วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

7 วัน จากทุ่งช้างจังหวัดน่านสู่ทุ่งไหหินแขวงเชียงขวาง

วันแรกของการเดินทาง
กรุงเทพฯ-น่าน
เช้า ตรู่ของต้นเดือนตุลาคมทีมงานสองชีวิตเริ่มต้นออกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่อำเภอทุ่งช้างในจังหวัดน่าน สำหรับจุดหมายปลายทางของการเดินทางของเราสองคนในครั้งนี้ก็คือแขวงไซยะบูลี และแขวงเชียงขวางใน สปป.ลาว


จากกรุงเทพฯ เราสองคนขับรถยนต์ไปตามทางหลวงหมายเลข 32 จนมาถึง จ.นครสวรรค์ จากนั้นเราสองคนเปลี่ยนมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข117 เราขับรถเรื่อยมาจนถึงจ.พิษณุโลก


แล้วกลับ มาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข11 ผ่านสี่แยกอินโดจีน เลี้ยวซ้ายผ่านจ.อุตรดิตถ์ จ.แพร่ แล้วตรงเข้าสู่อำเภอเมือง จ.น่าน ระยะทาง 668 กิโลเมตร



เรา สองคนใช้เวลาขับรถประมาณ 10 ชั่วโมงก็เดินทางมาถึงยังจังหวัดน่าน แต่ก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่ยังตัวเมืองน่านเราสองคนแวะกราบนมัสการพระธาตุ แช่แห้งโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ถือกันว่าเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่าน ซึ่งมีประวัติเล่าสืบต่อกันมาดังนี้ครับ



พระ ธาตุแช่แห้งประดิษฐาน อยู่บริเวณหมู่ที่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน องค์พระธาตุสีทองสุกปลั่ง ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ยๆ สามารถมองเห็นได้แต่ไกล


สำหรับ วัดพระธาตุแช่แห้งเดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง อยู่ห่างจากตัวเมืองน่านเพียงข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่ จริม ออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร พระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ชาวล้านนาเชื่อว่าหากคนปีเถาะได้มีโอกาสมานมัสการพระธาตุแช่แห้งแล้วล่ะก็จะ ได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง


พระ ธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญมีอายุกว่า 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้อัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัย


องค์พระธาตุมีความสูง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ22.5 เมตร บุด้วยทองเหลืองปิดทองคำเปลวทั้งองค์



บริเวณ วัดประกอบไปด้วย วิหารพระนอน วิหารหลวง เจดีย์พระธาตุ เล่าประวัติพระธาตุแช่แห้งให้ฟังพอสังเขปก็แล้วกันน่ะครับ เพราะถ้าเล่าประวัติให้ท่านผู้อ่านฟังละเอียดแล้วล่ะก็เกรงว่าท่านผู้อ่านจะ เบื่อเราสองคนเสียก่อน


จาก พระธาตุแช่แห้งในอำเภอภูเพียงเราสองคนขับรถเข้ามาในตัวเมืองน่านผ่าน วัดภูมินทร์ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองน่าน เดินทางมุ่งหน้าสู่อำเภอทุ่งช้างระยะทาง 90 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ผ่านท้องไร่ท้องนาอันเขียวชะอุ่มและในที่สุดเราสองคนก็ขับรถก็เดินทางมาถึง ยังอำเภอทุ่งช้างในยามแดดร่มลมตก

หลัง จากแวะเติมน้ำมันในอำเภอทุ่งช้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงออกเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่อำเภอเฉลิมพระเกียรติอันเป็นที่ตั้งของ ด่านห้วยโกร๋นชายแดนไทย-ลาวระยะทางห่างจากอำเภอทุ่งช้างประมาณ 50 กิโลเมตร เราสองคนเดินทางมาถึงบ้านห้วยโกร๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติในยามพลบค่ำ อันเป็นช่วงเวลาที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองห้วยโกร๋นได้ปิดทำการแล้ว เราสองคนตระเวนขับรถหาที่พักในบ้านห้วยโกร๋นจนในที่สุดก็เข้าพักค้างแรมกัน ที่ไร่ยศณรงค์รีสอร์ท ตั้งอยู่ในบ้านห้วยโกร๋นห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองห้วยโกร๋นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร


สำหรับ ไร่ยศณรงค์รีสอร์ทเป็นของพันตำรวจโท สุจินต์ ยศณรงค์ ตำรวจตระเวนชายแดนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติมีบ้านพักจำนวน 4 หลัง พักได้หลังละ 2 คน พร้อมแอร์และน้ำอุ่นราคา600-800 บาท บริเวณบ้านพักตั้งอยู่ในสวนผลไม้มีภูเขาโอบล้อมอยู่โดยรอบ ในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิอยู่ในช่วงระหว่าง 5-10 องศาเซสเซียส เท่านั้น



หลัง จากติดต่อบ้านพักหาที่ซุกหัวนอนในคืนนี้ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราสองคนก็ออกมาหาอาหารค่ำรับประทานกันในหมู่บ้านห้วยโกร๋นซึ่งก็มี ร้านอาหารเล็กๆให้เราทั้งสองคนได้ใช้บริการฝากท้องกันในคืนนี้ หลังจากรับประทานอาหารค่ำกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงเดินทางกลับมายังบ้าน พักเพื่อพักผ่อนเก็บเรี่ยวแรงเอาไว้เดินทางต่อในวันรุ่งขึ้น
วันที่สองของการเดินทาง
อากาศ ยามเช้าที่ไร่ยศณรงค์รีสอร์ทในอำเภอเฉลิมพระเกียรติช่างสดชื่นเหลือเกิน เราสองคนออกมาเดินเล่นสูดอากาศบริสุทธิ์โดยรอบรีสอรท์พร้อมสนทนากับพันตำรวจ โทสุจินต์ ยศณรงค์ เจ้าของไร่ยศณรงค์รีสอร์ท


ซึ่ง ผู้พันสุจินต์ได้เล่าให้เราสองคนฟังว่า ตัวท่านเองเป็นคนอำเภอเฉลิมพระเกียรติโดยกำเนิด เคยถูกส่งไปรับราชการยังสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายปี ผ่านประสบการณ์จนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดมาก็หลายครั้งจากนั้นจึงตัดสินใจขอย้าย กลับบ้านในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เพราะกลัวเมียจะเป็นหม้ายลูกจะกำพร้าพ่อเหมือนกับจ่าเพียรขาเหล็กนักรบแห่ง เทือกเขาบูโด
หลังจากดินทางกลับมารับราชการที่บ้านเกิดก็จัดการทำสวนผล ไม้โดยเฉพาะสวนส้มสีทองที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดน่าน พร้อมกับสร้างบ้านพักไร่ยศณรงค์รีสอร์ทให้บริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา ท่องเที่ยวยังอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้างและอุทยานแห่งชาติดอยภูคาในจังหวัดน่าน ปัจจุบันมีบ้านพักให้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 4หลัง ผู้พันสุจินต์คุยให้เราสองคนฟังว่าถ้ามีเงินทุนก็จะสร้างไปเรื่อยๆ ขณะนี้กำลังสร้างบ้านพักหลังใหญ่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ จำนวน15-20 คน ปัจจุบันใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้วคาดว่าจะให้บริการนักท่องเที่ยวได้กลาง ปี2553 นี้แน่นอน นักท่องเที่ยวท่านใดสนใจเข้าพักติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 081-673-9390 , 089-758-6602 ผู้พันสุจินต์ได้เล่าให้พวกเราฟังว่าอำเภอเฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ทางทิศ เหนือของจังหวัดน่าน เป็นอำเภอชายแดนเล็กๆใกล้ชิดติดกับแขวงไซยะบูลีของสปป.ลาว อยู่ห่างจากตัวเมืองน่านระยะทางประมาณ 138 กิโลเมตร โดยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 ตำบล 22 หมู่บ้านซึ่งได้แก่ ต.ห้วยโกร๋นและต.ขุนน่าน ตำบลห้วยโก๋นเดิมขึ้นกับอำเภอทุ่งช้าง ส่วนตำบลขุนน่านเดิมขึ้นกับอำเภอบ่อเกลือ ทางราชการได้รวมพื้นที่ทั้ง 2 ตำบล เพื่อตั้งเป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นกรณีพิเศษโดยไม่ผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ ตามโครงการจัดตั้งอำเภอ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ 5 ธันวาคม 2539 สำหรับคำขวัญประจำอำเภอเฉลิมพระเกียรติคือ “น้ำตกวังเปียนเคียงคู่ ฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า เฉลิมพระเกียรติเทียมฟ้า สู่แหล่งการค้าชายแดน”
เรา สองคนใช้เวลาพูดคุยกับผู้พันสุจินต์จนสมควรแก่ เวลาจากนั้นจึงจัดการเก็บสัมภาระข้าวของเพื่อออกเดินทางต่อ ซึ่งผู้พันสุจินต์อาสานำทางพาเราสองคนออกเดินทางไปยังด่านตรวจคนเข้าเมือง ห้วยโก๋น


ระหว่าง ทางผู้พันสุจินต์พาเราสองคนแวะเข้าไปเที่ยวชมอนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วย โก๋นเก่า ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาห่างจากไร่ยศณรงค์รีสอร์ทที่พักของเราเมื่อคืนนี้ระยะ ทางประมาณ 500 เมตร


ภายใน อนุสรณ์ สถานมีพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งและพิพิธภัณฑ์ในร่มจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ในการสู้รบของกองกำลังผาเมืองกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในช่วงปี พ.ศ. 2518-2520 บ้านห้วยโก๋นแต่เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา


มี สนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธ จุดที่ทหารไทยเสียชีวิตรถบรรทุกทหารที่ถูก ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์โจมตีมีร่องรอยกระสุนตามตัวถังเป็นรูพรุนจำนวนมาก



และในบริเวณเดียวกันนั้นยังมี ฐานสู้รบเหล่าทหารกล้า ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโกร๋น ตำบลห้วยโก๋น เป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต


เมื่อ วันที่ 9 เมษายน 2518 ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าโจมตีฐาน ทำให้ทหารในสังกัดทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ. ฐานแห่งนี้ 69 นาย เสียชีวิต 17 นาย ฝ่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายทหารสามารถรักษาฐานปฏิบัติการแห่งนี้ไว้ได้ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว


มี อนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของลัทธิการปกครองที่แตก ต่างกันในอดีตเมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่าน ภายในฐานยังมีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวติดต่อได้ที่กองพันทหารราบที่ 15 หรือ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0321, 0 5471 3324 ผู้พันสุจินต์พาเราสองคนเดินเที่ยวชมภายในพิพิธภัณฑ์อย่างเพลิดเพลินจน สมควรแก่เวลาจากนั้นผู้พันสุจินต์จึงพาเราสองคนเดินทางมายังด่านตรวจเข้า เมืองห้วยโก๋น



บริเวณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองบ้านห้วยโก๋นในเช้าวันที่เราสองคนเดินทางมาถึงเป็นวัน ธรรมดาจึงไม่มีตลาดนัดบรรยากาศจึงไม่ค่อยคึกคักเหมือนกับวันเสาร์-อาทิตย์ ที่จะมีชาวลาวจากแขวงไซยะบูลีและแขวงใกล้เคียงเดินทางข้ามด่านห้วยโก๋นเข้า มาจับจ่ายซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคกัน


พ่อ ค้าแม่ค้าชาวลาวบางคนจะนำสินค้าข้ามเข้ามาขายทางฝั่งไทย สินค้าที่นำมาขายส่วนใหญ่จะเป็นผ้าทอมือและของป่าจำพวกกล้วยไม้ป่านานาชนิด เราสองคนชักชวนผู้พันสุจินต์หากาแฟพร้อมอาหารเช้ารับประทานกันที่ร้านอาหาร บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองบ้านห้วยโก๋นเพื่อรอเวลาด่านตรวจคนเข้าเมืองเปิด ทำการเวลา 08.00-17.00 น. หลังจัดการกับอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วด่านตรวจคนเข้าเมืองห้วยโก๋นก็ เปิดทำการพอดีเราสองคนกล่าวคำอำลาผู้พันสุจินต์จากนั้นเดินเท้าไปยังด่าน ตรวจคนเข้าเมืองห้วยโกร๋นเพื่อตรวจสอบเอกสารและขออนุญาตเดินทางออกนอกราช อาณาจักรไทย

ณ. ด่านตรวจคนเข้าเมืองห้วยโกร๋นเราสองคนได้พบกับพี่ทวีศักดิ์ บุญมี เจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจคนเข้าเมืองห้วยโก๋น อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยในยุคของปิยะพงษ์ ผิวอ่อน สังกัดสโมสรตำรวจ พอพี่ทวีศักดิ์ บุญมี รู้ว่าเราสองคนเป็นแฟนฟุตบอลทีมชาติไทยเก่าแถมยังรู้จักชื่อเสียงของพี่ทวี ศักดิ์ บุญมี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยเด้วยแล้ว ทำให้การสนทนาเริ่มออกรสขึ้นเหมือนกับเพื่อนเก่าที่ไม่ได้พบหน้ากันมานาน หลายสิบปี
เราสองคนพูดคุยกับพี่ทวีศักดิ์ บุญมี จนสมควรแก่เวลาพอจัดการเอกสารขออนุญาตินำรถออกนอกประเทศเป็นที่เรียบร้อย แล้วจากนั้นจึงกราบลาพี่ทวีศักดิ์ บุญมี เจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจคนเข้าเมืองห้วยโก๋น นำรถยนต์เดินทางเข้าสู่ สปป.ลาวต่อไป


เรา สองคนจอดรถอยู่บริเวณด้านหน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองลาวซึ่งมีชื่อว่าด่านเมือง เงิน จากนั้นจัดการตรวจสอบเอกสารการนำรถเข้า สปป.ลาวพร้อมประทับตราวีซ่าลงในพาสปอร์ตจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาว เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


หลัง จากนี้ไปเราสองคนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทุกแขวงในสปป.ลาวและสามารถท่อง เที่ยวอยู่ในสปป.ลาวได้หนึ่งเดือนและสามารถจะนำรถยนต์ออกจากสปป.ลาวด่านไหน ก็ได้แต่มีข้อแม้ว่าพาสปอร์ตที่จะนำมาใช้งานจะต้องมีอายุการใช้งานก่อนวัน หมดอายุ 6 เดือนจำไว้ให้ขึ้นใจเลยน่ะครับ ส่วนบัตรผ่านแดนชั่วคราวสามารถอยู่ใน สปป.ลาวได้เพียง 3 วัน2 คืน และอนุญาตให้เดินทางไปได้แค่แขวงไซยะบูลีเท่านั้นน่ะครับ หลังจาก จัดการกับเอกสารต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนจึงเริ่มต้นออก เดินทางจากจุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น-เมืองเงินไปตามเส้นทางลูกรังบนถนนหมาย เลข4A มุ่งหน้าสู่แขวงไชยะบูลีในทันที


สำหรับ ถนนหมายเลข4A กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ดังนั้นถนนบางช่วงเราจึงเห็นเครื่องจักรกลหนักกำลังทำงานกันอยู่ตลอดเส้นทาง สายนี้ ทำให้เราสองคนจำเป็นจะต้องขับรถด้วยความระมัดระวังผ่านทางแยกถนนหมายเลข2ไป ท่าเรือปากแบงและเมืองอุดมไซย



เรา สองคนขับรถไปตามถนนหมายเลข 4A จนถึงเมืองหงสาซึ่งอยู่ในแขวงไชยะบูลี ระยะทางห่างจากจุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น-เมืองเงิน 38 กิโลเมตร เราสองคนหยุดพักรถจากนั้นจึงเดินลงไปเที่ยวชมตลาดเมืองหงสา และเนื่องจากในช่วงที่เราสองคนเดินทางมาถึงตลาดเมืองหงสาอยู่ในช่วงเวลาสาย มากแล้วตลาดจึงวายหมด ร้านค้าแบกะดินพากันกลับบ้านหมดเหลือแต่เพียงร้านค้าภายในตลาดที่จำหน่าย สินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าจากไทยเป็นส่วนใหญ่


เรา สองคนหาอาหารกลางวันรับประทานกันในตลาดเมืองหงสาซึ่งหนีไม่พ้นเฝอ หรือที่เมืองไทยเรียกว่าก๋วยเตี๋ยว ราคาก็ใช่ว่าจะถูกกว่าเมืองไทยชามละ10,000 กีบหรือประมาณ 40 บาทไทย แต่เฝอที่เมืองลาวชามใหญ่กว่าบ้านเรามากเรียกว่ากินชามเดียวอิ่มเลย


ส่วน เรื่องรสชาติก็พอกินได้แต่รู้สึกว่าเฝอเมืองลาวนี้จะหนักผงชูรสไปสักหน่อย หลังจากจัดการกับเฝออาหารกลางวันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงขับรถวน เวียนไปมาอยู่ในเมืองหงสาหนึ่งรอบ


เมื่อ รู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าสนใจจึงออกเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่แขวงไชยะบูลีระยะทาง ห่างจากเมืองหงสาประมาณ 90 กิโลเมตร ซึ่งก่อนที่เราสองคนจะออกเดินทางต่อเราไม่ลืมที่จะสอบถามสภาพถนนจากชาวลาว ซึ่งได้รับคำตอบว่าสภาพถนนกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาจเดินทางไม่ สะดวกบ้างเป็นบางช่วง แต่ก็สามารถเดินทางไปได้



เรา สองคนเริ่มต้นออกเดินทางกันต่อไปตามถนนหมายเลข 4A ซึ่งมีสภาพถนนไม่แตกต่างไปจากจุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น-เมืองเงิน เส้นทางที่เราสองคนผ่านมาเมื่อสักครู่นี้ ตลอดสองข้างทางของถนนสายนี้บนพื้นที่ราบจะเต็มไปด้วยท้องไร่ท้องนาอันเขียว ชะอุ่มด้วยต้นข้าวที่กำลังออกรวงเขียวขจีสุดลูกหูลูกตา


ถนน บางช่วงก็ลัดเลาะไปตามไหล่เขาอันคดเคี้ยววกวนอุดมสมบูรณ์และหนาแน่นไปด้วย ป่าไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เราสองคนมองวิวทิวทัศน์ท้องไร่ท้องนาตลอดจนป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ของลาวแล้ว ทำให้มีความรู้สึกเสียดายในแผ่นดินผืนนี้ขึ้นมาทันที


นึก ในใจว่ามันน่าจะเป็นของไทยมากกว่า เพราะฝรั่งเศสแท้ๆ เลยที่มาตัดแบ่งแผ่นดินผืนนี้ไปให้ลาวในสมัยยุคลาวตกเป็นอาณานิคมของ ฝรั่งเศส ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีสหประชาชาติและศาลโลก ประเทศที่เจริญแล้วทางแถบทวีปยุโรปเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส อยากจะได้ประเทศไหนไปเป็นเมืองขึ้นก็ยกกองทัพไปข่มขู่เอาประเทศนั้นมาเป็น อาณานิคมของตนจากนั้นก็ทำการออกกฎหมายที่ตนเองเขียนขึ้นมาเอง กดขี่ประชาชนในประเทศนั้นๆให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตน ทำการจัดการกอบโกยทรัพยากรในประเทศนั้นๆ กลับไปสร้างความสมบูรณ์พูนสุขให้กับประชาชนในประเทศตัวเอง เช่นประเทศลาว เวียดนาม พม่า เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของเราก็เคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส เช่นกัน



เรา สองคนเดินทางต่อไปจนในที่สุดก็เดินทางมาถึงตัวเมืองไซยะบูลีเมื่อเวลาใกล้ ค่ำ รวมระยะทางที่เราสองคนเดินทางมาจากจุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น-เมืองไซยะบูลี ประมาณ 130 กิโลเมตรแต่ต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง 5 ชั่วโมงสาเหตุเพราะสภาพถนนกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง


จาก นั้นเราสองคนเริ่มหาโรงแรมที่พักซุกหัวนอนคืนนี้ในเมืองไซยะบูลีกันก่อนเป็น อันดับแรก สำหรับที่พักของเราสองคนในเมืองไซยะบูลีในคืนนี้ได้แก่เรือนพักสันติพาบ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองไซยะบูลี บรรยากาศดี สะอาด สะดวก ปลอดภัยติดแอร์คอนดิชั่นเย็นฉ่ำราคา 500 บาทต่อคืน
หลัง จากหาที่ซุกหัวนอนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงหาอาหารค่ำรับประทานกันใน เมืองไซยะบูลีก่อนที่จะกลับมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่เรือนพักสันติพาบเพื่อ เก็บเรี่ยวแรงไว้เดินทางต่อไปในวันรุ่งขึ้น
วันที่สามของการเดินทาง
เช้า วันที่สามในเมืองไซยะบูลี เราสองคนออกจากเรือนพักเดินทางมายังตลาดเช้าในเมืองไซยะบูลีซึ่งกำลังคับ คั่งไปด้วยชาวลาวที่เดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมาก


ภายใน ตลาดเช้าเมืองไซยะบูลีเต็มไปด้วยพืชผักผลไม้ เนื้อสัตว์เนื้อหมูเนื้อควายนำมาวางขายกันอย่างเอริกเกริก นอกจากนี้ยังมีของป่าที่ชาวบ้านหามาได้จากป่าอันอุดมสมบูรณ์ในแขวงไซยะบูลี นำออกมาวางขายกันอาทิเช่น กระรอก ตะกวด เก้ง กวาง นกชนิดต่างๆไม่เว้นแม้แต่เนื้องูเหลือมงูหลามที่ถูกนำมาสับเป็นท่อนวางขาย กันหน้าตาเฉย



เรา สองคนเห็นแล้วสยองขวัญมองดูเนื้องูเหลือมแล้วขาวคล้ายกับเนื้อไก่ซึ่งกฎหมาย ของลาวยังไม่ค่อยเข้มงวดเกี่ยวกับการขายของป่าเหมือนกับในบ้านเรา


นอก จากนี้ยังมีเครื่องอุปโภคบริโภคซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย สำหรับสินค้าไทยเป็นที่นิยมชมชอบของชาวลาวเพราะคุณภาพดีกว่าสินค้าของจีน และเวียดนามแม้ราคาจะแพงกว่าก็ตาม


เรา สองคนเดินเที่ยวชมตลาดเช้าเมืองไซยะบูลีจากนั้นจึงหากาแฟและข้าวปุ้น(ขนม จีน)รับประทานกันเป็นอาหารเช้าตบท้ายด้วยกาแฟลาวกันคนละแก้ว


ในระหว่างรับประทานอาหารเช้าผมจะเล่าถึงประวัติความเป็นมาของแขวงไซยะบูลีให้ท่านผู้อ่านได้ทราบพอสังเขปดังนี้น่ะครับ


แขวง ไซยะบูลี เป็นหนึ่งในจำนวนแขวงทั้งหมด18 แขวงของสปป.ลาว ตั้งอยู่ทางปลายทิศตะวันตกสุดของประเทศ มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย ทางด้านจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ เลย เชียงราย และ พะเยา เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาก่อนที่จะเสียดินแดนนี้ไปให้กับฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2447 แต่ไทยก็ได้กลับคืนมาชั่วคราวในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อได้คืนกลับมาเป็นของไทยจึงตั้งเป็นจังหวัดลานช้างแต่ต้องถูกยึดคืน กลับไปให้แก่ฝรั่งเศสเหมือนเดิมอีกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2


สำหรับภูมิ ประเทศทั่วไปของแขวงไซยะบูลีส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ขึ้นยืนตนอยู่อย่างหนาแน่นจนเป็นที่ ตั้งของป่าสงวนแห่งชาติน้ำพูน ทางทิศตะวันออกสุดที่แม่น้ำโขง มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น นาข่า บ้านคำ ตาดเหือง ฯลฯ แต่ยังไม่มีถนนเข้าถึง ส่วนน้ำตกที่มีถนนเข้าถึงอย่างสะดวกสบาย จะอยู่ใกล้กับตัวเมือง และเป็นที่นิยมของชาวไซยะบูลีคือ น้ำตกตาดแจว สูง 30 เมตร ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือท่าเดื่อระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แขวงไซยะบูลีมีพรหมแดนใกล้ชิดติดกับประเทศไทยความยาว 645 กิโลเมตร โดยมีชาวพื้นเมืองเผ่าต่างๆ อาทิ เช่นไทดำ ไทลื้อ ขมุ ขฉิ่น กรี อาขา และมลาบุรี จึงมีการอพยพย้ายข้ามไปมาระหว่างสองประเทศอยู่ เป็นประจำ


แขวง ไซยะบูลีเป็นแขวงที่มีการทำสัมปทานป่าไม้เป็นจำนวนมากจึงมีช้างใช้งานลากซุง มากที่สุดในแขวงนี้ สำหรับในภูมิภาคย่านภูเขาที่อยู่ติดกับพรมแดนประเทศไทยยังเป็นมีป่าไม้ อันอุดมสมบูรณ์อยู่ อีกเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ตะแบก ไม้ตะเคียนและไม้มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ อีกมากในพื้นที่แถบภาคกลางและภาคใต้ของแขวงนี้ ส่วนทางภาคเหนือของแขวงมีแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ อาทิเช่น ถ่านลิกไนต์ ทองคำ ทองแดง และแมงกานีส เป็นต้น และมีการทำอุตสาหกรรมเหมืองหินแกรนิตทางตอนใต้ของแขวง สำหรับสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปนั้นจะมีสภาพอากาศคล้ายคลึงกับทางจังหวัด น่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ ของประเทศไทย โดยมีปริมาณฝนน้อยกว่าทั้งสองจังหวัดของไทยแต่กลับกันในฤดูหนาวจะมีอากาศ หนาวเย็นกว่าทั้งสองจังหวัดในประเทศไทย เมื่อท่านผู้อ่านได้ทราบประวัติคร่าวๆของแขวงไซยะบูลีแล้วเราสองคนขอเชิญ ท่านผู้อ่านเดินทางท่องเที่ยวในแขวงไซยะบูลีกันเลยน่ะครับ เราสอง คนขับรถเซอร์เวย์ไปรอบๆ เมืองไซยะบูลี อากาศยามเช้าในเมืองไซยะบูลีช่างสดชื่นดีแท้ ตัวเมืองไชยะบูลีล้อมรอบไปด้วยขุนเขาใหญ่น้อยผังเมืองถูกวางไว้อย่างเป็น ระเบียบคล้ายตาหมากรุก ถนนหนทางสายย่อยภายในเมืองถูกเชื่อมโยงเข้ากับถนนสายหลักถึงกันหมดทุกสาย คล้ายใยแมงมุมดูเป็นระเบียบเรียบร้อย


เรือน พักชาวลาวถูกแบ่งออกเป็นล็อคสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายบ้านเดี่ยวหมู่บ้านจัดสรร มีระดับในกรุงเทพฯ ถนนราดยางกว้างขวางสะอาดสะอ้านแตกต่างจากทุกๆ แขวงที่เราสองคนเคยเดินทางผ่านมาใน สปป.ลาว เมืองไซยะบูลีเป็นเมืองธุรกิจ ชาวลาวส่วนใหญ่ในเมืองนี้ประกอบอาชีพค้าขายกับไทยเพราะมีพรมแดนใกล้ชิดติด กับไทยระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตรเท่านั้น ประกอบกับเมืองไซยะบูลีเป็นเมืองที่มีทรัพยากรป่าไม้มากทำให้ชาวลาวในเมือง นี้มีฐานะดีสังเกตุได้จากบ้านเรือนชาวลาวที่ปลูกเรียงรายอยู่สองข้างทางใน เมืองไซยะบูลีใหญ่โตกว้างขวางสวยงาม แสดงความมีฐานะของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ประกอบกับถนนหนทางอันสะอาดสะอ้านถูกสุขลักษณะทำเอาเราสองคนแอบอิจฉาชาวลาว ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ในใจ เมืองไซยะบูลีนับว่าเป็นเมืองเล็กๆที่น่าอยู่อาศัยเมืองหนึ่งในสปป.ลาว



เรา สองคนขับรถผ่านที่ทำการแขวงไซยะบูลีหรือที่บ้านเราเรียกว่าศาลากลางจังหวัด ที่กว้างขวางใหญ่โตตั้งอยู่ใจกลางเมืองไชยะบูลี บริเวณด้านหน้าของที่ทำการแขวงไซยะบูลีเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานของท่านไก สอน พรมวิหาน อดีตประธานประเทศผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองและปลดปล่อยประเทศลาวจนได้รับเอก ราชเป็นสปป.ลาว มาจนถึงทุกวันนี้



ถ้า ท่านผู้อ่านเดินทางไปทั่วทุกแขวงในสปป.ลาวจะเห็นอนุสรณ์สถานของท่านไกสอน พรมวิหานมีลักษณะเป็นรูปหล่อครึ่งตัว ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณด้านหน้าของที่ทำการแขวงทุกแขวงในสปป.ลาว ชาวลาวทุกคนรำลึกในบุญคุณของท่านไกสอน พรมวิหาน ผู้ปลดปล่อยลาวมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ชาวลาวที่มีความประสงค์จะติดต่อราชการสามารถเดินทางมาติดต่อราชการได้ที่ทำ การแขวงแห่งนี้ในเวลาราชการ ส่วนบริเวณด้านข้างของที่ทำการแขวงเป็นที่ตั้งของโรงแรมของรัฐบาลมีชื่อว่า โรงแรมไซยะบูลีใหม่


ลักษณะ ของโรงแรมเป็นอาคารสามชั้นมีจำนวนห้องพัก 30 ห้อง มองดูแต่เพียงด้านนอกนึกว่าเป็นโรงแรมใหม่แต่ภายในเก่าเหลือเกิน คล้ายกับขาดการปรับปรุงดูแลมาหลายปีดีดัก ราคาค่าเข้าพักคืนละ500-800 บาทพร้อมแอร์คอนดิชั่น ปัจจุบันได้ทราบข่าวว่าถูกทางเอกชนของลาวยื่นขอสัมประทานกับทางรัฐบาลลาวไป แล้วอาจจะถูกปรับปรุงห้องพักให้ดีขึ้นเพราะเป็นโรงแรมใหญ่ที่สุดในแขวงไซยะ บูลีซึ่งเป็นหน้าเป็นตาของแขวงนี้ จากที่ทำการแขวงไซยะบูลี เราสองคนขับรถไปตามถนนที่เป็นแนวเส้นตรงภายในเมืองจนไปสุดที่บริเวณอนุสรณ์ สถานนักรบนิรนามตั้งอยู่บนเนินเขาสูงประมาณ 150 เมตร


จากอนุสรณ์ สถานสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองไซยะบูลีได้ในระยะไกลๆ สำหรับในแขวงไซยะบูลีแห่งนี้ทุกวันที่ 2 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเอกราชของลาว ทางรัฐบาลจะจัดให้มีการวางพวงมาลากันที่อนุสรณ์สถานแห่งนี้เพื่อระลึกถึงคุณ งามความดีของเหล่าบรรดาทหารหาญแห่งชาติลาวที่ได้ยอมสละเลือดเนื้อและชีวิต รักษาแผ่นดินลาวไว้ให้ลูกหลานได้มีเอกราชมาจนตราบเท่าทุกวันนี้


จากอนุสรณ์ สถานนักรบนิรนามเราสองคนเดินทางต่อไปยังวัดศรีบุญเรืองในเมืองไชยะบูลี ระหว่างเส้นทางไปยังวัดศรีบุญเรืองเราสองคนขับผ่านสนามบินเมืองไซยะบูลีซึ่ง ในปัจจุบันนานๆ ครั้งถึงจะมีเครื่องบินบินมาลงสักครั้งหนึ่ง สนามบินจึงดูเหงาๆ รกร้างว่างเปล่ามีฝูงวัวเดินเล็มหญ้าอยู่ในรันเวย์สนามบินแสดงว่าปราศจาก เครื่องบินขึ้นลงมานานมากแล้ว


ส่วน หอบังคับการบินก็แลดูชำรุดทรุดโทรมคล้ายกับขาดการดูแลรักษามานานนับปี เราสองคนขับรถมาเรื่อยๆ จนมาหยุดอยู่ที่หน้าโรงเรียนเทศบาลท่านาตอในเมืองไชยะบูลี แลเห็นนักเรียนน้อยชาวลาวกำลังวิ่งเล่นอยู่ในสนามฟุตบอลของโรงเรียน


เรา สองคนยกกล้องขึ้นถ่ายรูป ซึ่งพอเด็กๆ เห็นเราสองคนถ่ายรูปทุกๆ คนก็วิ่งแห่กันเข้ามาหาเราทั้งสองคนเพื่อขอถ่ายรูปต่างคนต่างก็เบียดเสียด กันเข้ามาขอถ่ายรูปจนคุณครูต้องเดินเข้ามาตักเตือนเด็กๆให้มีความเป็น ระเบียบ เราสองคนได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณครูได้ความว่า เด็กๆเหล่านี้มาจากครอบครัวที่ยากจนไม่มีใครมาถ่ายรูปให้เลยดังนั้นเมื่อ เห็นเราสองคนมาถ่ายรูปจึงดีใจกันยกใหญ่ เข้ามาห้อมล้อมเราสองคนเพื่อขอถ่ายรูป


คุณ ครูได้เล่าให้เราฟังต่อไปว่า เคยมีชมรมออฟโร้ดชาวไทยเดินทางนำเสื้อผ้าสิ่งของและขนมมาแจกเด็กในโรงเรียน บ้านนาตอแห่งนี้พร้อมกับตั้งเต็นท์พักแรมกันกลางสนามหญ้าของโรงเรียน ทางผู้ใหญ่ของโรงเรียนก็ให้การต้อนรับชาวออฟโร้ดเหล่านั้นด้วยความเต็มใจ หลังจากถ่ายรูปเด็กนักเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราสองคนจึงกล่าวคำอำลากับคุณครูบ้านแสนตอเพื่อออกเดินทางต่อ และจากโรงเรียนบ้านนาตอเราสองคนขับรถมาอีกไม่กี่กิโลเมตรก็เดินทางมาถึงวัด ศรีบุญเรืองซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ประจำเมืองไซยะบูลี ชาวลาวเรียกวัดนี้เป็นภาษาพื้นบ้านว่า “วัดบ้านใหญ่”


ใน อดีตที่ผ่านมาวัดบ้านใหญ่แห่งนี้มีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมากต่อมาในปี พ.ศ. 2541ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ ภายในพระอุโบสถของวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีอายุ หลายร้อยปีเป็นที่สักการะบูชาของชาวลาวในแขวงไซยะบุรีเป็นอันมาก และนอกจากนี้ตามผนังภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวของพุทธ ประวัติและนรกสวรรค์


ส่วน ตรงกันข้ามกับพระอุโบสถมีหอพระไตรปิฎกที่สร้างขึ้นด้วยไม้มีอายุหลายร้อย ปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีของไทยเคยทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ที่วัดแห่งนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2538 และทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทำการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถของวัด ศรีบุญเรืองใหม่จนสวยงามมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

เรา สองคนเดินเที่ยวชมภายในบริเวณศรีบุญเรืองจนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงขับรถ เดินทางกลับมายังตัวเมืองไซยะบูลี เพื่อหาอาหารกลางวันรับประทานกันก่อนออกเดินทางกันต่อ



หลัง จากจัดการอาหารกลางวันเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นเราสองคนจึงออกเดิน ทางออกจากเมืองไซยะบูลี ขับรถไปบนเส้นทางถนนหมายเลข 4 ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างสภาพถนนมีลักษณะเป็นถนนลูกรัง

ตลอด สองข้างทางเต็มไปด้วยเทือกสวนไร่นาของชาวลาวสลับกับเทือกเขาน้อยใหญ่เป็นฉาก หลัง ในที่สุดเราสองคนก็เดินทางมาถึงท่าเดื่อซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไซยะบูลี ระยะทาง 30 กิโลเมตร


สำหรับ ท่าเดื่อเป็นท่าเรือขนาดเล็กข้ามแม่น้ำโขงจากแขวงไซยะบูลีสู่แขวงหลวงพระบาง บริเวณท่าเรือท่าเดื่อกำลังคับคั่งไปด้วยยวดยานพาหนะนานาชนิดกำลังรอเข้าคิว นำยานพาหนะลงแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ำโขงสู่แขวงหลวงพระบาง เราสองคนนำรถยนต์จอดเข้าคิวลงแพขนานยนต์ที่บริเวณท่าเรือท่าเดื่อซึ่งต้อง เสียค่าจอดเข้าคิวคนละ 3,000 กีบ(10บาท) ส่วนค่านำรถสี่ล้อลงแพขนานยนต์อีกคันละ 30,000 กีบ(120 บาท) ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่แพงเอาการอยู่เหมือนกันน่ะครับ


ระหว่าง รอนำรถลงแพขนานยนต์เราสองคนเดินเท้าสำรวจบริเวณท่าเรือท่าเดื่อซึ่งมีร้าน ค้าของชาวลาวนำข้าวเหนียวไก่ย่างรวมทั้งหมากแตงหรือที่บ้านเราเรียกว่าแตง ไทยมาวางขายกันเป็นจำนวนมาก เราสองคนนั่งกินข้าวเหนียวไก่ย่างเป็นอาหารกลางวันรองท้องในระหว่างรอนำรถลง แพขนานยนต์ข้ามฝั่งสู่แขวงเมืองหลวงพระบาง นั่งรออยู่สักครู่ใหญ่ในที่สุดแพขนานยนต์ก็เข้าจอดเทียบท่าที่ท่าเรือท่า เดื่อจากนั้นจึงนำรถลงแพขนานยนต์



เมื่อ ยานพาหนะทุกคันลงแพขนานยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเจ้าแพขนานยนต์ก็แล่นข้าม แม่น้ำโขงจากท่าเรือท่าเดื่อในแขวงไซยะบูลีสู่ท่าเรือปากคอนในแขวงหลวงพระ บาง เราสองคนออกมายืนชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำโขงบนแพขนานยนต์ในระหว่างแพขนานยนต์ แล่นข้ามฟาก


ปริมาณ น้ำในแม่น้ำโขงช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้สีของแม่น้ำโขงคล้ายกับสีของชานมเย็น กระแสน้ำโขงไหลเชี่ยวกรากไปตามเกาะแก่งอันคดเคี้ยววกวนตลอดจนเทือกเขาใหญ่ น้อยผ่านแขวงไซยะบูลีและจะไปกั้นพรมแดนไทยและลาวอีกครั้งที่อำเภอเชียงคาน ในจังหวัดเลย
แพขนานยนต์ใช้เวลาแล่นข้ามแม่น้ำโขงประมาณ15นาที ก็เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือปากคอนในแขวงหลวงพระบาง


เรา สองคนจัดการนำรถยนต์ขึ้นมาจากแพขนานยนต์ จากนั้นจึงออกเดินทางตามเส้นทางลูกรังบนถนนหมายเลข 4 ต่อไประหว่างทางเราสองคนเห็นป้ายบอกทางเข้าน้ำตกตาดกะจำ ทางซ้ายมือ จึงลองแวะเข้าไปเที่ยวชมซึ่งจากปากทางเข้าน้ำตกอยู่บนถนนหมายเลข 4 ระหว่างเมืองไซยะบูลี-สามแยกเชียงเงิน ก่อนถึงสามแยกเข้าเมืองเชียงเงินระยะทางประมาณ 15กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปตามเส้นทางลูกรังซึ่งเต็มไปด้วยต้นไม้อันร่มรื่น ระยะทางประมาณ 500 เมตร ก็จะถึงลานจอดรถขนาดใหญ่


เรา สองคนจอดรถยนต์ไว้ที่ลานจอดรถซึ่งบริเวณลานจอดรถจะมีร้านอาหารห้องน้ำห้อง สุขาและเรือนพักทั้งหมด 4 หลังไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย นักท่องเที่ยวท่านใดที่ขับรถมาบนเส้นทางสายนี้แล้วไม่มีที่พักสามารถแวะเข้า มาใช้บริการบ้านพักที่น้ำตกตาดกะจำก็ได้น่ะครับ บรรยากาศบริเวณบ้านพักร่มรื่นเงียบสงบน่าพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง เราสองคนชำระเงินค่าเข้าไปเที่ยวชมน้ำตกตาดกะจำคนละ10,000 กีบ(40บาท) แพงเอาการอยู่เหมือนกันน่ะครับ


จากบริเวณ ลานจอดรถเราสองคนเดินเท้าลงไปอีกประมาณ 50 เมตร ก็จะถึงน้ำตกตาดกะจำซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็กความสูงประมาณ 30 เมตร มีลักษณะคล้ายกับน้ำตกตาดกวางสีในเมืองหลวงพระบาง แต่น้ำตกตาดกะจำมีขนาดเล็กกว่าน้ำตกตาดกวางสี กระแสน้ำจากน้ำตกตาดกะจำใสไหลเย็นฉ่ำจะถาโถมลงมาสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างอันร่ม รื่นไปด้วยพืชพันธุ์ไม้น้อยใหญ่นานาชนิด


เราสองคนนั่งพักผ่อนหย่อนใจจนหายเหนื่อยจากนั้นจึงออกเดินทางต่อไปยังสามแยกเชียงเงิน
จาก น้ำตกตาดกะจำ เราสองคนใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ก็เดินทางมาถึงยังสามแยกเชียงเงินซึ่งจากสามแยกเชียงเงินถ้าเลี้ยวซ้ายไปตาม ถนนสายหลักหมายเลข13 ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ก็จะถึงเมืองหลวงพระบางมรดกโลกของลาว แต่ถ้าเลี้ยวขวา ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร ก็จะถึงแยกพูคูณ


แต่ จุดหมายปลายทางของเราสองคนในการเดินทางครั้งนี้ไม่ใช่เมืองหลวงพระบางแต่ เป็นเมืองเชียงขวางตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ สปป.ลาว และเมื่อเราสองคนตัดสินใจไปท่องเที่ยวยังแขวงเชียงขวางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงทำการเลี้ยวขวาไปตามถนนสายหลักหมายเลข13 มุ่งหน้าสู่สามแยกพูคูณต่อไป



เรา สองคนขับรถไปตามสันเขาอันคดเคี้ยววกวนระยะทาง 104 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงและในที่สุดเราสองคนก็เดินทางมาถึงสามแยกพูคูนในยามจวนเจียนจะใกล้ ค่ำ ซึ่งบริเวณสามแยกพูคูนแห่งนี้นับว่าเป็นครึ่งทางของการเดินทางจากนครหลวง เวียงจันมายังเมืองหลวงพระบาง

และ เนื่องจากเป็นเวลาจวนเจียนจะใกล้ค่ำแล้ว การเดินทางต่อไปยังแขวงเชียงขวางระยะทางประมาณ 135 กิโลเมตรซึ่งจะต้องขับรถไปตามสันเขาอันคดเคี้ยววกวนอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ ถ้าไม่ชำนาญเส้นทางพอ เราสองคนจึงตัดสินใจกันว่าเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางคืนนี้เราควรจะหยุด พักค้างแรมกันที่สามแยกพูคูณกันสักคืนหนึ่งก่อน พรุ่งนี้เช้าค่อยออกเดินทางกันต่อ
เรือนพักอ้นขุนมีไชย ที่บริเวณสามแยกพูคูนคือที่ซุกหัวนอนของเราในคืนนี้ ราคาค่าห้องพัก 250 บาทต่อคืน พักได้ห้องละสองคนไม่มีแอร์ฯ แต่มีน้ำอุ่นสาเหตุเพราะพูคูณเป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่บนสันเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเลพันกว่าเมตรอากาศจึงหนาวเย็นตลอดทั้งปี แม้จะอยู่ในช่วงของเดือนเมษายนเดือนที่มีอากาศร้อนจัดแต่อากาศที่บนพูคูณก็ ยังเย็นสบายกว่าบนพื้นราบ ส่วนในตอนค่ำอากาศเย็นสบายถ้าเป็นในฤดูหนาวอากาศถึงขั้นหนาวจัดเลยทีเดียว ดังนั้นโรงแรมที่เมืองพูคูณจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งแอร์ฯ แต่อย่างใด เรือนพักทุกแห่งบนพูคูณจึงไม่นิยมติดแอร์ฯ กันแต่นิยมติดเครื่องทำน้ำอุ่นแทนหลังจากหาที่จอดรถได้แล้วเราสองคนจัดการ เก็บสัมภาระเข้าห้องพักอาบน้ำอุ่นชำระล้างร่างกายหลังจากเดินทางเหน็ด เหนื่อยมาตลอดทั้งวันจากนั้นจึงลงมาหาอาหารค่ำรับประทานกันที่ห้องอาหารของ เรือนพักอ้นขุนมีไชยที่ตั้งอยู่ชั้นล่าง


สำหรับ เมนูอาหารค่ำของเราสองคนแม้จะเป็นอาหารลาวแต่ก็แซ่บหลาย หลังจากจัดการกับอาหารค่ำเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงเข้าสู่ห้องพัก เพื่อพักผ่อนเก็บเรี่ยวแรงเอาไว้เดินทางต่อในวันรุ่งขึ้น ราตรีสวัสดิ์ครับ....
เช้าวันที่สี่ของการเดินทาง
เช้า ตรู่ของวันอันสดใสบนพูคูณ หลังจากปฎิบัติภาระกิจส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราสองคนออกมาเดินเล่น สูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าสัมผัสอากาศอันหนาวเย็นพร้อมเดินเล่นเที่ยวชม บรรยากาศยามเช้าบริเวณสามแยกพูคูณซึ่งกำลังพลุกพล่านไปด้วยบรรดาพ่อค้าแม่ ขายที่ส่วนใหญ่เป็นชาวลาวสูงนำพืชผักผลไม้ออกมาวางขายกันริมข้างทางท่ามกลาง อากาศที่หนาวเย็นและสายหมอกที่เคลื่อนตัวผ่านไปมาอย่างอ้อยอิ่ง



เรา สองคนเดินเที่ยวชมบรรยากาศของตลาดเช้าบนพูคูณจนสมควรแก่เวลา หลังจากจัดการกับอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางต่อมุ่ง หน้าสู่แขวงเชียงขวางในทันที


เรา สองคนขับรถยนต์ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข7เป็นเส้นทางถนนราดยางลัดเลาะไปตาม สันเขาอันคดเคี้ยววกวน โค้งหักศอกวัดใจหลายแห่งมีให้เราสองคนต้องลุ้นกับรถยนต์ที่คอยสวนมาใจหายใจ คว่ำตลอดเส้นทาง โค้งอันตรายมีมากพอๆ กับธรรมชาติอันสวยงามตลอดสองข้างทางที่เราสองคนขับรถยนต์ผ่านทุ่งดอกบัวตอง หรือที่ชาวลาวเรียกว่าดอกบัวขมออกดอกสีเหลืองสดบานสะพรั่งอยู่สองข้างทางใน ช่วงฤดูหนาวของเดือนพฤศจิกายน

เรา สองคนเพลิดเพลินกับธรรมชาติอันสวยงามขุนเขาอันสลับซับซ้อนแต่เราสองคนไม่ลืม ที่จะขับรถด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะบริเวณทางโค้งหักศอกต่างๆ จะต้องบีบแตรให้สัญญาณรถที่จะสวนมาเป็นประจำทุกโค้ง แต่บางครั้งก็ไม่วายที่จะต้องหักพวงมาลัยหลบรถที่คอยสวนมาจนเป็นเรื่องที่ น่าหวาดเสียวเป็นอย่างยิ่ง


สำหรับ รถที่สวนมาส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกและรถโดยสารที่วิ่งให้บริการระหว่างแขวง ส่วนสองข้างทางที่เราสองคนขับรถยนต์ผ่านมานั้นนอกจากจะมีธรรมชาติขุนเขาอัน งดงามคล้ายกับขุนเขาพระศิวะในนิยายเรื่องเพชรพระอุมาของพนมเทียนแล้ว สองข้างทางของถนนสายนี้ยังมีบ้านเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่า ต่างๆ ที่เรียกว่าลาวสูงอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในทางเกษตรกรรม บางบ้านของชาวเขาจะนำเอาพืชผลทางการเกษตรกรรม เช่น ฟักแม้ว ฟักทอง ออกมาวางขายตลอดเส้นทางที่เราสองคนเดินทางผ่านมา ด้วยระยะทาง135 กิโลเมตร เราใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงก็เดินทางมาถึงตัวเมืองโพนสะหวัน เมืองเอกในแขวงเชียงขวางด้วยความปลอดภัย

สำหรับ เมืองโพนสะหวันเมืองเอกของแขวงเชียงขวางเดิมมีชื่อว่าเมืองแปก ซึ่งแปลว่า ต้นสน สาเหตุเพราะว่าแขวงเชียงขวางตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 กว่าเมตรโดยมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพอากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีเหมาะกับการขยายพันธุ์และเจริญเติบโตของต้นสน สามใบซึ่งชอบอากาศหนาวเย็นจะขึ้นเรียงรายอยู่ตามธรรมชาติบนเนินเขาตลอดสอง ข้างทางของถนนหมายเลข 7 เส้นทางยุทธศาตร์ในอดีตสู่ชายแดนประเทศเวียดนามทางตอนเหนือห่างจากเมืองโพน สะหวันระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร

ความ สวยงามและความเป็นธรรมชาติตลอดจนอากาศที่มีความหนาวเย็นตลอดปีทำให้นักท่อง เที่ยวชาวไทยบางคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังแขวงเชียงขวางขนานนามดินแดนแห่ง นี้ว่า “สวิสเซอร์ลาว” เราสองคนหาอาหารกลางวันรับประทานกันก่อนที่จะออกท่องเที่ยวต่อไปในแขวงเชียง ขวาง


เรา สองคนรับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านเวียงเชียงขวางของสองสาวพี่น้องชาวลาว ราคาเฝอชามละ 12,000 กีบ(45 บาท) แพงกว่าเมืองไทยครับ เฝอหรือที่เมืองไทยเรียกว่าก๋วยเตี๋ยวบ้านเราสั่งพิเศษราคาเพียงชามละ 30-35 บาทเท่านั้น


แต่ เฝอที่เมืองลาวชามจะมีขนาดใหญ่กว่าชามก๋วยเตี๋ยวบ้านเรามาก กินชามเดียวก็อิ่มแล้วล่ะครับโดยไม่ต้องสั่งเพิ่มชามสอง และที่เมืองลาวไม่มีสั่งเฝอชามพิเศษ ทุกๆ ร้านมีแต่ชามธรรมดาเหมือนกันหมดทั่วประเทศ หลังจากจัดการกับอาหารกลางวันกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนมานั่ง ดูแผนที่กันว่าจะเริ่มต้นท่องเที่ยวที่ใดก่อนในแขวงเชียงขวาง เราสองคนตกลงกันว่าเมื่อเดินทางมาถึงแขวงเชียงขวางทั้งที่แล้วควรที่จะเดิน ทางไปเที่ยวชมด่านพรมแดนลาว-เวียดนามที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแขวงเชียง ขวางระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร เราสองคนสอบถามเส้นทางถนนที่จะเดินทางไปยังด่านพรมแดนลาว-เวียดนามจากสองสาว ลาวเจ้าของร้านเฝอซึ่งได้รับคำตอบว่าเส้นทางสะดวกสบายและราดยางอย่างดีไม่ ต้องขึ้นลงเขาให้เวียนหัวเหมือนเส้นทางที่เราเดินทางผ่านมาบนเส้นทางสาย พูคูณ-เชียงขวาง

เมื่อ ทุกอย่างเรียบร้อยเราสองคนก็เริ่มออกเดินทางจากตัวเมืองเชียงขวางไปตามถนน ราดยางอย่างดีบนทางหลวงหมายเลข 7 มุ่งหน้าสู่พรมแดนเวียดนามระยะทาง130 กิโลเมตร สำหรับถนนหมายเลข7 สายนี้ในช่วงสงครามอินโดจีนเคยใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงลำเลียงอาวุธยุทธ โธปกรณ์จากเวียดนามเหนือไปช่วยทหารฝ่ายขบวนการประเทศลาวโดยการนำของท่านไก สอน พรมวิหาน ทำสงครามปลดปล่อยประเทศลาวกับลาวฝ่ายขวาเมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมาแล้วจนมีชื่อเรียกเส้นทางเส้นนี้ว่า “เส้นทางโฮจิมินห์”



เรา สองคนขับรถออกจากเมืองโพนสะหวันมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกผ่านบ้านหนองเป็ด สองข้างทางซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบเต็มไปด้วยเรือกสวนไร่นาอันเขียวขจีของชาว ลาว ส่วนด้านหลังเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนสลับกับเรือนพักของชาวลาวสูงปลูกอยู่ เป็นระยะๆ ตลอดสองข้างทางที่เราขับรถผ่านท้องฟ้ามืดครึ้มด้วยเฆมฝนอากาศสดชื่นเย็นสบาย ดีแท้

ระหว่าง ทางเราแวะพักรถกันที่หมู่บ้านชาวลาวสูงซึ่งถ้ามองจากถนนใหญ่ไปที่รั้วบ้านจะ แลเห็นซากของปลอกระเบิดชนิดต่างๆ จากเครื่องบินทิ้งระเบิดB-52 ของอเมริกา ถูกชาวลาวสูงนำมาดัดแปลงทำเป็นรั้วบ้านดูน่าเกรงขามดี


ส่วนภายใน บริเวณบ้านเต็มไปด้วยลูกระเบิดขนาดใหญ่ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งเหล็กหนักหลาย สิบตันระเบิดทุกลูกหมดสภาพการทำลายล้างแล้วถูกนำมาวางเรียงไว้ภายในรั้ว บ้าน ปลอกระเบิดบางอันถูกชาวลาวสูงนำมาดัดแปลงเป็นรางข้าวหมูดูเก๋ไก๋ไอเดีย บรรเจิดดีแท้

เรา สองคนพักผ่อนจนหายเหนื่อย จากนั้นจึงออกเดินทางต่อไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 7 ผ่านบ้านเมืองคำและบ้านหนองเฮ็ดและจากนี้เป็นต้นไปเราจะต้องขับรถขึ้นไปตาม ไหล่เขาจนไปสิ้นสุดที่สันเขาอันเป็นที่ตั้งของด่านตรวจคนเข้าเมืองถาวรของ ลาวซึ่งมีชื่อว่า “ด่านหนองเฮ็ด” ส่วนอีกสันเขาหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามคือ “ด่านนัมกัน” ของเวียดนาม


ซึ่ง ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างจึงยังไม่แล้วเสร็จ เราจึงถ่ายรูปมาฝากท่านผู้อ่านในขณะที่ยังมีสิ่งปลูกสร้างรกรุงรังอยู่ เราสองคนได้มีโอกาสพูดคุยกันกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองนายหนึ่งของลาว ได้ความว่า จากด่านนัมกันของเวียดนามเดินทางเข้าไปตามเส้นทางถนนหมายเลข 7 ประมาณ 28 กิโลเมตรก็จะถึงหมู่บ้านกีเซินในจังหวัดเถียนฮวา (Thanh hoa ) ของเวียดนาม

เส้นทางถนนหมายเลข7 นี้ไปเชื่อมกับถนนสายหลักหมายเลข1Aของเวียดนามผ่านขึ้นไปยังตัวเมืองเถียนฮ วา (Thanh hoa ) เข้าสู่จังหวัดนิงห์บิงห์ (Ninh Binh) และเข้าสู่เมืองฮานอย (Hanoi)และเดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือได้โดยสะดวกสบาย ในขณะที่เราสองคนพูดคุยอยู่กับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของลาวอยู่ นั้นเราสังเกตุเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติจากยุโรปสองคนขี่รถจักรยานผ่านด่าน ตรวจคนเข้าเมืองของเวียดนามข้ามเข้ามายังฝั่งลาวช่างทรหดอดทนดีและไม่กลัว อันตรายดีแท้ๆ เราสองคนเดินเที่ยวชมจนสมควรแก่เวลาละอองฝนเริ่มโปรยปรายลงมาเป็นระลอกๆ อากาศหนาวเย็นออกเดินทางกลับเข้าเมืองโพนสะหวันกันดีกว่า


เราสองคนขับรถเดินทางกลับมายังเมืองโพนสะหวันบริเวณวงเวียนสามแยกใจกลางเมืองโพนสะหวัน
มี ทางแยกไปยังทุ่งไหหินบ่อนที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองโพนสะหวันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามถนนราดยางระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร


จาก นั้นจะมีป้ายบอกเส้นทางเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางราดยางซึ่งทำขึ้นใหม่ระยะทาง ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบ่อนเก็บเงินเข้าชมทุ่งไหหินบ่อนที่1

เรา สองคนหาที่จอดรถเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงชำระค่าธรรมเนียมเข้าชมคนละ10,000 กีบ(40บาท) จากนั้นจึงเดินเท้าตามบันไดดินขึ้นไปตามเนินเขาระยะทางประมาณ150เมตร ก็จะถึงไหหินใบใหญ่ที่สุดตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินเขา


ราย ล้อมด้วยไหหินใบเล็กๆ อยู่หลายสิบใบ บนเนินเขาแห่งนี้ใกล้กับไหหินที่ตั้งอยู่บนเนินเขาเราสองคนแลเห็นหลุมระเบิด ขนาดใหญ่ขนาดความกว้างของปากหลุม 15 เมตร ลึกประมาณ 20 เมตร ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบินB-52 ของอเมริกาโจมตีแขวงเชียงขวางอย่างหนักในช่วงสงครามอินโดจีนเพื่อตัดการส่ง กำลังบำรุงอาวุธยุทธโธปกรณ์จากเวียดนามเหนือส่งมาช่วยเหลือขบวนการประเทศลาว ต่อสู้กับลาวฝ่ายขวาซึ่งนำโดยนายพลวังเปาผู้นำชาวเขาเผ่าม้งที่อเมริกาให้ การหนุนหลังอยู่


เรา สองคนเห็นหลุมระเบิดหลุมนี้แล้วให้ชวนสยองเพราะจากแรงระเบิดเกิดเป็นหลุม ระเบิดขนาดใหญ่สามารถทำเป็นบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ได้อย่างสบายๆโดยไม่ต้อง เสียเวลาขุดหลุมให้เมื่อยตุ้มและไม่ใช่หลุมระเบิดหลุมนี้เพียงหลุมเดียวน่ะ ครับแต่มีหลุมระเบิดน้อยใหญ่นับเป็นพันๆ หลุมกระจายไปทั่วเมืองเชียงขวาง สาเหตุเพราะเมืองเชียงขวางในช่วงสงครามเวียดนามเป็นจุดยุทธศาตร์ที่สำคัญของ ลาวทั้งสองฝ่ายถ้าฝ่ายไหนยึดแขวงเชียงขวางได้แล้วล่ะก็เท่ากับมีชัยชนะไป กว่าครึ่ง


ซึ่ง นอกจากหลุมระเบิดที่มีมากนับจำนวนเป็นพันๆ หลุมในเมืองเชียงขวางแล้วยังมีซากของลูกระเบิดอีกเป็นจำนวนมากทั้งที่กู้ แล้วและที่ยังไม่ได้กู้ตกกระจายเกลื่อนกลาดรอวันกู้ทำลายอยู่อีกเป็นจำนวน มาก ระเบิดเหล่านี้เป็นของขวัญที่ระลึกจากอเมริกาทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้าเวลาคิด ถึง แม้สงครามเวียดนามจะล่วงเลยมานานมากกว่า 30 ปีแล้วแต่ทางรัฐบาลลาวก็ยังกู้ระเบิดไม่หมดสักที


วัน ดีคืนดีก็จะได้ยินเสียงระเบิดจากการกู้ทำลายดังมาแต่ไกลเป็นระยะๆ นอกจากหลุมระเบิดที่กระจัดกระจายไปทั่วทุ่งไหหินแล้วยังมีร่องรอยของการขุด สนามเพลาะเชื่อมเป็นใย แมงมุมกระจายไปทั่วบริเวณทุ่งไหหินแห่งนี้ จากเนินเขาอันเป็นที่ตั้งของทุ่งไหหินกลุ่มที่1 แล้วถ้ามองลงไปยังเบื้องล่างก็จะเห็นไหหินน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่ในทุ่ง หญ้าประมาณ 300 ใบ และบ่อนไหหินกลุ่มที่1นี้มีไหหินใบใหญ่ที่สุดและมีปริมาณมากกว่าทุ่งไหหิน บ่อนอื่นๆ อีกมาก ไหหินใบใหญ่ที่สุดหนักถึง 6 ตัน ขนาดเล็กที่สุดหนักประมาณ 40-50 กิโลกรัม

นอก จากไหหินที่กระจัดกระจายไปทั่วทุ่งหญ้าแล้วบริเวณใกล้กับทุ่งไหหินบ่อน ที่1นี้เราสองคนยังได้พบถ้ำแห่งหนึ่งสังเกตุว่ามีลำแสงส่องลอดลงมาจากเพดาน ถ้ำด้านบนลงสู่ด้านล่างความสูงของถ้ำประมาณ 80 เมตรภายในถ้ำมีลักษณะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่จุคนได้ประมาณ 80-100 คน อย่างสบายๆ เราสองคนสอบถามเจ้าหน้าที่ชาวลาวที่เฝ้าบ่อนไหหินอยู่ได้ความว่าถ้ำแห่งนี้ ในช่วงสงครามเวียดนามชาวลาวในเมืองโพนสะหวันใช้เป็นบ่อนหลบระเบิดจากเครื่อง บินทิ้งระเบิดB-52 ของอเมริกา นอกจากใช้ถ้ำเป็นหลุมหลบภัยแล้วในช่วงสงครามอินโดจีนทหารลาวและเวีดนามยัง ใช้ถ้ำแห่งนี้เป็นที่เก็บอาวุธยุทธโปกรณ์ต่างๆน้ำมันเชื้อเพลิงรวมถึงเสบียง อาหารอีกด้วย และจากเนินเขาอันเป็นที่ตั้งของทุ่งไหหินบ่อนที่1แล้วยังเป็นจุดชมวิว ทิวทัศน์อันสวยงามอีกด้วย



จาก จุดชมวิวจุดนี้เราสามารถมองเห็นสนามบินแขวงเชียงขวางซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก ทุ่งไหหินบ่อนที่1เท่าใดนัก นอกจากนั้นยังสามารถเห็นเทือกเขาภูเก่งซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในแขวง เชียงขวางทอดตัวเป็นแนวยาวคล้ายตู้รถไฟ ภูเก่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองเชียงขวางระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นภูเขาหินทรายซึ่งในสมัยโบราณบริเวณภูเก่งแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นแหล่ง หินตัดสกัดหินทรายออกมาเป็นรูปทรงไหหินเรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงใช้ช้างหรือ แรงคนชักลากมาตั้งอยู่ตามทุ่งไหหินบ่อนต่างๆ ดังที่ท่านเห็นอยู่ในรูปขณะนี้


ปัจจุบัน ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการสกัดไหหินยังไม่เสร็จและบางไหหิน ที่แกะเสร็จเรียบร้อยแล้วรอการชักลากมาติดตั้งกระจายอยู่ตามเชิงเขาภูเก่ง เป็นจำนวนมากอีกด้วย นอกจากทุ่งไหหินบ่อนที่1แล้วยังมีทุ่งไหหินบ่อนที่2 และ 3 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงขวางออกไประยะทางประมาณ 20-30 กิโลเมตรตามลำดับ



สำหรับ ประวัติความเป็นมาของทุ่งไหหินมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในอดีตที่ผ่านมานักโบราณคดีเคยค้นพบกระดูกมนุษย์ยุคโบราณในไหหินบางลูกซึ่ง เป็นเครื่องยืนยันว่าไหหินเหล่านี้อาจจะใช้ในพิธีศพ เพราะไหหินบางลูกจะพบว่ามีแผ่นหินกลมๆ คล้ายกับฝาปิด


ซึ่ง คาดกันว่าอาจจะใช้ปิดไหหินในขณะที่พิธีศพเสร็จสิ้น และบริเวณโดยรอบของทุ่งไหหินนักโบราณคดียังได้พบลูกปัดจากจีน เครื่องประดับจากชนเผ่าไทและรูปหล่อสำริดจากเวียดนาม ซึ่งพอที่จะสันนิษฐานได้ว่าชนเผ่าที่สร้างไหหินขึ้นมานี้จะต้องอยู่ในยุค โลหะและจะต้องมีความเจริญและอารยะธรรมสูง


นัก โบราณคดีรุ่นต่อๆ มาได้ให้ความเห็นว่าไหหินเหล่านี้อาจจะเป็นฝีมือของพวกจามที่ในอดีตเคยมี ถิ่นฐานอยู่บริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางปัจจุบันอาณาจักรจามได้ล่มสลายลงไป แล้วหรืออาจเป็นฝีมือของชนเผ่าลาวเทิ่งที่อาศัยอยู่ยังแขวงอัตตะปือทางตอน ใต้ของลาว


นอก จากคำสันนิษฐานของพวกนักโบราณคดีแล้วยังมีเรื่องเล่าของชาวลาวมาตั้งแต่ ครั้งโบราณว่าบรรดาไหหินที่กระจัดกระจายอยู่ตามทุ่งหญ้านี้อาจเป็นไหต้ม เหล้าของขุนเจืองเพื่อฉลองชัยชนะในสงครามการสู้รบกับพวกญวนที่มารุกราน สำหรับประวัติของขุนเจืองหรือท้าวรุ่งเคยเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. 1600 ก่อนตั้งกรุงสุโขทัยประมาณ 200 ปี โดยมีพระราชอำนาจอยู่แถวเชียงแสน พะเยา แพร่ และน่าน


พระองค์ ทรงเป็นวีรบุรุษของลาวเทิ่ง ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าพระองค์ทรงยกทัพมาต่อสู้กับกองทัพญวนผู้รุกรานจน ได้รับชัยชนะจากนั้นจึงทำการฉลองชัยชนะด้วยการด้วยการต้มเหล้ากินในทุ่งไห หินแห่งนี้โดยการใช้ไหหินเหล่านี้ในการต้มเหล้า อันนี้เป็นเรื่องเล่าขานกันมานมนานแล้วครับ ส่วนจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ในความรู้สึกของเราทั้งสองคนแล้วคงไม่ทนลำบากลำบนที่จะนั่งสกัดหินเพื่อ นำมาเป็นไหต้มเหล้าซึ่งกว่าที่จะสกัดหินให้เป็นไหได้แต่ละใบแล้วคนสกัดหิน อาจจะนั่งสกัดหินจนลงแดงอยากเหล้าตายไปเสียก่อนจะได้กินเหล้าก็ได้น่ะครับ แต่ถ้าไม่เชื่อก็อย่าไปลบหลู่ก็แล้วกันน่ะครับ



เรา สองคนเดินถ่ายรูปและสำรวจดูไหหินจนดวงอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าลมหนาวในเดือน พฤศจิกายนพัดผ่านมากระทบผิวกายของเราจนหนาวสะท้านไปทั่วร่าง ดวงอาทิตย์เริ่มลาลับขอบฟ้าดวงจันทร์เริ่มโผล่ขึ้นมาแทนที่


เรา สองคนรีบสาวเท้าเดินกลับมายังรถยนต์ที่จอดไว้บริเวณลานจอดรถอย่างรวดเร็ว เพราะเกรงว่าขุนเจืองอาจจะมาสะกิดเราสองคนชวนตั้งวงร่ำสุรากันในคืน นี้...บรื้อเผ่นเข้าเมืองกันดีกว่าครับ
เราสองคนขับรถเข้ามาในเมืองโพนสะ หวันโรงแรมและร้านรวงต่างๆ เริ่มเปิดไฟสว่างไสวไปทั่วแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมาเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่เราสองคนเดินทางมายังเมืองโพนสะหวันใหม่ๆ ราวต้นปี พ.ศ.2545 เมืองโพนสะหวันยังไม่เป็นที่รู้จักจากนักท่องเที่ยวเท่าใดนัก เป็นเมืองที่ถูกทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางหุบเขาและความหนาวเย็น ไฟฟ้าจะเปิดเป็นเวลาตั้งแต่ 15.00-20.00 น. พอสองทุ่มเป็นต้นไปไฟฟ้าก็จะปิดบรรยากาศก็จะมืดสนิททั้งเมือง โรงแรมที่พักในเมืองโพนสะหวันจะต้องจุดตะเกียงและเทียนให้บริการแขกที่พัก กันทั้งเมือง อากาศหนาวเย็นจนสั่นสะท้านไปทั่วเราต้องอาบน้ำอุ่นกันก่อนไฟฟ้าจะดับเวลา 20.00 น. หลังจากนั้นหมดสิทธิอาบน้ำ แม้แต่ล้างหน้าตัวเองก็ยังไม่อยากจะคิดเลย ทำให้บรรยากาศของเมืองโพนสะหวันในช่วงเวลานั้นช่างสุดแสนที่จะโรแมนติกจริงๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ขวัญอ่อนหรือกลัวผี ปัจจุบันเมืองโพนสะหวันเริ่มเปลี่ยนแปลงไปมาก นักท่องเที่ยวต่างๆ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังบ่อนท่องเที่ยวธรรมชาติและบ่อนท่องเที่ยวทางประ วัติศาตร์สงครามในเมืองโพนสะหวันแขวงเชียงขวาง ไฟฟ้าเริ่มมีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นักลงทุนจากเวียดนามและจีนเริ่มเดินทางเข้ามาลงทุนสร้างโรงแรมที่พักอันทัน สมัย ตลอดจนร้านรวงต่างๆ ทำให้แต่เดิมเมืองโพนสะหวันในแขวงเชียงขวางซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองปิด ปัจจุบันกลายมาเป็นเมืองเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวและบรรดานักลงทุนต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้ามาลงทุนกันไม่ขาดสาย



เรา สองคนแวะรับประทานอาหารกันที่ร้านอาหารสง่าร้านเก่าแก่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง โพนสะหวัน ซึ่งมีเมนูอาหารอร่อยๆให้เราสองคนเลือกชิม อาทิเช่น ซี่โครงหมูอ่อนกระเทียมพริกไท ต้มยำปลาโจก ลาบปลาฯลฯ โดยเฉพาะซี่โครงหมูอ่อนกระเทียมพริกไทแกล้มเบียร์ลาวรสชาติแซ่บจริงๆ หลังจากจัดการกับอาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราสองคนเดินทางเข้าสู่ที่พัก



สำหรับ ที่พักของเราสองคนในคืนนี้คือเรือนพักพูคำตั้งอยู่ใกล้กับวงเวียนใจกลาง เมืองโพนสะหวันราคา 200-300 บาทต่อคืนพร้อมน้ำอุ่น พักได้ห้องละสองคนอากาศยามค่ำคืนเริ่มเย็นลงเรื่อยๆ เราสองคนจัดแจงขนสัมภาระเข้าสู่ห้องพักจัดการปฎิบัติภารกิจส่วนตัวเป็นที่ เรียบร้อยแล้วจากนั้นล้มตัวลงนอนด้วยความอ่อนเพลียจากการเดินทางมาทั้งวันจน หลับไปในที่สุดท่ามกลางความหนาวเย็นของอากาศในเดือนพฤศจิกายน
วันที่ห้าของการเดินทาง
06.00น. เราสองคนตื่นขึ้นมาในยามเช้าท่ามกลางความหนาวเย็นของเดือนพฤศจิกายน.หลังจาก ปฎิบัติภารกิจส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนจึงเดินเท้าออก จากเรือนพักพูคำมายังตลาดเช้าเมืองโพนสะหวันซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเรือนพักมาก นัก



ตลาด ยามเช้าในเมืองโพนสะหวันกำลังคับคั่งไปด้วยผู้คนหลายชนเผ่าต่างเดินทางมาจับ จ่ายซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคกันในยามเช้าซึ่งมีสินค้าให้เลือกซื้อ มากมายหลากหลายชนิดพร้อมทั้งพืชผักสดๆและสัตว์ป่าเป็นๆนานาชนิดอาทิเช่น กระรอก ตุ่น อ้น กระจก เนื้อเลียงผา เนื้อเก้ง สัตว์เลื้อยคลานนานาชนิด

สำหรับ เครื่องอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่จะนำเข้าจากเวียดนามเพราะมีพรมแดนใกล้ชิดติด กันเพียง 130 กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนเครื่องอุปโภคบริโภคซึ่งนำเข้าจากไทยก็มีวางขายในตลาดเช้าเมืองโพนสะ หวัน อาทิเช่น ราชาชูรส น้ำปลาตราปลาหมึก เครื่องปรุงรสยี่ห้อต่างๆ สำหรับสินค้านำเข้าจากไทยเป็นที่นิยมของชาวลาวเป็นอย่างมากเพราะมี คุณภาพและรสชาติดีกว่าของเวียดนามและจีน แต่ก็มีราคาแพงเช่นกัน


สำหรับ แม่ค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวเวียดนาม เราสองคนเดินเที่ยวชมตลาดเช้าในเมืองโพนสะหวันด้วยความเพลิดเพลินเพราะมี สินค้าของป่าแปลกๆ ที่ตลาดบ้านเราไม่มีให้เราได้เห็นมากมาย เราหาอาหารเช้ารับประทานกันที่ภัตตาคารยองๆ เหลาในตลาดเช้าเมืองโพนสะหวัน


สำหรับ เมนูอาหารเช้าของเราคือข้าวเปียกเส้นต้มกระดูกหมูและปาท่องโก๋ ตบท้ายด้วยกาแฟลาวกันคนละแก้ว จากนั้นจึงออกเดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองคูณ เมืองหลวงเก่าของแขวงเชียงขวางซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ห่างจาก เมืองโพนสะหวันระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งวิวทิวทัศน์ในยามเช้าตลอดสองข้างทางที่เราสองคนเดินทางผ่านเต็มไปด้วย ท้องไร่ท้องนารวงข้าวสีทองเหลืองอร่ามสุดลูกหูลูกโดยมีฉากหลังเป็นเทือกเขา เป็นแนวยาวสูงตระหง่านคล้ายกำแพงธรรมชาติน้ำในลำห้วยใสสะอาดไหลเย็นจนแลเห็น ตัวปลา ภาพชาวนาลาวกำลังสาละวนอยู่กับการลงแขกเกี่ยวข้าวกันด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส สร้างความเพลิดเพลินให้กับเราทั้งสองคนในการขับรถท่องเที่ยวบนเส้นทางสายนี้ เป็นอย่างยิ่ง


เรา สองคนใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงก็เดินทางมาถึงยังเมืองคูนเมืองหลวงเก่าของแขวง เชียงขวางและในช่วงของสงครามเย็นในอินโดจีนราวปี พ.ศ. 2511-2518 เมืองคูนแห่งนี้ถูกเครื่องบินB-52 ของอเมริกาโจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนัก จนเมืองทั้งเมืองถูกระเบิดพังทลายจนหมดสิ้น อาคารบ้านช่องต่างๆ สมัยยุคอาณานิคมฝรั่งเศสถูกทำลายลงหมดสิ้นกลายเป็นซากปรักหักพังจะเหลือก็ แต่เพียงอาคารกงสุลฝรั่งเศส แม้จะได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดแต่ก็ยังเหลืออยู่รอดมาได้จนถึง วันนี้ สำหรับซากปรักหักพังที่สำคัญบางแห่งทางรัฐบาลลาวยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้ เพื่อให้ชาวลาวรุ่นหลังได้เห็นถึงพิษภัยของสงครามที่เกิดขึ้นซึ่งไม่เป็น ผลดีกับใครเลย และหลังจากสงครามอินโดจีนสิ้นสุดลงทางการลาวได้ทำการย้ายเมืองหลวงจากเมือง คูนที่พังทลายเพราะสงครามย้ายมาตั้งอยู่ที่เมืองโพนสะหวันในปัจจุบันนี้


สำหรับ วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในเมืองคูณคือวัดใหญ่หรือที่ชาวลาวเรียกว่า “วัดเพียะ” คำว่า เพียะ ในภาษาลาวแปลว่า “ใหญ่” ตัววัดตั้งอยู่ตั้งอยู่ก่อนถึงเมืองคูนระยะทางประมาณ300เมตร วัดใหญ่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่16 สำหรับกำแพงและหลังคาของพระอุโบสถถูกระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิด แบบB-52 ของอเมริกาทำลายลงเกือบหมดแต่เป็นที่น่าแปลกใจเป็นยิ่งนักก็คือองค์หลวงพ่อ โตซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปลาว ปางสมาธิ ความสูงประมาณ 10 เมตร ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถไม่มีส่วนใดขององค์หลวงพ่อโตชำรุดเสียหายเลย แม้แต่น้อย เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจของผู้ทีได้มาพบเห็นเป็นยิ่งนัก


ปัจจุบันองค์หลวงพ่อโตตั้งตระหง่านประดิษฐานท้าทายแดดลมอยู่กลางแจ้งมานานหลายสิบปีจนเป็นที่เคารพบูชาของชาวลาวเป็นจำนวนมาก


ส่วน ด้านข้างขององค์หลวงพ่อโตเป็นที่ตั้งของศาลาการเปรียญของวัดซึ่งภายในเป็น ที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเก่าแก่อายุประมาณ 600 ปี นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ลาวที่จำพรรษาอยู่ภายในวัด ใหญ่แห่งนี้ เราสองคนเดินเที่ยวชมภายในวัดใหญ่จนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงออกเดินทางต่อมา ยังพระธาตุฝุ่นซึ่งอยู่ห่างจากวัดใหญ่ระยะทางประมาณ 300 เมตร องค์พระธาตุฝุ่นตั้งอยู่บนเนินเขาความสูงประมาณ 100 เมตร ซึ่งมีเรื่องกล่าวขานของชาวลาวโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่าบริเวณใจกลางของพระ ธาตุฝุ่นแห่งนี้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าที่พระภิกษุลาวอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ชาวเรียกพระธาตุองค์นี้ว่าพระธาตุฝุ่น สร้างด้วยอิฐมอญบนยอดเจดีย์มีรูปแกะสลักงาช้างภายในองค์พระธาตุฝุ่นมีทาง เดินเท้าทะลุถึงกันได้ยามเดือนพฤศจิกายนเมื่อลมหนาวโชยมาบริเวณโดยรอบของ องค์พระธาตุฝุ่นจะเต็มไปด้วยดอกบัวตองออกดอกสีเหลืองบานสะพรั่งอยู่บริเวณ โดยรอบองค์พระธาตุฝุ่น ส่วนบริเวณด้านหลังของพระธาตุฝุ่นมองไกลออกไปทางทิศตะวันตกระยะทางประมาณ 300 เมตรบนเนินเขาอีกลูกหนึ่งจะแลเห็นพระธาตุจอมเพชรตั้งเด่นเป็นสง่าท้าทาย แดดลมอยู่เคียงคู่กันกับพระธาตุฝุ่น



สำหรับ พระธาตุจอมเพชรสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่16 เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่าลาวพวนและเป็นพระธาตุคู่แฝดกันกับองค์พระ ธาตุฝุ่นและจากเมืองคูณเราสองคนขับรถย้อนกลับเข้ามายังตัวเมืองโพนสะหวัน
สำหรับ เมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงเชียงขวางมีจำนวนประชากรประมาณ 30,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ชาวลาวส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายๆใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง แม้สงครามอินโดจีนจะผ่านพ้นมา 30 กว่าปีแล้วแต่บาดแผลและร่องรอยของสงครามยังคงกระจัดกระจายปรากฎให้เห็นกัน อยู่ทั่วไปเช่นซากของรถถัง ซากลูกระเบิดจากเครื่องบิน B-52 ของอเมริกา ปัจจุบันแขวงเชียงขวางกำลังเริ่มฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ชาวเชียงขวางทุกคนยังไม่ลืมความโหดร้ายของสงครามอินโดจีนที่ผ่านมาแต่ก็ ไม่มีอคติกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยเป็นศัตรูทำสงครามขับเคี่ยวกันมา ตลอด ชาวเชียงขวางเริ่มก่อร่างสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาคือเมืองโพนสะหวันแทนเมืองคูณ ที่ถูกทำลายล้างลงอย่างราบคาบในสงครามอินโดจีน ปัจุบันเมืองโพนสะหวันในแขวงเชียงขวางเริ่มเป็นที่รู้จักกันดีของนักท่อง เที่ยวต่างชาติโดยมีโรงแรมที่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวอาทิเช่น โรงแรมดวงแก้วมณี โรงแรมวันชะนะ โรงแรมเชียงขวางใหม่ ตลอดจนโรงแรมห้าดาวที่พึ่งเปิดขึ้นมาใหม่อีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณวงเวียน ใจกลางเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นการลงทุนของชาวเวียดนาม
หลังจากจัดการกับ อาหารกลางวันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราสองคนเดินทางท่องเที่ยวต่อไปในเมืองโพน สะหวันเราสองคนขับรถผ่านสถานีขนส่งเมืองโพนสะหวันที่มีบริการรถโดยสารเดิน ทางไปยังนครหลวงเวียงจัน แขวงซำเหนือ แขวงหลวงพระบาง และแขวงไซยะบูลี ทุกวัน
จากสถานีขนส่งเมืองโพนสะหวันเราขับรถผ่านอนุสาวรีย์ทหารกล้า ลาว-เวียดนาม ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินเขาสูงในเมืองโพนสะหวันสามารถมองเห็นได้ในระยะ ไกลๆ สำหรับอนุสาวรีย์แห่งนี้ทางรัฐบาลลาวสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหล่าทหารกล้า ที่เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องแผ่นดินลาวให้รอดพ้นจากการรุกรานของต่างชาติจนมี เอกราชตราบเท่าทุกวันนี้

เรา สองคนขับรถเดินทางมายังศูนย์หัตถกรรมนาวังจำหน่ายสินค้า O-TOP ของเมืองโพนสะหวันและหมู่บ้านต่างๆ ในแขวงเชียงขวางตั้งอยู่ที่บ้านโพนมีชัยคุ้มนาวัง ซึ่งภายในศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมือ เช่น งาช้างแกะสลัก ช้างไม้แกะสลัก ไหหินแกะสลักด้วยไม้สน ร่มที่ทำมาจากกระดาษสา และผ้าทอพื้นเมืองของแขวงเชียงขวางอันมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมกัน อย่างกว้างขวาง


เรา สองคนได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าทีประจำศูนย์ฯ พร้อมช่วยอุดหนุนซื้อสินค้าที่ระลึกติดมือมาคนละอย่างสองอย่าง จากนั้นจึงขับรถออกนอกเมืองโพนสะหวันชมวิวทิวทัศน์ท้องไรท้องนาอัน เหลืองอร่าม ไปด้วยรวงข้าวสีทองรอวันเก็บเกี่ยว สลับกับป่าสนสองใบที่ยืนต้นเรียงรายไปตามเนินเขาใหญ่น้อย จนในที่สุดก็มาหยุดอยู่ที่ซากรถถังรัสเซียคันหนึ่งที่จอดสงบหนึ่งอยู่ท่าม กลางป่าสนอันร่มรื่น

เรา สองคนจอดรถเดินลงไปสำรวจซากรถถังรัสเซียที่เกือบจะหมดสภาพความเป็นรถถัง แล้วเพราะตีนตะขาบและอุปกรณ์ต่างๆ ถูกชาวบ้านถอดไปขายพ่อค้าเชียงกงหมดเหลือไว้ก็แต่ป้อมปืนกับตัวถังเหล็กผุๆ เท่านั้นที่แสดงความว่าครั้งหนึ่งเคยมีสภาพรถถังมาก่อน



เรา สองคนช่วยกันบันทึกภาพและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกหลังจากนั้นจึงออกเดินทางต่อ ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่า “บ้านค่าย” ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ในช่วงของสงครามอินโดจีนที่ผ่านมาประมาณปี พ.ศ.2513 เคยเป็นที่ตั้งของค่ายทหารไทยที่เดินทางมารบในลาวต่อสู้กับฝ่ายขบวนการ ประเทศลาวโดยการนำของท่านไกสอน พมวิหาน ซึ่งภายหลังฝ่ายขบวนการประเทศลาวได้รับชัยชนะเหนือลาวฝ่ายขวาทหารไทยจึงจำ เป็นต้องถอนทัพกลับบ้านทิ้งค่ายทหารไว้ให้รกร้างว่างเปล่าจนบัดนี้เวลาล่วง เลยมานานสามสิบกว่าปีแล้วสภาพของค่ายทหารไทยเก่าแทบจะไม่เหลือร่องรอยอะไร ให้เราสองคนเห็น จะมีหลักฐานที่แสดงว่าครั้งหนึ่งบริเวณนี้เคยเป็นค่ายทหารไทยเก่าก็แต่เพียง ฐานรากของปูนซีเมนต์ที่เคยใช้เป็นกองบัญชาการทหารเก่าตลอดจนสนามเพลาะที่ขุด อยู่โดยรอบซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าครั้งหนึ่งบริเวณนี้เคยเป็นค่ายทหารไทย เก่ามาก่อน และห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตรจากค่ายทหารมีซากของเฮลิคอปเตอร์อเมริกันตกอยู่ บริเวณกลางทุ่งนา เราสองคนดูสภาพของเฮลีคอปเตอร์ลำนี้แล้วชิ้นส่วนต่างๆ ถูกถอดออกไปหมดแม้กระทั่งใบพัดคงเหลือไว้แต่โครงเหล็กที่แสดงว่าเป็น เฮลิคอปเตอร์เท่านั้น เราสองคนได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้านค่ายที่นำพาเราสองคนมาค้นหาค่ายทหารไทย ได้ความว่าหลังจากสงครามอินโดจีนสิ้นสุดลงทหารไทยส่วนใหญ่ถอนกำลังกลับ มาตุภูมิ แต่ยังมีทหารไทยบางคนที่ตัดสินใจไม่ยอมกลับบ้านสาเหตุเพราะได้ภรรยาเป็นสาว ลาวแขวงเชียงขวางจึงขอตั้งหลักปักฐานทำมาหากินร่วมทุกข์ร่วมสุขกันที่แขวง เชียงขวางกลายเป็นชาวลาวไปโดยปริยาย ความงามของสาวเชียงขวางเป็นที่เลื่องลือในเรื่องความสวยงามและความน่ารักไป ทั่วทั้งแผ่นดินลาวตั้งแต่ลาวเหนือจดลาวใต้ว่าสาวเชียงขวางมีความสวยงามน่า รักกว่าสาวลาวจากแขวงอื่นๆ ด้วยสภาพอากาศของแขวงเชียงขวางที่หนาวเย็นตลอดปีประกอบกับธรรมชาติและอากาศ ที่บริสุทธิ์จึงทำให้ผิวพรรณของสาวแขวงเชียงขวางขาวนวลสะอาดตา ประกอบกับหน้าตาอันจิ้มลิ้มปากนิดจมูกหน่อย ความสวยงามอันเป็นธรรมชาติเป็นที่ต้องตาตรึงใจของหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ทหารไทย จนไม่อยากกลับมาบ้านเกิดเมืองนอน


ดวง อาทิตย์ใกล้จะลาลับขอบฟ้าเราสองคนขับรถยนต์เดินทางกลับมานั่งพักผ่อนที่ บริเวณหน้าเรือนพักพูคำซึ่งนอกจากจะเป็นเรือนพักให้บริการนักท่องเที่ยว แล้วภายในเรือนพักพูคำยังเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสะสมอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ ในช่วงสงครามอินโดจีนเมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา อาทิเช่น ลูกระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดB-52 ลูกระเบิดอาร์พีจี ระเบิดขว้าง ปืนกล ตลอดจนเศษซากจากเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกยิงตก



อา วุธยุทธโธปกรณ์ทั้งหมดเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้งานได้แล้ว คุณพูคำเจ้าของเรือนพักเป็นผู้สะสมไว้ให้นักท่องเที่ยวที่เข้าพักที่เรือน พักพูคำของแกได้ชมรวมทั้งโปสเตอร์คำเตือนจากทางการลาวแสดงไว้เมื่อพบเห็นลูก ระเบิดที่ตกค้างอยู่ตามทุ่งนาป่าเขาในแขวงเชียงขวางซึ่งปัจจุบันยังเก็บกู้ ไม่หมด


ส่วน บริเวณด้านหน้าของเรือนพักพูคำยังถูกประดับประดาไว้ด้วยลูกระเบิดขนาดใหญ่ ตลอดจนซากของเครื่องบินขับไล่ของอเมริกันแขวนไว้ที่ป้ายของเรือนพัก ไม่เว้นแม้แต่เตาปิ้งบาร์บีคิวที่ตั้งอยู่หน้าเรือนพักก็ดัดแปลงมาจากปลอก ของระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดB-52


คุณ พูคำเจ้าของเรือนพักพูคำเล่าให้เราสองคนฟังว่าเขาใช้เวลาเก็บสะสมอาวุธยุทธ โธปกรณ์ต่างๆ มานานหลายสิบปีเพื่อจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์สงครามในเมืองโพนสะหวัน จุดประสงค์เพื่อให้ชาวลาวรุ่นหลังและนักท่องเที่ยวที่เข้าพักได้เห็นถึง พิษภัยของสงครามที่เกิดขึ้นในแขวงเชียงขวางเนื่องจากในช่วงของสงครามอินโด จีนเมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา แขวงเชียงขวางถูกระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ทิ้งบอมบ์อย่างหนักสาเหตุเพราะแขวงเชียงขวางคือจุดยุทธศาตร์ที่สำคัญแห่ง หนึ่งทางภาคเหนือของประเทศลาวเพราะตั้งอยู่ห่างจากนครเวียงจันระยะทาง ประมาณ 300 เมตร ถ้าฝ่ายใดยึดแขวงเชียงขวางได้ก็เท่ากับมีชัยชนะไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว

เรา สองคนและคุณพูคำตกลงที่จะนั่งรับประทานอาหารค่ำกันที่หน้าเรือนพักพูคำโดย ใช้เตาบาร์บีคิวที่ดัดแปลงมาจากปลอกลูกระเบิดในการประกอบอาหารและปิ้ง บาร์บีคิวเนื้อแกล้มด้วยเบียร์ลาวพร้อมสนทนากับคุณพูคำด้วยเรื่องสัมเพเหระ และการเดินทางของเราสองคนที่ผ่านมา ลมหนาวเริ่มพัดผ่านมายิ่งดึกอากาศก็ยิ่งเย็นลงเสียงเพลง “เชียงขวาง”โดยเสียงร้องของน้าสีเผือก คนด่านเกวียนจากวิทยุทรานซิสเตอร์ของคุณพูคำเข้ากับบรรยากาศในค่ำคืนนี้ดี แท้
“เชียงขวางดินแดนวิมาน หนาวกายสะท้านหนาวสั่นสะเทือน
ภูจงเป็นวงแสงเดือน เมฆน้อยลอยเคลื่อนยามเมื่อคืนวันเพ็ญ
หมู่นางมักลอยวารี ลอยกลางนทีเปล่งราศีสวยเด่น
น้ำลิ่วไหลรินบ่เว้น ยามค่ำคืนวันเพ็ญเห็นสาวเนื้อเย็นลงลอย
โอ้เชียงขวางพี่เอ๋ย อ้ายนี้บ่เคยเห็นไผงามหยดย้อย
เดี๋ยวนี้ธรรมชาติจอมดอย เช้าค่ำพึ่งดอยภูจงมองงามตระการ
ไหหินมิ่งขวัญเชียงขวาง สายลมไหลล่วงบ่วงให้อ้ายสุดฝัน
ภูเวียงเป็นลอนก่ายกัน ให้อ้ายสุขสันต์กับความงามเชียงขวาง”
วันที่หกของการเดินทาง
เช้า วันนี้เราสองคนรีบตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเดินทางกลับหลังจากปฎิบัติภาระกิจ ส่วนตัวพร้อมเก็บสัมภาระเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นก็ขับรถยนต์ฝ่าสายหมอก และความหนาวเย็นไปตามเส้นถนนภูเขาอันคดเคี้ยววกวนบนเส้นทางหลวงหมายเลข 7เดินทางกลับสู่สามแยกพูคูนในทันที



เรา สองคนใช้เวลาประมาณ 3.20 ชั่วโมง ก็เดินทางมาถึงสามแยกพูคูนตอนสายหยุดพักรถยืดเส้นยืดสายพร้อมหาอาหารเช้าและ กาแฟรับประทานกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางต่อไป



จาก เส้นทางหลวงหมายเลข7 เราสองคนเปลี่ยนมาใช้เส้นทางหลวงสายหลักหมายเลข13 พูคูณ-หลวงพระบาง มุ่งหน้าสู่สามแยกเมืองเงินในแขวงหลวงพระบางระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร เราขับรถใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก็เดินทางมาถึงสามแยกเมืองเงินจากนั้นเราขับรถเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนน หมายเลข4 หลวงพระบาง-ไซยะบูลี มุ่งหน้าสู่ท่าเรือปากคอนระยะทาง60 กิโลเมตรข้ามไปยังแขวงไซยะบูลีเหมือนเส้นทางเดิมที่เราสองคนเดินทางมาเมื่อ 2-3 วันก่อน เราสองคนขับรถถึงท่าเรือปากคอนในช่วงบ่าย

จาก นั้นก็ลงแพขนานยนต์ข้ามมายังท่าเดื่อของแขวงไซยะบูลี หลังจากนำรถขึ้นจากแพขนานยนต์บริเวณท่าเดื่อแล้วจากนั้นเราสองคนขับรถยนต์ เข้าสู่ตัวเมืองไซยะบูลีในทันที ด้วยระยะทาง 30 กิโลเมตร



เรา สองคนใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที ก็เดินทางมาถึงยังแขวงไซยะบูลีจากนั้นจึงแวะรับประทานอาหารกลางวันกันใน เมืองไซยะบูลีเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงออกเดินทางต่อไปยังเมืองปากลาย ในแขวงไซยะบูลีโดยใช้เส้นทางหมายเลข4 ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเป็นถนนลูกรังลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ สาเหตุเพราะเส้นทางนี้รถบรรทุกไม้ซุงขนาดใหญ่และรถขนส่งสินค้าวิ่งขนส่งไป มาระหว่างเมืองท่าลี่ จังหวัดเลย กับเมืองไซยะบูลีเป็นประจำทุกวัน สภาพถนนจึงชำรุดทรุดโทรมไปตามสภาพการใช้งานอย่างหนัก ตลอดสองข้างทางของถนนหมายเลข4 จากไซยะบูลี-ปากลาย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และไม้ยืนต้นอันมีค่านานาชนิด



เรา สองคนขับรถไปตามถนนหมายเลข 4 บรรยากาศบนถนนสายนี้เงียบวังเวง นานๆ ถึงเราจะเห็นรถบรรทุกสินค้าแล่นสวนมาสักคันหนึ่งบ้านเรือนของผู้คนก็ตั้ง อยู่ห่างไกลกันมาก และก็นานๆ ทีเราสองคนถึงจะขับผ่านหมู่บ้านสักที เส้นทางนี้เหมาะสำหรับเดินทางในตอนกลางวันมากกว่าตอนกลางคืนครับ ขนาดตอนกลางวันเราสองคนขับรถยังหนาวๆร้อนๆ เลยเพราะถ้าเกิดรถเสียขึ้นมาเมื่อไหร่งานเข้าเมื่อนั้นเลยครับ จึงขอเตือนท่านผู้อ่านที่มีความประสงค์ที่จะเดินทางบนเส้นทางสายนี้จากท่า ลี่-ไซยะบูลีให้เดินทางในเวลากลางวันดีกว่าน่ะครับ และควรใช้รถขับเคลื่อน4 ล้อเท่านั้น ถ้าจะให้ดีควรเดินทางมาเป็นหมู่คณะจะปลอดภัยกว่าครับเพราะถ้าเกิดปัญหาใดๆ จะได้ช่วยกันได้เราสองคนเดินทางมาถึงเมืองปากลายเมื่อเวลาจวนเจียนจะใกล้ค่ำ เหลือระยะทางประมาณอีก 60 กิโลเมตรเท่านั้นจึงจะถึงด่านท่าลี่ในจังหวัดเลยการเดินทางในเวลากลางคืนไม่ สะดวกและเราสองคนยังไม่ทราบว่าเส้นทางเบื้องหน้านั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป จึงตัดสินใจกันว่าคืนนี้เราสองคนควรจะหยุดพักค้างแรมกันที่เมืองปากลายพรุ่ง นี้จึงค่อยออกเดินทางต่อดีกว่า

เรา สองคนหาอาหารค่ำรับประทานกันที่ร้านแคมโขง(ริมโขง)ในเมืองปากลายซึ่งมี อาหารปลาสดๆให้เราเลือกรับประทานมากมายพอเราสั่งเมนูอาหารปลาปุ๊บคุณป้าแม่ ครัวก็จัดการทุบหัวปลานำมาขอดเกล็ดปรุงเป็นเมนูอาหารตามที่เราสั่งในทันที เรียกว่าถ้าปลาไม่สดก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้วล่ะครับ

สาเหตุ เพราะเมืองปากลายตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำโขงปลาต่างๆ จึงหาได้ง่าย แต่ก็ไม่วายที่คุณป้าจะบ่นให้เราสองคนฟังว่าปัจจุบันจำนวนปลาในแม่น้ำโขงลด น้อยลงมากไม่เหมือนกับสมัยคุณป้ายังเป็นสาวๆ ซึ่งในขณะนั้นปลาในแม่น้ำโขงชุกชุมมากราคาถูกหากินได้ง่าย แต่ในปัจจุบันตั้งแต่ประเทศจีนสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงทำให้จำนวนปลาในแม่ น้ำโขงลดน้อยลงไปเป็นอย่างมาก ปลาในแม่น้ำโขงจากที่หาได้ง่ายๆ กลับหาได้ยากขึ้นราคาก็แพงขึ้นเป็นเงาตามตัว

เรา สองคนรับประทานอาหารค่ำกันด้วยความเอร็ดอร่อยในบรรยากาศร้านอาหารริมน้ำโขง หลังจากอิ่มหนำสำราญกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนจึงขับรถยนต์หา ที่พักในเมืองปากลาย บรรยากาศยามค่ำคืนในเมืองปากลายเงียบสงบปราศจากแสงสีมีก็แต่ร้านกินดื่มและ ร้านคาราโอเกะบางแห่งเท่านั้นที่เปิดให้บริการลูกค้าที่เดินทางผ่านไปมาซึ่ง แต่ละร้านก็เปิดไฟหน้าร้านริบหรี่เต็มทนบรรยากาศบริเวณหน้าร้านก็เงียบสงบ

โรงแรม ดวงใจเพชรกลางเมืองปากลายคือที่พักของเราสองคนในคืนนี้ราคาคืนละ500 บาทพร้อมทีวีและแอร์ฯ และเมื่อปฎิบัติภาระกิจส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนจึงล้ม ตัวลงนอนหลับพักผ่อน พรุ่งนี้แล้วล่ะครับจะได้กลับบ้านเรากันสักที
เช้าวันที่ 7 ของการเดินทาง
เช้า วันสุดท้ายของเราสองคนในการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองลาวหลังจากปฎิบัติภาระ กิจส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยเราสองคนเดินทางออกมาหาอาหารเช้ารับประทานกันที่ ร้านแคมโขง ข้าวต้มปลาคือเมนูอาหารเช้าของเราในมื้อนี้ ตบท้ายด้วยกาแฟลาวอีกคนละแก้วจากนั้นจึงขับรถท่องเที่ยวเมืองปากลายในแขวงไซ ยะบูลี


เรา สองคนขับรถมาเที่ยวชมตลาดเช้าในเมืองปากลายซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำโขงกำลังคับ คั่งไปด้วยชาวลาวที่เดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้ากันในยามเช้าเหมือนกับตลาด ทั่วๆไปในเมืองลาว


ตลาด เมืองปากลายเป็นตลาดเล็กๆ กว่าตลาดเช้าในเมืองไซยะบูลี ภายในตลาดจำหน่ายเครื่องอุปโภคและบริโภคที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทยมากว่า นำเข้าจากจีนและเวียดนามเพราะเมืองปากลายห่างจากด่านท่าลี่ในจังหวัดเลย ระยะทางเพียง 60 กิโลเมตรเท่านั้น การขนส่งสินค้าจากฝั่งไทยมายังเมืองปากลายจึงทำได้โดยสะดวก ราคาของสินค้าจึงแพงกว่าบ้านเราเป็นธรรมดาเพราะต้องบวกภาษีและค่าขนส่ง สินค้าเข้าไปอีก


แต่ ถึงราคาของสินค้าไทยจะแพงกว่าสินค้าที่นำเข้าจากจีนและเวียดนามเพียงไรก็ตาม คนลาวก็ยังคงนิยมใช้สินค้าไทยเพราะมีคุณภาพดีกว่าสินค้าที่นำเข้าจากจีนและ เวียดนาม เราสองคนเดินเที่ยวชมพืชผักผลไม้ที่วางขายริมทางเดินเท้าโดยเฉพาะผลไม้ส่วน ใหญ่นำเข้ามาจากไทยเช่นทุเรียน มังคุด เงาะ ฯลฯ ส่วนผลไม้จากจีน เช่น สาลี่ แอบเปิ้ล ทับทิม ฯลฯ เราสองคนลองสอบถามราคาของมะม่วงแก้วราคากิโลกรัมละ 70 บาทในขณะที่ในบ้านเราราคาเพียงกิโลกรัมละ7-10 บาทเท่านั้น


เรา เดินเท้าเที่ยวชมตลาดเช้าเมืองปากลายจนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงขับรถไปตามถนน เลียบแม่น้ำโขงไปยังวัดสะหว่างวงศ์ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง
วัด แห่งนี้เป็นวัดประจำเมืองปากลาย เราสองคนไม่ทราบข้อมูลความเป็นมาของวัดแห่งนี้เราจึงอธิบายให้ท่านผู้อ่าน ฟังไม่ได้เพราะฉะนั้นดูรูปไปพลางๆ ก่อนก็แล้วกันน่ะครับ



จาก วัด สะหว่างวงศ์เราเดินข้ามถนนมานั่งพักผ่อนหย่อนใจชมวิวทิวทัศน์กันที่บริเวณ ริมโขง ซึ่งฝั่งตรงข้ามก็คือเมืองสารคามในแขวงเวียงจันซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ เขียวชะอุ่มสลับกับทิวเขาอันสลับซับซ้อนในแขวงเวียงจัน เราสองคนนั่งรับลมเย็นๆ ริมแม่น้ำโขงจนสมควรแก่เวลา


จาก นั้นจึงขับรถไปตามถนนในเมืองปากลายผ่านวงเวียนใจกลางเมืองปากลาย ริมถนนทางด้านซ้ายมือมีรูปหล่อสีทองครึ่งตัวของท่านไกสอน พรมวิหาน ผู้ล่วงลับไปแล้ววีรบุรุษของชาวลาวและอดีตประธานประเทศลาว ผู้ปลดปล่อยประเทศลาวให้เป็นเอกราชจากประเทศนักล่าอาณานิคมเมื่อหลายสิบปี ที่ผ่านมา เราจะเห็นรูปหล่อของท่านไกสอนพรมวิหานอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งและทุกแขวงใน ประเทศลาว



เรา สองคนขับรถออกจากเมืองปากลายไปตามเส้นทางหมายเลข4 มุ่งหน้าสู่เมืองแก่นท้าว ตลอดเส้นทางถนนหมายเลข4 เมืองปากลาย-แก่นท้าวระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร เป็นเส้นทางลูกรังกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเส้นทางสายนี้จะเห็นได้จาก รถแม็คโครกำลังทำงานอยู่รวมทั้งแคมป์ที่พักของเจ้าหน้าที่ที่กำลังก่อสร้าง เส้นทางสายนี้ตลอดสองข้างทางที่เราสองคนขับรถผ่าน สภาพของถนนช่วงเมืองปากลาย-แก่นท้าว ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรถึงจะอยู่ในช่วงของการก่อสร้างทางแต่ก็ยังดีกว่าถนนจากไซยะบู ลี-ปากลายเป็นอย่างมาก ซึ่งเราคาดว่าอีกประมาณปีกว่าๆ เมื่อถนนสายนี้สร้างเสร็จเรียบร้อยการเดินทางจากด่านท่าลี่ในจังหวัดเลยไป ยังเมืองไซยะบูลีและเมืองหลวงพระบางระยะทาง 363 กิโลเมตรจะรวดเร็วสะดวกสบายยิ่งขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการค้าการท่องเที่ยวและเป็นการเสริมสร้างสัมพันธ์อันดี ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศอีกด้วยครับ



เรา สองคนใช้เวลาขับรถประมาณหนึ่งชั่วโมงก็เดินทางมาถึงตัวเมืองแก่นท้าวซึ่ง เป็นเมืองชายแดนติดกับอำเภอท่าลี่ในจังหวัดเลยเราขับรถเข้าไปในเมืองแก่น ท้าว ถนนหนทางภายในเมืองกว้างขวางบรรยากาศเงียบสงบน่าอยู่เหมือนกับเมืองไซยะ บุรี เราขับรถผ่านที่ทำการเมือง จนในที่สุดมาหยุดรถที่บริเวณตลาดในเมืองแก่นท้าวเนื่องจากเป็นช่วงสายตลาด วายไปก่อนหน้านี้แล้วแต่ก็ยังมีร้านรวงเปิดขายสินค้ากันตามปกติสินค้าส่วน ใหญ่จะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมตลอดจนพืชผลทางการเกษตรเช่น ฟักทอง ฟักหอม ในส่วนของสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่จะนำเข้าจากไทย


เรา สองคนเดินเที่ยวชมสินค้าต่างๆ ที่นำมาวางขายเมื่อไม่มีอะไรเป็นที่น่าซื้อน่าสนใจ จากนั้นเราสองคนจึงขับรถเดินทางออกมายังด่านแก่นท้าวด่านตรวจคนเข้าเมืองของ ลาวที่พึ่งสร้างเสร็จใหม่จึงมองดูสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบเรียบร้อยมีลานจอด รถใหญ่โตกว้างขวาง แตกต่างจากด่านท่าลี่ของไทยที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างที่ทำการตรวจคน เมือง


เรา สองคนนำหลักฐานพร้อมเอกสารต่างๆ ในการนำรถเข้า-ออกระหว่างประเทศเข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้า-ออกเมือง ของลาวซึ่งก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและเมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วหลักฐานเอกสารทุกอย่างสมบูรณ์ เราสองคนก็ขับรถยนต์ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเหือง กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับลาว กลับเข้ามายังฝั่งไทยที่ อ.ท่าลี่จังหวัดเลยโดยสวัสดิภาพ



สำหรับ ด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย-ลาวจะเปิดให้บริการประชาชนทั่วไปตั้งแต่เวลา 08.00-18.00น. ทุกวัน และก่อนที่จะออกเดินทางกลับกรุงเทพเราสองคนแวะกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ระ หว่าทางใน อ.ท่าลี่ คือพระธาตุสัจจะ ตั้งอยู่บริเวณวัดลาดปู่ บ้านท่าลี่ ตำบลท่าลี่ ไปตามทางหลวงหมายเลข 201 แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2115 สายท่าลี่-อาฮี ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าลี่ประมาณ 2 กิโลเมตร


พระ ธาตุสัจจะ ประกอบด้วยดอกบัวบานมีกลีบ 3 ชั้น สูงประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่รอบองค์พระธาตุสัจจะ องค์พระธาตุสูง 33 เมตร มีสัญลักษณ์คล้ายคลึงกับพระธาตุพนม มีเศวตฉัตร 7 ชั้น ประดิษฐานไว้บนยอดสุดของพระธาตุสัจจะ ส่วนประวัติของพระธาตุสัจจะมีความเป็นมาอย่างไรเราสองคนจะค้นคว้าข้อมูลมา ให้ท่านได้ทราบภายหลังน่ะครับ


หลัง จากกราบสักการะพระธาตุสัจจะเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตัวเองแล้วเป็นที่เรียบร้อย แล้วจากนั้นเราสองคนจึงขับรถมุ่งหน้าเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯแล้วพบกันใหม่ใน ฉบับหน้าน่ะครับ เราสองคนจะเชิญชวนท่านผู้อ่านเดินทางไปท่องเที่ยวยังจังหวัดสระแก้ว เมืองชายแดนที่ใกล้ชิดติดกับประเทศกัมพูชากันครับ ขอบคุณมากครับที่ติดตามผลงานของพวกเรามาโดยตลอด สุดท้ายนี้ขอกล่าวคำว่าลาก่อนครับ....สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น