงจุดตัดกับถนนหมายเลข 3212 ให้เลี้ยวซ้ายเพื่อไป อ. มโนรมย์ (ให้ดูแผนที่ถนนจังหวัดชัยนาท) สุดถนน 3212 เป็นแม่น้ำสะแกกรัง ให้เอารถขึ้นแพข้ามฟากไปฝั่งอุทัยธานี (ค่าเรือสำหรับรถข้ามฟาก ประมาณ 40 บาท/คันและข้ามได้เฉพาะรถเก๋ง และรถปิกอัพเท่านั้น) จากนั้นขับต่อไปตามถนน 3256 ประมาณ 4 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : โทรศัพท์ 056 – 502506, 056 – 502655


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น