วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เที่ยวเมืองเชียงตุง

เมื่อ ครั้งที่ผมยังเป็นเด็กตัวเล็กๆอยู่นั้นผมเคยได้รับฟังเรื่องราวของ “เมืองเชียงตุง”เป็นครั้งแรกจากคำบอกเล่าของคุณตาผมซึ่งในขณะที่คุณตาของผม ยังเป็นหนุ่มๆอยู่นั้นท่านได้เข้ารับราชการทหารและเคยร่วมเดินทางไปกับกองพล ที่ 3โดยการนำของ พลตรี หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) ผู้บัญชาการกองทัพไทยทำการเข้าตีเมืองเชียงตุงซึ่งขณะนั้นเมืองเชียงตุงตก อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษผลปรากฎว่ากองทัพไทยได้รับชัยชนะ และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเมืองเชียงตุงจึงกลับมาตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของไทยเหมือนเช่นเดิม


 ต่อมาในปีพ.ศ 2545 ผมได้มีโอกาสเดินทางเยี่ยมเยียนเมืองเชียงตุงเป็นครั้งแรกซึ่งปัจจุบัน อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมืองเชียงตุงสร้างความประทับใจให้แก่ผมเป็นอย่างมากและที่นี่แหล่ะคือเมือง ในอุดมคติและความฝันของผมเมืองที่ผมค้นหามานานเหมือนเดินทางย้อนเวลากลับไป ท่องเที่ยวยังแม่ฮ่องสอนเมื่อ50-60ปีที่แล้ว


 เชียงตุงเมืองแห่งพุทธศาสนาเมืองเล็กๆที่น่ารักสงบสุขสวยงามทุกยามที่ได้มี โอกาสเดินทางมาเยี่ยมเยือน นักเดินทางหลายคนได้ให้คำนิยามเมืองเชียงตุงแห่งนี้ว่าเป็นเมืองในอุดมคติ เป็นโลกอีกด้านหนึ่งที่เข็มนาฬิกาดูจะเคลื่อนไหวเชื่องช้ามากกว่าโลกใน ปัจจุบันที่ผมได้พบเจอและด้วยสาเหตุนี้กระมังเมืองเชียงตุงจึงติดตราตรึงใจ อยู่ในความประทับใจของนักเดินทางหลายๆคนมาเกือบทุกยุคทุกสมัยและจากบัดนั้น จนถึงบัดนี้เป็นเวลา40 กว่าปีแล้วผมยังคงจดจำเรื่องราวของเมืองเชียงตุงที่คุณตาของผมเล่าให้ผมฟัง ได้ดีและวาดฝันไว้ว่าจะต้องเดินทางมาเยี่ยมเยือนเมืองเชียงตุงให้ได้สัก ครั้งหนึ่งในชีวิต


และ ต่อมาในปีพ.ศ 2555 ผมได้มีโอกาสเดินทางกลับมาเยี่ยมเยือนเชียงตุงอีกครั้งหนึ่งเมืองที่อยู่ใน อุดมคติของนักเดินทางหลายๆคน เมืองเชียงตุงในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือร้ายประการใด ขอเชิญท่านผู้อ่านติดตามพวกเราชาวIDOTRAVELLERS.COM มาได้เลยครับ.


ขอขอบคุณ
บริษัท อินโดไชน่า เอ็กซ์พลอเรอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
254/1 ถนนเอกชัย บางบอน บางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
โทรศัพท์ : 0-2898-1817, 0-2898-2324
โทรสาร : 0-2898-0059
http://www.indochinaexplorer.com 
Email; indochinaexplorer@hotmail.com
วันแรกของการเดินทาง
เช้าตรู่วันหนึ่งของต้นเดือนมีนาคม 2555 พวกเราพร้อมกันที่สถานีขนส่งหมอชิดเพื่อออกเดินทางสู่จังหวัดเชียงรายสำหรับจุด หมายปลายทางของเราในทริปนี้ก็คือเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังเมืองเชียงตุง ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐฉานประเทศพม่า
 07.00 น.เราใช้บริการรถทัวร์โดยสารปรับอากาศของสมบัติทัวร์ มิตรแท้ของคนเดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงรายซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 824 กม. สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจจะใช้บริการของสมบัติทัวร์สามารถดูรายละเอียดและ สำรองที่นั่งได้ที่เว็บไซต์ www.thairoute.com , www.sombattour.com และเมื่อได้เวลา 07.00 น. รถทัวร์โดยสารสาย 90 ของสมบัติทัวร์ก็นำพาเราทั้งสองออกเดินทางจากกรุงเทพฯมุ่งหน้าสู่จังหวัด เชียงรายในทันที
เราสองคนนั่งชมวิวทิวทัศน์สองข้างทางที่รถทัวร์โดยสาร วิ่งผ่านจังหวัด นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยาจนในที่สุดรถทัวร์โดยสารก็พาเราสองคนเดินทางมาถึง ยังจังหวัดเชียงรายเมื่อเวลา18.00 น.รวมระยะเวลาในการเดินทาง11-12 ชั่วโมง


เรา สองคนเดินทางมาถึงตัวเมืองเชียงรายในยามเย็นเข้าไปเดินเล่นพร้อมหาอาหารเย็น รับประทานกันภายในเชียงรายไนท์บาซ่าตลาดกลางคืนที่มีชื่อเสียงโด่งดังของ เมืองเชียงรายและเมื่อจัดการกับอาหารเย็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


จาก นั้นจึงเดินทางมายังบริเวณหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ์ซึ่งตั้งอยู่บนถนนบรรพ ปราการใจกลางเมืองเชียงราย เพื่อรอคอยบันทึกภาพปรากฎการณ์เป็งปุ๊ดหรือประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนมาฝาก ท่านผู้อ่าน


และ ในระหว่างที่เราสองคนรอคอยเวลา 24.00น.หรือเที่ยงคืนซึ่งเป็นเวลาที่บรรดาพระภิกษุสงฆ์จะออกมาเดินบิณฑบาตร และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราสองคนเดินเข้าไปเที่ยวภายในวัดมิ่งเมือง กันเถอะครับ
ก่อนที่จะเดินทางเข้าไปชมภายในวัดมิ่งเมืองผมของเล่าประวัติของวัดแห่งนี้ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบดังนี้น่ะครับ



สำหรับ ประวัติของวัดมิ่งเมือง หรือวัดช้างมูบ เดิมมีชื่อเรียกตามที่ปรากฏบนแผ่นทองคำจารึกอักษรพม่าว่า “วัดตะละแม่ศรี” ซึ่งเป็นชื่อของผู้สร้างวัดมีนามว่า เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นพระมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาผู้ทรงสร้างเมืองเชียงราย เจ้านางตะละแม่ศรี ทรงมีอีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในแผ่นจารึกคือ มหาเทวีอุษาปายะโค พระนางเป็นธิดาของพระเจ้าพายุเจ็งกษัตริย์พม่าเจ้าเมืองพะโค (หงสาวดี) ซึ่งได้มอบถวายให้เป็นข้าบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งรายมหาราชเมื่อทรงรบชนะ สงครามจากพม่า นอกจากนั้นวัดแห่งนี้ยังเป็นวัดประจำพระองค์ของพระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (พระนางเทพคำกล๋าย-พระนางอั๊วะมิ่งไข่ฟ้า หรือพระนางอกแอ่น ซึ่งเป็นวีรสตรีของชาวไทยลื้อที่ได้ปลอมตัวเป็นชายออกสู้รบจนได้รับชัยชนะ) พระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง ทรงเป็นพระราชชนนีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาทรงปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และในตำนานของวัดที่ปรากฏในรัชสมัยของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่วัดมิ่งเมืองปีละสองครั้งคือใน คืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ศรีมิ่งเมืองในวัด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระนางเทพคำกล๋ายและพระอัฐิของมหาเทวี อุษาปายะโค


นอก จากนี้วัดมิ่งเมือง ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดช้างมูบ” (วัดช้างหมอบ) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวเชียงรายทั่วไปนิยมเรียกกันและทางวัดมิ่งเมืองก็ยังใช้ รูปช้างมูบ เป็นสัญลักษณ์ของวัดมิ่งเมืองอีกด้วย วัดมิ่งเมืองเป็นวัดที่ได้รับการบันทึกให้เป็นวัดเก่าแก่มีสำคัญทางประวัติ ศาสตร์วัดหนึ่ง ของเมืองเชียงราย ในครั้งที่พระเจ้าสามฝั่งแกนอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปยังเมือง เชียงใหม่ โดยอัญเชิญพระแก้วมรกตตั้งขบวนจากวัดพระแก้ว เชียงรายมาประดิษฐานบนหลังช้างทรงซึ่งหมอบรออยู่หน้าวัดมิ่งเมืองแล้ว เคลื่อนขบวนออก จากประตูเมืองที่อยู่ติดกับวัดไปยังเมืองเชียงใหม่จึงทำให้ชาวบ้านเรียกว่า “วัดช้าง มูบ”ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เราสองคนเดินเท้าเข้าไปภายในพระอุโบสถของวัดมิ่งเมืองพร้อมกับจุดธูปเทียนสักการะบูชาขอพรจากพระประธาน


จาก นั้นจึงออกมาเดินเที่ยวชมโดยรอบพระอุโบสถซึ่งเป็นเวลาใกล้เที่ยงคืนชาว เชียงรายจากทั่วทุกสารทิศจึงพากันเดินทางมารอคอยใส่บาตรเที่ยงคืนกันอย่าง หนาตา


สำหรับประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนมีประวัติความเป็นมาดังนี้ครับ
การ ทำบุญตักบาตรเป็งปุ๊ด ซึ่งเป็นการทำบุญตักบาตรในคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธที่ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ผู้คนมากมาย ต่างพร้อมใจกันออกมาร่วมกันทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์สามเณรตามละแวกที่อยู่ อาศัย โดยเรียกวันดังกล่าวว่า “วันเป็งปุ๊ด” ด้วย มีความเชื่อว่าในอดีตว่าพระมหาอุปคุตเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหา อิทธิฤทธิ์ สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนา ได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติใต้สะดือทะเลแล้วแปลงกายเป็นสามเณรน้อยขึ้นมา โปรดสัตว์โลก และเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุต จะบังเกิดให้ผู้นั้นเป็นผู้มีบุญมีโชคลาภวาสนาร่ำรวยเงินทอง และสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอย่างที่สุด

สำหรับ ประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืน(วันเป็งปุ๊ด) ทางสำนักงานเทศบาลนครเชียงรายทำพิธีอาราธนาพระอุปคุตขึ้นบุษบก แห่นำพระสงฆ์สามเณรออกรับบิณฑบาตและเมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น15ค่ำ “เป็งปุ๊ด”ผู้ใดใส่บาตรจะบังเกิดโชคลาร่ำรวย ทำให้ประชาชนออกมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา และปีนี้ถือว่าวันเพ็ญตรงกับวันพุธและเป็นวันมาฆบูชาอีกด้วย


ประเพณี ตักบาตรเป็งปุ๊ดหรือตักบาตรเที่ยงคืน ถือเป็นอรุณรุ่งวันใหม่ที่พระภิกษุ-สามเณร จะออกบิณฑบาตตอนเที่ยงคืน ในทุกปีที่มีวันขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่จำเพาะเจาะจงต้องอยู่ในเดือนใดบางปีอาจมีแค่ครั้งเดียว สองครั้ง หรือบางปีก็ไม่มี ในปี้นี้ถือว่าประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนได้มีขึ้นถึงสองครั้งด้วยกัน คือวันที่ 7 มีนาคม 2555และวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 และเมื่อได้เวลา 24.00นเสียงระฆังก้องกังวานมาจากภายในวัดมิ่งเมือง


จาก นั้นขบวนแห่ก็นำพระภิกษุสงฆ์และสามเณรเดินเท้าออกมาจากวัดมิ่งเมืองเข้าสู่ ถนนบรรพปราการจากนั้นขบวนแห่ก็เคลื่อนขบวนตรงไปยังหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ์


ซึ่ง ตลอดสองข้างทางจะคับคั่งไปด้วยชาวเชียงรายซึ่งจะนำสิ่งของจำพวกข้าวสารอาหาร แห้งมาตักบาตรกันอย่างคับคั่ง ผู้คนที่มารอใส่บาตรกันอย่างมากมายเช่นนี้สร้างความลำบากให้กับเราสองคนใน การบันทึกภาพเป็นอย่างมากครับแต่ก็พยายามบันทึกภาพมาฝากท่านผู้อ่านจนได้ ครับ


หลังจากประเพณีใส่บาตรเที่ยวคืนผ่านพ้นไปแล้วจากนั้นเราสองคนเดินทางกลับสู่โรงแรมที่พักเพื่อพักผ่อนเอาแรง
..............พรุ่งนี้เราสองคนจะต้องตื่นนอนตั้งแต่04.00น.เพื่อออกเดินทางไปยังแม่สายประตูสู่เมืองเชียงตุงกันครับ.
วันที่สองของการเดินทาง

เวลา 04.00น.เราสองคนตื่นนอนแต่เช้ามืดด้วยอาการสลึมสลือนอนไม่เต็มอิ่ม เพราะมีเวลานอนเพียง3ชม.เท่านั้นจัดการปฎิบัติภาระกิจส่วนตัวพร้อมเก็บ สัมภาระ จากนั้นจึงออกเดินทางไปยังสถานีขนส่งเชียงราย
เวลา 05.00น.เราใช้บริการของรถทัวร์โดยสารเชียงราย-แม่สายระยะทาง63กม.ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่อำเภอแม่สายในทันที
เราสองคนนั่งหลับๆตื่นๆจนถึง เวลา06.30 น.รถทัวร์โดยสารก็พาเราเดินทางมาถึงยังอำเภอแม่สายในจังหวัดเชียงราย

หลังจากล้างหน้าล้างตาที่บริเวณสถานีขนส่งแม่สายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จากนั้นเราสองคนจึงเดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอแม่สายเพื่อทำใบผ่านแดนชั่วคราวเดินทางข้ามแดนเข้าไปยังเมืองเชียงตุงประเทศพม่า


สำหรับ เอกสารที่ใช้ในการทำบัตรผ่านแดนชั่วคราวสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการแสดงตัวว่า เป็นคนไทย100%ก็คือบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมเงินอีก30บาทจากนั้นใช้เวลา ดำเนินการเพียง15 นาทีเอกสารสำคัญคือใบผ่านแดนชั่วคราวก็เรียบร้อย
หลังจากทำใบผ่านแดนชั่วคราวเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงใช้บริการของมอเตอร์ไซด์รับจ้างในราคาค่าบริการคนละ20บาท


เดินทางออกจากที่ว่าการอำเภอแม่สายมุ่งหน้าสู่ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สายระยะทางห่างจากกันเพียง1กม.เท่านั้นครับ


เรา สองคนเดินทางถึงด่านแม่สายในช่วงเวลาสายๆบริเวณด่านแม่สายกำลังพลุกพล่านไป ด้วยชาวไทยและพม่าเดินทางข้ามแดนไปมากันอย่างคับคั่งเราสองคนยื่นใบผ่านแดน ชั่วคราวให้กับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของไทยเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมประทับตราอนุญาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


จาก นั้นจึงเดินเท้าข้ามสะพานแม่น้ำสายอันเป็นแม่น้ำที่ใช้กั้นพรมแดนระหว่างอำ เภอแม่สายของไทยกับจังหวัดท่าขี้เหล็กในประเทศพม่า แม่น้ำสายเป็นแม่น้ำสายเล็กๆมองดูความกว้างแล้วมองดูคล้ายกับเป็นคูน้ำ มากกว่าจะเป็นแม่น้ำ



สำหรับ ลักษณะของแม่น้ำสายนั้นไม่กว้างขวางใหญ่โตเหมือนกับแม่น้ำเมยที่กั้นพรมแดน ระหว่างไทย-พม่าในอำเภอแม่สอดจังหวัดตากเนื่องจากแม่น้ำสายตั้งอยู่ในเขต ชุมชนขนาดใหญ่ดังนั้นสองฟากฝั่งของแม่น้ำสายจึงเต็มไปด้วยบ้านเรือนผู้คนและ ร้านค้าถูกสร้างขึ้นอย่างหนาแน่น


เราสองคนเดินเท้าข้ามสะพานคอนกรีตจากด่านแม่สายสู่ด่านท่าขี้เหล็กในประเทศพม่า


ซึ่ง กำลังคับคั่งไปด้วยชาวไทย-พม่าที่กำลังเดินเท้าข้ามสะพานแม่น้ำสายชาวพม่า บางคนเดินข้ามมาค้าขายยังฝั่งไทยส่วนชาวไทยบางคนก็ข้ามไปช้อบปิ้งและเสี่ยง โชคกันซึ่งบริเวณตัวเมืองท่าขี้เหล็กในประเทศพม่ามีบ่อนคาสิโนให้เสี่ยงโชค มากมายหลายแห่ง


เราสองคนเดินเท้าข้ามสะพานแม่น้ำสายมาถึงยังด่านตรวจคนเข้าเมืองพม่าในจังหวัดท่าขี้เหล็กประเทศพม่า


แลเห็นคุณหลุยส์ไกด์พม่าชาวไทใหญ่ยืนเคี้ยวหมากปากแดงยิ้มแฉ่งต้อนรับเราอยู่ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าขี้เหล็ก

หลัง จากทักทายแนะนำตัวกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วสิ่งแรกที่เราสองคนจะต้องทำก็คือ การปรับเวลาบนนาฬิกาข้อมือของเราให้ถอยหลังไปอีกครึ่งชั่วโมงสาเหตุเพราะ เวลาในประเทศพม่าจะช้ากว่าเมืองไทยประมาณครึ่งชั่วโมงครับ
หลังจากปรับ เวลาบนนาฬิกาข้อมือเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นไกด์หลุยส์ก็พาเราสองคนไปทำ ใบอนุญาตผ่านแดนเดินทางไปยังเมืองเชียงตุงซึ่งจะต้องทำถึง4ชุดด้วยกันเพื่อ ผ่านด่านทหารพม่าทั้งหมด4ด่านพร้อมจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเข้าพม่าอีกคน ละ25บาทค่าผ่านทางอีกคนละ500 บาทครับแต่เท่านั้นยังไม่พอเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของพม่าขอยึดบัตร ประชาชนของเราสองคนไว้อีกกลัวเราสองคนลักลอบเข้าเมืองพม่าแล้วไม่กลับเมือง ไทย แหม!อะไรจะขนาดนั้นครับคุณหม่องทีคนพม่าลักลอบเข้ามาทำงานอยู่ในเมืองไทย เป็นล้านๆคนแถมบางคนยังไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆเสียอีกพี่ไทยเรายังไม่บ่นสัก คำ พี่ไทยเราใจดีเสมอครับ ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปเมืองไทยโดนพม่ายึดเป็นเมืองขึ้นแน่นอนครับ


สำหรับ การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังเมืองเชียตุงโดยเดินทางเข้าไปยังด่านท่าขี้ เหล็กผมขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่าหนังสือเดินทางไทยหรือที่เราเรียกกัน ว่าpassportนั้นใช้ไม่ได้น่ะครับตม.พม่าเขาไม่รับจะรับก็แต่ใบผ่านแดนชั่ว คราวอย่างเดียวเท่านั้นน่ะครับและจะอนุญาตให้เดินทางไปท่องเที่ยวยังเมือง เชียงตุงได้เมืองเดียวเท่านั้นน่ะครับห้ามเดินทางต่อไปยังเมืองอื่นๆโดยเด็ด ขาดโดยเฉพาะเมืองล่าซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเชียงตุงและจะต้องเดินทางเข้า ทางด่านก็ไหนให้เดินทางออกทางด่านนั้นน่ะครับบอกเจ้าหน้าที่เขาว่าจะเดินทาง ไปเที่ยวแค่เมืองเชียงตุงแต่ดันไปโผล่ที่เมืองย่างกุ้งแล้วบินกลับเมืองไทย หรือไปโผล่ที่เมืองพญาตองซูตรงกันข้ามกับด่านเจดีย์สามองค์ในอ.สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีแล้วขอเดินทางเข้าเมืองไทยนั้นไม่ได้โดยเด็ดขาดเลยน่ะครับ



ฝ่าฝืน ถ้าโดนจับได้มีสิทธิติดคุกพม่าหัวโตเชียวน่ะครับพูดแล้วจะหาว่าหล่อไม่ เตือน นอกจากนี้ทางรัฐบาลพม่ายังได้ออกฎหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือนักท่องเที่ยวที่มี ความประสงค์จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังเมืองเชียงตุงในรัฐฉานจะต้องใช้ บริการของไกด์ชาวพม่าซึ่งเป็นข้าราชการของรัฐบาลพม่าเท่านั้นน่ะครับจะไปใช้ ไกด์ผีหรือไกด์เถื่อนไม่ได้โดยเด็ดขาดถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้บริการของคุณหลุยส์ไกด์ชาวไทใหญ่อาชีพข้า ราชการพม่าคนนี้ ครับ

ท่าน ผู้อ่านท่านใดที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังเมืองเชียงตุงแล้วมีความประสงค์จะ ใช้บริการของไกด์หลุยส์สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ไทย 081-765-9349 ถ้าโทรเบอร์ไทยแล้วติดต่อไม่ได้ให้โทรติดต่อเบอร์พม่าโทรศัพท์ 00195 9 4 903 5442
หรือที่e-mail sailwin2012@gmail.com ได้เลยครับท่าน

สำหรับ อัตราค่าใช้บริการของไกด์หลุยส์ตกวันละ1,000 บาทเรียกว่าถ้าท่องเที่ยวอยู่ในเมืองเชียงตุง5วันจะต้องจ่ายค่าไกด์5,000บาท ราคานี้ไม่รวมอาหารและที่พักซึ่งเราจะต้องจ่ายให้ไกด์เองอีกด้วยน่ะครับ เรียกว่าราคาค่าไกด์แพงเอาการอยู่เหมือนกันครับไกด์พวกนี้เบื้องหลังก็คือ สายลับของทางรัฐบาลพม่าที่จะมีหน้าที่คอยสอดส่องไม่ให้นักท่องเที่ยวที่ชอบ สอดรู้สอดเห็นออกนอกลู่นอกทางโดยเด็ดขาดครับ

สำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมากับบริษัททัวร์ต่างๆหรือจะเดินทางมาท่องเที่ยวเอง สไตล์Backpacker ก็จะต้องจ้างไกด์เหมือนกันครับไม่มีการยกเว้นเพื่อให้ไกด์ช่วยในเรื่องการ เคลียร์เอกสารตามด่านทหารต่างๆที่ตั้งเรียงรายอยู่ตลอดเส้นทางจากท่าขี้ เหล็กสู่เมืองเชียงตุงระยะทาง 165กม.ซึ่งนับด่านหลักๆได้ประมาณ 4ด่านครับไกด์จะลงไปเคลียร์ให้หมดทุกด่านครับนักท่องเที่ยวไม่ต้องลงไป เคลียร์เพราะถ้าลงไปไปเคลียร์เองก็คงพูดกันไม่รู้เรื่องครับส่วนข้อห้ามอีก อย่างหนึ่งก็คือห้ามถ่ายรูปตามด่านต่างๆที่เดินทางผ่านรวมทั้งทหารพม่าที่ ยืนถือปืนรักษาการณ์จังก้าอยู่ตามด่านต่างๆโดยเด็ดขาดครับถ้าเกิดคึกคะนอง มืออยากจะลั่นซัตเตอร์เต็มแก่แอบไปถ่ายรูปตามด่านต่างๆและทหารพม่าถึงคราว ซวยถูกทางการพม่าจับได้ล่ะก็ไกด์พม่าที่ติดตามมาด้วยช่วยเคลียร์ให้ท่านไม่ ได้น่ะครับอย่าฝ่าฝืนกฎระเบียบเขาเป็นอันขาดครับ
 ส่วนการเดินทางจากท่าขี้เหล็กไปท่องเที่ยวยังเมืองเชียงตุงนั้นท่านผู้อ่าน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเองสไตล์Backpackerหลังจากที่ตกลงจ้างไกด์เป็นที่ เรียบร้อยแล้วจากนั้นก็ให้ไกด์พามายังสถานีขนส่งท่าขี้เหล็กซึ่งตั้งอยู่ไม่ ไกลจากด่านตม.ท่าขี้เหล็กมากนักค่าโดยสารรถตุ๊กๆให้ไปส่ง 50บาทครับบริเวณสถานีขนส่งท่าขี้เหล็กนี้จะมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศจาก ด่านท่าขี้เหล็กไปยังเมืองเชียงตุงวันละหลายๆเที่ยวๆแรก10.00นถ้าพลาดเที่ยว แรกก็ให้ไปเที่ยวที่สองเวลา14.00น.ใช้เวลาเดินทางประมาณ5-6 ชม. สำหรับราคาค่าโดยสารต่างชาติคนละ400บาทคนพม่า250บาทสามารถจ่ายเป็นเงินไทย หรือเงินจ๊าดพม่าก็ได้ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ประมาณ 1,000จ๊าดเท่ากับ 40 บาท และ1ยูเอสดอลล่าร์เท่ากับ818จ๊าดครับ


สำหรับ การเดินทางมาท่องเที่ยวยังเมืองเชียงตุงด้วยตนเองจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ก็ ยังเป็นเรื่องค่อนข้างที่จะยุ่งยากพอสมควรครับสาเหตุก็เพราะพม่ายังไม่ได้ เปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ข้อจำกัดตลอดจนกฏกติกาต่างๆจึงมีมากมายยุ่มยิ่มจนบางครั้งทำให้นักท่อง เที่ยวบางคนไม่อยากมาท่องเที่ยวเมืองเชียงตุงหรือถ้าอยากจะมาก็ยอมตัดสินใจ ที่จะซื้อทัวร์จากบริษัททัวร์ต่างๆในเมืองเชียงรายหรือที่ด่านแม่สายเดินทาง มาท่องเที่ยวยังเมืองเชียงตุงเป็นหมู่คณะจะประหยัดและสะดวกสบายกว่าเดินทาง มาท่องเที่ยวเมืองเชียงตุงด้วยตนเองสไตล์แบบBackpackerแบกเป้ไปตายเอาดาบ หน้านั่นที่เมืองพม่านี้ใช่ไม่ได้น่ะครับ ซึ่งถ้าซื้อทัวร์มาแล้วบริษัททัวร์จะจัดการเป็นธุระต่างๆให้ท่านหมดตั้งแต่ การทำใบผ่านแดนชั่วคราวติดต่อไกด์พม่า,จองรถ,โรงแรม,ร้านอาหารฯลฯสะดวกสบาย และประหยัดกว่าเดินทางมาเที่ยวเองเยอะเลยครับท่านผู้อ่านมีหน้าที่แค่จ่าย สตังค์ค่าทัวร์เท่านั้นพอถึงกำหนดวันเดินทางท่านผู้อ่านเพียงแค่หยิบกระเป๋า เดินทางของท่านมาขึ้นรถเท่านั้นเองครับ
สำหรับบริษัททัวร์ในกรุงเทพที่ทำทัวร์ท่องเที่ยวเมืองเชียงตุงก็คือบริษัท อินโดไชน่า เอ็กซ์พลอเรอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์ : 0-2898-1817, 0-2898-2324 โทรสาร : 0-2898-0059
http://www.indochinaexplorer.com
Email; indochinaexplorer@hotmail.com
ลองคลิ๊กเข้าไปเยี่ยมชมและสอบถามรายละเอียดได้เลยครับ
หลัง จากที่ไกด์หลุยส์จัดการกับเอกสารของเราทั้งสองคนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจาก นั้นจึงเรียกเราทั้งสองคนเข้าไปโชว์ตัวต่อหน้าตม.พม่าเพื่อตรวจสอบหน้าตาของ เราทั้งสองคนว่าเหมือนกับในบัตรประชาชนหรือไม่ เพื่อป้องกันสายลับต่างชาติที่อาจจะแอบแฝงตัวมาในคราบของนักท่องเที่ยวก็ได้
จากนั้นจึงเซ็นชื่อในบัตรผ่านแดนชั่วคราวพร้อมกับยึดบัตรประชาชนของเราทั้งสองคนไว้จะคืนให้ในวันที่เราสองคนเดินทางกลับออกมา

เมื่อ ตรวจเช็คเอกสารทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราสองคนไม่รอช้าให้ไกด์หลุยส์ ช่วยเจรจาติดต่อเช่ารถตู้มาให้เราสองคนหนึ่งคันไกด์หลุยส์หายไปสักครู่ใหญ่ จากนั้นจึงเดินทางกลับมาพร้อมกับรถตู้สภาพเก่าๆโทรมๆคันหนึ่งแถมแอร์ดับๆ ติดๆในอัตราค่าเช่ารวมน้ำมันแล้วตกวันละ3,000บาทเราสองคนตรวจดูสภาพของรถ ตู้พม่าคันนี้แล้วถ้าอยู่ในเมืองไทยค่าเช่าคงไม่เกินวันละ1,2 00บาทซึ่งราคาวันละ1,200บาทนี้ในบ้านเราก็นับว่าแพงมากแล้วครับแต่ถ้าไม่มี รถให้เลือกใช้บริการที่ดีไปกว่ารถสภาพนี้เราสองคนก็ยินดีที่จะใช้บริการขอ ให้เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางล้อไม่หลุดออกจากตัวรถก็เป็นอันใช้ได้แล้ว ครับ

สำหรับสาเหตุที่เราสองคนยอมทุ่มทุนอลังกางานสร้างจ้างรถตู้วัน ละ3,000 บาทเดินทางจากด่านท่าขี้เหล็กสู่เมืองเชียงตุงสาเหตุก็เพราะว่าเราสองคนจะ ได้มีเวลาหยุดแวะหาข้อมูลพร้อมบันทึกภาพวิวทิวทัศน์ตลอดจนวิถีชีวิตสองข้าง ทางจากด่านท่าขี้เหล็กไปยังเมืองเชียงตุงได้โดยสะดวกยิ่งขึ้นถ้าเราสองคนใช้ บริการของรถโดยสารประจำทางแล้วก็คงเป็นการยากที่จะหาโอกาสแวะบันทึกภาพสอง ข้างทางที่มีวิวทิวทัศน์อันสวยงาม
ก่อนออกเดินทางไกด์หลุยส์ได้แนะนำให้ เราสองคนรู้จักกับลุงคนขับรถชาวพม่าที่จะขับรถพาเราสองคนเดินทางไปยังเมือง เชียงตุงลุงคนขับทักทายกับเราสองคนเป็นภาษาไทยพร้อมกับหยิบใบขับขี่พม่ามา ให้เราดูเหมือนกับจะบอกกับเราสองคนให้ทราบว่ามีใบขับขี่ถูกต้องตามกฎหมายน่ะ ครับ


และเมื่อทุกอย่างพร้อมลุงครขับรถก็พาเราสองคนและไกด์หลุยส์ก็เริ่มต้นออกเดินทางจากด่านท่าขี้เหล็กมุ่งหน้าสู่เมืองเชียงตุงในทันที
และ ก่อนที่จะออกเดินทางจากท่าขี้เหล็กเราสองคนหยุดบันทึกภาพของอนุสาวรีย์พระ เจ้าบุเรงนองวีรกษัตราธิราชผู้ยิ่งใหญ่ของประวัติศาตร์ชนชาติพม่าหรือที่คน ไทยรู้จักกันในนามของ “ผู้ชนะสิบทิศ”นั่นเองครับ


สำหรับอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนองแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากด่านท่าขี้เหล็กระยะทางประมาณ100 เมตรหล่อด้วยโลหะสีทองเหลืองอร่ามตา
 สำหรับรูปหล่อของพระเจ้าบุเรงนองทรงเครื่องกษัตริย์ชาตินักรบเต็มยศอยู่ใน ท่ายืนกอดอกสง่าผ่าเผยหันหน้ามาทางประเทศไทยอริราชศัตรูเก่าคู่รักคู่แค้น ที่เคยต่อสู้ฟาดฟันกันมาในอดีต เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนองแห่งนี้ให้เราสองคนถ่ายรูป ได้แต่เพียงภายนอกเท่านั้นไม่อนุญาตให้เราสองคนเข้าไปใกล้อนุสาวรีย์พระ เจ้าบุเรงนองโดยเด็ดขาดเราสองคนจึงใช้เลนส์ซูมดึงภาพเข้ามาใกล้จึงสามารถ ถ่ายภาพได้


สอบ ถามไกด์หลุยส์ว่า “ทำไมไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปใกล้”ไกด์หลุยส์ตอบกลับมาเป็นภาษาไทยเสียง ดังฟังชัดว่า “ครั้งหนึ่งอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนองแห่งนี้เคยโดนถูกวางระเบิดมาแล้ว ปัจจุบันทางการพม่าจึงออกกฎห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปใกล้เพราะกลัวโดน วางระเบิดซ้ำอีกทั้งยังจัดเตรียมเจ้าหน้าที่มาเฝ้าดูแลอนุสาวรีย์แห่งนี้ ตลอด 24 ชม.”อีกด้วย
 ลุงคนขับรถชาวพม่าพาเราสองคนและไกด์หลุยส์เดินทางออกจากท่าขี้เหล็กไปตามถนน ราดยางซึ่งตลอดสองข้างทางเต็มไปด้วยฝุ่นผ่านสนามบินท่าขี้เหล็กซึ่งครั้ง หนึ่งผมได้เคยมีโอกาสเดินทางมาใช้บริการของสนามบินแห่งนี้เพื่อเดินทางไปยัง สนามบินเฮโฮในเมืองตองจีซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน



จากสนามบินท่าขี้เหล็กลุงคนขับรถตู้พาพวกเราไปตามถนนราดยางความกว้างสองเลน


ผ่านเรือกสวนไร่นาและเทือกเขาสูงตะหง่านยืนท้าทายแดดลมเป็นแบ็คกราวน์อยู่ไกลสุดสายตา

ลุง คนขับรถขับรถช้าคล้ายกับเต่าคลานไม่ถูกใจวัยรุ่นเช่นเราทั้งสองคนพอเราสอบ ถามลุงคนขับรถชาวพม่าแกก็ตอบกลับมาเป็นภาษาไทยกระท่อนกระแท่นว่า “ลุงเน้นเรื่องความปลอดภัยถ้าอยากขับเร็วๆหรือขับลงเหวข้างทางก็มาขับเองซิ ว่ะ”คุณลุงพูดแล้วก็ควักใบขับขี่พม่ามาให้เราสองคนดูอีกครั้งเหมือนกับจะบอก ให้เราสองคนได้รู้ว่า “ใบขับขี่พม่า


ใบนี้ลุงสอบมาน่ะโว้ยไม่ได้ซี้ซั้วจับฉลากหรือยัดเงินใต้โต๊ะมาเหมือนเมืองไทย” ลุงเล่นแบบนี้ทำเอาเราสองคนนั่งนิ่งเงียบในทันที
จาก นั้นผมจึงสอบถามถึงที่มาของคำว่า “ท่าขี้เหล็ก”ซึ่งไกด์หลุยส์ได้เล่าเรื่องราวที่มาของคำว่า “ท่าขี้เหล็ก”ให้เราสองคนฟังคำว่า “ท่าขี้เหล็ก”เป็นภาษาไทใหญ่ตั้งชื่อขึ้นตามต้นขี้เหล็กต้นไม้ชนิดหนึ่งออก ดอกเป็นสีเหลืองขึ้นอยู่อย่างมากมายในจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่าซึ่งในบ้าน เราชอบนำดอกและใบอ่อนของมันมาแกงเป็นอาหารโดยแกงกับเนื้อย่างหรือปลาย่าง เรียกว่า “แกงขี้เหล็ก”ซึ่งจะมีรสชาติขมเล็กน้อยแต่กลมกล่อมคนต่างจังหวัดจะรู้จักแกง ขี้เหล็กเป็นอย่างดีกว่าคนเมือง
สำหรับชาวพม่าและชาวไทใหญ่มักจะนิยมนำลำ ต้นของต้นขี้เหล็กมาทำเป็นฟืนหุงหาอาหารดั่งจะแลเห็นได้จากกองฟืนของต้นขี้ เหล็กที่ชาวบ้านนำมาวางขายตลอดสองข้างทางสู่เมืองเชียงตุง


รถตู้พาเราสองคนผ่านบ้านแม่ยาง(กม.ที่13)


จาก นั้นก็เดินทางมาถึงหมู่บ้านเต่าตงโลงซึ่งแปลเป็นไทยว่า “หมู่บ้านเขาสามลูก”ซึ่งไกด์หลุยส์บอกเราว่าสามารถรับสัญญาณโทรศัพท์จาก เมืองไทยได้เราสองคนไม่รอช้าทดลองโทรศัพท์สัญญาณไทยกลับบ้านซึ่งก็ได้รับคำ ตอบจากปลายทางที่เมืองไทยเสียงดังฟังชัดเจนดี เออ! ผมมีเรื่องที่จะเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังเกี่ยวกับระบบโทรคมนาคมในประเทศพม่า โทรศัพท์ในประเทศพม่าเป็นเรื่องของคนรวยเขาใช้กันส่วนคนจนเช่นเราทั้งสองคน นั้นหมดสิทธิ์ใช้โทรศัพท์ครับ
เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับโทรศัพท์ในพม่า เครื่องหนึ่งราคาเพียงไม่กี่บาทของที่ผลิตในจีนมีวางขายในพม่าเยอะแยะไปแต่ ซิมสำหรับใช้กับโทรศัพท์นั้นล่ะซิครับได้ยินราคาซิมที่ซื้อขายกันในพม่าแล้ว น่าใจหายราคาซิมตกอันละ500,000จ๊าดคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ20,000บาทแต่ซิ มที่เมืองไทยบ้านเราไล่แจกฟรีครับส่วนราคาค่าโทรศัพท์ก็แตกต่างๆราวฟ้ากับ ดินโทรศัพท์จากพม่ามาเมืองไทยนาทีแรก1.25USDคิดเป็นเงินไทยนาทีละ40บาทนาที ต่อมานาทีละ13บาทถ้าโทรศัพท์ในเมืองนาทีละ50จ๊าดหรือเท่ากับเงินไทย2บาท ในสมัยยุคอดีตนายกทักษิณฯ เคยเดินทางไปตกลงธุรกิจโทรคมนาคมกับรัฐบาลพม่าไทยจะให้เงินกู้กับพม่ามา พัฒนาระบบโทรคมนาคมในประเทศแต่ยังไม่ทันจะเซ็นสัญญาอดีตนายกทักษิณฯโดนทหาร ปฎิวัติกระเด็นตกจากตำแหน่งเสียก่อนคนพม่าจึงจ่ายค่าโทรศัพท์แพงมาจนถึงทุก วันนี้ครับ...ช่างเป็นกรรมเวรของพี่หม่องจริงๆผมพาท่านผู้อ่านนอกเรื่อง เมืองเชียงตุงไปแล้วมาเข้าเรื่องเมืองเชียงตุงกันต่อดีกว่าครับ.
 จากหมู่บ้านเต่าตงโลงในที่สุดคุณลุงขับรถตู้คลานมาถึงเมืองท่าเดื่อตั้งอยู่ ที่กม.48 ซึ่งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554ปีที่ผ่านมานี้เองเมืองท่าเดื่อแห่งนี้เคยเป็นจุดศูนย์กลางของแผ่นดิน ไหวความรุนแรงประมาณ8.5 ริกเตอร์


ตึก รามบ้านช่องหลายหลังในเมืองท่าเดื่อถูกทำลายพังพินาศลงมามีคนตาย100กว่าคนใน ขณะที่รถตู้ขับผ่านผมได้เห็นร่องรอยความเสียหายของแผ่นดินไหวซากสลักปรักพัง ของตึกเก่ารวมทั้งสะพานที่พังพินาศลงมาเพราะความรุนแรงจากแผ่นดินไหว ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการซ่อมแซม


ลุง คนขับรถพาเราสองคนและไกด์หลุยส์แวะพักรถกันที่ร้านอาหารต้าลื่อภายในเมือง ท่าเดื่อเป็นร้านอาหารของชาวไทใหญ่สั่งก๋วยเตี๋ยวมารองทานชามละ1000จ๊าด (40บาท)รสชาติคล้ายกับบ้านเราจากนั้นจึงข้ามถนนตามไกด์หลุยส์ไปกินหมากสั่ง มา6 คำราคา10บาทตกหมากคำละ1.80บาทรสชาติฝาดๆเย็นๆ


หมาก เป็นสิ่งที่อยู่เคียงคู่กับชาวพม่ามาช้านานเป็นวัฒนธรรมการขบเคี้ยวของชาว พม่าดั่งจะเห็นว่าชาวพม่านิยมการเคี้ยวหมากแทนการสูบบุหรี่ซึ่งพม่าได้รับ อิทธิพลการกินหมากมาจากอินเดียประเทศที่มีพรมแดนใกล้ชิดติดกันทางด้านทิศ ตะวันตก


ไกด์หลุยส์ ของเราติดหมากเป็นชีวิตจิตใจในกระเป๋าจะเตรียมหมากเอาไว้เคี้ยวได้เคี้ยวดี ตลอดทั้งวันไกด์หลุยส์บอกเราว่า “วันไหนไม่ได้กินข้าวไม่เป็นไรแต่วันไหนที่ไม่ได้เคี้ยวหมากพวกพาลจะลงแดง เอาได้ง่ายๆ”เพราะตลอดเวลา3-4วันที่อยู่ด้วยกันจะเห็นไกด์หลุยส์เคี้ยวหมาก ปากแดงอารมณ์ดีอยู่ตลอดทั้งวันท่านผู้อ่านอยากจะเห็นไกด์หลุยส์ตอนเคี้ยว หมากปากแดงเข้าไปคลิ๊กดูVDOที่ทางทีมงานของเราถ่ายมาในตอนที่มีชื่อว่า “IDOตะลุยเมืองเชียงตุง”ได้เลยครับตลกโปกฮาครบทุกชาติครับ
จากนั้นรถตู้ก็พาเราออกเดินทางต่อไปบนถนนราดยางอันคดเคี้ยวข้างทางจากหน้าต่างรถมองลงไปแลเห็นลำธารใสไหลเย็น

กระแส น้ำไหลเลียบวกวนไปตามหุบเขาอันสลับซับซ้อนใหญ่น้อยที่บางลูกเต็มไปด้วยต้น เสี้ยวที่ออกดอกสีขาวบานสะพรั่งเต็มหุบเขาความสวยงามของดอกเสี้ยวทำให้เรา สองคนพลาดไม่ได้ที่จะจอดรถลงมาบันทึกภาพมาฝากท่านผู้อ่าน



ในที่สุดคุณลุงขับรถตู้ก็พาเราเดินทางมาถึงยังเมืองพยากหรือเมืองแพรกตั้งยู่บริเวณกม.ที่83



ซึ่ง เมืองพยากหรือเมืองแพรกแห่งนี้เป็นเมืองใหญ่ทางภาคตะวันออกอันดับสองรองลง มาจากเมืองเชียงตุงครับโดยเมืองนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างท่าขี้เหล็กกับ เมืองเชียงตุงเท่ากับว่าเราได้เดินทางมาถึงครึ่งทางระหว่างท่าขี้เหล็กกับ เมืองเชียงตุงแล้วครับ

ภายใน เมืองเมืองพยากหรือเมืองแพรกมีทางแยกไปทางทิศตะวันออกถึงเมืองยองและเมือง ยู้จนถึงแม่น้ำหลวยไหลลงแม่น้ำโขงจากนั้นจึงทวนน้ำขึ้นไปยังเมืองเชียงรุ้ง หรือสิบสองปันนาในสาธารรัฐประชาชนจีนได้ครับ


เรา แวะดื่มน้ำพร้อมเดินเที่ยวชมสินค้าตามร้านค้าต่างๆที่ตั้งเรียงรายอยู่ สินค้าส่วนใหญ่นำเข้าจากเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มชูกำลังของป๋า เลียว,คาราบาวแดงของน้าแอ๊ด,และอิชิตันของเสี่ยตันวางขายอยู่เกลื่อนกลาด


แต่ ที่จะขาดไม่ได้ก็คือร้านหมากปากแดงของไกด์หลุยส์ตั้งร้านขายหมากเพิงหมา แหงนอยู่ทุกมุมเมืองและที่เมืองพยากแห่งนี้เป็นชุมทางของรถโดยสารทุกคันที่ ผ่านมาบนเส้นทางสายนี้


จะต้องแวะที่เมืองพยากเพื่อเติมน้ำมันและน้ำ


พร้อมกับให้ผู้โดยสารได้ลงมาจากรถเข้าห้องสุขาและยืดเส้นยืดสายหาอาหารรับประทานก่อนจะออกเดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ


และที่บริเวณจุดพักรถในเมืองพยากนั้นเราสองคนแลเห็นแม่ค้าเดินถือกระจาดมาขายอะไรอยู่ไม่ทราบ


ด้วย ความอยากรู้อยากเห็นเรสองคนจึงเดินแวะเข้าไปดูแลเห็นก้อนสีเขียวเล็กๆลักษณะ คล้ายกับวุ้นอยู่ในตะกร้าด้วยความสงสัยผมจึงสอบถามไกด์หลุยส์ได้ความว่าที่ เราสองคนแลเห็นอยู่ในตะกร้านั้นก็คือตะไคร่น้ำภาษาพม่าเรียกว่า “ออกรอน”นั่นเองครับ


ตะไคร่ น้ำชนิดนี้มีมากในแม่น้ำพยากชาวพม่านิยมนำมาผสมกับน้ำแข็งไสแล้วใส่น้ำหวาน กินเป็นขนมคลายร้อนในหน้าร้อนผมลองหยิบตะไคร่น้ำมาชิมดู เมื่อตะไคร่น้ำผ่านเข้าไปในปากของเราแล้วมีความรู้สึกว่าลื่นๆคล้ายวุ้นบ้าน เราครับ


พักรถจนเราหายเหนื่อยแล้วมาเดินทางกันต่อดีกว่าครับเดื๋ยวจะถึงเมืองเชียงตุงมืดกะนพอดี
 จากเมืองพยากเราเดินทางผ่านมายังบ้านยางดะ(กม.112)บ้านปางควาย(กม.138)บ้าน น้ำร้อน(กม.160)ผ่านดอยเหมยภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล4,500ฟุตเป็น แหล่งท่องเที่ยวสวยงามท้าทายนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัยให้เดินเท้าขึ้น ไปสัมผัสความสวยงามเบื้องบน


 ลุงคนขับรถพาเราสองคนเดินทางเรื่อยมาจนผ่านเข้าสู่เขตเชียงตุงเห็นป้าย “Welcome to Kainge tong”ผมบอกให้ลุงคนขับรถหยุดรถจากนั้นจึงพากันลงไปถ่ายรูปที่ป้ายเมืองเชียง ตุงไว้เป็นที่ระลึกก่อนที่จะเดินทางต่อเข้าไปในเมืองเชียงตุง


เรา สองคนใช้เวลาเดินทางอีกไม่นานในที่สุดก็เดินทางมาถึงยังเมืองเชียง ตุง(กม.ที่160)เมื่อเวลาบ่ายคล้อยรวมระยะทางจากด่านแม่สายในจังหวัดเชียงราย ถึงเมืองเชียงตุงในรัฐฉานระยะทาง165กม.ใช้เวลาเดินทางรวมทั้งสิ้น5 ชม.ครับ
โดยผ่านด่านทหารพม่าด่านใหญ่3ด่าน,ด่านเล็ก1ด่านรวมด่านทหารพม่าที่ผ่านมาทั้งสิ้น 4 ด่านครับ
เราเดินทางผ่านโรงพยาบาลเชียงตุงมีพื้นที่กว้างขวางใหญ่โตมากตั้งอยู่ชานเมืองเชียงตุง


จากนั้นจึงเดินทางเข้ามาในเมืองผ่านอนุสาวรีย์อิสระภาพจนเดินทางเข้ามาถึงตัวเมืองเชียงตุง



 และก่อนที่จะปฏิบัติภาระกิจกันต่อไปในเมืองเชียงตุง เราสองคนมาหาอาหารกลางวันรับประทานกันก่อนดีกว่าครับมาเมืองพม่าทั้งที่ต้อง กินอาหารพม่าเป็นประเดิมซิครับถึงจะได้ชื่อว่ามาถึงเมืองพม่าแล้วครับแต่ถ้า เมื่อมาถึงเมืองพม่าแล้วถามหาแต่อาหารไทยมารับประทานดูแล้วมันไม่เข้าท่าน่ะ ครับคิดได้แล้วผมจึงบอกให้ไกด์หลุยส์พาเราทั้งสองคนไปหาอาหารพม่าในเมือง เชียงตุงรับประทานกันไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดินทางไปยังร้านอาหารพม่าในเมือง เชียงตุงสำหรับร้านอาหารร้านนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาพม่าว่า “อองไน”เปิดขายแต่อาหารพม่าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


ลักษณะ ของร้านคล้ายกับร้านขายข้าวแกงบ้านในบ้านเราเปิดให้บริการ ตั้งแต่08.00-20.00น ร้านอองไนตั้งอยู่ตรงข้ามกับตลาดใหญ่เมืองเชียงตุงบริเวณด้านหน้าของร้านมี หม้อแกงวางเรียงรายกันหลายสิบหม้อ



โดย มีแม่ค้าเป็นเด็กสาววัยรุ่นหน้าขาวสดใสด้วยรอยยิ้มลูกครึ่งจีน-ไทใหญ่สวยจน กระทั่งเราสองคนรวมทั้งไกด์หลุยส์เห็นหน้าแม่ค้าแล้วแทบอยากจะเหมาให้หมด ทั้งร้านรวมคนขายกันเลยทีเดียวครับ



เรา สองคนเริ่มเปิดฝาหม้อแกงทีละหม้อสำรวจหน้าตาของอาหารก่อนสั่งมารับประทาน หน้าตาของอาหารแต่ละอย่างน่าทานทั้งนั้นเลยครับโดยเฉพาะแกงฮังเล่ ย์หมู,เนื้อ,ไก่ อาหารประจำชาติของพม่าหน้าตาคล้ายกับแกงมัสมั่นบ้านเรา


เราสองคนรวมทั้งไกด์หลุยส์รับประทานอาหารมื้อแรกในเมืองเชียงตุงด้วยความเอร็ดอร่อย


โดยทางร้านคิดราคาค่าอาหารดังนี้น่ะครับถ้าหากรับประทานที่ร้านคนละ2,000จ๊าด(80บาท)ซื้อใส่ถุงกลับบ้านคิดถุงละ1000จ๊าด(40บาท)



หลัง จากจัดการกับอาหารกลางวันแต่มากินกันตอนบ่ายแก่ๆเสร็จเรียบร้อยแล้วจากนั้น ไกด์หลุยส์จึงพาเราทั้งสองคนเดินทางเข้าสู่โรงแรมที่พักในเมืองเชียงตุง
 สำหรับโรงแรมที่พักในเมืองเชียงตุงที่ไกด์หลุยส์พาเราสองคนมาเข้าพักก็คือ โรงแรมนิวเชียงตุงซึ่งเป็นโรงแรมที่ผมเคยเดินทางมาเข้าพักเมื่อครั้งที่ผม เดินทางมาเมืองเชียงตุงเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ2547 หรือเมื่อ9 ปีที่ผ่านมา


 เนื่องจากเป็นโรงแรมที่ดำเนินงานโดยรัฐบาลพม่าและพม่ายังไม่ได้เปิดประเทศ อย่างเป็นทางการเพราะฉะนั้นการบริการต่างๆจึงมิอาจเทียบเคียงได้กับโรงแรมใน บ้านเราแต่โรงแรมนิวเชียงตุงแห่งนี้ก็ยังถือได้ว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุด แห่งหนึ่งในเมืองเชียงตุงครับ
สำหรับประวัติของโรงแรมนิวเชียงตุงมี ประวัติความเป็นมาคล้ายๆกับโรงแรมหลายๆแห่งในลาวซึ่งแต่เดิมมักจะเป็นวัง เก่าหรือหอคำของเจ้ามหาชีวิตซึ่งหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบ คอมมิวนิสต์หรือระบอบเผด็จการทหารทางรัฐบาลของประเทศนั้นๆก็จะทำการแปร เปลี่ยนวังเก่าหรือหอคำต่างๆมาเป็นโรงแรมที่พักของนักท่องเที่ยวเช่นวังเจ้า บุญอุ้มที่เมืองปากเซในแขวงจำปาสักแต่สำหรับวังหรือหอคำที่เมืองเชียงตุงทาง รัฐบาลทหารพม่าทำการรื้อและทุบวังเก่าหรือหอคำของเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ทิ้งแบบไม่ให้เหลือซากกันเลยทีเดียวจากนั้นจึงสร้างโรงแรมนิวเชียงตุงขึ้นมา ใหม่
 สำหรับประวัติความเป็นมาของโรงแรมนิวเชียงตุงแห่งนี้ผมจะเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังคร่าวๆดังต่อไปนี้น่ะครับ
โรง แรมนิวเชียงตุงตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงตุงในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณนี้ คือที่ตั้งของหอคำหรือพระราชวังของเจ้าฟ้าไทเขินผู้ปกครองเมืองเชียงตุงทรง พระนามว่า “เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง”ทรงสร้างขึ้นในปีพ.ศ 2449 สำหรับสถาปัตยกรรมของหอหลวงแห่งนี้ ด้านหน้าเป็นอาคารคอนกรีตศิลปะแบบอังกฤษผสมอินเดีย ซึ่งผมมองดูแล้วรูปลักษณะศิลปะในการสร้างคล้ายกับทำเนียบรัฐบาลในบ้านเรา ครับส่วนด้านหลังเป็นหลังคาศิลปะแบบไทเขิน
 หอหลวงแห่งนี้นอกจากเป็นที่สำหรับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินของเมืองเชียงตุงใช้ ออกว่าราชการงานเมืองตามปกติแล้ว ยังใช้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอีกด้วยนอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ ให้ประชาชนในเมืองเชียงตุงได้เข้าเฝ้าเจ้าฟ้าในวาระโอกาสสำคัญต่างๆโดยจะจัด ให้มีการแสดง "ฟ้อนหางนกยูงคำ" (ปัจจุบันแลเห็นได้ในงานต้อนรับผู้มาเยือน) อันเป็นเอกลักษณ์ของเชียงตุง
ต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม 2505 นายพลเนวิน ได้ก่อการปฏิวัติรัฐประหารจากนั้นได้ทำการขับไล่เจ้าฟ้าและเชื้อพระวงศ์ พร้อมข้าราชบริพารให้ออกไปอยู่ในที่อื่นจากนั้นได้ทำการยึดหอหลวง สัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณของชาวไทเขินไทใหญ่แปรเปลี่ยนสภาพมาเป็นสถานที่ ราชการของพม่าและดำรงอยู่มาเป็นเวลาร่วม 30 ปี
ต่อมาในกลางปี 2534 รัฐบาลทหารพม่าทำการรื้อหอคำหลังนี้โดยให้เหตุผลว่า ต้องการใช้พื้นที่ของหอหลวงหลังนี้เพื่อสร้างเป็นโรงแรมที่พักไว้ต้อนรับนัก ท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อเป็นการและสร้างรายได้และสร้างความเจริญให้แก่เมือง เชียงตุง จากนั้นจึงเริ่มทำการทุบทำลายหอหลวงเมื่อวันที่9 พ.ย.2534
โดยไม่ยอมฟังเสียงคัดค้านจากคณะสงฆ์ไทเขินไทใหญ่ และชาวเชียงตุง
แม้ ว่าในเมืองเชียงตุงจะมีพื้นที่กว้างอยู่อีกมากเพียงพอที่ให้รัฐบาลพม่าสร้าง โรงแรมขนาดใหญ่ได้ก็ตาม แต่ทางรัฐบาลพม่าไม่ยอมเปลี่ยนใจหาสถานที่สร้างโรงแรมใหม่ จากนั้นจึงใช้เวลาในการรื้อทำลายหอคำแห่งนี้อยู่นานประมาณ6 เดือน จึงแล้วเสร็จท่ามกลางเสียงร่ำไห้ของชาวเมืองเชียงตุงที่ยังยึดมั่นในสถาบัน กษัตริย์
 จากนั้นต่อมาเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ2535 รัฐบาลทหารพม่าได้สร้างโรงแรมเชียงตุง (Kyainge Tong Hotel) ขึ้นมาใหม่บริเวณด้านนอกของหอคำ ลักษณะเป็นอาคารแถวชั้นเดียว2 หลัง บังกาโล 4 หลัง รองรับนักท่องเทียวได้ 60 คน ส่วนลานด้านในแต่เดิมเป็นที่ตั้งหอหลวงนั้นรัฐบาลทหารพม่าทำเป็นลานจอดรถนัก ท่องเที่ยว

และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลทหารพม่าได้สร้างโรงแรมนิวเชียงตุง
(Kyainge Tong New Hotel)หลังใหม่ขึ้นมาอีกครั้งบนบริเวณพื้นที่เดิมของหอคำโดยได้ทำการปรับ ตำแหน่งของอาคารให้ทำมุมเบี่ยงไปทางด้านซ้ายของประตูทางเข้าโรงแรมซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกนอกจากนี้ที่บริเวณโดยรอบของโรงแรมนิวเชียงตุงในปัจจุบันนี้ ยังมีต้นไม้เก่าแก่ขนาดใหญ่อายุอานามร้อยกว่าปียืนต้นอยู่หลายชนิดซึ่งได้ทำ การปลูกไว้ในสมัยที่สร้างหอคำใหม่ๆ อาทิ ต้นพะยอม,ต้นสาระฯลฯ
สำหรับภาพขอ พระราชวังหรือหอหลวงหลังเก่าก่อนที่จะถูกทุบทำลายผมได้ค้นหาภาพเก่าๆมาให้ ท่านผู้อ่านได้ชมดังในภาพนี้น่ะครับดูลักษณะของหอหลวงแห่งนี้แล้วคล้ายกับ ทำเนียบรัฐบาลบ้านเราไหมครับ


 เราสองคนขนสัมภาระลงจากรถจากนั้นจึงเดินเท้าเข้าไปCheck inที่บริเวณเคานเตอร์ภายในล็อบบี้ของโรงแรมนิวเชียงตุงบรรยากาศภายในสลัวๆ ปราศจากแสงไฟพลันสายตาของผมก็เหลือบไปเห็นป้ายภาษาไทยเขียนคำว่า “ยินดีต้อนรับ”ตั้งอยู่บนเคานเตอร์แสดงว่าคนไทยนิยมเดินทางมาพักที่โรงแรมนิ วเชียงตุงแห่งนี้ หลังจากทักทายปราศรัยกับพนักงานประจำโรงแรมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของทางรัฐบาล พม่าเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนจึงรับกุญแจขนสัมภาระเข้าสู่ห้อง พักในโรงแรมนิวเชียงตุง
สำหรับโรงแรมนิวเชียงตุงมีทั้งหมด4ชั้นมีห้องพัก ทั้งหมด140ห้องพร้อมแอร์,ทีวีและน้ำอุ่นภายในห้องพักกว้างขวางดูสะอาด สะอ้านดีชมได้ตามภาพครับท่านแต่เสียที่ไม่มีลิฟท์ให้บริการเท่านั้นครับ
สำหรับ ราคาค่าห้องพักแบ่งราคาตามชั้นล่างแพงชั้นบนสุดยิ่งถูก ชั้นสองราคาห้องละ 970บาทส่วนชั้นสามที่เราสองคนพักราคาห้องละ550 บาทรวมอาหารเช้าหนึ่งมื้อด้วยครับท่านผู้อ่านสนใจที่จะเดินทางมาเข้าพัก สามารถโทรศัพท์ระหว่างประเทศติดต่อจองห้องพักได้ที่ Kiang tong new Hotel TEL… (095)(084)(21621,21620,21617)
ได้เลยครับโรงแรมนิวเชียงตุงไม่มีการจองห้องพักได้ทาง e-mailหรีอInternet น่ะครับโทรศัพท์ระหว่างประเทศติดต่อได้เพียงอย่างเดียวครับ
 ในโรงแรมนิวเชียงตุงแต่ละชั้นไม่มีลิฟท์นักท่องเที่ยวจะต้องเดินเท้าขึ้น บันไดและอาจจะต้องแบกสัมภาระขึ้นมาเองน่ะครับเพราะเจ้าหน้าที่ของโรงแรมมี น้อยครับ จะติดหรูความสะดวกสะบายเหมือนกับโรงแรมในเมืองไทยนั้นไม่ได้น่ะครับท่าน
 ภายในห้องมีทีวีขนาด14นิ้วตั้งอยู่ปลายเตียงซึ่งสามารถรับสัญญาณการถ่ายทอด ข่าวสารจากเมืองไทยได้โดยเฉพาะช่อง3และช่อง7แต่ไม่มีสัญญาณวายไฟล์จาก อินเตอร์เน็ตเพราะเป็นเรื่องแปลกใหม่ในเมืองเชียงตุง


ผม เปิดประตูระเบียงของโรงแรมออกไปชมบริเวณด้านหลังของโรงแรมนิวเชียงตุงเป็น สวนหย่อมขนาดใหญ่ผมมองดูแล้วคาดเดาว่าสวนหย่อมแห่งนี้คงจะไม่ค่อยมีคนดูแล เอาใจใส่สภาพจึงดูโทรมๆ ภายในสวนเรียงรายไปด้วยต้นลีลาวดีและต้นไม้ขนาดใหญ่นานาพันธุ์บางต้นอาจมี อายุนับเป็น100ปี


กลาง พื้นที่สวนหย่อมมีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่สภาพของสระว่ายน้ำขาดการดูแลเอาใจใส่ น้ำในสระว่ายน้ำจึงแห้งสนิทใครเผลอเดินตกลงไปมีหวังคอหักตายแน่ๆ


จากนั้นถ้ามองออกไปไกลๆด้านหลังของตัวโรงแรมจะเป็นที่ตั้งของหนองตุงหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองเชียงตุง


หลัง จากชมวิวทิวทัศน์ด้านหลังของโรงแรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมเดินกลับเข้ามาภายในห้องพักมองเห็นเทียนไขพร้อมไม้ขีดตราพญานาควางอยู่ใน จานบนโต๊ะตั้งทีวี


ซึ่ง ทางโรงแรมได้จัดเตรียมไว้ให้บริการแขกที่เข้ามาพักทุกห้องเพราะการไฟฟ้าพม่า จ่ายไฟไม่เป็นเวลาทางโรงแรมจึงต้องปั่นไฟใช้เองโดยจะเริ่มปั่นไฟตั้งแต่ เวลา18.00-22.00น.เท่านั้น
หลังจากเวลา22.00 น.เป็นต้นไปทั้งโรงแรมและทั่วทั้งเมืองเชียงตุงก็จะมืดสนิททางโรงแรมจึงต้อง จัดเตรียมเทียนไขไว้ให้แขกที่เข้าพักทุกห้อง แหม!ช่างเป็นโรงแรมที่แลดูออกจะคลาสสิคและย้อนยุคดีแท้น่ะครับท่านผู้อ่าน ที่เดินทางเข้าพักในโรงแรมนิวเชียงตุงผมขอแนะนำให้พกไฟฉายจากเมืองไทยติดตัว ไปด้วยน่ะครับโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวบางคนที่กลัวผีคงจะลำบากสักหน่อยแต่ขอ ให้สบายใจได้ครับเพราะในขณะที่เราสองคนเข้าพักในโรงแรมแห่งนี้ก็ไม่มีผีพม่า ,ผีไทใหญ่ ,ผีไทเขินหรือผีเจ้าฟ้ามาหลอกหลอนกวนใจเราสองคนเลยครับแถมตกกลางคืนยังต้อง ปิดหน้าต่างนอนเพราะอากาศภายนอกในยามค่ำคืนนั้นหนาวเย็นพอสมควรเลยครับท่าน ผู้อ่าน เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาไฟดับเราสองคนจึงนอนได้อย่างสบายโดยไม่ต้องรบกวนแอร์ เลยครับท่าน นับได้ว่าอากาศของเมืองเชียงตุงนี้สุดยอดเลยจริงๆครับ
เรา สองคนจัดการอาบน้ำชำระร่างกายจากนั้นตกตอนเย็นเราพากันไปเดินเที่ยว เก็บภาพกันที่หนองตุงที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของโรงแรมมาฝากท่านผู้อ่าน กันครับแต่ก่อนจะเดินเท้าไปเที่ยวยังหนองตุงผมจะขอเล่าถึงประวัติความเป็นมา ของหนองตุงให้ท่านผู้อ่านได้ฟังดังนี้น่ะครับ

 หนองตุงหนึ่งใน9 หนองใหญ่ ที่ยังคงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวก็คือหนองตุงแห่งนี้น้ำในหนองตุงหล่อเลี้ยง ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ชาวเมืองเชียงตุงมาหลายชั่งอายุคนตั้งแต่ครั้งกาลก่อน จวบจนถึงปัจจุบันนี้


ตาม ตำนานเก่าแก่กว่า 800 ปีก่อนได้เล่าสืบต่อกันมาว่าได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้นที่ริม ฝั่งแม่น้ำขึน ต่อมาได้มีพระดาบสรูปหนึ่งนามว่า “ ตุงคฤาษี ” ได้แสดงอภินิหารอธิษฐานให้น้ำที่ท่วมไหลออกไปคงไว้แต่หนองน้ำใหญ่กลางใจ เมืองจากนั้นชาวบ้านจึงตั้งชื่อหนองตุงตามชื่อพระดาบสรูปนี้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ“เชียงตุง ”หรือ“เขมรัฐตุงคบุรี”มีความหมายว่าเมืองแห่งตุงคฤาษีชาวเมืองเชียงตุงจึง อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
หนองตุงแห่งนี้


ตาม ความเชื่อแต่ครั้งโบราณว่าบริเวณหนองน้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้า เคยทรงเสด็จมาโปรดสัตว์ยังที่เมืองเชียงตุงและได้มาล้างบาตรที่หนองตุงแห่ง นี้หนองตุงเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ


ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองเชียงตุงแต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจก็คือบริเวณหนองน้ำแห่งนี้ จะมีระดับน้ำคงที่สม่ำเสมอตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูร้อน-หนาว-ฝนก็ตาม แต่ระดับน้ำในหนองน้ำไม่เคยลดลงหรือเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อยครับ
เราสองคนพร้อมทั้งไกด์หลุยส์เดินเท้าลงมาตามถนนราดยางมายังหนองตุง


ซึ่ง ตั้งอยู่ด้านหลังห่างจากโรงแรมนิวเชียงตุงระยะทางประมาณ150เมตรหนองตุงเป็น หนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายกับเมล็ดถั่วมีน้ำตลอดทั้งปีไม่มีฤดู ไหนที่น้ำจะแห้งเหือดไปจากหนองตุงเลยบริเวณโดยรอบของหนองตุง เราจะมองเห็น บ้านเรือนหลังน้อยใหญ่ของชาวเชียงตุงเรียงรายอยู่เต็มไปหมด


ใน อดีตเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมาภายในหนองตุงแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของร้าน อาหารขนาดใหญ่ร้านคาราโอเกะและดิสโก้เทคสร้างยื่นออกไปในหนองตุง
ตกค่ำคืนทุกร้านเปิดเพลงเสียงกระหึ่มก้องกังวานไปทั่วหนองตุง


จน ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมหนองตุงอยู่กันอย่างไม่เป็นสุข ต่อมารัฐบาลทหารพม่าได้ออกคำสั่งห้ามและทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่ สร้างยื่นเข้าไปในหนองตุงออกให้หมดจะเหลือไว้ก็แต่ตึกเก่าๆหลังหนึ่งอันเป็น ที่ตั้งของดิสโก้เทคขนาดความสูง4 ชั้นตั้งอยู่ริมฝั่งหนองตุงเท่านั้นล่ะครับที่ยังไม่ถูกทหารพม่าสั่งรื้อแต่ ปัจจุบันไม่มีความครึกครื้นเหมือนแต่ก่อนแล้วครับเพราะไม่ค่อยมีคนมาเที่ยว ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่ล้ำเข้าไปในหนองตุงถูกสั่งให้รื้อหมดซึ่งเจ้าของธุรกิจ ทุกคนจำต้องยินยอมพร้อมใจกันรื้อถอนแต่โดยดีเพราะถ้าหากขัดขืนมีสิทธิจมหาย ไปในหนองตุงแน่นอนรัฐบาลทหารพม่าคงไม่ไว้หน้าแน่ปัจจุบันหนองตุงจึงได้กลับ มามีแต่ความเงียบสงบและบรรยากาศความเป็นธรรมชาติเหมือนดั่งเดิม เราจึงได้เห็นภาพของหนองตุงยังคงความสวยงามสงบเงียบอยู่เช่นดั่งในปัจจุบัน นี้ครับ ผมต้องขอบคุณรัฐบาลทหารพม่าที่คืนความสงบสุขกลับมาให้กับชาวเมืองเชียงตุง เหมือนเช่นเดิมครับ ทำให้ผมมองรัฐบาลทหารพม่าในแง่ดีขึ้นอีกมากน่าจะมาจัดการกับแพดิสโก้เทคที่ แม่น้ำแควน้อยในเมืองกาญจนบุรีบ้างน่ะครับบรรยกาศการท่องเที่ยวและธรรมชาติ ของเมืองกาญจนบุรีคงจะดีขึ้นกว่าปัจจุบันเยอะเลยน่ะครับ
นอกจากบ้านเรือน ผู้คนที่ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของผู้มีอันจะกินแล้วบริเวณโดยรอบหนองตุงจะมี ร้านอาหารเล็กๆที่น่ารักและแผงลอยขายอาหารของชาวบ้านมาวางขายอยู่โดยรอบหนอง ตุงอีกด้วยครับ



พอ ยามเย็นแดดร่มลมตกเราจะเห็นชาวเชียงตุงทั้งชายหญิงมาวิ่งออกกำลังกายกันเป็น ประจำซึ่งรวมทั้งนักเรียนนักศึกษาวัยรุ่นก็จะมานั่งรับปรทานขนมปังนมสดและ ขนมหวานกันโดยรอบหนองตุงแห่งนี้ครับ

เราสองคนเดินเที่ยวชมบรรยากาศยามเย็นของหนองตุงจนสมควรแก่เวลา


จาก นั้นเราสองคนจึงตกลงกันหาอาหารค่ำทานกันที่บริเวณหนองตุงแห่งนี้สำหรับร้าน อาหารของเราในค่ำคืนนี้ที่หนองตุงได้แก่ร้าน “ หมี่อู่”หรือร้าน ขนมจีนหม้อดิน ภาษาพม่าหมี่อู่หมายถึงหม้อดินส่วนมงตีหมายถึงขนมจีนสนนราคาหม้อดินละ1000 จ๊าดเท่ากับ40บาทขนมจีนหม้อดินคล้ายกับสุกี้บ้านเรากินกันคนละหม้อก็อิ่ม แล้วครับท่าน


นอกจากนี้ยังมีอาหารจำพวกปิ้งๆย่างๆซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปิ้งย่างจำพวกเครื่องในไก่ฯลฯ


แกล้ม ด้วยเบียร์ยี่ห้อMyanmar ราคาขวดละ2,200จ๊าดเท่ากับ88บาท เบียร์พม่าแพงเอาการอยู่เหมือนกันน่ะครับเมื่อเทียบกับเบียร์ไทยสำหรับ เบียร์ไทยก็มีขายน่ะครับก็คือเบียร์ลีโอราคาขวดละ60 บาทครับถูกกว่าเบียร์พม่า สำหรับรสชาติเบียร์ Myanmar คล้ายกับเบียร์ยี่ห้อCarlsberg ของเดนมารก์ที่เลิกขายจากเมืองไทยไปนานแล้วครับ


และ เนื่องจากพม่าตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษมานาน100กว่าปีจึงทำให้รสนิยม ในการกินเบียร์ของคนพม่าคล้ายกับคนอังกฤษคือชอบกินเบียร์รสชาติแบบCarlsberg ครับเราสองคนและไกด์กลุยส์สั่งขนมจีนหม้อดินมารับประทานกันด้วยความเอร็ด อร่อยพร้อมชมความงามของหนองตุงในคืนพระจันทร์เต็มดวงช่งเป็นภาพที่สวยงาม และน่าประทับใจในคืนแรกที่ได้มีโอกาสเดินทางมาเที่ยวเมืองเชียงตุง


จาก นั้นเราสองคนใช้แสงจันทร์ที่สาดส่องในคืนพระจันทร์วันเพ็ญนำทางเดินเท้าฝ่า ความหนาวเย็นไปตามถนนกลับสู่โรงแรมนิวเชียงตุงเพื่อพักผ่อนเก็บแรงกายเอาไว้ ในวันรุ่งขึ้นพรุ่งนี้เราจะพาท่านผู้อ่านท่องเที่ยวในเมือเชียงตุงกันครับ คืนนี้ขอกล่าวคำว่าราครีสวัสดิ์ครับ......
วันที่สามของการเดินทาง
05.00 น. เราสองคนตื่นนอนในตอนเช้าจากนั้นจึงรีบเดินเท้าฝ่าความหนาวเย็นมุ่งหน้าไป ยังหนองตุงเพื่อบันทึกภาพบรรยากาศของหนองตุงในยามเช้ามาฝากท่านผู้อ่านครับ

 บรรยากาศของหนองตุงในยามเช้าเงียบสงบอากาศช่างสดชื่นดีแท้เสียงระฆังดังแว่ว มาจากภายในวัดเป็นสัญญาณให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณรออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์ชาว บ้านเริ่มออกมาใส่บาตรบางคนก็ออกเดินเท้าไปตลาดเพื่อจับจ่ายซื้อของกันในตอน เช้าเช่นนี


เราสองคนเดินเล่นไปรอบๆหนองตุง


แลเห็นชาวบ้านกำลังสาละวนอยู่กับการทอดแหหาปลากันในหนองตุง


ซึ่ง ในการจะมาทอดแหหาปลากันในหนองตุงแห่งนี้ไม่ใช่ทุกคนจะมาทอดแหหาปลาในหนองตุง กันได้ทุกคนน่ะครับชาวบ้านที่จะมาทอดแหหาปลาในหนองตุงได้นั้นจะต้องได้รับ อนุญาตจากทางการเสียก่อนถ้าขืนปล่อยให้หาปลากันอย่างเสรีมีหวังปลาหมดหนอง ตุงได้ง่ายดังนั้นทางการจึงออกใบอนุญาตให้กับชาวบ้านเป็นรายๆไปครับ


สำหรับ ปลาในหนองตุงนั้นก็มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกันไปชาวบ้านที่ทอดแหหาปลา มาได้ส่วนหนึ่งก็จะนำไปขายที่ตลาดที่เหลือก็จะนำมาประกอบอาหารรับประทาน กันภายในครอบครัวเราสองคนดูชาวบ้านทอดแหหาปลากันอย่างเพลิดเพลินจนสมควรแก่ เวลา


จากนั้นจึงเดินเท้ามาท่องเที่ยวยังตลาดเช้าหรือที่ชาวเชียงตุงเรียกกันว่า “กาดเช้า”นั่นเอง


สำหรับ วันกาดในเมืองเชียงตุงมี5วันซึ่งมีชื่อเฉพาะคือกาดหลวง,สายกาดหลวง,กาด ลี,สายกาดลีและกาดข่วงซึ่งวันกาดในแต่ละวันจะมีความแตกต่างกันออกไปในวันกาด หลวงนั่นจะเป็นวันที่ตลาดคึกคักมากที่สุด


พอ ดีวันที่เราสองคนเดินทางมาเที่ยวชมตลาดเช้าในครั้งนี้ให้บังเอิญตรงกับกาด หลวงพอดี บรรยากาศภายในตลาดเช้าจึงคึกคักและคับคั่งไปด้วยชาวเมืองเชียงตุงมากมาย หลากหลายเผ่าพันธ์ซึ่งมีทั้งชาวพม่า,ไทใหญ่,ไทเขิน,ไทลื้อรวมทั้งม้ง,แม้ว เดินเท้าลงจากดอยมาซื้อของกัน


ไม่เว้นแม้แต่แขกชาวโรนินย่าก็อพยพเข้ามาค้าขายอยู่ในเมืองเชียงตุงกันอย่างมากมาย


บรรยากาศ ของตลาดเช้าที่เราสองคนเดินเที่ยวชมกันอยู่ในขณะนี้จึงแตกต่างจากเมื่อบ่าย วานนี้ที่เราสองคนเดินทางมาถึงเมืองเชียงตุงใหม่ๆบรรยากาศดูผิดกันราวกับฟ้า ดินเพราะในช่วงเวลาบ่ายที่เราเดินทางมาถึงเมืองเชียงตุงและรับประทานอาหาร กลางวันกันที่ร้านอาหารอองไนซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกันกับตลาดเช้าบรรยากาศของ ตลาดแห่งนี้แลดูเงียบสงบร้านค้าต่างๆปิดทำการจนทำให้ผมสงสัยว่านี่หรือคือ ตลาดเช้าหรือตลาดร้างกันแน่


แต่ พอเช้าของวันรุ่งขึ้นตลาดเช้าแห่งนี้ก็กลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หนึ่งร้านค้าทุกร้านเปิดทำการพ่อค้าแม่ขายนำสินค้ากุ้ง,หอย,ปู.ปลาตลอดจนพืช ผักผลไม้มาวางขายอยู่ริมถนนกันอย่างกลาดเกลื่อน


จนแทบจะหาที่เดินไม่ได้ส่วนชาวบ้านก็เดินทางมาจับจ่ายซื้อของกันอย่างคับคั่งเสียงต่อรองราคาสินค้าหลากหลายภาษาดังให้ลั่นตลาดไปหมด


ตลาด เช้าที่เมืองเชียงตุงนี้แหล่ะที่ผมสามารถพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่านี่คือ “ตลาดโบราณ”จริงๆไม่ใช่ตลาดโบราณบางแห่งในเมืองไทยที่จัดฉากขึ้นมาเพื่อ สร้างบรรยากาศทางการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ


สำหรับ สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ก็นำเข้ามาจากเมืองไทยซึ่งก็เป็นที่นิยมของชาว เมืองเชียงตุงอย่างมากจนทำให้เราสองคนอดที่จะภาคภูมิใจในสินค้าไทยของเรา ไม่ได้ เราสองคนเดินเที่ยวชมตลาดเช้าในเมืองเชียงตุงกันอย่างเพลิดเพลินเจริญใจพืช ผักผลไม้พร้อมของกินหลากหลายมีให้เลือกกินและเลือกซื้อกันอย่างมากมายในราคา ถูกกว่าเมืองไทยเล็กน้อยแถมพ่อค้าแม่ค้าบางร้านสามารถพูดภาษาคำเมืองทางภาคเหนือของไทยได้อีกด้วยครับ


เรา สองคนเหลียวซ้ายแลขวาไปมาก็เหลือบไปเห็นเด็กหนุ่มชาวพม่าคนหนึ่งยืนขายแผ่น โปสเตอร์ภาพของนายพลอองซานพ่อของอองซานซูจีนหญิงเหล็กของพม่า


ซึ่ง โดยปกติแล้วในประเทศพม่าเขาจะเข้มงวดมากในเรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะทางการจะห้ามประชาชนทั่วไปพูดกล่าวว่าร้ายรัฐบาลทหารพม่าที่ปกครอง ประเทศพม่าอยู่ในปัจจุบันโดยเด็ดขาดใครฝ่าฝืนมีสิทธิติดคุกฟรีสำหรับนักท่อง เที่ยวมีสิทธิถูกเชิญให้กลับประเทศแต่ปัจจุบันรัฐบาลพม่าภายใต้การปกครอง ของนายพลเตงเสงได้เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมืองของ ประชาชนพม่าประกอบกับใกล้วันที่4เมษายนพ.ศ2555ซึ่งภายในประเทศพม่าได้จัด ให้มีการเลือกตั้งซ่อมครั้งใหญ่ทั่วประเทศทางรัฐบาลจึงอนุญาตให้พรรคการ เมืองต่างๆในประเทศพม่าออกมาหาเสียงได้เราจึงได้เห็นการออกหาเสียงของพรรค การเมืองต่างๆทั่วเมืองเชียงตุงแต่การหาเสียงจะต้องอยู่ภายใต้ของกฏหมาย พม่า เด็กหนุ่มคนนี้จึงสามารถออกมายืนขายโปสเตอร์หาเสียงได้อย่างเสรี


แต่ ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ถ้าออกมายืนขายโปสเตอร์นายพลอองซานอดีตวีรบุรุษของพม่า อยู่อย่างนี้แล้วล่ะก็ป่านนี้โดนจับขังคุกไปแล้วเรื่องการเมืองในบ้านของเขา เราอย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวจะดีกว่าน่ะครับ การเมืองในบ้านเราปัจจุบันปัญหาคาราคาซังแก้รัฐธรรมนูญกันไม่จบสิ้นประชาชน ก็ยังปวดหัวกันพออยู่แล้วอย่าไปสนใจการเมืองของเขาเลยน่ะครับมาเที่ยวกันต่อ ดีกว่าครับ
ผมอยากจะเรียนให้ท่านผู้อ่านได้ทราบอีกเรื่องหนึ่งว่านอกจาก เงินจ๊าดของพม่าแล้วเงินไทยก็สามารถใช้ได้เลยที่ตลาดเช้าแห่งนี้ไม่ต้องนำ เงินไทยไปแลกเป็นเงินจ๊าดของพม่าให้สับสนวุ่นวาย ฮ่ะแฮ่ม!...แต่ผมต้องขอบอกท่านผู้อ่านบางคนน่ะครับว่าอย่าดูถูกค่าเงินบาท ไทยของเราน่ะครับเพราะทุกวันนี้เงินบาทไทยเป็นที่ยอมรับของทุกประเทศในแถบ อินโดจีนไม่ว่าจะเป็น ลาว,เขมร,เวียดนาม,พม่า ยอมรับเงินไทยของเราหมดแล้วครับท่านดังนั้นร้านค้าบางร้านในตลาดเมืองเชียง ตุงจึงสามารถซื้อสินค้าแล้วจ่ายเป็นเงินบาทไทยได้เลยครับแต่ตอนเวลาทอนเงิน กลับมาเขาไม่ได้ทอนเป็นเงินไทยกลับมาให้เราน่ะครับแต่เขาถอนกลับมาให้เรา เป็นเงินจ๊าดครับท่าน1,000จ๊าดเท่ากับ40บาทไทยครับ(เม.ย พ.ศ 2555)

สำหรับ ขอฝากที่ผมอยากจะแนะนำให้ท่านผู้อ่านที่นิยมการช้อบปิ้งได้ซื้อติดไม้ติดมือ กลับเมืองไทยก็คือ “หมี่เชียงตุง”เส้นเหนียวนุ่มน่ารับประทานแถมราคายังไม่แพงอีกด้วยขายอยู่ ตามร้านทั่วไป


ใน ตลาดเช้าเมืองเชียงตุงส่วนเครื่องประดับอัญมณีจำพวกเพชรพลอยถ้าดูไม่เป็น แล้วผมแนะนำว่าอย่าไปซื้อดีกว่าน่ะครับเพราะอาจถูกหลอกได้ครับส่วนร้านขาย ทองในตลาดเมืองเชียงตุงนั้นจะหนาแน่นไปด้วยผู้คนซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมือง เชียงตุงนี้มีเศรษฐกิจดีชาวบ้านจึงแห่กันมาซื้อขายทองกันอย่างคับคั่งทุกวัน ครับ.เราสองคนเดินเท้าผ่านมาถึงยังร้านขายชากาแฟมองไปที่หน้าร้านเห็นแม่ชาว ไทใหญ่หน้าตาสะสวยกำลังขะมักขะเม้นกับการทอดโรตี


สำหรับคำว่าโรตีภาษาพม่าเรียกว่า “ปะลากา”ครับ


จาก นั้นจึงมองเข้าไปในร้านแลเห็นลูกค้าหลายชาติหลายภาษาไม่ว่าจะเป็นพม่า,ไท ใหญ่,ไทเขินกำลังกินโรตีแกล้มชากาแฟกันอยู่อย่างเอร็ดอร่อยเห็นแล้วชวนหิว พี่ไทยอย่างเราก็เลยขอลองแวะเข้าไปนั่งภายในร้านร่วมวงนั่งกินโรตีกับเขา มั่ง ต้องขอบอกท่านผู้อ่านครับว่ารสชาติอร่อยดีโรตีแป้งนุ่มสอดไส้ด้วยถั่วเหลือง ทอดได้น่ากินกับชานมร้อนรสชาติเข้มข้นอร่อยจริงๆครับท่านผู้อ่าน ราคาโรตีไส้ถั่วเหลืองอันละ10บาทชานมร้อนแก้วละ10บาทรวมเป็น20บาทเป็นเงิน พม่าเท่ากับ1,000จ๊าด


จากโรตีทอดเราสองคนลองมากินโรตีโอ่งกันบ้างน่ะครับ


สำหรับ ร้านโรตีโอ่งตั้งอยู่ภายในตลาดเมืองเชียงตุงอยู่ไม่ห่างจากร้านโรตีทอดมาก นักสำหรับกรรมวิธ๊ในการทำโรตีโอ่งผมจะเรียนให้ท่านผู้อ่านได้ทราบดังนี้น่ะ ครับสำหรับกรรมวิธีในการทำโรตีโอ่งโดยเขาจะนำแป้งมานวดแล้วนำมาเหวี่ยงด้วย มือไปมาให้เป็นแผ่นกลมๆบางๆเหมือนกับการทำโรตีรถเข็นในบ้านแรกแต่แทนที่เขา จะนำแป้งโรตีที่นวดได้ที่ดีแล้วมาทอดกับเนยกลับนำเข้าไปอบในโอ่งจนแห้งโรตี



อบ โอ่งชนิดนี้สำหรับคนที่ไม่ชอบโรตีที่มันๆ เมื่ออบในโอ่งจนแห้งสนิทดีแล้วจากนั้นจึงนำออกมากินแกล้มกับกาแฟหรือชาร้อน ราคาแผ่นละ 5 บาทครับ

เมื่อ ลองลิ้มชิมรสโรตีสองร้านสองรสชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราจึงเดินมา ยังร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมูทุบชื่อดังในเมืองเชียงตุงภาษาไทใหญ่เขาเรียก ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมูว่า “ข้าวซอยลูกชิ้นหมู”ครับ


ซึ่งภายใน ร้านกำลังคับคั่งไปด้วยลูกค้าเสียงตุบตับๆดังออกมาจากร้านด้วยความสอดรู้สอด เห็นเราสองคนจึงเดินแวะเข้าไปดูก็ได้เห็นกรรมวิธีในการทำลูกชิ้นหมูทุบสูตร เชียงตุงซึ่งมีกรรมวิธีในการทำโดยแทนที่เขาจะนำเนื้อหมูมาบดให้ละเอียดโดย เครื่องบดเหมือนในบ้านเราแต่ที่ร้านนี้เขากลับนำเนื้อหมูมาทุบด้วยท่อนเหล็ก ขนาดใหญ่สองท่อนนั่งทุบสลับกันไปมาด้วยกำลังคนทุบจนกว่าเนื้อหมูจะเหนียว นุ่มและเมื่อได้ความเหนียวดีแล้วจึงนำมาปั้นให้เป็นลูกกลมๆจากนั้นจึงนำไป ต้มกับน้ำซุปในหม้อที่กำลังเดือดๆจนสุกแล้วนำมาใส่ชามรวมกับเส้นก๋วยเตี๋ยว ตักน้ำซุปแล้วจึงจัดการเสฟให้กับลูกค้าในราคาพิเศษชามละ40บาทธรรมดาชามละ 30 บาท


ส่วน ในเรื่องรสชาติของน้ำซุปผมชิมดูแล้วรสชาติไม่ผิดแปลกแตกต่างจากน้ำซุปในบ้าน เราแต่ในเรื่องของรสชาติของลูกชิ้นหมูนี่ซิครับรสชาติเหนียวนุ่มอร่อยลิ้น กว่าลูกชิ้นในบ้านเรามาก เพราะการที่เขาใช้แรงคนทุบแทนเครื่องบดด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้ลูกชิ้นหมู มีความเหนียวนุ่มมากท่านผู้อ่านไม่เชื่อมีโอกาสเดินทางมาเที่ยวเมืองเชียง ตุงเมื่อไหร่ก็ลองมาชิมดูน่ะครับหรือจะนำสูตรในการทุบเนื้อหมูแทนการบดด้วย เครื่องไปใช้ที่บ้านก็ได้น่ะครับไม่หวงวิชาแต่กว่าจะได้เนื้อหมูที่เหนียว นุ่มอร่อยล่ะก็กล้ามคงจะขึ้นเป็นมัดๆแน่เลยครับขอเชิญท่านผู้อ่าน ชมภาพกรรมวิธีในการทุบเนื้อหมูของชาวเมืองเชียงตุงได้เลยครับ


หลัง จากจัดการกับข้าวซอยหมูทุบเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราสองคนก็เริ่มต้นเดิน เที่ยวชมตลาดเช้าเมืองเชียงตุงไปเรื่อยๆผ่านร้านหนังสือในเมืองเชียงตุงซึ่ง ทุกฉับบกำลังพาดหัวข่าวการเลือกตั้งซ่อมที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศพม่ามี รูปของอองซานซูจีอยู่บนหน้า1แทบทุกฉับบนอกจากข่าวการเมืองแล้วยังมีหนังสือ พิมที่เสนอข่าวกีฬาที่เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลพรีเมียลีคซึ่งกำลังเป็น ที่นิยมของชาวพม่า


เรา สองคนเดินผ่านที่ทำการพรรคNLBซึ่งเป็นพรรคของอองซานซูจีด้านหน้าของที่ทำการ พรรคมีโปสเตอร์รูปของนางอองซานซูจียืนจับมือกับนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย คือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเมื่อครั้งที่เดินทางมาเยือนประเทศพม่าเราสองคนได้รับการต้อนรับเป็น อย่างดีจากคุณลุงเจ้าหน้าที่ประจำพรรคหลังจากทักทายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ถึง เวลานัดกับไกด์หลุยส์จากนั้นไกด์หลุยส์จึงพาเราสองคนออกเดินทางไปเที่ยวชม ยังวัดต่างในเมืองเชียงตุงซึ่งมีอยู่ถึง35วัดด้วยถ้าจะดูกันหมดทุกวัดคงจะ ต้องใช้เวลาเที่ยวชมกันหลายดังนั้นเราจะพาท่านผู้อ่านเที่ยวชมเฉพาะวัดที่ สำคัญๆในเมืองเชียงตุงเช่นพระเจ้าหลวงหรือวัดมหาเมี๊ยะมุนี,วัดพะแก้ว,วัด หัวข่วงเพราะวัดทั้งสามแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันห่างจากกันไม่กี่สิบ เมตรเท่านั้นเองครับจากนั้นจึงค่อยไปเที่ยวชมยังวัดต่างๆที่ตังอยู่ห่างออก ไปอีกดีไหมครับ.
สำหรับวัดแห่งแรกที่ไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดินทางไป เที่ยวชมก็คือวัดพระเจ้าหลวงหรือวัดมหาเมี๊ยะมุนีตั้งอยู่บริเวณวงเวียนสี่ แยกใจกลางเมืองเชียงตุงห่างจากโรงแรมนิวเชียงตุงโรงแรมที่เราพักมา แค่100เมตรเท่านั้นเองครับ


สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดพระเจ้าหลวงหรือวัดมหาเมี๊ยะมุนีผมจะเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังดังต่อไปนี้ครับ


วัด พระเจ้าหลวง หรือ วัดมหาเมี๊ยะมุณีภายในวิหารจัตุรมุขประดิษฐานสีขาวหลังคาสีแดงทรงปราสาท มีซุ้มประตูสี่ทิศเด่นสะดุดตา พระมหาเมี๊ยะมุณี ซึ่งจำลองมาจากพระเจ้าพะราละแข่งแห่งเมืองมัณฑะเลย์ องค์พระมหาเมี๊ยะมุณีได้ถูกสร้างขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ และแยกชิ้นส่วนใส่เกวียนเทียมวัวขนมาประกอบที่เชียงตุง


องค์ พระมหาเมี๊ยะมุณีลงลักษณ์ปิดทองอย่างสวยงาม บางก็ว่าหล่อจากทองคำแท้กว่า 1 ตัน พระพักตร์ของพระองค์ดูสว่างไสว เพราะชาวเชียงตุงมีประเพณีล้างหน้าพระเจ้าคล้ายกับพระพระเจ้าพะราละแข่งแห่ง เมืองมัณฑะเลย์ ของเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ในวงเวียนใจกลางเมืองเชียงตุง มีชื่ออีกอย่างหนึ่ง พระมหาเมี๊ยะมุณี หรือพระเจ้าหลวงของชาวเชียงตุง ภายในวิหารจัตุรมุขประดิษฐานสีขาวหลังคาสีแดงทรงปราสาท มีซุ้มประตูสี่ทิศเด่นสะดุดตา พระมหาเมี๊ยะมุณี ซึ่งจำลองมาจากพระเจ้าพะราละแข่งแห่งเมืองมัณฑะเลย์ องค์พระมหาเมี๊ยะมุณีได้ถูกสร้างขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ และแยกชิ้นส่วนใส่เกวียนเทียมวัวขนมาประกอบที่มืองชียงตุง องค์พระมหาเมี๊ยะมุณีลงลักษณ์ปิดทองอย่างสวยงาม บ้างก็ว่าหล่อมาจากทองคำแท้หนักกว่า 1 ตัน พระพักตร์ของพระองค์ดูสว่างไสวสุกสกาว


เพราะชาวเมืองเชียงตุงมีประเพณีล้างหน้าพระพักตร์ของพระมหาเมี๊ยะมุณี ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพระเจ้าพะราละแข่งแห่ง เมืองมัณฑะเลย์


จากวัด พระเจ้าหลวงหรือวัดมหาเมี๊ยะมุนีเราเดินข้ามถนนมายังวัดพระแก้วซึ่งเป็นวัด เอกกำแพงของวัดตั้งอยู่ติดกับกำแพงของโรงแมนิวเชียงตุงที่พักของเรานั่นเอง ครับ

สำหรับ วัดพระเจ้าหลวงหรือวัดมหาเมี๊ยะมุนีสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ 2465และสร้างแล้วสร็จเมื่อปีพ.ศ2470สร้างขึ้นโดยเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ทรงเป็นเจ้าฟ้าไทเขินผู้ปกครองเมืองเชียงตุงในสมัยนั้นต่อมาวัดนี้ได้รับการ บูรณะซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่อีกครั้งเมื่อปีพ.ศ2486-พ.ศ2488ใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่2โดยฝีมือช่างไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และเนื่องจากเป็นวัดของเจ้าฟ้าจึงมีวิหารที่สวยงามหลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆ ที่มณฑปมีเครื่องยอดทรงพระธาตุหลังคาเก้าชั้นทรงกรวยแหลมมีฉัตรประดับที่ยอด บนสุดของหลังคาวิหาร ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ตั้งอยู่บนฐานชุกชีที่มีการประดับ กระจกสีลายฉลุไม้แบบขนมปังขิงและลายไม้พันธุ์พฤกษาพระพุทธรูปหลายองค์ภายใน วิหารแห่งนี้เป็นศิลปะช่างสกุลมัณฑเล่ย์แบบเตงเบงกาวรุ่นที่สาม



ตรงกลางช่องบริเวณที่ตั้งขององค์พระพุทธรูปใช้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระแก้วมรกตในเครื่องทรงฤดูร้อน


เรา สองคนกราบนมัสการองค์พระแก้วมรกตและพระพุทธรูปต่างๆในวิหารของวัดพระแก้ว เป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงเดินข้ามถนนมายังวัดราชฐานหลวงหัวข่วง


 วัดราชฐานหลวงหัวข่วงหรือวัดหัวโข่งชื่อของวัดแห่งนี้คล้ายกับวัดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดน่านน่ะครับ วัดราชฐานหลวงหัวข่วงถือว่าเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงตุงมีอายุ เก่าแก่กว่า700ปีเก่าแก่พอๆกับวัดพระแก้วทำเลของวัดตั้งอยู่ตรงวงเวียนใจ กลางเมืองเชียงตุงบริเวณด้านหน้าของวัดจะตรงข้ามกับวัดพระเจ้าหลวงหรือวัด มหาเมี๊ยะมุนีวิหารของวัดราชฐานหลวงหัวข่วง สำหรับสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจของวัดราชฐานหลวงหัวข่วงก็คือเจดีย์ทรงระฆัง ครึ่งวงกลมยอดเจดีย์เป็นระฆังครึ่งวงกลมซ้อนกันเป็นชั้นๆมีลวดลายดอกบัว ประดับอยู่เหนือขึ้นไปส่วนศิลปะคล้ายปล้องไฉนซ้อนกันเป็นชั้นๆจากใหญ่ไปหา เล็กรูปทรงแบบปิระมิดส่วนปลียอดเป็นท่อนๆทรงกระบอกยอดบนสุดประด้วยฉัตร ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนจำนวนหลายสิบองค์ อยู่ภายในวิหาร


สำหรับวัดราชฐานหลวงหัวข่วงเป็นศิลปะพม่าระหว่างพุกามตอนปลายกับมัณฑเล่ย์พระพุทธรูปในเมืองเชียงตุงส่วนใหญ่เป็นพระโกตะมะ
ใน อดีตเจ้าฟ้าของเชียงตุงทุกพระองค์จะมาทรงบรรพชาเป็นพระภิกษุสามเณรกันที่ วัดแห่งนี้ อาทิเช่นเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าก๋องไต และองค์สุดท้ายคือเจ้าฟ้าจายหลวง (เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของเมืองเชียงตุง) นอกจากนี้ยังมีเจ้านายในราชวงศ์มังรายในเมืองเชียงตุงอีกหลายท่านก็มาบวชยัง ที่วัดแห่งนี้ด้วย สภาพโดยรวมของวัดหัวข่วง จะมีซุ้มประตูสีเหลืองทรงปราสาทเจ้าอาวาสของ วัดราชฐานหลวงหัวข่วงมีชื่อว่าพระครูบาสามโชติกะเป็นชาวเมืองเชียงตุงโดย กำเนิดปัจจุบันมีอายุ77พรรษาแลจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้มานาน60ปีสามารถ พูดภาษาไทยได้อย่างชัดเจนเพราะได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ในเมืองไทยเป็น ประจำภายในวัดราชฐานหลวงหัวข่วงมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่9รูปสามเณร50กว่ารูป


โดย มีโรงเรียนสอนนักธรรมตรี,โท,เอกและภาษาบาลีสันกฤตโดยได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จวัดปากน้ำภาษีเจริญในเมืองไทยได้นำกฐินมาทอดยังที่วัดราชฐานหลวงหัว ข่วงแห่งนี้จนสามารถสร้างโรงเรียนสอนพระปริยะติธรรมสำเร็จได้ในปีพ.ศ 2544ที่ผ่านมา

 เราสองคนเดินทางเที่ยวชมภายในวัดราชฐานหลวงหัวข่วงจนสมควรแก่เวลาจากนั้น จึงนั่งรถตู้มาตามถนนลาดยางผ่านบ้านเก่าสไตล์อังกฤษซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ ตั้งของสถานกงลุสแต่ปัจจุบันถูกยักย้ายถ่ายเทขายให้กับเอกชนบรรยากาศภายใน ดูเงียบเหงาสภาพตึกชำรุดทรุดโทรมเพราะขาดการดูแลเอาใจใส่มาเป็นเวลานาน


ลุง คนขับรถตู้พาไกด์หลุยส์และเราทั้งสองคนเดินทางมาถึงยังวัดราชฐานเชียงยืน ตั้งอยู่ในเมืองเชียงตุงห่างจากโรงแรมนิวเชียงตุงที่เราพักระยะทาง ประมาณ200เมตร วัดราชฐานเชียงยืนที่เราสองคนเดินทางมาเที่ยวชมอยู่ในขณะนี้กำลังอยู่ใน ระหว่างการซ่อมแซม


พอ เราสองคนเดินทางมาถึงวัดราชฐานเชียงยืนก็เดินตรงเข้าไปเที่ยวชมภายในพระ อุโบสถซึ่งตามฝ้าและเพดานภายในพระอุโบสถของวัดถูกลงรักปิดเทอมด้วยลวดลาย ลวดลายวิจิตรบรรจงเสาของพระอุโบสถความกว้าง3ฟุตมีขนาดใหญ่สวยงามกว่าพระ อุโบสถใดๆในเมืองเชียงตุง


เดิมที วัดราชฐานเชียงยืนตั้งอยู่บริเวณสนามบินเชียงตุงแต่ต่อมาได้ย้ายวัดมาตั้ง อยู่ในพื้นที่ของวัดในปัจจุบันซึ่งมีชื่อเดิมว่าเวียงแก้วและในช่วงของ สงครามมหาเอเซียบูรพาวัดราชฐานเชียงยืนถูกไฟไหม้สาเหตุมาจากเครื่องบินของ อังกฤษมาทิ้งระเบิดในเมืองเชียงตุงแต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจเพราะอุโบสถของ วัดราชฐานเชียงยืนไม่ได้รับความเสียหายแต่ประการใด


ปัจจุบันวัดราชฐานเชียงยืนมีอายุประมาณ680ปีเจ้าอาวาสมีชื่อว่าพระเขมาจารีนิรันตรญานมุนียายุ86ปีสามารถพูดภาษาไทยได้อย่างชัดเจน


ท่าน ได้เล่าให้เราสองคนฟังว่าในช่วงสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพาในขณะที่ท่านยังบวช เป็นสามเณรอยู่นั้นวัดราชฐานเชียงยืนแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นที่ตั้งของกองทัพ ไทยที่ยกทัพมาตีเมืองเชียงตุงภายใต้การนำทัพของพลตรีผิณ ชุณหวัน(ยศในขณะนั้น)

หลัง จากที่เราสองคนนั่งสนทนาธรรมกับท่านเจ้าอาวาสของวัดราชฐานเชียงยืนจนสมควร แก่เวลาจากนั้นจึงออกเดินทางต่อมายังวัดพระธาตุจอมคำซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัด ราชฐานเชียงยืนระยะทางห่างกันประมาณ100เมตร
สำหรับวัดพระธาตุจอมคำองค์พระธาตุทาสีทองเหลืองอร่ามยามต้องแสงดวงอาทิตย์ ส่วนยอดบนสุดขององค์พระธาตุทำด้วยทองคำแท้ความสูง226ฟุตประดับด้วยพลอย882 เม็ด


และในปีพ.ศ2537สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีก็เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยือนยังวัดแห่งนี้ด้วยครับ
วัด พระธาตุจอมคำ เดิมมีชื่อว่า “วัดพระธาตุจอมสร้าง” สร้างขึ้นโดยจันทรสิกขะและฤาษี 4 ตน มีอายุประมาณ 1,200 กว่าปีส่วนยอดบนสุดขององค์พระธาตุทำด้วยทองคำแท้ความสูง226ฟุตประดับด้วย พลอย882เม็ด


เรา สองคนเดินเท้าเข้าไปเที่ยวชมภายในพระอุโบสถของวัดพระธาตุจอมคำกว้างขวางสวย งามไปด้วยสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่สวยงามมาก ผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา,ไทยใหญ่ และพม่า เข้าด้วยกันอย่างลงตัว


นอก จากนั้นภายในวิหารยังใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมายหลายสิบองค์ศิลปะ แบบไทใหญ่ผสมผสานกับศิลปะแบบพม่าดูงดงามตะการตาและศรัทธาเป็นยิ่งนัก


และที่บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถจะมีภาพวาดของวรรณกรรมเรื่องมหาชาติ โดยช่างฝีมือชาวไทใหญ่และล้านนาขนานแท้และดั่งเดิม


บริเวณ ด้านหน้าของอุโบสถ มีศาลาคล้ายวิหารคดซึ่งภายในมีตู้ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกทางพระพุทธศาสนา ที่มีลวดลายแกะสลักภายนอกของตู้สวยงามตระการตาแก่ผู้ที่ได้มาพบเห็นเป็น ยิ่งนัก


วัด พระธาตุจอมคำได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาหลายครั้งและได้ถูกเปลี่ยนชื่อของวัดมา หลายครั้งโดยเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2052 พระยาอาติตราชพระราชทานชื่อว่า “พระธาตุจอมคำ” พ.ศ. 2062 นางสุคันธาเกศา (นางผมหอม)พระราชทานชื่อว่า “พระธาตุจอมตอ” พ.ศ. 2477 เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงพระราชทานชื่อว่า “พระธาตุจอมตอง”



ต่อ มาในปีพ.ศ 2494 เจ้าฟ้าชายหลวงพระราชทานกลับมาใช้ชื่อเดิมคือ “พระธาตุจอมคำ”จนถึงทุกวันนี้ครับ ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตุให้ดีวัดทุกวัดในเมืองเชียงตุงจะมีกลองแขวนไว้หน้า วิหารทุกๆวัด ซึ่งจะใช้ตีกันในงานวันบุญใหญ่ของวัด โดยผู้ตีจะเป็นสตรีวัยกลางคนจนถึงวัยชรา 5-7 คน จะช่วยกันตีกลองประโคมพร้อมกับฆ้องและฉาบด้วยครับ. นอกจากนี้ภายในวัดพระธาตุจอมคำยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนพระปริยะติธรรม ซึ่งเต็มไปด้วยเหล่าสามเณรน้อยตัวน้อยอิกคิวซังหลายสิบรูปที่เข้ามารุมล้อม เราสองคน


เพื่อให้เราสองคนถ่ายรูปให้ด้วยความสนุกสนานเราสองคนเพลิดเพลินกับการถ่ายรูปให้กับเหล่าสามเณรตัวน้อยในวัดพระธาตุจอมคำจนสมควรแก่เวลา


จาก นั้นจึงเดินทางต่อไปยังวัดอินทร์ชื่อคล้ายๆกันกับวัดอินทร์แถวบางขุนพรหมแต่ วัดอินทร์แห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงตุงห่างจากพระธาตุจอมคำมาเล็กน้อย


วัด อินทร์หรือที่ชาวเมืองเชียงตุงเรียกว่าวัดอินทร์สามเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ในเมืองเชียงตุงแต่ไม่ปรากฎว่าสร้างในพ.ศใดแต่ที่แน่ๆอายุของวัดแห่งนี้คงจะ สร้างมานานหลายร้อยปีแน่นอน


วัด อินทร์แห่งนี้สร้างขึ้นโดยความร่วมมือร่วมใจกันของชาวเมืองเชียงตุงใช้เวลา ในการสร้างอยู่นานก็ยังไม่แล้วเดือดร้อนถึงเทวดาบนสวรรค์ชักรำคาญเต็มแก่ เพราะสร้างไม่ยอมเสร็จสักทีจึงแปลงร่างลงมาเป็นชายแก่มาช่วยชาวบ้านสร้างวัด แห่งนี้จนแล้วเสร็จสมบูรณ์


สำหรับ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ภายในโบสถ์สร้างขึ้นด้วยไม่ไผ่โดยชาวเมืองเชียง ตุงต่างช่วยกันหาไม้ไผ่มาสานเป็นรูปองค์พระจากนั้นจึงทำการตกแต่งจนเป็นองค์ พระประธานประดิษฐานอยู่ภายในโบสถ์มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


นอกจากนี้ภายในวัดอินทร์ยังมีโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาอีกด้วยครับ


เรา สองคนเดินเที่ยวชมวัดหลายแห่งในเมืองเชียงตุงจนได้เวลาอาหารกลางวัน ไกด์หลุยส์พาเราสองคนไปรับประทานอาหารกันที่ร้านBestchoiceซึ่งตั้งอยู่ใกล้ กับศาสนพิมานใจกลางเมืองเชียงตุงจำหน่ายอาหารไทย,จีน,พม่าก่อนที่จะเที่ยวชม เมืองเชียงตุงต่อไปในช่วงบ่าย
หลังอาหารกลางวันไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดิน ข้ามฝั่งมาเที่ยวชมศาสนพิมานที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับร้านอาหารริมถนนใหญ่ก่อน ถึงเมืองเชียงตุงระยะทางประมาณ500เมตร


สำหรับ ศาสนพิมานสร้างยิ่นเข้าไปในหนองน้ำขนาดใหญ่รัฐบาลได้สร้างศาสนพิมานขึ้นมา เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจที่สำคัญทางศาสนาเช่นใช้ในการแข่งขันสวด มนต์ของพระภิกษุสามเณรตลอดจนใช้ในงานบุญต่างๆ


ภายในศาสนพิมานใช้เป็นที่ประดิษฐานพระโคตะมะพระที่ชาวพม่า,ไทใหญ่และไทเขินเชื่อกันว่าเป็นตัวแทนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าครับ


จากศาสนพิมานไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดินทางไปยังวัดป่าแดงซึ่งตั้งอยู่ภายในเมืองเชียงตุง


วัด ป่าแดงเป็นวัดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวางมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจหลายอย่างอาทิ เช่นประตูเข้าวัดทางด้านหน้ามีรูปสิงห์ขนาดใหญ่ศิลปะแบบพม่าสองตัวนั่งยืดขา หน้านั่งบนขาหลังทั้งสองข้างคล้ายกับเป็นทวารบาลนั่งคอยเฝ้าประตูทางเข้าวัด ป่าแดง


สำหรับ หลังคาของพระอุโบสถวัดป่าแดงแบ่งออกเป็นชั้นๆมุงด้วยสังกะสีสองส่วนส่วนที่ หนึ่งมีสองชั้นโดยมีหน้าจั่วใบระกาและหัวพญานาคที่บริเวณหัวมุมของหลังคาที่ น่าสนใจก็คือแสดงศิลปะพม่าแบบมัณฑะเลย์คือตรงกลางยอดบนสุดของหลังคาเป็น อาคารไม้รูปทรงพระยาธาตุตามประเพณีนิยมของพม่า ถัดมาทางซ้ายมือของพระอุโบสถจะมีสถูปเจดีย์ขนาดใหญ่สถาปัตยกรรมรูปทรงของ เจดีย์ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะพม่าสมัยพุกามตอนปลาย จุดเด่นของวัดป่าแดงก็คือพระเจดีย์และสถาปัตยกรรมของ “สัตตมหาปราสาท”ที่มีลักษณะหลังคาซ้อนกันเป็นรูปปิรามิด7 ชั้นซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบอนุราชปุระตอนปลายและสมัยโปโลนนารูวะใน ประเทศศรีลังกาโดยผ่านมาจากศิลปะแบบพุกามของพม่าอีกต่อหนึ่ง


นอกจากนั้นภายในพระอุโบสถของวัดป่าแดงยังมีหอเก็บพระไตรปิฎกและศิลาจารึกในสมัยโบราณอีกด้วยครับ


เรา สองคนเดินเข้าไปเที่ยวชมภายในพระอุโบสถของวัดป่าแดงป็นที่ประดิษฐานองค์พระ พุทธรูปขนาดใหญ่ศิลปะพม่า,ไทใหญ่,ไทเขินสวยงามน่าศรัทธาเป็นยิ่งนัก


เราสองคนกราบขอพรจากพระพุทธรูปภายในพระอุโบสถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


จากนั้นไกด์หลุยส์พาเราสองคนนั่งรถตู้เดินทางขึ้นมายังภูเขาแห่งหนึ่งมีความสูงประมาณ200เมตร


ซึ่งบนภูเขาแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดจอมมูล


วัดสำคัญแห่งหนึ่งในเมืองเชียงตุงเราสองคนเดินเท้าเข้าไปกราบสักการะบูชาพระประธานที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ


จาก นั้นจึงเดินขึ้นบันไดมายังต้นยางยักษ์ซึ่งยืนต้นเด่นเป็นสง่าแผ่กิ่งก้าน สาขาให้ความร่มรื่นแก่ผู้ที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนเป็นยิ่งนัก


ต้นยางยักษ์ต้นนี้กษัตริย์อลองพญาทรงปลูกไว้เมื่อปีค.ศ 1753 มีอายุมากกว่า250ปีและมีความสูง218ฟุต


นอก จากนี้บนกิ่งก้านสาขาของต้นยางยักษ์ที่เราสองคนจะต้องแหงนหน้ามองจนคอตั้ง บ่าเป็นที่อยู่อาศัยของผึ้งหลวงมากมายหลายล้านตัวผึ้งหลวงอาศัยทำรังอยู่บน ต้นยางยักษ์แห่งนี้โดยไม่มีใครกล้าที่จะไปรบกวนมัน

 จากนั้นเราสองคนวานให้ไกด์หลุยส์ไปยืนเป็นนายแบบเพื่อเปรียบเทียบขนาดของคน กับต้นยางยักษ์เพื่อบันทึกภาพความใหญ่โตของต้นยางต้นนี้มาฝากท่านผู้อ่าน ซึ่งไกด์หลุยส์ก็ปฎิบัติตามแต่โดยดี


และ ที่บริเวณต้นยางยักษ์แห่งนี้ยังมีจุดชมสามารถชมวิวทิวทัศน์ของเมืองเชียงตุง ได้แบบสุดสายตาอีกด้วยครับรวมถึงสามารถมองเห็นวัดจอมสักอันเป็นที่ตั้งของ พระชี้นิ้วที่ไกด์หลุยส์จะพาเราสองคนเดินทางไปท่องเที่ยวในตอนเย็นนี้อีก ด้วยครับ


ใน ช่วงเวลาแดดล่มลมตกบริเวณใต้ต้นยางยักษ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสวนหย่อมแห่ง นี้จะใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองเชียงตุงเดินทางพาลูกหลานขึ้น มานั่งพักผ่อนกันเป็นประจำทุกเย็นครับ


บ่าย คล้อยแล้วดวงอาทิตย์ใกล้จะลาลับขอบฟ้าของเมืองเชียงตุงลงไปแล้วจากนั้น ไกด์หลุยส์ก็พาเราสองคนเดินทางต่อมายังวัดจอมสักอันเป็นที่ตั้งของพระชี้ นิ้วสำหรับวัดจอมสักตั้งอยู่ไม่ห่างจากต้นยางยักษ์มากนักสามาถมองเห็นซึ่ง กันและกันได้ในระยะไกลๆ


จาก นั้นไกด์หลุยส์ก็พาเราสองคนเดินทางโดยรถตู้ขึ้นมาบนเนินเขาที่มีความสูง ประมาณ100เมตรเดินทางมาถึงยังวัดจอมสักอันเป็นที่ตั้งของพระชี้นิ้วบนวัดจอม สักแห่งนี้


นอก จากจะเป็นที่ตั้งของพระชี้นิ้วแล้วยังใช้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่ง เมืองเชียงตุงอีกด้วยครับซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ใช้เป็นที่เก็บของใช้ ในชีวิตประจำวันและของโบราณของชนเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในเมืองเชียงตุง ซึ่งรวมทั้งเครื่องแต่งกายประจำเผ่าของชนเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียง ตุงเช่นเครื่องแต่งกายของชาวไทใหญ่,ไทเขิน,ไทลื้อ,ว้า,ลาหุฯลฯรวมทั้งขนบ ธรรมเนียมตลอดจนวัฒธนธรรมของชนเผ่าต่างๆอีกด้วยครับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิด ให้บริการนักท่องเที่ยวตั้งแต่เวลา09.00-16.00น.สำหรับอัตราค่าเข้าชมคน ละ2,000จ๊าดหรือเท่ากับ80บาทครับ


สำหรับพระชี้นิ้วที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่นี้มีความสูงประมาณ20เมตรหันพระพักตร์ชี้นิ้วไปทางเมืองเชียงตุง


และในวันที่เราสองคนเดินทางมายังวัดจอมสักแห่งนี้ตรงกับวันมาฆบูชาซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนา

พุทธศาสนิกชนชาวพุทธในเมืองเชียงตุงต่างเดินทางมาประกอบศาสนกิจสวดมนต์กันอย่างคับคั่ง



โดย เฉพาะวัยรุ่นสาวชาวเมืองเชียงตุงจะแต่งตัวด้วยผ้าซิ่นห่มสะไบเฉียงที่บ่า นั่งเรียงรายโดยรอบขององค์พระชี้นิ้วเพื่อทำพิธีสวดมนต์ในวันมาฆบูชาไม่นาน เสียงสวดมนต์ก็ดังก้องไปทั่ววัดจอมสักนานพักใหญ่เสียงสวดมนต์ก็เงียบลง


จาก นั้นไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดินทางกลับลงมายังหนองตุงหาอาหารค่ำรับประทานเป็น ที่เรียบร้อยแล้วเราสองคนจึงเดินทางกลับสู่โรงแรมนิวเชียงตุงเพื่อพักผ่อน หลังจากที่ต้องเดินทางเข้าออกวัดในเมืองเชียงตุงแทบทั้งวันจนอิ่มบุญหน้าบาน ไปตามๆกันคืนนี้เราสองคนคงจะนอนหลับฝันดีครับ......ราตรีสวัสดิ์เชียงตุง
วันที่สี่ของการเดินทาง



 เราสองคนตื่นนอนตอนเช้าหลังจากปฎิบัติภาระกิจส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราสองคนจึงเดินลงมารับประทานอาหารกันที่บริเวณห้องอาหารของโรงแรม ซึ่งคับคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวไทยประเภทส.ว


เรา สองคนรับประทานอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยล้วจากนั้นจึงเดินมายังล๊อบบี้ขอ โรงแรมแลเห็นไกด์หลุยส์นั่งเคี้ยวหมากปากแดงรอเราสองคนอยู่ที่บริเวณล็อบบี้ ของโรงแรมหลังจากกล่าวสวัสดียามเช้าเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้วไกด์หลุยส์ก็ พาเราสองคนขึ้นรถเดินทางออกนอกเมืองมุ่งหน้าไปยังวัดพระธาตุจอมสลีซึ่งตั้ง อยู่บนภูเขาสูงประมาณ200เมตรและอยู่ห่างจากตัวเมืองระยะทางประมาณ3 กม. ไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดินทางไปตามถนนราดยางซึ่งสองข้างทางเต็มไปด้วยท้องไร่ ท้องนาที่ผ่านพ้นจากฤดูเก็บเกี่ยวมาแล้ว


 และในที่สุด ไกด์หลุยส์ก็พาเราสองคนเดินทางขึ้นมาถึงยังวัดพระธาตุจอมสลี


ซึ่ง เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองเชียงตุงเจ้าอาวาสชื่อพระชอบปิตามี อายุประมาณ50ปีเป็นชาวเชียงตุงโดยกำเนิดจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุจอมสลีมา ได้30พรรษา


ส่วนภายใน วัดมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่สามรูปที่เหลือเป็นสามเณรภายในวัดมีโรงเรียนสอน พุทธศาสนาแก่พระภิกษุและสามเณรทั่วไป โดยใต้พระอุโบสถของวัดพระธาตุจอมสลีแห่งนี้มีอุโมงค์ขนาดใหญ่แต่ปัจจุบันโดน ปิดปากอุโมงค์ไปแล้วเราสองคนพร้อมกับไกด์หลุยส์เดินเข้าไปกราบสักการะพระนอน ขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานไว้ในโบสถ์


พร้อมกับกราบขอพรพระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงเดินเท้ามายังจุดชมวิวบนวัดพระธาตุจอมสลี


เนื่องจากวัดพระธาตุจอมสลีแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูเชาที่มีความสูงประมาณ200เมตร


เรา สองคนจึงสามารถชมวิวทิวทัศน์จากมุมสูงของเมืองเชียงตุงได้แบบสุดสายตา เช่นไร่นาขั้นบั้นได,วัดวาอารามในเมืองเชียงตุง,สนามกีฬาเมืองเชียงตุง



ตลอดจนมหาวิทยาลัยในเมืองเชียงตุงได้ในระยะไกลๆเราสองคนใช้เวลาอยู่บนวัดพระธาตุจอมสลีสักครู่ใหญ่

จากนั้นจึงเดินทางต่อมายังหมู่บ้านยางโกนเป็นหมู่บ้านของชาวไทใหญ่ไทเขิน


ชาวบ้านภายในหมู่บ้านยางโกนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการทำเครื่องปั้นดินเผาคล้ายกับที่เกาะเกร็ดบ้านเรา



ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านยางโกนแห่งนี้พูดไทยได้สำเนียงคล้ายๆกับคนเชียงรายในบ้านเรา


เราสองคนเดินเที่ยวชมกรรมวิธีในการทำเครื่องปั้นดินเผาด้วยความสนอกสนใจ


รวมทั้งกรรมวิธีในการทำข้าวหลามออย้ซึ่งกรรมวิธีในการทำข้าวหลามออย้จะแตกต่างจากบ้านเรา


ซึ่ง บ้านเราจะนำข้าวเหนียวมาบรรจุใส่ในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาเผาไฟแต่กรรมวิธีใน การทำข้าวหลามออย้ของชาวเชียงตุงโดยชาวบ้านจะนำน้ำออย้มาเทใส่ในกระบอกไม้ ไผ่


จาก นั้นจึงนำมาเผาไฟจนสุกแล้วนำมาปอกเปลือกไม้ไผ่ออกน้ำออย้ที่ถูกเผาไฟใน กระบอกไม้ไผ่จะมีลักษณะเหนียวติดไม้ติดมือพอสมควรชาวเชียงตุงนิยมทำให้ลูก หลานกินเป็นขนมในยามว่างครับ เมื่อเราสองคนลองชิมรสชาติของข้าวหลามออย้ดูแล้วผมว่าข้ามหลามบ้านเราจะกิน ง่ายไม่เหนียวติดมือและอร่อยกว่าครับ


 เราสองคนรวมทั้งไกด์แวะรับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านอาหารเล็กๆแบบชาว บ้านภายในหมู่บ้านยางโกนเห็นมีวัยรุ่นนักเรียนเข้ามานั่งอุดหนุนกันอย่าง คับคั่งก็เลยลองแวะกินดูจะได้รู้ว่าชาวเชียงตุงเขากินอาหารกันแบบไหนภายใน ร้านไม่มีเมนูอาหารให้เลือกสั่งเห็นแม่ค้าทำอาหารอะไรให้ลูกค้าท่าทางน่ากิน ก็ชี้นิ้วสั่งตามว่า “เอาแบบนี้”



สำหรับ เมนูแรกที่เราสองคนสั่งก็คือข้าวฟืนมีลักษณะเป็นถั่วบดจนละเอียดนำมานึ่งจน เป็นก้อนนิ่มๆคล้ายวุ้นจากนั้นจึงตกใส่จานแล้วโรยด้วยถั่วลิสงป่นราดด้วยน้ำ จิ้มรสชาติเปรี้ยวหวานรับประทานพร้อมกับผักดองราคาจานละ200จ๊าด(8บาท)


นอก จากนั้นยังมีข้าวจี่ทาด้วยถั่วเน่าและไก่ปิ้งราคาไม้ละ5บาทสำหรับในเรื่องรส ชาติของอาหารแม้ไม่ค่อยจะคุ้นเคยนักแต่ก็พอกินกันได้พอแก้หิวครับ

 หลังจากจัดการกับอาหารกลางวันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราสองคนจึงเดิน ทางไปยังหมู่บ้านตีมีดตั้งอยู่ในเมืองเชียงตุง แลเห็นชาวบ้านกำลังตีมีดด้วยกรรมวิธีโบราณอยู่อย่างขะมักขะเม้นคนตีมีดอายุ อานามแต่ละคนส.วกันแล้วทั้งนั้น


จึงเป็นเครื่องรับประกันได้เลยว่ามีดที่ผลิตออกมาจะต้องมีคุณภาพดี


สำหรับมีดดาบที่ท่านผู้อ่านแลเห็นอยู่ในภาพนี้ราคาเล่มละ2,000บาทขายพร้อมฝักสวยหรู


มีด ดาบมีลักษณะสวยงามและคมมากเพราะทำมาจากเหล็กชั้นดีเราสองคนอยากจะซื้อแต่ไม่ กล้าซื้อเพราะกลัวโดนข้อหาพกพาอาวุธ(อีดาบ)ติดมือมาตีเมืองพม่าจึงได้แต่แค่ ดูและหยิบดาบออกมาร่ายรำด้วยท่วงท่าอันสวยงาม


เรา สองคนเดินเที่ยวชมภายในหมู่บ้านตีมีดจนมาสะดุดตาที่ถุงพลาสติดใสซึ่งภายใน ถุงบรรจุน้ำและทรายแขวนอยู่รอบๆหมู่บ้านซึ่งไม่ได้เป็นแต่เฉพาะหมู่บ้านตี มีดแห่งนี้แห่งเดียวเท่านั้นภายในหมู่บ้านยางโกนที่เราสองคนไปเที่ยวชมมา เมื่อสักครู่นี้ก็แลเห็นถุงพลาสิคใสซึ่งภายในถุงบรรจุน้ำและทรายแขวนอยู่ รอบๆหมู่บ้านเหมือนกันด้วยความแปลกใจและสงสัยผมจึงถามชาวบ้านว่า “นำเอาถุงน้ำถุงทรายมาแขวนไว้ด้วยจุดประสงค์ใด”ชาวบ้านตอบข้อสงสัยของเราว่า ถุงใส่น้ำและทรายเหล่านี้คือเครื่องดับเพลิงประจำหมู่บ้าน


ชาว บ้านทุกหมู่บ้านภายในเมืองเชียงตุงร่วมมือกันทำไว้เพื่อใช้ดับเพลิงภายใน หมู่บ้านก่อนที่รถดับเพลิงจะเดินทางมาถึงสถานที่ที่เกิดไฟไหม้เมื่อได้รับคำ ตอบพวกเราถึงกับร้องอ๋อไปตามๆกันน่าจะเอาไปลงในคอลัมน์มุมพิลึกในหนังสือ พิมพ์ไทยรัฐมองดูแล้วน่ารักดีน่ะครับ
 จากหมู่บ้านตีมีดไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดินทางไปเที่ยวชมสถานที่ประกอบ พิธีกรรมทางศาสนาของศาสนาต่างๆภายในเมืองเชียงตุงซึ่งนอกจากศาสนาพุทธอัน เป็นศาสนาหลักที่มีคนนับถือมากที่สุดในเมืองเชียงตุงแล้วยังมีโบสถ์คาทอลิ ค,มัสยิดและศาลเจ้าจีนอีกด้วยถึงแม้ว่าประเทศพม่าจะปกครองประเทศในระบอบ เผด็จการทหารแต่ทางรัฐบาลทหารพม่าก็มิได้หวงห้ามประชาชนภายในประเทศของตนใน การเลือกนับถือศาสนาใครจะนับถือศาสนาใดก็ได้ถ้าไม่ทำให้ประเทศชาติเดือดร้อน
สำหรับ โบสถ์คาทอลิคแห่งแรกที่เราสองคนเดินทางไปเที่ยวชมก็คือโบสถ์คาทอลิคซึ่งตั้ง อยู่ภายในเมืองเชียงตุงกำแพงโบสถ์เป็นกำแพงเดียวกันกับกำแพงของวัดจอมสัก ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระชี้นิ้วที่เราสองคนเคยเดินทางเข้าไปเที่ยวชมมาแล้ว เมื่อวานนี้ซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะต่างกันทางความเชื่อของ ศาสนาแต่ทั้งสองศาสนาก็อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข


ภายใน บริเวณโบสถ์คาทอลิคสงบเงียบร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ลักษณะรูปทรงของ โบสถ์คล้ายกับรูปทรงของโบสถ์คาทอลิคในประเทศอังกฤษสาเหตุเพราะครั้งหนึ่งใน อดีตที่ผ่านมาประเทศพม่าเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษมานานเกือบร้อย ปีจึงเป็นสาเหตุให้สถาปัตยกรรมบางแห่งในประเทศพม่าคล้ายกับในประเทศอังกฤษ เจ้าอาณานิคมในยุคนั้น


จาก โบสถ์คาทอลิคเราสองคนเดินทางมายังมัสยิดสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิส ลามในเมืองเชียงตุงบรรยากาศภายในมัสยิดเงียบางบเหมาะกับเป็นสถานที่สำคัญ ทางศาสนา


เราสองคนเดินเข้าไปเที่ยวชมภายในมัสยิดจนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงเดินออกมาจากมัสยิดข้ามถนนมายังฝั่งตรงข้าม


ซึ่งมีตึกเก่าสไตล์อังกฤษอายุอานามเดาว่าประมาณเกือบร้อยปีตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมถนนใหญ่


เรา สองคนหยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมาบันทึกภาพพลันก็ได้เสียงเรียกเชื้อเชิญเป็นภาษาไทยจากหญิงสาวที่อาศัยอยู่ภายในตึกหลังนี้ให้เราสองคนเข้าไปเที่ยวชมภายในตัวตึกหลังนี้
เราสองคนทักทายเป็นภาษาไทยกับหญิงเจ้าของตึกแห่งนี้เธอก็ทักทายเราสองคนเป็นภาษาไทยเช่นกัน


เรา สองคนสอบถามได้ความบรรพบุรุษของเธอเป็นคนไทยอาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุงมา ตั้งแต่เมื่อครั้งเมืองเชียงตุงยังอยู่ในการปกครองของไทยต่อมาเมืองเชียง ตุงกลับไปอยู่ในการปกครองของพม่าบรรพบุรุษของเธอไม่สามารถละทิ้งถิ่นฐานเดิม กลับไปอยู่ในเมืองไทยได้เลยเป็นคนไทยพลัดถิ่นตกค้างอยู่ในเมืองเชียงตุงมา เป็นเวลานานเกือบร้อยปีแล้วเธอบอกเราสองคนว่าปัจจุบันเธอยังมีพี่น้องอยู่ใน จังหวัดเชียงราย,แพร่,น่านอีกเป็นจำนวนมากไปมาหาสู่กันอยู่สม่ำเสมอปู่ย่าตา ยายสอนอ่านเขียนภาษาไทยให้กับพ่อแม่ของเธอและพ่อแม่ของเธอก็สอนภาษาไทยให้ กับเธอจนอ่านเขียนภาษาไทยได้เหมือนกับคนไทยทั่วไปเธออาศัยอยู่กับพ่อแม่ใน เมืองเชียงตุงพร้อมประกอบอาชีพทางด้านความงามโดยเปิดร้านเสริมสวยตั้งอยู่ ตรงข้ามกับมัสยิดที่เราสองคนเดินเข้าไปเที่ยวชมเมื่อสักครู่นี้


จาก นั้นเราสองคนขออนุญาติเธอเดินขึ้นไปเที่ยวชมยังชั้นบนของบ้านเธอก็ตอบอนุ ญาติด้วยความเต็มใจภายในชั้นบนของบ้านสไตล์อังกฤษแห่งนี้เราสองคนได้พบพระ บรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่9พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ 9รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรีประดิษฐานอยู่ชั้นบนสุดของฝาผนัง


และ ใกล้ๆกันนั้นเราสองคนได้เห็นคุณยายกำลังสอนหนังสือภาษาไทยก,ข,ค ฯลฯ ให้กับเด็กน้อยคนหนึ่งซึ่งเราเข้าใจว่าเป็นหลานอ่านหนังสือสะกดพยัญชนะ ไทยอยู่อย่างขะมักขะเม้น


ทำ ให้เราสองคนตื้นตันใจเป็นอย่างมากที่ได้เห็นความเป็นคนไทยพลัดถิ่นแต่ยังไม่ ละทิ้งความเป็นไทยแม้จะอยู่ต่างบ้านต่างเมืองก็ยังคงความเป็นไทยอยู่ไม่ เสื่อมคลายเราสองคนทักทายกับคุณยายซึ่งเข้าใจว่าคงจะเป็นแม่ของน้องผู้หญิง คนนั้น


จากนั้นจึงขออนุญาติถ่ายรูปภายในตึกโบราณแห่งนี้มาฝากท่านผู้อ่าน เราสองคนใช้เวลาสนทนากับคุณยายและหญิงสาวคนนั้นจนสมควรแก่เวลา


จาก นั้นจึงจึงเดินทางมายังซุ้มประตูเมืองเชียงตุงเก่าซึ่งเป็นประตูหนึ่งในสิบ สองประตูที่ยังคงเหลืออยู่เพียงประตูเดียวก็คือประตูแห่งนี้เท่านั้นตามชื่อ ที่มาของเมืองว่า “เมืองเจ็ดเชียง เก้าหนอง สิบสองประตู”



ด้านข้างของประตูเมืองเก่ามีซอยเถนนลูกรังเล็กๆมองเข้าไปภายในเป็นสถานีขนส่งมีรถโดยสารจอดรับส่งผู้โดยสาร


ส่วน ฝั่งตรงข้ามนั่นก็คืออดีตบ้านพักของจอมพลผิน ชุณหะวัน บิดาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวันอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย จอมพลผิน ชุณหะวันท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำเมืองเชียงตุงซึ่งครั้ง หนึ่งเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย และต่อมาได้ทำการเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงตุงใหม่เป็น “จังหวัดสหรัฐไทยเดิม”หน้าที่ของท่านก็คือทำการควบคุมและรักษาความสงบเรียบ ร้อยภายในเมืองเชียงตุง


ปัจจุบัน บ้านหลังนี้ถูกขายทอดตลาดจนตกไปอยู่ในมือของนักธุรกิจชาวพม่าเป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว เราสองคนได้แต่ชะเง้อหน้าขะเหย่งเท้าพยายามมองลอดข้ามกำแพงเข้าไปแต่กำแพงก็ สูงเกินกว่าที่จะถ่ายรูปภายในตัวบ้านซึ่งมีรูปทรงสไตล์อังกฤษมาฝากท่านผู้ อ่านได้



ขอให้ท่านผู้อ่านมองกำแพงบ้านหลังนี้ที่ผมถ่ายมาฝากท่านผู้อ่านไปพลางๆก่อนก็แล้วกันครับ


ถัด จากประตูเมืองขึ้นมา100เมตรทางขวามือท่านผู้อ่านจะแลเห็นกลุ่มเจดีย์ขนาด ใหญ่ถูกล้อมด้วยรั้วซีเมนต์โดยรอบความสูงประมาณ2เมตรคือสถานที่เก็บพระ บรมอัฐิของเจ้าฟ้าหลายพระองค์แห่งราชวงศ์ไทเขินที่เคยปกครองเมืองเชียงตุงมา ซึ่งรวมทั้งเจ้าก้อนแก้วอินแถลงเจ้าฟ้าองค์สำคัญแห่งเมืองเชียงตุงอีกด้วย


ไกด์หลุยส์พาเราสองคนหยุดพักเหนื่อยหาน้ำรับประทานกันที่บริเวณถนนด้านหน้าตรงข้ามกับสุสานเจ้าฟ้า


ซึ่ง มีเพิงหมาแหงนขายน้ำออย้คั่นสดๆเติมมะนาวเล็กน้อยภาษาพม่าเรียกว่า “จั่นเย”ราคาแก้วละ500จ๊าด(20บาท)รสชาติกลมกล่อมหวานอมเปรี้ยวนิดๆชี่นใจดี

จาก นั้นไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดินทางผ่านมายังวงเวียนตรงกลางคืออนุสาวรีย์ เสรีภาพซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงตุงตรงข้ามอนุสาวรย์เสรีภาพก็คือ สถานีตำรวจเมืองเชียงตุง

ไกด์หลุยส์พาเราสองคนแวะเที่ยวชมวัดจองเมืองหลี่ปิงไวซึ่งเป็นวัดไทใหญ่


จากนั้นข้ามถนนมายังฝั่งตรงข้ามเป็นร้านขายทอง


ขายหนังสือ


ร้านขายของโชว์ห่วยซึ่งภายในร้านเต็มไปด้วยสินค้าส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย


ร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นสตรี



ข้างๆ ร้านโชว์ห่วยเป็นร้านขายนมสดโญเกิรต์และโดนัทเราสองคนแวะนั่งกินนมสดแกล้ม ด้วยโดนัทราคาแก้วละ1,000จ๊าด(20บาท)โยเกิรต์500จ๊าด(10บาท)


พร้อม นั่งชมวิถีชีวิตของชาวเมืองเชียงตุงที่ขับรถผ่านไปมาเราสองคนสอดส่ายสายตา มองหารถรุ่นใหม่ๆไม่มีให้เห็นสักคันเลยนอกจากรถโตโยต้ารุ่นคุณปู่ซึ่งส่วน ใหญ่จะเป็นรถแท๊กซี่วิ่งรับจ้างระหว่างเมือง



สำหรับ ร้านอินเตอร์เน็ตก็ยังไม่มียิ่งร้านสะดวกซื้อ 7-SEVEN,LOTUS,MACKOด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึงอย่าไปเดินหาให้เมื่อยนักท่อง เที่ยวที่สนใจอยากจะมาเที่ยวเมืองเชียงตุงจึงต้องทำใจกันหน่อยน่ะครับทิ้ง ความสะดวกสบายเอาไว้ที่เมืองไทยแล้วนั่งTIMEMACHINE ย้อนยุคกลับมาเมืองไทยในสมัยพ.ศ 2499 โก๋หลังวังอันธพาลครองเมืองอย่างไงอย่างนั้นเลยครับท่านผู้อ่านประ เภทส.วที่ชอบเที่ยวแบบย้อนยุคก็บอกว่าดีเหมือนได้เดินทางมาเที่ยว แม่ฮ่องสอนเมื่อ40-50 ปีที่แล้ว
สำหรับท่านผู้อ่านที่อยู่ในวัยรุ่นสไตล์ เกาหลีทั้งหลายคงไม่ชอบนึกในใจว่า “พากูมาดูอะไรว่ะ”สุดแสนที่จะโบราณล้าสมัยให้กูไปเดินเที่ยวสยามพารากอนหรือ มาบุญครองยังจะดีเสียกว่า
แต่ในความโบราณล้าสมัยของเมืองเชียงตุงก็เป็น เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของเมืองนี้น่ะครับซึ่งนับวันจะหาได้อยากแล้วในประเทศ บ้านใกล้เรือนเคียงกับไทย หลวงพระบาง
เมืองมรดกโลกที่ว่าเก่าแก่และสวย งามปัจจุบันแปรเปลี่ยนไปแล้วด้วยความที่เดินทางไปสะดวกขับรถจากแห่งหนตำบลใด ในเมืองไทยก็ไปเที่ยวเมืองหลวงพระบางเองก็ได้ด้วยความที่เดินทางไปง่ายๆทำ ให้นักท่องเที่ยวเดินทางหลั่งไหลกันไปเที่ยวเมืองหลวงพระบางกันเป็นจำนวนมาก ทำให้วิถีชีวิตของคนลาวที่ดำรงชีวิตอยู่โดยพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลักใช้ ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายปัจจุบันแปรเปลี่ยนไปอาศัยเงินเป็นหลักทุนนิยมเข้า ครอบงำในขณะที่ประเทศปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ลักษณะเดียวกับประเทศจีนปากว่าเป็นคอมมิวนิสต์แต่พฤติกรรมที่บ่งบอกมันไม่ ใช่ก้อบปี้สินค้าของเขามาขายไปทั่วโลกในราคาถูกๆนับวันประเทศจีนจะละทิ้ง อุดมการณ์ความเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ลงไปทุกทีครับ นอกเรื่องไปเยอะแล้วกลับมาเข้าเรื่องเมืองเชียงตุงของเรากันต่อดีกว่าครับ
หลังจากเติมพลังด้วยนมสดเป็นที่เรียบร้อยแล้วไกด์หลุยส์พาเราสองคนขับรถเดินทางผ่านสนามกีฬาเมืองเชียงตุง


เดิน ทางมายังวัดจีนสังขะจายที่ตั้งอยู่ริมหนองตุงภายในวัดร่มเย็นสงบเงียบมี โรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาและภาษาจีนอีกด้วยเราสองคนเดินเที่ยวชมภายในวัด จีนจนดวงอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า


 ดวงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญลอยเด่นเป็นสง่าเหนือหนองตุง
ไกด์หลุยส์ พาเราสองคนมานั่งรับประทานอาหารค่ำกันที่ร้านอาหารริมหนองตุงพร้อมชมความสวย งามของหนองตุงในคืนวันเพ็ญเก็บบรรยากาศและภาพความประทับใจค่ำคืนของเมือง เชียงตุงไว้เป็นคืนสุดท้าย


พรุ่งนี้พวกเราจะลาจากเมืองเชียงตุงกันแล้วครับ
วันที่ห้าของการเดินทาง


 เราสองคนตื่นนอนเช้าหลังจากปฎิบัติภาระกิจส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วจาก นั้นจึงเก็บสัมภาระลงกระเป๋าเดินทางพร้อมcheckoutออกจากโรงแรมนิวเชียงตุง เดินทางมุ่งหน้าไปยังตลาดเช้าเดินหาอาหารเช้ารับประทานพร้อมซื้อของฝากจาก เมืองเชียงตุงติดไม้ติดมือฝากคนทางบ้านและของฝากเมืองเชียงตุงที่จะขาดสียมิ ได้ก็คือเส้นหมี่เชียงตุงเหนียวนุ่มหน้ารับประทานเราสองคนแวะกินข้าวซอย


พร้อมกินโรตีจิบชาร้อนกันคนละแก้ว


หลัง จากนั้นไกด์หลุยส์ก็พาเราสองคนออกเดินทางจากเมืองเชียงตุงมุ่งหน้าสู่ท่าขี้ เหล็กในทันทีและในระหว่างทางก่อนที่เราสองคนจะเดินทางอำลาจากเมืองเชียงตุง เราสองคนพร้อมทั้งไกด์หลุยส์แวะถ่ายรูปที่ป้ายเมืองเชียงตุงกันก่อนที่เดิน ทางกลับท่าขี้เหล็ก


รถ ตู้ใช้เวลาเดินทางประมาณ5 ชม. ก็เดินทางมาถึงยังตัวเมืองท่าขี้เหล็ก ก่อนเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยเวลายังเหลือเฟือไกด์หลุยส์พาเราสองคนเดิน ทางขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองจำลองที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสูงในเมืองท่า ขี้เหล็ก


บนเนินเขาอันเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ชเวดากองจำลองสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของตัวเมืองท่าขี้เหล็กได้ทั้งหมด


เราสองคนกราบนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองจำลองอันเปรียบเสมือนกับจิตวิญญาณของชาวพม่าและชนเผ่าต่างๆในพม่า


ต่าง พากันเดินทางมากราบไหว้กันมากมายในแต่ละวันซึ่งนอกจากพระเจดีย์ชเวดากอง จำลองจะสร้างขึ้นในจังหวัดท่าขี้เหล็กที่มีพรมแดนใกล้ชิดติดกับประเทศไทยทาง จังหวัดเชียงรายแล้วที่เกาะสองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดระนองของไทยก็ยังมี พระเจดีย์ชเวดากองจำลองประดิษฐานอยู่ทางฝั่งพม่าเป็นแห่งที่สองอีกด้วยครับ


 จากพระเจดีย์ชเวดากองจำลองเราสองคนเดินทางมายังวัดสายเมืองครูบาแสงหล้าซึ่ง ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินเขาสูงในเมืองท่าขี้เหล็ก


เราสองคนกราบพระพุทธรูปศิลปพม่าที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ


นอกจากนี้แล้วภายในฝาผนังของพระอุโบสถยังมีภาพเขียนนรกสวรรค์และภาพวาดอื่นๆอีกด้วย


ผม สังเกตุดูบริเวณผนังของพระอุโบสถมีรอยแตกร้าวด้วยความสงสัยว่าเกิดจากการก่อ สร้างหรือเปล่าผมจึงสอบถามข้อสงสัยกับไกด์หลุยส์ ไกด์หลุยส์ตอบผมกลับมาว่ารอยร้าวที่ผมเห็นภายในโบสถ์เป็นผลพวงอันเกิดจาก แผ่นดินไหวเมื่อปีที่แล้วความรุนแรงประมาณ 8.5 ริคเตอร์ซึ่งนับว่ารุนแรงมากครับรอยแล้วจึงเกิดโดยรอบโบสถ์ประชาชนแตกตื่น กันไปทั้งเมืองท่าขี้เหล็ก โชคดีที่โบสถ์ไม่พังถล่มลงมาทั้งหลัง



เราสองคนเดินเที่ยวชมบริเวณโดยรอบของวัดวัดสายเมืองครูบาแสงหล้าจนสมควรแก่เวลา


จาก นั้นเราสองคนแวะมาเดินเที่ยวชมตลาดท่าขี้เหล็กซึ่งภายในตลาดจำหน่ายสินค้า ที่นำเขาจากจีนโดยเฉพาะแผ่นDVDภาพยนต์ต่างประเทศและแผ่นCDเพลงราคาถูกมีให้ นักท่องเที่ยวเลือกมากมายแต่ผมไม่แนะนำให้ซื้อน่ะครับเพราะภาพยนต์หรือ เพลงภายในแผ่นอาจไม่ตรงกับภาพหน้าปกที่แสดงไว้ก็ได้ครับอีกทั้งยังเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วยครับ



เรา สองคนเดินเที่ยวมสินค้าภายในตลาดท่าขี้เหล็กจนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงร่ำลา ไกด์หลุยส์พร้อมจ่ายเงินลุงคนขับรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


จากนั้นเดินข้ามสะพานแม่น้ำสายซึ่งเป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่ากับเข้ามายังฝั่งไทย



บอกอำลาอำเภอแม่สายเดินทางท่องเที่ยวต่อไปตามประสาชายพเนจร


แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า.......สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น