วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ท่องเที่ยว 8วัน สมุทรปราการ แหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุง

ช่วง กลางฤดูฝนอย่างนี้จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหนไกลๆก็ลำบาก ปริมาณน้ำมากเหลือเกินในปีนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวไทยของเรา ในหลายจังหวัดทั้งภาคกลางและภาคอีสานประกอบกับราคาน้ำมันก็พุ่งพรวดขึ้น ทุกวัน สถานการณ์บ้านเมืองก็วุ่นวายจนไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆนึกแล้วก็เหนื่อยใจ แทนเมืองไทยของเราจริงๆ มาเดินทางท่องเที่ยวให้สบายใจคลายเครียดกันดีกว่า ขอพาท่านผู้อ่านเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯที่จังหวัด สมุทรปราการกันดีกว่าเพราะสามารถเดินทางได้โดยสะดวก อาหารทะเลก็สดอร่อย แหล่งท่องเที่ยวก็มากมาย อาทิเช่นพระสมุทรเจดีย์, เมืองโบราณ,พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ,พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ,ฟาร์มจระเข้ สมุทรปราการ ปัอมพระจุลจอมเกล้า ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง และที่จะขาดเสียมิได้ก็คือที่บริเวณ สวางคนิวาสหรือที่รู้จักกันในนามว่าสถานตากอากาศบางปูแหล่งท่องเที่ยวชื่อ ดังในอดีตและปัจจุบันสมัยคุณพ่อคุณแม่ยังหนุ่มสาวเหมาะสำหรับพาครอบครัวเดิน ทางมาระลึกถึงความหลังเมื่อครั้งยังวัยละอ่อน รับประทานอาหารทะเลสดๆ พร้อมลีลาศเต้นรำกับวงดนตรีในสไตล์สุนทราภรณ์ทุกๆ คืนวันเสาร์ที่ร้านอาหารของกรมพลาธิการทหารบกภายในสถานพักตากอากาศบางปู เหมาะสำหรับเดินทางมาท่องเที่ยวในวันช่วงหยุดสุดสัปดาห์และในช่วงประมาณ เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายนของทุกปีจะมีนกนางนวลอพยพมาหากินอยู่ตาม ชายทะเลและ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาชักชวนคุณเก็บเสื้อผ้าเดินทางมารับลมทะเลพร้อม กับพวกเราเลยน่ะครับ 
จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาและด้านเหนือของอ่าวไทย นิยมเรียกว่าเมืองปากน้ำ ห่างจากกรุงเทพฯ 29 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,004 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขา มีลำคลองหลายสาย ในฤดูแล้งน้ำจะเค็มจัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นาและสวน มีป่าแสม ไม้ปลง โกงกาง ป่าจาก สินค้าที่ขึ้นชื่อคือ “ขนมจาก” และ “ปลาสลิด”
ประวัติความเป็นมา สมุทรปราการ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าอยู่แถบอำเภอพระประแดงและมีชื่อเรียกว่า “เมืองพระประแดง” เป็นสถานที่พักของเมืองสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริมทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรง ต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงโปรดให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงออก จวบจนสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเห็นว่าจะเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่ตำบลปากน้ำในปี พ.ศ. 2362 โดยใช้เวลาสร้าง 3 ปี และได้จัดสร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำถึง 6 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมประกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร ในขณะที่สร้างเมืองนั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งและทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ขึ้นที่เกาะกลางน้ำแล้วพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” การสร้างยังมิทันเสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างต่อจนสำเร็จและสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ป้อมตรีเพชร ป้อมคงกระพัน และป้อมเสือซ่อนเล็บ
ในปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์ให้สูงขึ้นและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมชายทะเลอีกแห่งหนึ่ง พระราชทานนามว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้า” ซึ่งในปัจจุบันป้อมต่างๆ ได้ปรักหักพังลงคงเหลือแต่ป้อมผีเสื้อสมุทรและป้อมพระจุลจอมเกล้าเท่านั้น
จังหวัด สมุทรปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางพลี และอำเภอบางบ่อ
อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ทิศใต้ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร
การเดินทาง
รถ ยนต์ สามารถใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) และเส้นทางหลวงหมายเลข 303 ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร ก็เข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสมุทรปรากการ หรือใช้ทางพิเศษบูรพาวิถี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543
รถประจำทาง ปรับอากาศ สาย ปอ.6 (ปากเกร็ด-พระประแดง) สาย ปอ.7 (สำโรง-ท่าพระ) สาย ปอ.8 (ปากน้ำ-ท่าราชวรดิษฐ์) สาย ปอ.11 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้) สาย ปอ.13 (รังสิต-ปู่เจ้าสมิงพราย) สาย ปอ.126 (นนทบุรี-สำโรง) สาย ปอ.145 (สวนจตุจักร-สมุทรปราการ) สาย 2 ปอ. (สำโรง-ปากคลองตลาด) สาย 138 ปอ. (สวนจตุจักร-พระประแดง) สาย 142 ปอ. (วัดเลา-สมุทรปราการ)
รถประจำทาง ธรรมดา สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด) สาย 6 (พระประแดง-บางลำภู) สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง) สาย 23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศร์) สาย 25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง) สาย 45 (สำโรง-ราชประสงค์) สาย 82 (พระประแดง-บางลำภู) สาย 102 (ปากน้ำ-ช่องนนทรี) สาย 116 (สำโรง-สาธร) สาย 129 (ทางด่วน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สำโรง) สาย 138 (ทางด่วน จตุจักร-พระประแดง) สาย 142 (ทางด่วน วัดเลา-ปากน้ำ) สาย 145 (สวนจตุจักร-ปากน้ำ)
การเดินทางจากอำเภอเมืองสมุทรปราการไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอพระประแดง 12 กิโลเมตร
อำเภอบางพลี 17 กิโลเมตร
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ 21 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอบางเสาธง 32 กิโลเมตร
อำเภอบางบ่อ 38 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 0 2389 5542-7, 0 2389 5538
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ โทร. 0 2702 5021-4
โรงพยาบาลสมุทรปราการ โทร. 0 2389 5910-1, 0 2389 0292-6
โรงพยาบาลเมืองสมุทร โทร. 0 2389 4455-6
โรงพยาบาลพระประแดง โทร. 0 2385 9135-7
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 02)
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ 395-0115
ที่ว่าการอำเภอ 395-0044
สถานีขนส่งจังหวัด 323-2870
สถานีตำรวจ 389-5544
ตำรวจทางหลวง บางปะกง 038-531-221
หน่วยสอบสวนบางพลี 316-9564
หน่วยสอบสวนบางปู 323-9623
รพ.สมุทรปราการ 387-0820 , 387-0491
รพ.บางบ่อ 338-1133
รพ.บางพลี 312-2268
รพ.บางจาก 463-5570
รพ.พระประแดง 385-9135-7
รพ.เมืองสมุทร 387-0027-30
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการศูนย์ วัฒนธรรมอำเภอบางพลี ตั้งอยู่ในโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชั้นบนจัดแสดงภูมิปัญญา และวัฒนธรรมในอดีต ที่มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างคนหลายเชื้อชาติ เช่น คนไทย คนมอญ คนลาว คนจีนและมุสลิม การค้าขายระหว่างชุมชน อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิตชาวบ้าน วิถีชีวิตชาวบ้าน เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องดนตรี เงินตรา เช่น ตลาดน้ำ ประเพณีรับบัว ขบวนเรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับปลา ชั้นล่าง แสดงแบบจำลองวิถีชีวิตชาวบ้าน เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชมสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร. 0 2751 1504-7 (เข้าชมเป็นหมู่คณะทำจดหมายเรียน ประธานศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์)
การเดินทางรถโดยสารประจำทางจากสำโรง นั่งรถประจำทางสายบางพลี-เข้าวัด หรือ จากบางนา นั่งรถสองแถวสีฟ้าเข้าบางพลี
ตลาดริมน้ำโบราณบางพลี ตลาดริมน้ำโบราณบางพลี เป็นตลาดเก่าแก่ริมคลองสำโรง พื้นตลาดเป็นพื้นไม้ สามารถเดินติดต่อกันได้ ยาวกว่า 500 เมตร เดิมชื่อตลาด “ศิริโสภณ” สันนิษฐานว่า ชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดนี้ราว พ.ศ.2400 ตลาดนี้จึงน่าจะมีอายุประมาณ 149 ปี เป็นตลาดโบราณริมคลองสำโรงเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากไฟไหม้และยังคง สภาพเดิมเหมือนแรกสร้าง
ตลาดริมน้ำโบราณบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชน หนึ่งและมีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหา นคร การเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางโดยการแจว พายและแล่นใบ เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง ตลาดน้ำบางพลีถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมีวัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมายสมควร อนุรักษ์ฟื้นฟูให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและหวงแหนวัฒนธรรมเก่าแก่ของ บรรพบุรุษสืบต่อไปดังคำกลอนของสุนทรภู่
“ถึงบางพลีมีเรือนอารามพระ
ดูระกะดาษทางไกลไปกลางทุ่ง
เป็นเลนลุ่มลึกเหลวเพียงเอวพุง
ต้องลากจูงจ้างควายอยู่รายเรียง
ดูเรือแพแออัดอยู่ยัดเยียด
เข้าเบียดเสียดแทรกกันสนั่นเสียง
แจวตะกูดเกะกะประกะเชียง
บ้างทุ่มเถียงโดนดุนกันวุ่นวาย”
ระยะ ทางเกือบหนึ่งกิโลเมตร ตลอดแนวสองฝั่งทางเดินที่ขนานไปกับคลองสำโรงของตลาดน้ำโบราณบางพลี ถูกจับจองจากแม่ค้าพ่อค้าที่อาศัยอยู่มาแต่ดั้งเดิมจำหน่ายสินค้านานาชนิด ทั้งอาหารอร่อย ขนมหวาน ของใช้นานาชนิด ของตกแต่งบ้านเรือน ของฝาก ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายสัตว์เลี้ยง ฯลฯ อิ่มตา ด้วยทิวทัศน์ของคลองสำโรงที่ประดับประดาไปด้วยเรือขายอาหาร ขนม ผลไม้ตามฤดูกาลของชาวบางพลีที่พายไปมา และเรือที่ชาวบ้านยังใช้สัญจรไปมาในชีวิตประจำวัน เดินเท้ามาถึงกลางตลาด ชาวชุมชนได้จัดเป็นนิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง” จัดแสดงภาพถ่ายสมัยเก่าเมื่อเริ่มแรกตั้งตลาด และเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพการประมงและการเกษตร อุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาจัดในนิทรรศการได้รับบริจาคมาจากคนเก่าคนแก่ที่อยู่ในเหตุการณ์เมื่อ ครั้งอดีตและได้เก็บรักษาเป็นอย่างดี
 ตลาดริมน้ำโบราณบางพลี อยู่บนฝั่งขวาของลำคลองสำโรง หมู่ที่ 10 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ (ด้านหลังบิ๊กซีบางพลี) เป็นตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีอายุกว่า 140 ปี ที่ยังคงสภาพเดิมอยู่ริมคลองสำโรง มีทางเดินเป็นพื้นไม้ยาว 500 เมตร ตลาดริมน้ำของอำเภอบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่ง และรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้า และผู้โดยสารจากชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่กรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 1 การเดินทางในสมัยก่อนใช้เรือพาย เรือแจว หรือแล่นเรือใบ ชุมชนชาวบางพลียังคงร่วมกันอนุรักษ์ตลาดเก่าแก่แห่งนี้ไว้ และมีการจัดลาดนัด-ตลาดน้ำขึ้นทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-12.00 น. โดยมีเรือพายจำหน่ายสินค้าในลำคลองสำโรง และนักท่องเที่ยวยังสามารถแวะสักการะหลวงพ่อโตที่วัดบางพลีใหญ่ในเพื่อความ เป็นสิริมงคล นักท่องเที่ยวสามารถนำรถไปจอดได้ที่ วัดบางพลีใหญ่ใน และบิ๊กซีบางพลี
การเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ถนนสุขุมวิท เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบางนา จากนั้นใช้ถนนบางนาตราด ขับตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร กลับรถเพื่อตัดเข้าถนนกิ่งแก้ว – บางพลี (ประมาณ 2 กิโลเมตร) เลี้ยวซ้าย ถึงวัดบางพลีใหญ่ใน เดินเท้าอีกนิดไปที่ท้ายวัดจะถึงตัวตลาดน้ำโบราณบางพลี
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร.0 3731 2282, 0 3731 2284 www.tat8.com หรือที่เทศบาลตำบลบางพลี
โทร. 0 2337 3086, 0 2337 349, 0 2337 3930 ต่อ 10, 26
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง เป็นตลาดน้ำแห่งใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณตำบลบางน้ำผึ้ง เป็นการร่วมมือระหว่าง อบต.บางน้ำผึ้ง และชาวบ้านในชุมชนสร้างตลาดน้ำแห่งนี้เพื่อหาทางแก้ไขภาวะผลผลิตล้นตลาด ซึ่งตลาดน้ำแห่งนี้สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี เสน่ห์ของตลาดน้ำแห่งนี้ คือ วิถีชีวิตชาวบ้านริมคลอง ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ และยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอาหารที่มีชื่อเสียงของชุมชน ได้แก่ ดอกไม้เกล็ดปลา ปั้นธูปสมุนไพร หอยทอดขนมครก และมะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเรือพายให้บริการ อัตราค่าเช่าลำละ 20 บาท และยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน และชื่นชมธรรมชาติอันสวยงามของสวนผลไม้ในชุมชน โดยเช่าจักรยานในราคา 30 บาท ต่อคัน ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะมีเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น.
จากจุดมุ่งหมายหลัก “สร้างตลาดขึ้นมาใหม่ ” เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับขายสินค้าของชุมชนบางน้ำผึ้งและตำบลใกล้เคียงฝั่ง เมืองพระประแดง จนถึงปัจจุบันเติบโตจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นตลาดน้ำแห่งใหม่ของเมืองไทยเที่ยวได้ชิมได้ชมได้ที่ “ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง”
นอกจากนี้ในตลาดน้ำใกล้กรุงฯ แห่งนี้ยังเป็นศูนย์รวมสินค้า OTOP ที่สร้างสรรค์จากคนในชุมชนบางน้ำผึ้งและตำบลใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ เช่น ดอกไม้เกล็ดปลา บ้านธูปสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากทะเลอย่างกุ้งแห้ง กะปิ หอยดอง ภาพประดิษฐ์จากรกมะพร้าว ของตกแต่งบ้าน- ดอกหญ้าหลากสี, โมบายล์ ลูกตีนเป็ดรูปร่างแปลกตา เป็นต้น ใครจะนั่งชมบรรยากาศตลาดริมน้ำ พร้อมทั้งรับประทานอาหารอร่อย ๆ ที่มีให้เลือกทั้ง ก๋วยเตี๋ยวหมู เย็นตาโฟ บะหมี่หมูแดง ราดหน้า กระเพาะปลา ข้าวตู หมี่กรอบ ข้าวหน้าต่างๆ ขนมจีนน้ำยาน้ำพริกหรือจะเลือกผสมกับแกงแกล้มกับผักสดผักดอง แม่ค้าพ่อขายจะลอยลำเรือพร้อมรับรายการอาหารจากนักท่องเที่ยวซึ่งจะมาเป็น ครอบครัวหรือหมู่คณะ จับจองเก้าอี้ไม้ตัวเตี้ย นั่งพูดคุยและชมบรรยากาศตลาดริมน้ำและสวนเกษตรที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ หรือเช่าเรือพายชมสวนและตลาดน้ำเขาก็มีบริการ พายเรือจนเมื่อย หากมีเวลามากหน่อยจะพายให้ถึงประตูน้ำที่จะออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาก็จะได้ชม บรรยากาศของบ้านเรือนในวิถีไทย ๆ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะเปิดเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์เท่านั้น
เริ่มเปิดตลาดประมาณแปดโมงเช้าเป็นต้นไปจนถึงเย็น ๆ เลือกชมบรรยากาศตลาดน้ำ ชิมอาหารอร่อยที่มีให้เลือกชิมตลอดวัน ทั้งของคาว ของหวาน ผลไม้ตามฤดูกาลอย่างมะม่วงน้ำดอกไม้ และใครที่เดินชมตลาดจนเมื่อยจะแวะพักนวดตัว นวดเท้า ทางชุมชนก็จัดหมอนวดมือทองไว้บริการนักท่องเที่ยว รับรองสามารถเดินชมตลาดได้อีกหลายรอบ
การเดินทางรถ ยนต์ส่วนตัว ใช้ทางด่วนมาลงที่ถนนสุขสวัสดิ์ เมื่อลงทางด่วนขับมาเรื่อย ๆ จะเห็นสามแยก พระประแดง - สุขสวัสดิ์ เลี้ยวซ้ายตรงสถานีบริการน้ำมัน พอถึงตลาดพระประแดงให้เลี้ยวซ้ายผ่านวัดทรงธรรมวรวิหารประมาณ 5 กิโลเมตร จะพบป้ายบอกทางเข้าตลาดให้เลี้ยวขวาเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงสถานีอนามัยบางน้ำผึ้งซึ่งจะเป็นที่จอดรถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางสาย ปอ.138, สาย 82, ปอ.140 สาย 82 , สาย 506
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร.0-3731-2282, 0-3731-2284 www.tat8.com
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง โทร.0-2819-6762, 08-1171-4930 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ นายก อบต. น้ำผึ้ง โทร.08 1171 4930 สำนักงาน อบต. บางน้ำผึ้ง โทร.0 2819 6762

พระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ ป้อมพระจุลจอมเกล้า มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย และการป้องกันพื้นที่ รวมทั้งการดำเนินงานเกี่ยวกับงานธุรการ การกำลังพล การยุทธการและข่าว การเงิน และกิจการพิเศษ ตลอดจนประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยที่เกี่ยวข้อง มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่และดูและดังนี้
ตั้ง อยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 303 ประมาณ 7 กิโลเมตร หรือสามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศสาย 20 ป้อมพระจุลฯ-ท่าดินแดง เป็นป้อมที่ทันสมัยและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปกป้องอธิปไตยของชาติ ซึ่งเป็นที่ทำการยิงต่อสู้กับอริราชศัตรูมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นป้อมที่จารึกอยู่ในความทรงจำของคนไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยมายาวนาน เพราะในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแสวงหาเมืองขึ้น บรรดาประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดเขตแดนไทย ก็ถูกประเทศทั้งสองเข้าครอบครองไปหมดแล้ว นับเป็นภัยใหญ่หลวงสำหรับประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทย พระองค์จึงทรงหาวิธีป้องกันต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันทางน้ำ ทรงดำริให้ปรับปรุงป้อมต่างๆ ทางปากน้ำ โดยจ้างชาวต่างประเทศที่ชำนาญการทหารเรือเป็นที่ปรึกษาวางแผนในการปรับปรุง กิจการทหารเรือในครั้งนั้นด้วย ภายในป้อมพระจุลจอมเกล้าในปัจจุบันมีสิ่งที่น่าสนใจคือ
พระบรมราชานุ สาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ อยู่หัว พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้มีความสง่างามยิ่ง โดยทรงฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพเรือ พระหัตถ์ถือกระบี่ นอกจากนี้ภูมิทัศน์โดยรอบยังแวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดดูร่มรื่น ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และเหตุการณ์ในสมัย ร.ศ. 122พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประจำการมีอายุการใช้งานนานที่สุดในกองทัพเรือเป็นเวลากว่า 60 ปี จนกระทั่งกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่ามีสภาพทรุดโทรมมากจึงปลดประจำการ เพื่ออนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์
อุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนม์มายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 สำหรับอุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือนั้น ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ จัดแสดงภาพความเสียหายจากการรบ และภาพสู่การพัฒนากองทัพเรือ นอกจากนั้นภายในอุทยานฯ ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งแสดงถึงวิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศตลอดจนบทบาทในการ รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจัดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ
- กลุ่มปืนเสือหมอบ ซึ่งเป็นปืนรุ่นแรกที่บรรจุทางท้ายกระบอก และเป็นอาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436)
- กลุ่มปืนและอาวุธสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
- กลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1, 2 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
- กลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
- การจัดแสดงสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือในยามสงบ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
นอก จากนั้นยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ที่นักท่องเที่ยวสามารถชม ป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระยาง นกนางนวล ปลาตีน ปูลม หรือปูก้ามดาบ ป้อมพระจุลฯ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00 - 18.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด ผู้เข้าชมต้องขออนุญาตจากกองรักษาการณ์บริเวณหน้าประตูป้อมฯ และแลกบัตรประจำตัวไว้ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรนำชมสถานที่ต้องทำหนังสือถึง พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2475 6109, 0 2475 6259, 0 2475 8845 และ 0 2475 6357
เมืองโบราณ ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รวบรวมสถานที่สำคัญๆ ในประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี 2506 ปูชนียสถานที่สำคัญๆ เช่น เขาพระวิหาร ปราสาทหินพนมรุ้ง วัดมหาธาตุสุโขทัย พระพุทธบาทสระบุรี พระธาตุเมืองนคร พระธาตุไชยา ฯลฯ โดยสร้างให้มีขนาดเล็กลง บางแห่งเท่าแบบจริงการสร้าง ฝีมือประณีต นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่นับวันจะสูญหายไปจาก สังคมยุคใหม่ ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของประเทศไทยจะศึกษาได้จากเมืองโบราณ แห่งนี้ อายุต่ำกว่า 5 ปีไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท(รวมค่ารถจักรยาน) ค่านำรถยนต์เข้าชมคันละ 50 บาท รถบัส 200 บาท ค่าเช่ารถจักรยาน 50 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทเมืองโบราณ จำกัด ตำบลบางปู กิโลเมตรที่ 33 โทร. 0 2323 9253, 0 2709 1644 สำนักงานกรุงเทพฯ มุมอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง โทร. 0 2226 1227, 0 2622 3511 หรือที่เว็บไซต์ www.Ancientcity.com
การเดินทาง
รถ ยนต์ ใช้เส้นทางด่วน ปลายทางที่สำโรง-สมุทรปราการ ถึงสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 33 เมืองโบราณจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ หรือโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ. 511 (สายใต้ใหม่-ปากน้ำ) ไปลงปลายทาง แล้วต่อรถสองแถวสาย 36 ผ่านเมืองโบราณ
สถานตากอากาศบางปู อยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ ริมถนนสุขุมวิท ประมาณกิโลเมตรที่ 37 ตรงข้ามกับนิคมอุตสาหกรรมบางปู เป็นสถานตากอากาศที่มีชื่อเสียงมาเป็นเวลานานและเป็นสถานพักฟื้น พักผ่อน ของกรมพลาธิการทหารบก ภายในมีร้านอาหารบริการ ในวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 17.00 - 21.00 น. จะมีกิจกรรมพิเศษเปิดฟลอร์ลีลาศกับเสียงเพลงสุนทราภรณ์อันไพเราะ โดยคิดค่าดนตรีภายในฟลอร์ลีลาศเพียงคนละ 50 บาท นอกจากนี้ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายน บริเวณบางปูจะมีนกนางนวลอพยพมาหากินอยู่ตามชายทะเล เหมาะที่จะมาเที่ยวชมในยามเย็นพร้อมกับชมพระอาทิตย์อัสดง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2323 9138, 0 2323 9983
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนกนางนวล
นก นางนวลที่มีในอ่าวไทยมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ นกนางนวลใหญ่ เมื่อบินเหนื่อยแล้วมักลงลอยตัวบนผิวน้ำทะเล และนกนางนวลแกลบ ซึ่งพบในน่านน้ำไทยถึง 15 ชนิด พวกนี้จะไม่ชอบลงลอยบนผิวน้ำทะเล นกนางนวลที่มาอาศัยอยู่ในสถานตากอากาศบางปูเป็นนกที่ทำรังวางไข่อยู่รอบ ทะเลสาบต่าง ๆ ในทิเบตและมองโกเลียในฤดูร้อน (ตรงกับฤดูฝน ในประเทศไทย) พอลูกโตแข็งแรงสามารถบินได้ในระยะไกลแล้ว จะพากันบินลงมาหากิน ตามชายทะเลในมหาสมุทรอินเดียจนถึงอ่าวไทย จะย้ายถิ่นมาอ่าวไทยราวต้นเดือนพฤศจิกายน นกนางนวลรุ่นหนุ่มสาวจะมีหัวสีขาว มีจุดสีน้ำตาลคล้ำบริเวณขนคลุมหู พอถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์จะเปลี่ยนสีสันสำหรับเลือกคู่ผสมพันธุ์ โดยเริ่มมีขนสีน้ำตาลดำที่หัว เมื่อได้คู่แล้วก็จะทยอยบินกลับไปวางไข่บนที่ราบสูงใกล้ ๆ ทะเลสาบ ในประเทศทิเบตและมองโกเลียใหม่ มักจะเริ่มบินย้ายถิ่นกลับในราวเดือนเมษายน และพวกสุดท้ายจะกลับปลายเดือนพฤษภาคม นกนางนวลชอบโฉบคาบเศษอาหารและเศษปลาที่ชาวเรือทิ้งลอยไปบนผิวน้ำ ทำให้ของเน่าเหม็นบนผิวน้ำทะเลหมดไป นางนวลจึงเป็นนกที่ทำให้ทิวทัศน์ตามชายทะเลดูสวยงามน่าท่องเที่ยวน่าชมยิ่ง ขึ้น
การเดินทางมาชมฝูงนกนางนวล ที่สถานตากอากาศบางปู จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำผู้ที่ได้พบเห็นเบิกบานสำราญใจ ทำให้รู้ว่าฤดูฝนได้ผันผ่านไป ฤดูหนาวกำลังจะมาเยือน ลมทะเลพัดเบา ๆ กับบรรยากาศยามเย็นจอดรถชมทิวทัศน์พระอาทิตย์อัสดง และฝูงนกนางนวลที่บินอวดโฉมกางปีกสวยให้เราได้ชมอย่างใกล้ชิดบนสะพานสุขตา
พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ อยู่ที่ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลาง จังหวัด แต่เดิมพระเจดีย์นี้ ตั้งอยู่กลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายฝั่งตลิ่งฝั่ง ขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะ อันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตรต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระชัยวัฒน์ และพระห้ามสมุทรไว้
วัดอโศการาม ตั้งอยู่เทศบาลบางปูซอย 60 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร (เข้ามาจากถนนสุขุมวิทประมาณ 1 กิโลเมตร) สร้างเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ฝ่ายธรรมยุตินิกาย โดยพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีสิ่งที่น่าชม เช่น พระธุตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ และวิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้นส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ภายในวิหารประดิษฐานสรีระท่านอาจารย์ลี
สวางคนิวาส ตั้งอยู่ที่ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองริมทางหลวงหมายเลข3 (สุขุมวิท) กม.ที่ 31.5 ห่างจากจังหวัด สมุทรปราการประมาณ 5 กิโลเมตร ภายในบริเวณมีพิพิธภัณฑ์ปลา เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 8 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. 3950021
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ตำบลบางเมืองใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจ และความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ ผู้สร้างเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป ช้างเอราวัณหรือช้างสามเศียร เป็นประติมากรรมลอยตัวด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดง แผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร (หรือสูงขนาดตึก14-17ชั้นโดยประมาณ) อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนบนของตัวช้าง เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน ลำตัวช้างหนัก 150 ตัน สูง 29 เมตร กว้าง 12 เมตร และยาว 39 เมตร ตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า เช่น ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ ส่วนล่างของตัวช้างเป็นฐาน โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารศาลามีความสูง 14.60 เมตร กระจายน้ำหนักตัวช้างด้วยคานวงแหวนรอบนอกและรอบในบนอาคาร ถ่ายน้ำหนักลงเสาแปดเสาภายนอกและสี่เสาภายในอาคารศาลาการตกแต่งภายในเป็น การผสมผสานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระจกสีแบบศิลปะตะวันตก, เครื่องเบญจรงค์สลับลวดลายสอดสี, การดุนโลหะบนแผ่นดีบุกของช่างเมืองนครศรีธรรมราช และรูปปั้นโบราณชนิดต่างๆ อาทิ คนธรรพ์บรรเลงดนตรี รูปพญานาค ของช่างเมืองเพชร ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า “ชั้นบาดาล” เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่างๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 50 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2371 3135-6 โทรสาร. 0 2380 0304 หรือwww.erawan-museum.com
การเดินทาง
พิพิธภัณฑ์ ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ผ่านแยกบางพลี ก่อนถึงแยกปากน้ำ ตั้งอยู่บริเวณซ้ายมือ รถโดยสารประจำทางธรรมดา สาย 25, 142, 365 และรถปรับอากาศสาย 102, 507, 511, 536
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพ นับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา
ป้อมแผลงไฟฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาด ติดกับโรงเรียนเทศบาลพระประแดง ยังมีสภาพสมบูรณ์อยู่บางส่วน เป็นป้อมปราการแห่งหนึ่งของฐานทัพเมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นเสมือนหนึ่งฐานทัพด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นเมืองที่มีป้อมปราการหลายแห่ง เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริที่จะใช้ป้องกันพระราชอาณาจักร ปัจจุบันเทศบาลเมืองพระประแดงได้ทำการบูรณะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน โดยบริเวณข้างบนของป้อมได้จัดปืนใหญ่โบราณหลายกระบอกตั้งไว้ให้ชมรอบๆ บริเวณจัดปลูกต้นไม้ร่มรื่น
ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระเสื้อเมือง อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองพระประแดง ชาวบ้านนับถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคารพบูชากันมาก
ศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ 7 ถนนสุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง เป็นศาลเจ้าที่สวยงาม สถาปัตยกรรมเพียบพร้อมไปด้วยศิลปะ วัฒนธรรมของชาวจีนโบราณ ฝีมือแกะสลักหินอันประณีต เป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าขุนศึกที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวไต้หวัน 5 องค์ คือ เทพเจ้าตระกูลหลี่ เทพเจ้าตระกูลฉือ เทพเจ้าตระกูลอู่ เทพเจ้าตระกูลจู และเทพเจ้าตระกูลฟ่าน ซึ่งเรียกชื่อรวมกันว่า “อู๋ฟุ่เซียนส้วย” (โหวงหวังเอี้ย) ภายในบริเวณศาลเจ้าสามารถชมภาพแกะสลักหินเขียว เกี่ยวกับเทพนิยายจีน และตะเกียงไม้ชุบทองคำซึ่งตกแต่งอยุ่บนฝ้าเพดาน นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าแม่กวนอิมและเทพเจ้าองค์อื่นๆ เพื่อให้ประชาชนสักการะ เทพเจ้าตระกูลทั้ง 5 หรือ โหวงหวังเอี้ย เป็นยอดขุนพลที่มีความสุจริตมาก เป็นขุนนางที่จงรักภักดีสมัยราชวงศ์หมิงได้เสด็จเดินทางลงใต้จากมณฑล ฮกเกี้ยนถึงเกาะหนานคุนเซินประเทศไต้หวัน เป็นที่เลื่อมใสในหมู่ประชาชน
การเดินทางใช้ เส้นทางถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 33 อยู่ห่างจากเมืองโบราณประมาณ 1 กม. และจากถนนสุขุมวิทเข้าไปอีกประมาณ 8 กม. เปิดให้เข้าชมและสักการะทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เวลา 05.00 - 21.00 น. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2323 3120-4, 0 2323 3123-5
วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลบางน้ำผึ้ง จากแยกพระประแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระราชวีริยาภรณ์ ประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงวัด วัดไพชยนต์ฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ทรงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีพระอุโบสถและพระวิหารที่งดงาม ในพระอุโบสถมีพระประธานปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย อยู่บนบุษบกยอดปรางค์จตุรมุข
วัดทรงธรรมวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 200 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีกุฏิและพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิมาสร้างเป็นหมู่เดียวกัน ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง
วัดโปรดเกศเชษฐาราม อยู่ที่ถนนทรงธรรม ตำบลทรงคะนอง อยู่ถัดจากวัดไพชยนต์ฯ เล็กน้อย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดพุทธไทยเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง ส่วนวัดอื่นๆ มักเป็นพุทธรามัญ พระยาเพชรพิไชย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะสถาปัตยกรรมดีเด่น คือ พระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับเครื่องลายคราม ภายในมีพระประธานหล่อด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธไสยาสน์พระพักตร์งามมาก นอกจากนี้ยังมีพระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรายรอบด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข
วัดกลางวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนศรีสมุทร ตำบลปากน้ำ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดตะโกทอง พระอุโบสถได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าบันมีลายปูนปั้นประดับเครื่องลายคราม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องปฐมสมโพธิกถา ต่อมามีการสร้างพระมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาท 4 รอย หน้าบันมีลวดลายไม้สลักละเอียดอ่อนสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง
ฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ ตั้งอยู่ถนนท้ายบ้าน ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร หรือสามารถเข้าทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) เทศบาลบางปูซอย 46 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบันเป็นฟาร์มจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในเป็นสถานเพาะเลี้ยงจระเข้ขนาดต่าง ๆ กว่า 60,000 ตัว มีการแสดงโชว์จระเข้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00–16.00 น. ทุก ๆ 1 ชั่วโมง (พักเที่ยง) วันหยุดเพิ่มรอบ 12.00 น.และ 17.00 น. นอกจากนี้ยังมีการแสดงของช้างแสนรู้ ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอันมาก โดยมีการแสดงทุก 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 -16.30 น. ทุกวัน นอกจากการเลี้ยงจระเข้แล้ว ภายในฟาร์มยังมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น เสือ ลิงชิมแปนซี ชะนี เต่า งู นก อูฐ ฮิปโปโปเตมัส กวาง และปลาจำนวนมาก นอกจากนี้ยังสามารถเข้าชม พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ได้จัดแสดงกระดูกและหุ่นจำลองไดโนเสาร์ พร้อมการฉายสไลด์มัลติวิชั่น เรื่องของมนุษย์และสัตว์ดึกดำบรรพ์ด้วย
 ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการแห่งนี้เปิดให้เข้าชม ทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. ค่าบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่คนละ 60 บาท เด็ก 30 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 300 บาท เด็ก 200 บาท การเข้าชมเป็นหมู่คณะหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการวิทยากร ควรมีหนังสือติดต่อล่วงหน้าไปที่ ฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ เลขที่ 555 ถนนท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10280 หรือ โทร. 0 2703 4891, 0 2703 5144-8
การเดินทาง
นอกจากรถส่วนตัวแล้ว สามารถใช้บริการรถเมล์ปรับอากาศ ขสมก. สาย 536 ฟาร์มจระเข้-อนุสาวรีย์ชัย หรือสาย 507, 508 และ 511 หรือรถเมล์ธรรมดาสาย 25 และ 102 ไปยังจังหวัดสมุทรปราการ แล้วต่อรถสองแถวปากน้ำ – ฟาร์มจระเข้ ที่ป้ายหลักเมือง หรือจะขึ้นรถตุ๊ก ๆ ในราคา 40 บาท
พาราไดซ์ บางขุนเทียน ตั้งอยู่ที่ 90/1 ตำบลคลองสวน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการและสมุทรสาคร แยกจากถนนพระราม 2 ไปตามถนนเทียนทะเล (ทางไปทะเลกรุงเทพฯ) 13 กิโลเมตรและแยกซ้ายเข้าซอยเทียนทะเล 25 อีก 7 กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดกิจกรรมท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านริมทะเล เช่น การเลี้ยงปูทะเล หอยแครง นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้การตกปูใดยใช้ไม้ไผ่แหย่รูปู การดักปู การมัดปู การงมหอยแครง หอยแมลงภู่ การหาหอยนางรม การตกปลา และมีกิจกรรมขี่จักรยาน นั่งเรือสัมผัสชาวบ้านตำบลบ้านคลองสวน ตลาดขายส่ง เนื่องจากพื้นที่ด้านหลังติดกับคลองผู้เฒ่า ซึ่งเชื่อมต่อกับทะเลกรุงเทพฯ บางขุนเทียน สามารถนั่งเรือไปเที่ยวทะเลกรุงเทพฯ ได้ในเวลา 5 นาที และเดินเที่ยวป่าโกงกางของบางขุนเทียนได้ การเที่ยวชมจะจัดเป็นแพ็กเกจทัวร์ 1 วัน หรือ 2 วัน 1 คืน มีสถานที่พัก สามารถติดต่อได้ที่ โทร.0 1425 9686 หรือ 0 2541 9508-9 เว็บไซต์ www.paradisebangkoksearesort.com
ฟาร์มหนองงูเห่า และฟาร์มเสือ อยู่ที่ตำบลบางโฉลง ถนนบางนา-ตราด ประมาณกิโลเมตรที่ 14-15 แยกเข้าทางซ้าย 300 เมตร (เข้าซอยวิทยาลัยเกริก) เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2529 มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นสถานที่เพาะเลี้ยงงูเห่าชนิดต่าง ๆ และมีการแสดงวิธีรีดพิษงู การจับงู พร้อมทั้งมีผลิตภัณฑ์ทำด้วยหนังงูจำหน่ายในราคาย่อมเยา เช่น รองเท้า กระเป๋า เข็มขัด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเสือให้ชมอีกด้วย เปิดให้เข้าชม 09.00-17.00 น. ปกติจะอนุญาตให้เข้าชมเฉพาะบริษัทนำเที่ยวที่มีการติดต่อกันไว้แล้วเท่านั้น หากบุคคลทั่วไปสนใจจะเข้าชมต้องทำหนังสือหรือติดต่อขออนุญาตล่วงหน้าไปที่ ฟาร์มหนองงูเห่า เลขที่ 23/2 หมู่ 6 กิโลเมตรที่ 15 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 หรือโทร. 0 2312 5990 โดยเสียค่าเข้าชมคนละ 50 บาท
บึงตะโก้ เป็นบึงที่นักท่องเที่ยวนิยมเล่นกีฬาทางน้ำ ได้แก่ เคเบิ้ลสกีและวินด์เซิร์ฟ อัตราค่าเช่าชั่วโมงละ 200 บาท เปิดบริการทุกวัน
การเดินทาง
จาก ทางด่วนสายบางนา-ตราด ให้ตรงไปประมาณกิโลเมตรที่ 13 ปากทางเข้าบึงตะโก้จะอยู่ทางด้านขวามือติดกับ บริษัท มิตซูบิชิ จำกัด เข้าไป 100 เมตร และเลี้ยวขวาเข้าซอยสุกไสว (ใกล้กับไปรษณีย์บางพลี) 200 เมตร ก็จะถึงบึงตะโก้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2316 7809-10

วัดบางพลีใหญ่กลาง ตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากวัดบางพลีใหญ่เล็กน้อย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้านเรียกว่า วัดกลาง ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็นวัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร พระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยาว 53 เมตร ภายในพระนอนมีห้องปฏิบัติธรรม ภาพเขียนเรื่องราวของเทวดา นรก และมีห้องหัวใจพระซึ่งประชาชนนิยมมาปิดทองเพื่อเป็นศิริมงคล
วัดบางพลีใหญ่ใน วัดบางพลีใหญ่ในเดิมชื่อ วัดพลับพลาไชยชนะสงครามชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเรียกวัดนี้ว่า วัดใหญ่หรือ วัดหลวงพ่อโตทางประวัติศาสตร์จากโบราณคดีจารึกสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาล ว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา มาถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ 2112 และ พ.ศ 2310 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกอบกู้อิสรภาพ สู่ความเป็นไทยอีกครั้งหนึ่ง จนอาณาเขตของประเทศ ( สยาม ) ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวาง
 ส่วนชื่อของตำบลนั้นได้ชื่อว่า “บางพลี ” ก็เพราะเหตุที่สมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงกระทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงนั้นเอง ดังนั้นประชาชนทั้งหลายจึงเรียกว่าบางพลีและวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม วัดพลับพลาไชยชนะสงคราม เป็นวัดที่อยู่ด้านใน มีอาณาเขตใหญ่โตซึ่งต่อมาได้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นมิ่งขวัญของวัดจึง เรียกว่า “วัดบางพลีใหญ่ใน ” หรือ “วัดหลวงพ่อโต” มาจนถึงตราบทุกวันนี้
ตั้ง อยู่ริมคลองสำโรง ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากบึงตะโก้ประมาณ 500 เมตร เดิมชื่อวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่สมัยสุโขทัยปางมารวิชัยลืมเนตร หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ เนื้อเป็นทองสัมฤทธิ์เป็นพระประธานในโบสถ์ เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไปนาม หลวงพ่อโต วัดนี้จึงมีอีกชื่อว่า วัดหลวงพ่อโต ชาวบางพลีได้อัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงเรือในพิธีโยนบัวหรือรับบัวทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11
 ติดกับวัดยังมีตลาดริมน้ำโบราณให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมและเลือกซื้อซึ่งมี ทั้งอาหารและของใช้ต่างๆ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.00–17.00น
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ หรือจังหวัดต่างๆมายังวัดบางพลีใหญ่ใน สะดวกสะบายมาก ทางรถยนต์เข้าทางถนน บางนา-ตราด ประมาณกิโลเมตรที่ 12.5 ข้ามสะพานคลองชวดลากข้าวเลี้ยวกลับเข้าถนน กิ่งแก้ว-บางพลีใหญ่ใน
อีกทางหนึ่งเข้าทางถนนเทพารักษ์ กิโลเมตรที่ 13 ก็ถึงวัด ส่วนทางเรือสามารถมาได้ตามคลองสำโรง

สวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ ศรีนครเขื่อนขันธ์ ตั้งอยู่ตำบลบางกะเจ้า สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนออกกำลังกาย และศึกษาระบบนิเวศน์ของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้ เคียง ลักษณะของสวนเป็นการผสมผสานของสวนสาธารณะที่มีการจัดสภาพภูมิทัศน์ให้สวย งาม ประกอบด้วยพันธุ์ไม้น้ำ พันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำกร่อยกับการรักษาสภาพสวน เกษตรดั้งเดิมซึ่งเป็นสวนผลไม้เก่าไว้
การเดินทาง
จากอำเภอพระประแดงไปตามถนนเพชรหึงส์ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยวัดราษฎร์รังสรรค์ประมาณ 400 เมตร
พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ ตั้งอยู่ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ ตรงข้ามกับโรงเรียนนายเรือ จากแยกบางนาไปสำโรงประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสถานที่รวบรวมและอนุรักษ์วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกองทัพเรือไทยและยุทธนาวีครั้ง สำคัญ แบ่งเป็น 2 อาคาร คือ อาคาร 1 จัดแสดงประวัติบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับกองทัพเรือ อาทิ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์พระบิดาของทหารเรือไทย และห้องจัดแสดงเครื่องแบบต่างๆ ของทหารเรือไทย อาคาร 2 ชั้นล่างจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ชั้น 2 จัดแสดงเกี่ยวกับเรือพระราชพิธี ชั้น 3 เป็นการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ หมุนเวียนตามช่วงเวลาและเหตุการณ์สำคัญ เช่น ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สงครามเอเชียมหาบูรพา วีรกรรมที่ดอนน้อย เรือดำน้ำแห่งราชนาวี และการปฏิบัติการของทหารนาวิกโยธิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงวัตถุอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ในบริเวณโดยรอบ อาทิ เรือดำน้ำ รถสะเทินน้ำสะเทินบก รวมทั้งยังสามารถชมประภาคารแห่งแรกของประเทศไทยได้ ณ ที่แห่งนี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.30 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2394 1997 หรือ 0 2475 3808 เว็บไซต์ http://www.navy.mi.th/navalmuseum
วัฒนธรรมประเพณี
ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโต ทั้งทางบกและทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน อาทิ การจัดพานดอกบัว การประกวดเรือประเภทต่าง ๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ ในช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วม
ในสมัยก่อนนั้น ในแถบอำเภอบางพลีมีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 พวก คือ คนไทย คนรามัญ และ คนลาว ทั้งสามพวกก็ได้ปรึกษาหารือกันว่า สมควรที่จะช่วยกันหักร้างถางพงให้กว้างยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่และสวนต่อไป แต่ด้วยเหตุที่มีสัตว์ร้ายนานาชนิดและพันธุ์ไม้นานาชิดขึ้นเต็มพรืดไปหมดทำ ให้ทั้ง คนไทย คนรามัญ และคนลาวต่างตกลงกันว่า ควรจะแยกย้ายกันไปทำมาหากินกันคนละทางจะดีกว่า เมื่อตกลงกันได้แล้วต่างก็แยกทางกันไป พวกลาวไปทางคลองสลุด พวกคนไทยไปคลองชวดลากข้าว และพวกคนรามัญไปทางคลองลาดกระบังทำมาหากินได้อยู่ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลต่างพากันปรึกษาหารือกันเพื่อเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมคือทาาง ฝั่งปากลัดก่อนที่จะไปก็ได้เก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไปมากมาย และได้สั่งเสียคนไทยที่เป็นที่รักใคร่สนิทชิดชอบกันว่า ในปีต่อๆไป เมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวหลวงรวบรวมไว้ให้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วย แล้วพวกตนจะมารับเอาดอกบัวไป การมาของพวกรามัญที่มารับดอกบัวไปนั้น ต่างพากันมาโดยเรือขนาดใหญ่หลายสิบลำ พวกรามัญมักจะมาถึงวัดบางพลีใหญ่ในเพื่อรับดอกบัวตอนตี 3-4 ครั้งและทุกครั้งที่มาถึงวัดต่างก็ตีฆ้องกลองร้องรำทำเพลงและการแสดง ต่างๆ หลังจากนั้นพวกรามัญก็นำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโตในวิหาร ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของ " ประพณีรับบัว " สืบต่อกันมาจนถึงบัดนี้
งานนมัสการหลวงพ่อปาน เป็นงานประจำปีของชาวบางบ่อ ที่จัดขึ้นที่วัดมงคลโคธาวาส ในช่วงประมาณวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อปาน
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่มีประชาชนทั่วประเทศมานมัสการ มีงานฉลองใหญ่ประจำปี 9 วัน 9 คืน (เริ่มตั้งแต่วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี) ในงานมีการประกวดขบวนแห่ ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ โดยทางรถยนต์รอบตลาดปากน้ำแล้วลงเรือแห่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงที่ว่า การอำเภอพระประแดง แล้ววกกลับมาที่องค์พระสมุทรเจดีย์ มีพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ มีการแข่งเรือในลำน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งมีมหรสพสมโภช และการแสดงสินค้าต่าง ๆ การเดินทาง จากตัวเมืองไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์ จะมีเรือโดยสารบริการรับ-ส่ง หน้าตลาดวิบูลย์ศรีทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด (พระประแดง) ทุกๆ ปี ในวันอาทิตย์แรกหลังจากเทศกาลสงกรานต์ (13 เมษายน) ชาวเมืองพระประแดงร่วมกับอำเภอเมืองพระประแดง จัดงานประเพณีสงกรานต์ตามแบบพื้นบ้านของชาวรามัญ มีขบวนแห่นางสงกรานต์ ปล่อยนกและปล่อยปลา มีการละเล่นพื้นเมือง เช่น สะบ้า ทะแยมอญและมอญรำ

ประเพณีส่งข้าวสงกรานต์ การส่งข้าวสงกรานต์เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวมอญ คาดว่าคงได้รับอิทธิพลมาจากตำนานสงกรานต์ โดยจะมีบ้านๆ หนึ่งรับหน้าที่หุงข้าว ข้าวที่หุงจะเป็นข้าวสวย เสร็จแล้วนำมาใส่น้ำดอกมะลิรับประทานกับข้าวหลายชนิด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักกาดขาว เนื้อเค็ม และยำต่างๆ มีของหวานและผลไม้ ได้แก่ ถั่วดำต้มน้ำตาล กล้วยหักมุก แตงโม ของต่างๆ จะถูกจัดใส่กระทงวางบนถาดเตรียมไว้ให้สาวๆ นำไปส่งตามวัดต่างๆ ในตอนเช้า
Day1 พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ-พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ-พระสมุทรเจดีย์วันแรกของการเดินทาง เดือนกรกฎาคมซึ่งกำลังอยู่ในช่วงต้นฤดูฝน พวกเราพร้อมยานพาหนะคู่ใจขออาสาพาท่านผู้อ่านออกเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่อง เที่ยวใกล้กรุงเทพฯ คือจังหวัดสมุทรปราการหรือชื่อเดิมว่าเมืองปากน้ำ ซึ่งเป็นเมืองชานกรุงปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 29 กิโลเมตร บนเส้นทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) และเส้นทางหลวงหมายเลข 303 ก็เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาคือเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเส้นทางผ่านก่อนเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ จึงมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มาก ตลอดจนที่ตั้งซึ่งอยู่บนปากอ่าวทำให้รับลมทะเลได้ตลอดปี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเมืองตากอากาศใกล้กรุง โดยเฉพาะในยุคหลังจากสร้างทางรถไฟไปปากน้ำในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวกรุงเทพฯ ที่มีฐานะต่างเดินทางมาท่องเที่ยวยังบางปูจนกลายเป็นสถานที่พักตากอากาศที่ โด่งดังที่สุดในเวลานั้น
สำหรับเมืองสมุทรปราการ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มตอนใต้สุดของแผ่นดินสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่รับน้ำเหนือก่อนไหลลงสู่อ่าวไทยจึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุดิน ตะกอนปากแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านทำให้แบ่งจังหวัดสุมทรปราการออกเป็นฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก และมีลำคลองเกิดขึ้นมากมาย พื้นที่จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ในปัจจุบันสภาพสิ่งแวดล้อมแปรเปลี่ยนไปชาวบ้านจึงหันมาทำสวนผลไม้และ เลี้ยงสัตว์แทนการปลูกข้าว สำหรับคำขวัญประจำจังหวัดสมุทรปราการคือ ป้อมยุทธทนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดงปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัวครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม ครับ...ยังคุยกับท่านผู้อ่านได้ไม่เท่าไหร่ พวกเราก็พาท่านผู้อ่านเดินทางเข้าเขตเมืองสมุทรปราการแล้ว สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกที่พวกเราจะพาท่านผู้อ่านเที่ยวชมก็คือ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ซึ่งมีลักษณะเป็นตึกรูปช้างสามเศียรขนาดใหญ่ ความสูงประมาณตึก 17 ชั้น ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิทสายเก่า เลยทางแยกปู่เจ้าสมิงพรายก่อนถึงแยกศาลากลางจังหวัด ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งรวบรวมงานศิลปะนานาชนิด ทั้งประติมากรรมทองแดงบริสุทธิ์รูปช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลวดลายปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเบญจรงค์ที่ประณีตสวยงาม เสาขนาดใหญ่ประดับด้วยแผ่นดีบุกดุนเล่าเรื่องของศาสนาต่างๆ และโบราณวัตถุอันล้ำค่าของตระกูลวิริยะพันธุ์
ช้างเอราวัณสามเศียรแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นจากความคิดและจินตนาการของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ โดยเริ่มจากที่คุณเล็กมีความประสงค์ที่จะรักษาวัตถุโบราณที่ท่านได้สะสมไว้ ให้เป็นมรดกของแผ่นดินไทย เพราะมีวัตถุโบราณหลายอย่างที่ไม่เพียงแต่มีคุณค่าทางศิลปกรรมเท่านั้นแต่ หากยังเป็นรูปเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ของคนโบราณด้วย ตามประเพณีที่มีมาเมื่อในอดีต

โบราณ วัตถุล้ำค่าต่างๆ เหล่านี้มีค่าควรเมือง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิริมงคลและความอุดมสมบูรณ์ในแผ่นดิน หากสิ่งของมีคุณค่าเหล่านี้ตกไปอยู่ในมือของชาวต่างชาติ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่คุณเล็กก็ยังคิดไม่ออกว่าจะรักษาสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้ได้อย่างไร จนกระทั่งวันหนึ่งมีชาวต่างชาติคนหนึ่งมาสนทนากับคุณเล็กและพูดถึงความคิด ที่สร้างอาคารงำเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นผลแอปเปิ้ลตามความเชื่อทางวัฒนธรรมของ ชาวตะวันตกแต่คุณเล็กมีความคิดที่จะสร้างเป็นรูปช้างเอราวัณของชาวตะวันออก แทน สำหรับช้างเอราวัณเป็นช้างบนสวรรค์มีสามเศียร แต่คุณเล็กไม่นึกให้เป็นเพียงพาหนะของพระอินทร์ผู้เป็นเทพศักดิ์สิทธิ์เท่า นั้น หากแต่จินตนาการให้เป็นช้างจักรวาลที่มีอิสระในลักษณะที่สร้างให้เป็นอาคาร ศักดิ์สิทธิ์บรรจุเทวรูปเคารพและวัตถุโบราณที่เป็นสวัสดิมงคลของบ้านเมือง

จาก นั้นคุณเล็กได้มอบหมายให้คุณพากเพียร วิริยะพันธุ์ บุตรชายคนโตหาช่างที่มีฝีมือมาดำเนินการก่อสร้าง และเมื่ออาคารช้างสามเศียรแห่งนี้สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ก็เกิดมีประชาชนทั่วไปรวมทั้งชาวต่างประเทศเดินทางมากราบไหว้บูชาจนใน ปัจจุบันช้างเอราวัณแห่งนี้กลายมาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไป นับว่าเป็นบุญบันดาลที่กลับมาสนองตอบเจตนารมณ์ในการรักษาสิ่งของมีค่าและ ศักดิ์สิทธิ์ไว้ในแผ่นดินของคุณเล็กและคุณพากเพียร วิริยะพันธุ์ แต่ท่านทั้งสองได้สิ้นชีวิตไปก่อนที่อาคารช้างเอราวัณจักรวาลแห่งนี้จะเสร็จ เรียบร้อย แต่ลูกหลานภายในตระกูลวิริยะพันธุ์ก็สืบสานดำเนินการก่อสร้างช้างเอราวัณ จักรวาลแห่งนี้จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามเจตนารมณ์ของท่านทั้งสองก่อนที่ จะสิ้นชีวิต

เพื่อ ใช้เป็นที่จัดงานประเพณีทางวัฒนธรรมอันดีงาม และเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์สถานที่เกี่ยวกับชีวิตและผลงานของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ สืบต่อไป สำหรับพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณถูกออกแบบให้มีช้างเอราวัณยืนอยู่บนตัวอาคาร ซึ่งมีความสูงจากพื้นดินถึงโหนกช้างเท่ากับ 43.60 เมตรหรือเทียบเท่ากับความสูงของตึกราว 14-17 ชั้น ในส่วนของตัวช้างเอราวัณมีความกว้าง12 เมตร ยาว 39 เมตร และสูง 29 เมตร โดยมีน้ำหนักถึง 250 ตัน สำหรับวัสดุที่ใช้นำมาทำตัวช้างโครงสร้างภายในเป็นเหล็ก โดยผิวช้างใช้แผ่นทองแดงับแสนแผ่นหุ้มปิดโครงสร้างภายในเอาไว้ ซึ่งถือว่าเป็นงานก่อสร้างโดยแผ่นทองแดงที่ใช้วิธีการเคาะขึ้นรูปด้วยมือที่ ใหญ่ที่สุดในโลก สำหรับข้อมูลพื้นฐานพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณมีดังต่อไปนี้ ความสูงเฉพาะตัวช้างเอราวัณ 29 เมตร ความสูงของตัวช้างรวมอาคาร 43.60 เมตร ความกว้างของช้าง 39 เมตร น้ำหนักของลำตัวช้าง 150 ตัน น้ำหนักของเศียรช้าง 100 ตัน ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกันคือ ชั้นบาดาล (นาคพิภพ) ชั้นล่างสุดภายในเป็นห้องโถงขนาดใหญ่จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณและนิทรรศการที่ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างตลอดจนชีวิตและผลงานของคุณเล็ก และคุณพากเพียร วิริยะพันธุ์


ชั้น โลกมนุษย์ คือห้องโถงอาคารชั้นบนที่เปรียบประดุจเขาพระสุเมรุ ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุโบราณและแสดงงานฝีมือช่างที่มีความวิจิตรงดงามตระการ ตา โดยนำเอาศิลปะของโลกตะวันตกและโลกตะวันออกมาผสมผสานกันอย่างลงตัว สำหรับงานตกแต่งงานศิลปะประกอบไปด้วย งานฝีมือของช่างไทย ซึ่งมีอยู่สองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นงานปูนปั้นบริเวณซุ้มประตูทางเข้าและบริเวณภายในตัวอาคารซึ่งมี ลักษณะพิเศษตรงที่มีการนำถ้วยเบญจรงค์มาประดับลวดลายจนเกิดความสวยงามวิจิตร บรรจง


ส่วน ที่สองเป็นงานสลักดุนบนแผ่นดีบุก ทำเป็นรูปภาพเกี่ยวข้องกับศาสนา นำมาประกอบเข้าไว้ด้วยกัน หุ้มเสาจำนวน 4 ต้น เปรียบเสมือนกับให้ศาสนาเป็นเสาหลักที่คอยค้ำจุนโลก และถ้าหากมองไปบนเพดานจะเห็นภาพของแผนที่โลก
ซึ่งเป็นงานกระจกสีซึ่งมีความวิจิตรบรรจงตลอดจนความสวยงามตระการตา ออกแบบและวาดโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงจากประเทศเยอรมัน

ชั้น สวรรค์หรือชั้นดาวดึงส์ คือตัวอาคารที่เป็นรูปช้างเอราวัณ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุและพระพุทธรูปยุคสมัยต่างๆ ตลอดจนภายในห้องนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่นที่เขียนขึ้นเป็นภาพที่ แสดงถึงระบบสุริยะจักรวาล ที่มีความสวยงามตระการตามาก ในส่วนของบริเวณพื้นที่โดยรอบของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ เป็นอุทยานพรรณไม้ต่างๆ ในวรรณคดีซึ่งรวมทั้งพันธุ์ไม้หายากต่างๆ ตลอดจนงานประติมากรรมลอยตัวรูปสัตว์หิมพานต์ตามมุมต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณอันร่มรื่นแห่งนี้

สำหรับ การเข้าชมภายในส่วนต่างๆ ของอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแห่งนี้ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดเจ้าหน้าที่นำ ชวยและคอยอำนวยความสะดวกพร้อมกับบรรยายให้แก่ผู้ที่เดินทางเข้ามาเยี่ยมชม โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นบาดาล ชั้นโลกมนุษย์ จนกระทั่งถึงชั้นสวรรค์ โดยใช้เวลาในการเข้าเที่ยวชมประมาณ 40 นาที
สำหรับ รอบเข้าชมจะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ดังนั้นในช่วงเวลาที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาเข้าเยี่ยมชมนักท่องเที่ยวสามารถ เดินเที่ยวชมอุทยานพรรณไม้ป่าหิมพานต์ในวรรณคดีที่ถูกตกแต่งไว้อย่างสวยงาม โดยรอบพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณก่อนจะเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมภายในอาคาร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแห่งนี้เป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนก็ได้
พิพิธภัณฑ์ ช้างเอราวัณแห่งนี้ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เป็นผลงานอันดับที่ 3 ของคุณเล็ก และคุณพากเพียร วิริยะพันธุ์ โดยผลงานแห่งแรกคือเมืองโบราณบางปู จังหวัดสมุทรปราการ และผลงานแห่งที่สองได้แก่ปราสาทสัจธรรมในจังหวัดชลบุรี สำหรับพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเปิดทำการทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 18.00 น. อัตราค่าเข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์ ผู้ใหญ่คนละ 150 บาท เด็กอายุ 6 ถึง 12ปี คนละ 50 บาท ในส่วนของรอบเข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ท่านผู้อ่านสนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 0 2371 3135-6, 0 2380 0305 โทรสาร 0 2380 03054 อีเมล์ erawan_museum@yahoo.com www.erawan-museum.com

พวก เราเดินเที่ยวชมความยิ่งใหญ่สวยงามตระการตาทั้งภายในและภายนอกของ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พร้อมกับชื่นชมความวิริยะอุตสาห์ของคุณเล็กและคุณพากเพียร วิริยะพันธุ์ จนสามารถเนรมิตพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแห่งนี้ขึ้นมาได้จนปัจจุบันกลายเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเดินทางเข้ามา เยี่ยมชมความยิ่งใหญ่ สวยงามตระการตาภายในพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ อันเนืองแน่นในทุกๆ วันตั้งแต่ชาวจรดค่ำ

ท่าน ผู้อ่านที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดสมุทรปราการไม่ควรพลาดการเข้ายี่ยม ชมพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง พวกเรารับประทานอาหารกลางวันบริเวณสวนอาหารท่ามกลางบรรยากาศอันร่ม รื่นภายในพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ หลังจากอิ่มหมีพีมันกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงขับรถยนต์ออกเดินทางต่อเข้าไปยังตัวเมืองสมุทรปราการ พวกเราเดินทางเข้ามาถึงยังตัวเมืองสมุทรปราการ แหล่งท่องเที่ยวที่สอง ที่พวกเราจะแวะเข้าเที่ยวชมก็คือพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ในตำบลปากน้ำ ตรงข้ามกับโรงเรียนนายเรือจากแยกบางนาไปสำโรงระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร และที่ภายในพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ พวกเราได้รับการต้อนรับจากเรือเอกวิทูรย์ ม่วงศรี ประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์ทหารเรือพร้อม mascot ในชุดทหารเรือสองตัวซึ่งแต่งชุด mascot รอคอยพวกเรามาตั้งแต่เช้า

ซึ่ง หลังจากทักทายปราศรัยแนะนำตัวกันพอหอมปากหอมคอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นท่านผู้กองวิทูรย์ ม่วงศรี พร้อมกับ mascot ก็พาพวกเราเดินเที่ยวชมสิ่งน่าสนใจภายในพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ
สำหรับ ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เริ่มจากในปี พ.ศ. 2485 ในระยะแรกเป็นการดำเนินการในลักษณะรวบรวมวัตถุที่มีคุณค่าทางด้านประวัติ ศาสตร์ทหารเรือ จากนั้นจึงนำมาเก็บรักษาไว้ที่กองประวัติศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 จึงเริ่มก่อตั้งแผนกพิพิธภัณฑ์ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกองประวัติศาสตร์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2500 งานพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายไปตั้งที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2515 ได้ทำการย้ายพิพิธภัณฑ์มาตั้งอยู่บริเวณริมถนนสุขุมวิท ตรงข้ามโรงเรียนนายเรือในจังหวัดสมุทรปราการ และใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ” มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


ใน ส่วนของการจัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์ทหารเรือถูกแบ่งออกเป็น การจัดแสดงกลางแจ้งและการจัดแสดงภายในอาคาร สำหรับการจัดแสดงกลางแจ้ง ได้จัดแสดงประเภทอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย ปืนโบราณ, ปืนเรือ, เรือ, รถสะเทินน้ำสะเทินบก, เครื่องบินทะเล และเรือดำน้ำเป็นต้น


ซึ่ง ในปี พ.ศ. 2481 ประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำปฏิบัติการอยู่ในกองทัพเรือทั้งหมด 4 ลำด้วยกันคือ เรือหลวงมัจฉาณุ, เรือหลวงวิรุณ, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงสินสมุทร นอกจากนั้นยังมีเครื่องบิน HU 16 B ซึ่งสามารถขึ้นลงได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นเครื่องบินรุ่นแรกสมัยก่อตั้งกองบินทหารเรือเมื่อปี พ.ศ. 2505 และปืนขนาด 75/51 มม. ซึ่งเป็นปืนต่อสู้อากาศยาน เคยติดตั้งบนเรือตอปิโดใหญ่ (พ.ศ. 2478) เช่นเรือหลวงชุมพร, เรือหลวงตราด เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีรถสะเทินน้ำสะเทินบก, รถสายพานลำเลียงพล ตั้งแสดงอยู่สนามหญ้าหน้าพิพิธภัณฑ์อีกด้วย จากบริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ผู้หมวดก็พาพวกเราเดินเท้าเข้าไปเที่ยวชมภายในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งถูกจัดแบ่งเป็นอาคารสองหลังสามารถเดินเชื่อมต่อถึงกันได้


สำหรับ อาคารที่หนึ่งมีสองชั้น สร้างเป็นหลังแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยในบริเวณชั้นที่หนึ่งถูกจัดแสดงเป็นห้องเทิดพระเกียรติ์และห้องสรรพวุธ ห้องที่สำคัญคือห้องของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้า อาภากรเกียรติ์วงศ์ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ พระราชบิดาแห่งกองทัพเรือไทย ซึ่งภายในห้องจัดแสดงพระประวัติ อาวุธประจำพระองค์ ภาพฝีพระหัตถ์ ตำรายา อุปกรณ์การเดินเรือของเรือหลวงพระร่วงเป็นต้น

ใน ส่วนห้องของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้จัดแสดงพระราชประวัติภาพเขียนสีน้ำมัน เหตุการณ์สู้รบ ภาพการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นต้น ห้องสรรพาวุธได้จัดแสดงปืนโบราณสมัยต่างๆ เช่น ปืนแกตลิง เป็นปืนกลในสมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดจนอาวุธและเครื่องกระสุนเป็นต้น
สำหรับ ชั้นที่สอง จัดแสดงเป็นห้องเทิดพระเกียรติ์ ห้องลายครามและห้องเครื่องแบบ ห้องจอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จัดแสดงพระประวัติ เครื่องแบบ กระบี่ประจำพระองค์เป็นต้น ห้องเครื่องแบบทหารเรือ จัดแสดงเครื่องแบบทหารเรือ และบางมุมจัดแสดงประวัติอดีตผู้บัญชาการทหารเรือที่สร้างชื่อเสียงให้แก่กอง ทัพเรือ ห้องลายครามจัดแสดงเครื่องลายครามที่เคยใช้บนเรือพระที่นั่ง

สำหรับ อาคารที่สองมีจำนวนสามชั้น ถูกสร้างเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2530 โดยในชั้นที่หนึ่ง จัดแสดงประภาคารแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากอ่าว จังหวัดสมุทรปราการ และปืนเที่ยงเป็นปืนที่ใช้สำหรับยิงบอกเวลาเที่ยง ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 นอกจากนั้นยังมีตอร์ปิโดขนาดต่างๆ เช่นตอร์ปิโด แบบ 53ก. แบบ 45ง. เป็นต้น ตลอดจนเรือ “สุวรรณเหรา” เป็นเรือโบราณใช้เป็นเรือพระประเทียบในกระบวนเรือพระราชพิธีโดยฝีมือช่างใน สมัยรัชกาลที่ 5 ในส่วนของชั้นที่สองซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญจัดแสดงกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือจำลองในสมัยรัชกาลที่ 6

ได้ จัดแสดงเรือรบจำลองชนิดต่างๆ ของกองทัพเรือ อุปกรณ์การเดินเรือ เช่น หัวประดาน้ำ, เข็มทิศการเดินเรือ, ตะเกียงเจ้าพายุ เป็นต้น สำหรับชั้นสุดท้ายคือชั้นที่สาม ได้จัดแสดงยุทธนาวีของกองทัพเรือในอดีตตลอดจนวิวัฒนาการการบิน และเรือหลวงจักรีนฤเบศรจำลองเป็นต้น พิพิธภัณฑ์ทหารเรือเปิดให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจได้เข้าชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2475 3808 http://www.navy.mi.th/navalmuseum พวกเราใช้เวลาเดินเที่ยวชมภายในพิพิธภัณฑ์ทหารเรือจนสมควรแก่เวลา จากนั้นพวกเราทุกคนจึงกราบลาเรือเอกวิทูรย์ ม่วงศรี และ mascot ทั้งสองตัว ก่อนลาจากเรือเอกวิทูรย์ ม่วงศรี ได้มอบ mascot ของที่ระลึกในโอกาสที่เดินทางมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ทหารเรือในครั้งนี้ ซึ่งพวกเราทุกคนขอกราบขอบพระคุณในไมตรีจิตและการต้อนรับอันดีจากเจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑ์ทุกคนมา ณ ที่นี้ด้วยครับ จากพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ พวกเราออกเดินทางเข้าไปยังภายในตัวเมืองสมุทรปราการ แวะกราบสักการบูชาศาลหลักเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการใกล้กับศาลากลางเมืองสมุทรปราการ บนถนนประโคนชัยบรรจบกับถนนหลักเมือง
สำหรับศาลหลักเมือง สมุทรปราการแห่งนี้เดิมเป็นอาคารทรงไทย แต่ด้วยความที่ศาลหลักเมืองสร้างมานานเกือบ 200 ปี ประกอบกับทำด้วยไม้สภาพจึงชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบใหม่มาเป็นศาลหลักเมืองแบบศาลเจ้าพ่อจีน ด้วยสาเหตุที่บริเวณชุมชนแห่งนี้มีชาวจีนเข้ามาตั้งรกรากค้าขายละเป็นกุลีมา เป็นเวลาช้านาน ชาวไทยเชื้อสายจีนเหล่านี้เคารพบูชาศาลหลักเมืองสมุทรปราการเป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้ร่วมมือกันสร้างศาลหลักเมืองแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ เมื่อศาลหลักเมืองทรงไทยชำรุดทรุดโทรมลงไป มาเป็นศาลหลักเมืองแบบจีน เป็นตัวอย่างการนำเอาวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย
สำหรับเจ้าพ่อในศาลหลักเมืองใหม่แห่งนี้ มีลักษณะเป็นขุนทางจีนโบราณแต่งเครื่องแบบเต็มยศ สวมหมวกนั่งอยู่บนเก้าอี้ ขนาบข้างด้วยบริวารข้างละคน ตั้งอยู่ในซุ้มบูชากลางศาลเจ้า บริเวณปากของเจ้าพ่อศาลหลักเมืองเปื้อนฝิ่นสีดำเป็นมัน เนื่องจากชาวบ้านบางคนนิยมเซ่นไหว้บูชาเจ้าพ่อศาลหลักเมืองด้วยฝิ่น บริเวณโดยรอบศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีน และเคยมีโรงยาฝิ่นอยู่บริเวณข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งแต่เดิมนั้นทางการไทยยอมให้ชาวจีนสูบฝิ่นและตั้งโรงยาฝิ่นได้โดยไม่ถือ ว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด ต่อมาในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2502 โรงยาฝิ่นจึงถูกยกเลิกไป สำหรับเสาหลักเมืองสมุทรปราการอยู่ทางเยื้องซ้ายที่ประทับของเจ้าพ่อหลัก เมือง เป็นไม้กลมความสูงประมาณหกศอกเศษ ส่วนยอดบนของเสาหลักเมืองกลึงเป็นดุมลดหลั่น ยอดเป็นพุ่มแหลมอย่างไทยแต่แกะสลักเป็นมังกรปีนเสาหลักเมืองขึ้นไป ลักษณะของมังกรมีเกล็ดขาแบบจระเข้ มีผ้าเจ็ดสีพันอยู่บริเวณโดยรอบของเสา มีซุ้มโค้งโอบครึ่งเสาเปิดด้านหน้า เป็นการแต่งเติมเสาหลักเมืองตามความเคารพศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนแห่ง เมืองสมุทรปราการ หลังจากกราบสักการบูชาศาลหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคลแกตนเองเป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว จากนั้นพวกเราก็ลงเรือเมล์โดสารข้ามฝั่งมายังอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระสมุทรเจดีย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สักการบูชาของชาวสมุทรปราการซึ่งตั้งอยู่บนถนน สุขสวัสดิ์ ตำบลปางคลองบางปลากด

สำหรับ พระสมุทรเจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ตามทางหลวงหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) แต่เดิมพระสมุทรเจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดการตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมตัด กับเกาะอันเป็นที่ตั้งขององค์พระเจดีย์ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพการเป็นเกาะให้ เห็นอีกต่อไปแล้ว ปัจจุบันพระสมุทรเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัด สมุทรปราการ สำหรับประวัติความเป็นมาของพระสมุทรเจดีย์ ผมจะเล่าให้ท่าผู้อ่านทราบดังต่อไปนี้

ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จประพาสเมืองสมุทรปราการ มาทอดผ้าพระกฐินที่วัดพิชัยสงคราม เมื่อวันพฤหัส เดือน 12 ขึ้น 11 ค่ำ จุลศักราช 1185 ทอดพระเนตรเห็นเกาะหาดทรายอยู่ที่ท้ายเกาะผีเสื้อสมุทร มีความเหมาะสมที่จะสร้างพระเจดีย์เพื่อให้ผู้ที่นั่งเรือผ่านเข้าออกได้เห็น เป็นเมืองพุทธ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นแม่กองกับเจ้าพระยาคลัง (ดิศ) มาดำเนินการสร้าง เริ่มจากการใช้ก้อนหินมาถมที่บนเกาะที่อยู่เหนือเกาะผีเสื้อสมุทรให้พื้น แน่น มีความสูงพ้นพื้นน้ำ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพกับพระยาราชสงคราม เขียนแบบแผนผังรูปมหาเจดีย์ถวายทอดพระเนตรแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ทรงพระราชทานนามว่า พระสมุทรเจดีย์ พร้อมกัยพระราชทานนามเมืองสมุทรปราการ การดำเนินงานเป็นไปเพียงเท่านี้ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนใน พ.ศ. 2367 ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์มาช่วยงาน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เกณฑ์ชาวเวียงจันทน์ผลัดละ 1,000 คน ไปตัดต้นตาลมาจากเมืองสุพรรณบุรีและเพชรบุรีมาทำเป็นรากฐานองค์พระสมุทร เจดีย์

วัน อังคารเดือน 12 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน พ.ศ. 2370โปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีธรรมราช (น้อย) กับเจ้าพระยาคลัง (ดิศ) เป็นแม่กองสร้างพระมหาเจดีย์ขึ้นตามแบบแปลนที่เขียนเมื่อสร้างเสร็จเป็นพระ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ฐานกว้าง 10 วา สูง 9 ศอก ชั้นที่ 2ยาวเหลี่ยมละ 5 วา สูง 2 คืบศอก หน้ากระดาน องค์พระเจดีย์สูงถึงยอด 9 วา 3 ศอก พร้อมสร้างศาลาราย 4 หลังเป็นเก๋งจีน รวมพระราชทรัพย์สิ้นไป 133 ชั่ง 10 ตำลึง 9 บาท ใช้เวลาสร้าง 211 วัน ปีเดียวกันนั้นเมื่อสร้างเสร็จ ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุที่คอระฆังองค์พระสมุทรเจดีย์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระสมุทรเจดีย์ ต่อมาภายหลังมีคนร้ายขุดลักพระบรมสารีริกธาตุนั้น พนักงานที่เฝ้าพระสมุทรเจดีย์จับคนร้ายไม่ได้จึงปกปิดเรื่องนี้ ไว้จนสิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2403 ได้เสด็จประพาสเมืองสมุทรปราการเห็นว่าพระสมุทรเจดีย์ต่ำเตี้ยเกินไปจึง โปรดฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) และพระอมรมหาเดช สร้างพระสมุทรเจดีย์ใหม่ โดยโปรดฯ ให้ถ่ายแบบเจดีย์ลอมฟางมาจากกรุงศรีอยุธยามาสวมทับพระเจดีย์องค์เดิม จนมีความสูงเพิ่มขึ้นเป็น 19 วา 2 ศอกคืบ การสร้างครั้งนี้มีกองทหารปืนใหญ่ให้การสนับสนุนกำลังคน

พร้อม กันนี้โปรดฯ ให้สร้างพระวิหารใหญ่หันหน้าออกทะเล สร้างพระเกี้ยวสี่องค์ พระแท่นสำหรับวางเครื่องบูชา หอระฆังและหอเทียนอย่างละ 1 คู่ สิ้นพระราชทรัพย์ 588 ชั่ง การซ่อมแซมในครั้งนี้ ทรงทราบเรื่องพระบรมสารีริกธาตุที่สูญหาย จึงโปรดพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุใหม่จากพระบรมมหาราชวัง ทรงบรรจุด้วยพระองค์เอง เมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนยี่ พ.ศ. 2403 โปรดฯ ให้มีละครสมโภช 1 วัน 1 คืน พ.ศ. 2404 เสด็จมาทรงยกยอดพระสมุทรเจดีย์ ทรงห่มผ้าแดง พ.ศ. 2426 สมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเป็นแม่กองซ่อมแซมพระวิหาร ศาลารายสี่ทิศ สำหรับวิหารน้อย 2 หลัง กับศาลาที่พักทางเหนือชำรุดมาก โปรดฯ ให้เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกศาธิบดีรื้อถอน และสร้างศาลาโถง 5 ห้องขึ้นแทน พร้อมสร้างฐานโครงปลูกต้นโพธิ์อยู่ด้านหลัง
พระ สมุทรเจดีย์ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อยู่คนละฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านมักเรียกว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เนื่องจากในอดีตที่สร้างมีสภาพเป็นเกาะเรือแล่นได้รอบ แต่เนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ริมปากอ่าวไทย กระแสน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลช้า ดินที่มากับน้ำจึงตกตะกอนในบริวณนี้นานไปเป็นดินเลนทับถมรอบเกาะ ปัจจุบันจึงไม่เป็นเกาะกลางน้ำ ลักษณะองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานล่างย่อมุมไม้สิบสอง คติการสร้างโดยรวมต้นแบบเป็นอย่างสุโขทัย เพิ่มเติมอย่างรัตนโกสินทร์ รอบนอกเป็นกำแพงแก้ว มีช่องทางเดินสำหรับทำทักษิณาวรรต ฐานล่างเจาะเป็นซุ้มช่อง 40 ช่อง แต่ละช่อมีช้างเผือกยืนหันหน้าออก บันไดทางขึ้นสู่ชั้นที่สอง และสาม อยู่ด้านข้างทางตะวันตกและตะวันออก ส่วนมุมทั้งสี่เป็นเจดีย์รูปพระเกี้ยว ชั้นนี้มีทางเดินโดยรอบองค์พระเจดีย์ ที่ฐานเจดีย์ชั้นนี้มีซุ้มจระนำ ขึ้นไปเป็นฐานล่างของพระเจดีย์ทรงกลม นับแต่ฐานบัวคว่ำ บัวหงาย ขึ้นไปถึงองค์ระฆัง เสาหานปล้องไฉน ส่วนยอดสุดตรงหยาดน้ำค้าง สร้างอย่างได้สัดส่วนสวยงามทาด้วยสีน้ำปูนด้านข้างได้ต่อสายล่อฟ้าเพื่อ ป้องกันฟ้าผ่า

สำหรับ งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์เป็นงานสำคัญประจำปีของจังหวัดที่จัดสืบเนื่อง มานับตั้งแต่สร้างองค์พระเจดีย์ งานนมัสการจะเริ่มขึ้นในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ตรงกับช่วงปักษ์หลังของเดือนตุลาคม ซึ่งบริเวณลานจอดรถรอบองค์พระและบริเวณหน้าศาลากลางฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ ช่วงเช้าจะมีการแห่ผ้าห่มองค์พระเจดีย์ไปรอบเมืองก่อนที่จะนำลงเรือแห่ไปตาม แม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นจึงทำการเปลี่ยนผ้าผืนเก่าแล้วทำการอัญเชิญผ้าสีแดงผืนใหม่ขึ้นไปห่ม ผ้าองค์พระสมุทรเจดีย์ โดยคนในตระกูล “รุ่งแจ้ง” ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาสี่ชั่วอายุคนแล้ว ชาวปากน้ำเชื่อกันว่าจะต้องเป็นคนในตระกูลนี้เท่านั้นจึงจะขึ้นไปห่มผ้าองค์ พระสมุทรเจดีย์ได้ ภายในงานมีการออกร้านของหน่วยงานราชการและเอกชน โดยมีมหรสพเฉลิมฉลอง ภาพยนตร์ ดนตรี จับฉลากการกุศล การออกร้านจำหน่ายของกินของใช้ตลอดจนเครื่องเล่นต่างๆ จึงถือได้ว่าเป็นงานวัดเก่าแก่เต็มรูปแบบใกล้กรุงเทพฯ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ตลอดงานจะมีการประดับประดาดวงไฟโดยรอบพระสมุทรเจดีย์มองเห็นสวยงามในระยะ ไกลๆ
พวก เราเดินเที่ยวชมบรรยากาศความสวยงามขององค์พระสมุทรเจดีย์จนดวงอาทิตย์ลาลับ ขอบฟ้า จากนั้นจึงพากันออกมาเดินเที่ยวงานฉลองแห่เทียนเข้าพรรษาที่จัดขึ้นบริเวณ โดยรอบขององค์พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งมีประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยวกันอย่างคับคั่ง จนสมควรแก่เวลาหาอาหารค่ำรับประทานกันก่อนดีกว่า ร้านอาหารกาญจนาติดกับท่าเรือเจดีย์คือสถานที่ที่พวกเราจะฝากท้องกันในคืน วันแรกที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังเมืองสมุทรปราการ สำหรับเมนูอาหารรสเด็ดของพวกเราในค่ำคืนนี้ก็คือ ปลาดุกทะเลผัดฉ่า, ต้มยำปลาช่อน, หมูแดดเดียว, ผัดกระเพราเนื้อ ฯลฯ

โดย เฉพาะเมนูเด็ด ปลาดุกทะเลผัดฉ่า พวกเราบางคนบอกว่าสุดยอดของความอร่อยจนต้องสั่งมาเพิ่มอีกเป็นจานที่สอง พร้อมไข่เจียวหมูสับ พวกเราเพลิดเพลินไปกับรสชาติอาหารและบรรยากาศยามค่ำคืนริมฝั่งปากแม่น้ำเจ้า พระยาจน สมควรแก่เวลาได้เวลาเดินทางกลับที่พักกันแล้ว คืนนี้พวกเราจะนอนพักค้างแรมกันที่เกสเฮาส์เล็กๆ ภายในอำเภอพระสมุทรเจดีย์กัน พรุ่งนี้พวกเราจะพาท่านผู้อ่านเดินทางท่องเที่ยวกันในจังหวัดสมุทรปราการกัน ต่อนะครับ คืนนี้ขอกล่าวคำว่าราตรีสวัสดิ์กับท่านผู้อ่านครับ
Day 2 ท่องเที่ยวในอำเภอพระสมุทรเจดีย์, อำเภอพระประแดงเช้า วันที่สองของการเดินทาง พวกเราหาอาหารเช้ารับประทานกันบริเวณตลาดเช้าในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ หลังจากจัดการกับอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางท่อง เที่ยวต่อไปยังป้อมพระจุลจอมเกล้าหรือป้อมพระจุล ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำบลแหลมฟ้าผ่า อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 303 ประมาณ 7 กิโลเมตร

พวก เราได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากนายทหารซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ให้กับกองทัพเรือพร้อมกับพาพวกเราเดินเท้าเข้าเที่ยวชมภายในบริเวณป้อมพระ จุลจอมเกล้า พวกเราแวะสักการบูชาศาลพระนเรศ – นารายณ์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าบริเวณปากทางเข้าป้อมพระจุล พร้อมกับฟังเรื่องราวประวัติความเป็นมาของศาลพระนเรศ – นารายณ์ ให้พวกเราฟังว่า พระนเรศ – นารายณ์ หรือในอีกนามหนึ่งคือ พระวิษณุ ถือเป็นเทพทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นเทวดาผู้ใหญ่ฝ่ายปราบปราม มีกายเป็นสีดอกตะแบก(สีนิลแก่)มี 4 กร ซึ่งทั้ง 4 นั้น ถืออาวูธต่างๆกันคือ ตรี คฑา ครุฑ จักร สังข์ ทรงมงกุฎชัย ใช้ครุฑเป็นพาหนะ ศาลแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ป้อม พระจุลจอมเกล้าและพื้นที่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาช้านาน จากคำบอกเล่าของข้าราชการที่เคยรับราชการอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าในสมัย นั้น ทั้งที่เกษียณอายุราชการแล้วและที่ยังรับราชการอยู่ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่คาดว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า คือสร้างในปี พ.ศ.2427 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า

ศาล เดิมที่สร้างในครั้งแรกเป็นศาลสร้างด้วยไม้แบบทรงไทยมี 4 เสา ขนาดกว้างประมาณ 80 เซนติเมตร ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ยกสูงจากพื้นประมาณ 100 เซนติเมตร (บริเวณสระน้ำด้านทิศตะวันออกของปัจจุบัน) องค์พระนเรศ-นารายณ์ สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ สูงประมาณ 2 ฟุต หันหน้าไปทางทะเล(ทิศใต้) ศาลพระนเรศ-นารายณ์ แห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากโดยเฉพาะชาวบ้าน ที่ประกอบอาชีพทำนากุ้ง เลี้ยงปลา และเลี้ยงหอย ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2514 ได้เกิดไฟไหม้ศาลเนื่องจากประชาชนที่มากราบไหว้จุดธูปบูชาแล้วดับธูปไม่สนิท ก้านธูปที่จุดบูชาติดไฟและลุกลามไหม้ตัวศาลทั้งหลัง รวมทั้งองค์พระนเรศ-นารายณ์ ก็ถูกไฟไหม้เสียหายประมาณ 70% ต้องทำการบูรณะใหม่ พร้อมทั้งทำการก่อสร้างศาลหลังใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาทรงไทยมุง กระเบื้องใบโพธิ์(ศาลปัจจุบัน) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จได้อัญเชิญองค์พระนเรศ-นารายณ์ เข้าประดิษฐาน เสร็จสิ้นประมาณเดือนเมษายน พ.ศ.2515 โดยองค์พระนเรศ-นารายณ์ หันหน้าไปทางทิศเหนือ หลังจากนั้นประมาณปี พ.ศ.2518 ผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้าได้มีดำริให้สร้างศาลพระพรหมขึ้นที่บริเวณสี่ แยกทางด้านทิศเหนือของอาคาร บก.ป้อมพระจุลจอมเกล้า เดิม(สี่แยก ร้อย.รป.ที่ 5 ฯ) และเมื่อสร้างศาลพระพรหมเสร็จไม่นาน(ในปีเดียวกัน) องค์พระนเรศ-นารายณ์ ได้ถูกขโมยโดยการหักเอาตัวองค์สัมฤทธิ์ไปเหลือไว้เพียงช่วงกลางพระ เพลา(แข้ง) ไว้ เนื่องจากเป็นส่วนที่ติดอยู่กับแท่นปูนขโมยไม่สามารถยกไปทั้งแท่นได้


หลัง จากนั้นผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงได้ว่าจ้างร้านเจริญผลช่าง หล่อ(บริเวณเสาชิงช้า)ทำการหล่อองค์พระนเรศ-นารายณ์ ขึ้นใหม่โดยดูแบบจากภาพที่ถ่ายไว้เมื่อปี พ.ศ.2515 (ขณะอัญเชิญขึ้นบนศาล) ในช่วงดำเนินการได้เช่าองค์พระนเรศ-นารายณ์ ขนาดความสูง 1 ฟุต จากร้านเจริญผลช่างหล่อมาตั้งทดแทนเพื่อให้ประชาชนได้สักการะเป็นการชั่ว คราว ซึ่งองค์พระนเรศ-นารายณ์ องค์ที่หล่อขึ้นใหม่มีความสูงประมาณ 2 ฟุต ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลปัจจุบัน โดยองค์ที่หล่อขึ้นใหม่ทั้ง 2 องค์ ดังกล่าวมีลักษณะปรางค์ขององค์พระนเรศ-นารายณ์ บางจุดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเช่น พระกร(แขน) เป็นต้น (คือปางปัจจุบัน) จากความเชื่อที่ว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก พระนเรศ-นารายณ์(พระวิษณุ)เป็นผู้รักษา และพระศิวะเป็นผู้ทำลาย ดังนั้นจึงมักมีผู้ที่ทำสิ่งของหายนิยมมาสักการะอธิษฐานกับพระนเรศ-นารายณ์ เพื่อขอให้ได้สิ่งของนั้นกลับคืนมา

จาก นั้นพวกเราจึงเดินเท้าไปยังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือภายในป้อมพระจุลฯ ซึ่งตลอดทั้งวันจะมีประชาชนเดินทางมากราบไหว้สักการบูชาพระบรมรูปของล้น เกล้ารัชกาลที่ 5 กันอย่างคับคั่ง พวกเราจุดดอกไม้ธูปเทียนทำการสักการะบูชาพระบรมรูปของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเดินเท้าเข้าไปเที่ยวชมภายในห้องแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ทหาร เรือ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใต้ฐานของพระบรมราชานุสาวรีย์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พร้อมกับฟังเรื่องราวประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลฯ


ซึ่ง นายทหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกองทัพเรือได้บรรยายให้พวกเราฟังว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้า” หรือที่นิยมเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า “ป้อมพระจุลฯ” นั้นมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน กล่าวคือ ภายหลังจากองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงมีพระราชปรารภว่า ป้อมต่างๆ ที่เมืองสมุทรปราการ ซึ่งใช้เป็นที่มั่นในการป้องกันและตั้งรับข้าศึกที่จะเข้ามาทางทะเลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นป้อมเก่าล้าสมัย และชำรุดทรุดโทรมมาก อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้ในการป้องกันบ้านเมืองได้ อีกทั้งในช่วงเวลานั้นเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในแถบยุโรป ประเทศต่างๆ ได้แก่งแย่งกันขยายอำนาจ จนทำให้เกิดลัทธิล่าอาณานิคม และแน่นอนที่สุดประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากร จึงตกเป็นเป้าหมายสำคัญของการล่าอาณานิคม


โดย ในขณะนั้นประเทศข้างเคียง โดยรอบประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นญวน เขมร ลาว พม่า ตลอดจนสิงค์โปร์ และมาเลเซีย ได้ถูกยึดครองไว้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อมีเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้เกิดขึ้น ด้วยพระวิจารณญาณและพระปรีชาสามารถแห่งองค์พระพุทธเจ้าหลวง จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้ปรับปรุง และซ่อมแซมป้อมเก่าๆ และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดสร้างป้อมปราการที่ทันสมัยขึ้นมาอีกแห่ง หนึ่งบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการเร่งด่วน และแล้วในปี พ.ศ. 2427 ป้อมปราการแห่งนี้ก็เริ่มสร้างขึ้นกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ. 2436 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินพระคลังข้างที่ (เงินส่วนพระองค์) หนึ่งหมื่นชั่ง (แปดแสนบาท) อีกทั้งทรงจัดหาปืนหลุมหรือปืนเสือหมอบ (Disappearing Gun) เข้าประจำการ โดยมีลักษณะเป็นปืนหลุมจำนวน 7 หลุม โดยปืนที่มีสมรรถนะสูงทั้ง 7 กระบอกนี้ ได้สั่งมาจากบริษัท เซอร์ดับบลิวจีอาร์มสตอง จำกัด (Sir W.G. Armstrong & Co.) ประเทศอังกฤษ ถือปืนใหญ่บรรจุท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ จึงทำให้ป้อมปืนแห่งนี้มีความทันสมัยที่สุดในขณะนั้นและเมื่อวันที่ 10 เมษายนในปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อทอดพระเนตรป้อม ทรงทดลองยิงปืนป้อมด้วยพระองค์เอง กับทรงพระราชทานชื่อป้อมแห่งนี้ว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้า”

ป้อม พระจุลจอมเกล้า ถือเป็นป้อมที่มีโอกาสรับใช้ชาติ และสามารถปฏิบัติกิจได้อย่างเต็มที่ และสมเกียรติ ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือ “การยุทธที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา” กล่าวคือ เมื่อการก่อสร้างและติดตั้งปืน ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า แล้วเสร็จลงไม่นานนัก สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย และคาดการณ์ไว้ก็ได้เกิดขึ้นในตอนเย็นก่อนพลบค่ำของวันที่ 13 กรกฎาคม 2436 (ร.ศ. 112) ขณะน้ำขึ้นสูงสุด เมื่อหมู่เรือรบฝรั่งเศส จำนวน 2 ลำ ได้ล่วงล้ำเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยา การสู้รบระหว่างฝรั่งเศสกับฝ่ายไทย โดยมีป้อมพระจุลจอมเกล้า พร้อมเรือรบอีก 5 ลำ จึงเริ่มต้นขึ้น ผลการสู้รบครั้งนั้นทำให้เทหารไทยเสียชีวิต 8 นาย และบาดเจ็บอีก 41 นาย ส่วนทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต 3 นาย และบาดเจ็บ 3 นาย ภายหลังเหตุการณ์สำคัญตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและก่อความเสียหายในด้าน ชีวิตและทรัพย์สินไม่มากนัก แต่ก็มีผลหลายประการต่อปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสยุติการสู้รบขู่เข็ญในกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนฝั่งซ้าย ของแม่น้ำโขง ซึ่งได้โต้เถียงกันมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี อีกทั้งเป็นเหตุให้ไทยยอมเสียดินแดน 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมดให้ฝรั่งเศสไป เพื่อรักษาผืนแผ่นดินส่วนใหญ่และเอกราชไว้ จากอดีตผ่านเลยสู่ปัจจุบัน ป้อมพระจุลจอมเกล้าถือเป็นป้อมที่มีโอกาสรับใช้ชาติและสามารถปฎิบัติภารกิจ ได้อย่างเต็มที่และสมเกียรติ แต่หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ไปแล้วปืนเสือหมอบก็ไม่ได้ทำการยิงอย่างเป็นทางการอีกเลย จนปลดระวางราวปี พ.ศ. 2476 เมื่อวันเวลาผ่านไปป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงตกอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก ถูกปล่อยให้รกร้างและมีน้ำท่วมขัง ฐานของปืนเสือหมอบแช่อยู่ในน้ำจนทำให้มีสนิมขึ้นเต็มไปหมด อีกทั้งมีต้นไม้พุ่มขึ้นรกปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณจนดูเหมือนป่า แทบจะมองไม่เห็นตัวป้อม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 นาวาเอก สมบัติ วรรณดิลก ผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้าในขณะนั้น ได้ตระหนักถึงคุณค่าของสถานที่อันมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ของชาติ แห่งนี้ จึงมีความคิดที่จะดำเนินการซ่อมแวมให้ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีสภาพดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงการสู้รบและการป้องกันบ้านเมืองในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ซึ่งจะเป็นการเชิดชูป้อมพระจุลจอมเกล้าให้เป็นสถานที่สำคัญของกองทัพเรือ และเพื่อจะได้มีการดูแลรักษาอย่างสืบเนื่องตลอดไป โดยในขั้นแรกเริ่มได้ดำเนินการให้ทหารสูบน้ำออกและกั้นน้ำด้วยการพยายามใช้ งบประมาณให้น้อยที่สุด จากนั้นจึงให้ทหารและข้าราชการช่วยกันลอกดินเลนที่ทับถมอยู่เป็นชั้นหนาออก ถางพงไม้พงหญ้าให้เกลือแต่ไม้ยืนต้น บูรณะตัวป้อมและปืนเสือหมอบโดยถอดประกอบและเคาะสนิมทาสีใหม่ การบูรณะได้กระทำเป็นลำดับโดยได้รับความร่วมมือร่วมใจอย่างดียิ่งจากเหล่า ข้าราชการและประชาชนที่ศรัทธา ประมาณ 5 เดือนต่อมา หลังจากการปรับปรุงเสริมสร้างอาณาบริเวณโดยรอบป้อมพระจุลจอมเกล้าให้กลับมา มีสภาพสมบูรณ์แล้ว กองทัพเรือจึงได้อนุมัติให้มีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นตามวัตถุประสงค์ของกองทัพเรือและผู้มีจิตศรัทธา ทั้งนี้เพื่อเป็นราชานุสรณ์ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวทรงมีต่อประเทศชาติ และปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบไม่ได้
นอก จากนี้ช่วงเวลาการสร้างยังเป็นช่วงที่ตรงกับเหตุการณ์สำคัญยิ่งสองเหตุการณ์ คือ ประการแรกเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ ด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุด จึงมีการน้อมรำลึกถึงความเชื่อมโยงนี้อย่างเป็นรูปธรรมในหลายลักษณะ เช่น การจัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดความสูง 9 นิ้ว จำนวน 2,535 องค์ ซึ่งตรงกับปีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบราราชินีนาถทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา หรือในการจัดทำเหรียญบรอนซ์จำนวน 5,960 เหรียญ โดยเลข 5 หมายถึง พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ส่วนเลข 9 หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และเลข60 หมายถึง พระชนมายุของ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถครบ 60 พรรษา สิ่งเหล่านี้เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเกี่ยวพันอย่างต่อเนื่องของ วโรกาส และพระมหากรุณาธิคุณที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีต่อประชาชนตลอดมาทุกรัชกาล และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียะกิจอันเป็น ประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวงในหลายๆด้าน สืบตามพระราชปฏิบัติขององค์สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ส่วนเหตุการณ์สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นปีที่ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีอายุครบ 100 ปี จึงเป็นการที่สมควรอย่างยิ่งที่จะมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อให้อนุชนรุ่นต่อๆ ไปได้สักการะบูชา ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชาติอีกแห่งหนึ่ง ในต้นปี พ.ศ. 2535 พลเรือเอกวิเชษฐ์ การุณยวนิช ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการโครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า” โดยมีพลเรือโท ปรีชา สงวนเชื้อ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธบริการ เป็นประธานกรรมการเพื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของรูปแบบตำบลที่จัดสร้าง ประสานการดำเนินงานในรายละเอียดกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนโครงการของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.สุนทร เสถียรไทย ประธานกรรมการบริหารธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นประธานกรรมการอำนวยการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ โดยเมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร เสถียรไทย ได้นำคณะไปร่วมทอดกฐินสามัคคีที่วัดแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นวัดที่ได้รับถวายที่ดิน 20 ไร่เศษ จากบิดาของศาสตราจารย์ ดร.สุนทร เสถียรไทย คือ หลวงวิเชียรปราการรักษ์ หรือนาวาโทเที่ยง เสถียรไทย อดีตผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้า ระหว่างปี พ.ศ. 2469-2474 ซึ่งการทอดกฐินในครั้งนั้นเป็นเวลาประจวบกันกับการที่นาวาเอก สมบัติ วรรณดิลก ผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้า พระครูโสภณวรกิจ เจ้าอาวาสวัดแหลมฟ้าผ่า จึงได้เชิญชวนให้ ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร เสถียรไทย เป็นประธานสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า เพื่อเป็นการน้อมถวายสักการะต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงที่พระองค์ทรงมีต่อบ้านเทือ งและพสกนิกรชาวไทย อีกทั้งความผูกพันที่ ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร เสถียรไทย ได้เกิดและใช้ชีวิตในวัยเด็กที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า เมื่อครั้งที่บิดาของท่านยังเป็นผู้บังคับการป้อมพระจุลจอมเกล้า จึงเป็นแรงผลักดันให้ท่านตอบรับที่จะดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรี ย์แห่งนี้


พระ บรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเกล้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็ม ยศจอมพลเรือ สวมพระมาลา มีขนาดสูง 4.20 เมตร หรือ 2 เท่าครึ่งของพระองค์จริง ส่วนฐานของพระบรมรูปมีขนาด 935 ตารางเมตร ออกแบบโดยอาจารย์เสวต เทศน์ธรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และวิศวะกรรมจากกองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นถึงความสืบเนื่องกับศิลปกรรมของป้อมพระจุล จอมเกล้าและเพื่อเป็นการอนุรักษ์เค้าโครงของสภาพแวดล้อมทางศิลปกรรมและ ประวัติศาสตร์ตามแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทั่วไป ใต้ฐานของพระบรมรูปได้จัดเป็นห้องโถงภายในเพื่ออำนวยประโยชน์สำหรับกิจการ ต่างๆ ของกองทัพเรือ และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 32 ล้านบาท พร้อมกัน คณะกรรมการฯ ได้กราบบังคมทูลเสด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2535


โดย ในการเททองนั้นได้ใช้ปลอกกระสุนปืนทองเหลืองจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ น้ำหนักทั้งหมดประมาณ 3 ตัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการสืบเนื่องเกี่ยวข้องกันของประวัติศาสตร์ วัตถุประสงค์และภารกิจของป้อม ที่จัดให้มีการเททองที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าเพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลและ เป็นการน้อมรำลึกถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวที่มีต่อการสร้างป้อมนี้ เพื่อปกป้องเอกราชของชาติไทย หลังจากนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบรมรูปขึ้นประทับบนฐานพระบรมราชานุสาว รีย์ ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2535 และในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกรคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงเป็นประธ่นในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ภายในอาณาบริเวณของอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ยังมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทหารเรือไทยที่น่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่งคือ “เรือหลวงแม่กลอง” เรือหลวงที่ได้สร้างผู้บัญชาการทหารเรือและนายทหารเรือที่มีคุณภาพมาแล้ว มากมายด้วยอายุขัยของการทำงานถึง 60 ปี หากเปรียบเทียบกับคนก็นับว่าชราภาพมากแล้ว หากแต่เป็นเสมือนของเก่าลายครามที่ทรงคุณค่า เมื่อเรือหลวงแม่กลองในวันวานได้กลายมาเป็นเรือพิพิธภัณฑ์ที่คงความเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาในวันนี้ เรือหลวงแม่กลองเป็นเรือรบที่จัดอยู่ในประเภทเรือสลุป สังกัดกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ ปัจจุบันเป็นเรือรบที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากเรือ GUNSHIP ชื่อGUANAJUATO ของประเทศเม็กซิโก


กอง ทัพเรือได้สั่งให้มีการสร้างเรือหลวงแม่กลองขึ้นในสมัยการพัฒนากองทัพเรือ ขณะที่พลเรือเอกสินธุ์ กมลนาวิน เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ในระยะแรกของการพัฒนากำลังรบทางเรือ ตามโครงการบำรุงทางเรือ พ.ศ.2478 โดยกองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัทมิตซุยบุชซันไกชา เป็นผู้สร้าง เพื่อปฏิบัติภารกิจอันสำคัญยิ่ง 2 ประการคือ สงครามปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศทางทะเล และในยามสงบปฏิบัติภารกิจเป็นเรือครูฝึกนักเรียนทหารและนายทหาร สำหรับฝึกภาคทางทะเลเป็นระยะทางไกล จนถึงเมืองท่าต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะทำให้เหล่านักเรียนทหารได้รับความรู้ความชำนาญในการเดินเรือ แล้ว ยังเป็นการอวดธงราชนาวีของไทยไปในตัว แบบของเรือหลวงแม่กลองได้ปรับปรุงจากแบบที่มีอยู่แล้วของอู่ต่อเรือรบใน ญี่ปุ่นแต่การตั้งคุณลักษณะเฉพาะของเรือตามความต้องการของฝ่ายเสนาธิการนั้น เป็นแบบของไทยแท้ๆ และนับเป็นเรือที่ต่อขึ้นใช้เป็นเรือฝึกอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก โดยพิธีวางกระดูกงูเรือหลวงแม่กลองได้จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2479 เวลา 10.45 นาฬิกา ณ อู่สร้างเรืออูรางา เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น มีระวางขับน้ำ 1,400 ตัน ความยาวตลอดลำ 85 เมตร กว้าง 10.50 เมตร ใช้เครื่องจักรใหญ่ชนิดเครื่องจักรไอน้ำแบบข้อเสือข้อต่อร่วมกับเครื่อง กังหันไอน้ำจำนวน 2 เครื่อง มีกำลัง 2,500 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุดได้ 17 นอต (ไมล์ทะเล/ชั่วโมง) ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้ไกลถึง 5,700 ไมล์ ส่วนการติดตั้งอาวุธประจำเรือ ในครั้งแรกนั้น ประกอบด้วยปืนขนาด 120/45 มิลลิเมตร จำนวน 4 กระบอก ปืนกล 20 มิลลิเมตร 2 กระบอก ตอร์ปิโด 45 เซนติเมตร 2 แท่น แท่นละ 2 ท่อ และเครื่องบินทะเลอีก 2 เครื่อง ต่อมาได้มีพิธีรับมอบเรือหลวงแม่กลอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2480 และเดินทางกลับประเทศไทยถึงท่าราชวรดิฐ ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2480 โดยกระทรวงกลาโหมได้จัดพิธีต้อนรับเจิมเรือ และขึ้นระวางประจำการเรือในวันที่เรือเดินทางมาถึงประเทศไทย โดยมีปรัธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย เรือหลวงลำนี้เป็นเรือรบที่ขึ้นระวางประจำการรับใช้ชาติในการป้องกันอาณาเขต ทางทะเลอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด โดยเคยร่วมปฏิบัติการตามแผนการในสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ดังนั้นเรือหลวงแม่กลองจึงเป็นเรือรบที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งทางการ ยุทธ์ และเป็นเรือครูให้แก่นักเรียนนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่จบการศึกษาจากโรงเรียน นายเรือ รวมทั้งนายทหารชั้นประทวนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ โดยฝึกให้ความรู้ความชำนาญแก่นักเรียนทางภาค ปฏิบัติเป็นอย่างดีในด้านวิชาการเรือ การอาวุธ และยุทธวิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังเปรียบเสมือนทูตสันถวไมตรีที่เป็นตัวแทนของคนไทยไปเยี่ยมเยือน นานาประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างไทยกับชาว ต่างชาติด้วยอีกประการหนึ่ง นอกจากที่กล่าวมา เรือหลวงแม่กลองยังมีประวัติการรับใช้ราชการอันยาวนาน โดยเคยจัดถวายเป็นเรือพระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสต์เซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2481 และเมื่อครั้งเสด็จนิวัติพระนครในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 และในการเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามทางเรือ และทอดพระเนตรการยกพลขึ้นบก ณ หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 ต่อมาเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับกองทัพเรือว่าควรจะอนุรักษ์เรือรบเก่าไว้ แล้วจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์การทหาร เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชน และเนื่องในมหาวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราช สมบัติเป็นปีที่ 50 ในปี พ.ศ. 2539 พลเรือเอก ประเจตต์ ศิริเดช ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ของกองทัพเรือ จึงร่วมกันดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เรือรบไทย ขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติในปีกาญจนาภิเษก โดยกำหนดที่จะนำเรือหลวงแม่กลองมาอนุรักษ์ซึ่งเป็น 1 ใน 7 โครงการที่กองทัพเรือได้จัดให้มีขึ้นในขณะนั้น เพื่อจัดแสดงให้ประชาชนเข้าชมพร้อมทั้งปรับปรุงท่าเทียบเรือ และพื้นที่โดยรวมจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของกองทัพเรือ จัดให้เรือหลวงแม่กลองทำหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านพิพิธภัณฑสถาน การยิงสลุตในวโรกาสสำคัญ การประดับธง และประดับไฟในพิธีการต่างๆ การรับรองแขกเมืองที่สำคัญ การแสดงกิจกรรมเกี่ยวกับทหารเรือ ตลอดจนประชาสัมพันธ์กองทัพเรือ ในระหว่างวันที่ 30 มกราคม -20 มีนาคม พ.ศ. 2538 เรือหลวงแม่กลองได้รับภารกิจเป็นเรือฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลของนักเรียนนาย เรือชั้นปีที่ 1, 2 และ 4 ประจำปีการศึกษา 2537 อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการฝึกทางทะเลครั้งสุดท้ายของเรือหลวงแม่กลอง ก่อนนำเข้าดำเนินการตามโครงการอนุรักษ์เรือหลวงแม่กลอง และนับเป็นโอกาสดีที่จะให้เรือหลวงแม่กลองได้เดินทางไปเยี่ยมอำลาประชาชนชาว สมุทรสงครามที่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรือและเป็นสถานที่ในอดีตซึ่งเคยมีการจัดงานพิธีฉลอง ให้เรือหลวงแม่กลองมาแล้ว กองทัพเรือจึงร่วมกับจังหวัดสมุทรสงครามจัดพิธีอำลาเรือหลวงแม่กลองระหว่าง วันที่ 17-18 มีนาคม พ.ศ. 2538 บริเวณแม่น้ำแม่กลอง หน้าวัดปากสมุทร ตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม


จากอดีต เรือรบอันยิ่งใหญ่ของราชนาวีไทย ในวันนี้เรือหลวงแม่กลองได้ผันบทบาทมาปฏิบัติภารกิจอันสำคัญยิ่งอีกหน้าที่ หนึ่ง เมื่อกลายมาเป็นเรือพิพิธภัณฑ์โดยภายในลำเรือนั้นได้จัดแสดงห้องต่างๆ ไว้ให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยยี่ยมชมเช่น “ห้องสะพานเดินเรือ” หรือ “ห้องควบคุมการทำงานของเรือ” ซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากที่สุด แต่ห้องที่ได้รับการตกแต่งไว้อย่างสวยงามที่สุดก็คือ “ห้องโถงนายทหาร” ซึ่งในอดีตใช้สำหรับการประชุมของนายทหารชั้นสัญญาบัตร ภายในห้องมรการจัดแสดงภาพเรื่องราวในประวัติศาสตร์และรายนามผู้บังคับการ เรือในอดีต ส่วนห้องที่น่าสนใจอีกห้องหนึ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสามารถรับรู้ถึงประวัติความ เป็นมาของเรือหลวงแม่กลอง และประวัติการใช้งานได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องนั้นก็คือ “ห้องเรียน” ในอดีตห้องนี้ถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับเรียนวิชาการเรือของนัเรียนนายทหาร ชั้นสัญญาบัตร ใกล้กันนั้นจะเป็น “ห้องพักผู้บังคับการเรือ” จากห้องนี้หากมองออกไปด้านนอกจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพบริเวณปากแม่น้ำเจ้า พระยาได้อย่างชัดเจน นองเหนือจากห้องที่กล่าวมาแล้วยังมีห่องอื่นๆ อีกเช่น “ห้องอาหาร” และ “ห้องกะลาสีเรือ” ที่ล้วนแล้วน่าสนใจทั้งสิ้น นอกจากห้องต่างๆ ที่ทางกองทัพเรือได้จัดแสดงไว้ให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมแล้ว ภายในเรือยังมีอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ พร้อมภาพเหตุการณ์ในอดีตและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกมากมาย… จากพิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง นายทหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกองทัพเรือพาพวกเราเดินเท้าไปเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จัดแสดงอาวุธที่กองทัพเรือใช้ประจำการในอดีต พร้อมกับอธิบายเรื่องราวประวัติความเป็นมาให้พวกเราฟังว่า เมื่อการบูรณะป้อมพระจุลจอมเกล้าและการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าแล้วเสร็จลง ได้มีประชาชนและผู้ให้ความสนใจเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมสถานที่และสักการบูชา พระบรมราชานุสาวรีย์ฯเป็นจำนวนมาก กองทัพเรือจึงดำเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าและรีบเร่งซ่อม แซมปรับปรุงปืนเสือหมอบตลอดจนจัดทำพื้นที่แสดงวิวัฒนาการของทหารเรือไทยใน การป้องกันประเทศ โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านภูมิสถาปัตย์ และประวัติศาสตร์ ตลอดจนด้านการท่องเที่ยวเข้าร่วมปรึกษาหารือ และทำการสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดแนวความคิดในการดำเนินงาน พร้อมกับการตรวจสอบประวัติของอาวุธต่างๆที่จะนำมาตั้งแสดงในรูปแบบ พิพิธภัณฑ์อาวุธกลางแจ้งบนพื้นที่บริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ฯโดย ใช้ชื่อโครงการว่า “อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ป้อมพระจุลจอมเกล้า” การปรับปรุง และจัดแสดงหมู่ปืน ณ อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือฯ แห่งนี้ได้แนวความคิดมาจากท่าน พลเรือเอก สุวัชชัย เกษมศุข อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบหมายให้ พลเรือตรี ทวีศักดิ์ โสมาภา เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือในขณะนั้นเป็นเจ้าของโครงการในการจัดทำอุทยาน ประวัติศาสตร์ทหารเรือฯแห่งนี้ ทั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสที่พระชนมายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 กองทัพเรือได้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาว รีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ มีการปรับแต่งพื้นที่ใหม่เพื่อจะใช้เป็นที่ตั้งยุทโธปกรณ์ตามโครงการที่ กำหนด รวมทั้งให้ประเมินราคาในการดำเนินการปรากฏว่าเนื่องจากพื้นที่บริเวณดัง กล่าวเป็นที่ลุ่ม พื้นดินชั้นล่างเป็นดินอ่อนจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง มีการประเมิณไว้ในชั้นต้นเป็นจำนวนเงินประมาณ 50 ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่จะหมดไปในเรื่องของการลงเข็มฐานราก ซื่งคณะกรรมการเห็นว่าเป็นงบประมาณที่สูงเกินไปที่จะสามารถดำเนินการได้จึง ได้ศึกษาถึงกรรมวิธีในการดำเนินการแบบท้องถิ่น โดยใช้การปรับถมดินด้วยหินที่มีส่วนผสมของหินปูนสูงอย่างที่ชาวบ้านเรียกกัน ว่า “หินผุ” ซึ่งเป็นหินราคาถูกนำมาปรับถมตลอดพื้นที่สูงขึ้นประมาณ 2 เมตร และได้ตรวจสอบในภายหลังว่าพื้นมี่ทั้งหมดอัดตัวแข็งเป็นผืนเดียวกัน จากนั้นจึงกลบทับด้วยดินแล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ผลปรากฏออกมาว่าได้ผลดีมากทางด้านเรื่องค่าใช้จ่ายการทรุดตัวซึ่งหากจะมีก็ จะเป็นการทรุดตัวทังพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือ สามารถปลูกต้นไม้ได้เนื่องจากแต่เดิมเป็นพื้นที่เป็นดินเค็มเพราะเคยเป็นป่า ชายเลนมาก่อน ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การปลูกต้นไม่ทั่วไป จากนั้นจึงดำเนินการปรับแต่งสถานที่ให้เป็นทางเดิน และพื้นที่จัดวางยุทโธปกรณ์ ทำศาลาประกอบคำบรรยายดำเนินการให้พื้นที่บริเวณทั้งหมดมีความกลมกลืนกันทาง ด้านประวัติศาสตร์โดยรูปแบบของอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือฯ นั้น เป็นการจัดวางและตั้งแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทหารเรือ เพื่อแสดงถึงวิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในปัจจุบัน โดยมีการจักแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่


กลุ่ม ที่ 1 เป็นกลุ่มปืนเสือหมอบจำนวน 7 กระบอก เป็นดารแสดงให้เห็นถึงอาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเวลานั้น กับข้อมูลของปืน และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ต่อพระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรที่กว้างไกลของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มปืนและอาวุธสมัยรัชการที่ 5 และรัชกาลที่ 6 กับการแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยเน้นกลุ่มอาวุธของงเรือหลวงพระร่วง และการจัดหาเรือหลวงพระร่วงของรัชกาลที่ ๖ รวมทั้งยุทโธปกรณ์อื่นๆ ในสมัยรัชสมัยมาจัดแสดง กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการแสดงของข้อมูลของอาวะชนิดต่างๆประกอบ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มปืนอาวุธที่กองทัพเรือมีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบันรวมถึงการจัดวางยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ในยุทธการต่างๆรวมทั้งยุทธการของหน่วยปฎิบัติตามลำน้ำโขงที่ดอน แตง พร้อมกับการแสดงข้อมูลของอาวุธและเรื่องราวประวัติศาสตร์ประกอบ กลุ่มที่ 5 เป็นการจัดแสดงนิทรรศการจัดวางสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงถึงบทบาทของกองทัพเรือในยามสงบและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พร้อมข้อมูลประกอบ เมื่อการดำเนินการต่างๆแล้วเสร็จลงจึงได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ทหาร เรือป้อมพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยมี พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี พลเรือเอก ปรีชา พวงสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการอำนวยการโครงการ และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ และพลเรือโท ทวีศักดิ์ โสมาภา รองเสนาธิการทหารเรือ ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการประกอบพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ทหาร เรือฯ แห่งนี้ อาจกล่าวได้ว่าการจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ป้อมพระจุลจอมเกล้าเกิดขึ้นได้ก็เพราะความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานต่างๆ ในกองทัพเรือที่ได้เสียสละเวลาแรงงานร่วมกันดำเนินการที่เริ่มตั้งแต่การออก แบบการถม และปรับแต่งพื้นที่การก่อสร้างการปลูกต้นไม้ การจัดหาอาวุธประเภทต่างๆ ซึ่งเดิมเก็บรักษาไว้โดยไม่ได้นำมาจัดแสดงหรือ ตกแต่ง ซ่อมทำ และจัดแสดงตามยุคสมัย เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังไดศึกษาวิวัฒนาการทางด้านอาวุธของกองทัพเรือ งานทั้งหมดสำเร็จลุล่วงลงไปได้ด้วยดีตามโครงการก็เพราะความมุ่งมั่นของข้า ราชการและลูกจ้างในกองทัพเรือที่จะน้อมเกล้าฯถวายแด่พรระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นั้นเอง นอกจากนี้ในทางทิศตะวันออกของหมู่ปืน ซึ่งมีสภาพเป็นป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมแล้ว กองทัพเรือได้ดำเนินการเร่งปลูกป่าชายเลนขึ้นมาใหม่ รวมทั้งได้สร้างทางเดินและซุ้มผักผ่อนสำหรับผู้เข้าเยี่ยมชม ตลอดจนแผ่นป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของป่าชายเลน และรายละเอียดเกี่ยวกับพืชและสัตว์แต่ละชนิดที่มีอยู่มนพื้นที่ของป่าชนิด นี้


ปัจจุบัน บริเวณแห่งนี้เขียวชอุ่มไปด้วยพันธ์ไม้ป่าชายเลนเช่น ลำพู แสม โพธิ์ทะเล ฯลฯ ทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและนกหลายชนิดเช่น นกกินเปี้ยว นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระยางกรอกพันธุ์จีน นกเหยี่ยวแดง นกเหยี่ยวทุ่ง นกแขวก นกจับแมลงจุกดำ นกตะขาบทุ่ง โดยเฉพาะในช่วงเย็นหากใครมีโอกาสแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้จะได้ เห็นภาพนกนานาชนิดที่สร้างบรรยากาศอันน่ารื่นรมย์ให้แก่นักท่องเที่ยวได้ เป็นอย่างดี นักดูนกไม่ควรพลาด
พวกเราเดินเที่ยวชมธรรมชาติป่าชายเลนบน เส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ภายในป้อมพระจุลจอมเกล้าจนสมควรแก่เวลา ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี จากนั้นพวกเราได้รับเชิญจาก พันจ่าเอกทวี แช่มชื่น ผู้จัดการสโมสรท้ายเรือหลวงแม่กลองให้ไปลองลิ้มชิมรสอาหารภายในสโมสรท้าย เรือหลวงแม่กลองซึ่งตั้งอยู่ติดกับบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ประกอบกับเป็นช่วงเวลาเที่ยงพอดีภายในสโมสรท้ายเรือหลวงแม่กลองจึงคับคั่ง ไปด้วยลูกค้าซึ่งมาใช้บริการร้านอาหารภายในสโมสรซึ่งนอกจากจะมีเมนูอาหาร ทะเลสดๆ หลากหลายแล้ว ยังมีบรรยากาศเย็นสบายสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ อย่างชัดเจน สำหรับเมนูอาหารกลางวันของพวกเราในมื้อนี้ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารจำพวกซีฟู้ด ได้แก่ ต้มยำกุ้งมะพร้าวอ่อน, ปูเนื้อผัดพริกไทยดำ, ส้มตำปูไข่ดอง, กุ้งแชบ๊วยผัดซอสมะขาม ฯลฯ พวกเรารับประทานอาหารกลางวันมื้อนี้ด้วยความเอร็ดอร่อยพร้อมกับชื่นชม ธรรมชาติปากแม่น้ำเจ้าพระยาจนอิ่มหนำสำราญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงกราบขอบพระคุณและอำลา พันจ่าเอกทวี แช่มชื่น ผู้จัดการสโมสรท้ายเรือหลวงแม่กลอง จากนั้นจึงขับรถเดินทางต่อมายังอำเภอพระประแดง ถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวมอญ ในที่สุดพวกเราก็เดินทางมาถึงอำเภอพระประแดง จากนั้นจึงเลี้ยวรถเข้าไปยัง

วัด ไพชยนต์เสพย์ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง ซึ่งถ้าเดินทางมาจากแยกพระประแดง ให้ขับรถเลี้ยวซ้ายเข้ามายังถนนพระราชวีริยาภรณ์ประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงวัด สำหรับวัดไพชยนต์เสพย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2362 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นศักดิ์พลเสพเจ้าต่างกรมกำกับราชการพระ กลาโหม สำหรับสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในวัดล้วนทรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของศิลปะพระราช นิยมสมัยรัชกาลที่ 3 พระอุโบสถวัดนี้ไม่มีช่อฟ้าใบระกา ใบเสมาสลักจากหินทรายสีเขียว หัวบันได้ประตับด้วยสิงโตหิน บานหน้าต่างและบานประตูเป็นลายรดน้ำลงรักปิดทอง พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นบุทองประดิษฐานบนบุษบกยอดปรางค์ซึ่งทำมาจากไม้ แกะสลักลวดลายประดับกระจกอย่างวิจิตรบรรจง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนพระวิหารได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมจีนเช่นกัน มีเสาเหลี่ยมปลายสอบโดยรอบ 24 ต้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ผนังด้านในมีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 44 องค์ บานหน้าต่างและบานประตูสลักเป็นลวดลายเมฆแบบจีน ประดับกระจกสีน้ำเงินและแดง บานประตูสลักเป็นรูปมังกรตัวใหญ่ทาสีทอง ลวดลายปูนปั้นที่บริเวณหน้าบัน กรอบบานหน้าต่างและประตูของอุโบสถและพระวิหารเป็นลายดอกพุดตานและลายเครือ เถาอ่อยช้อยแบบจีน ตกแต่งด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีขาว เขียว และเหลืองเป็นรูปใบและผลทับทิม


ส่วน ลวดลายปูนปั้นที่วิหารน้อย บริเวณมุมกำแพงแก้วทั้งสี่ทิศถูกตกแต่งด้วยถ้วยเคลือบสีเหลือง ชมพูและน้ำเงิน พวกเราเดินเที่ยวชมความสวยงามของวัดไพชยนต์จนสมควรแก่เวลา จากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังวัดโปรดเกศเชษฐารามซึ่งอยู่ถัดจากวัดไพชยนต์ไป เล็กน้อย สำหรับวัดโปรดเกศเชษฐารามตั้งอยู่บนถนนทรงธรรม ตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพวกขุนนางในราชสำนักสร้างถวาย และรัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมด้วย
ลักษณะ ศิลปกรรมเป็นแบบพระราชนิยมเช่นเดียวกับวัดไพชยนต์เสพย์ราชวรวิหาร และมีความสัมพันธ์สืบเนื่องกับการสร้างเมืองพระประแดง พระอุโบสถหน้าบันทรงจีนมีมุขหน้า- หลัง และรูปทรงองค์ประกอบของพระอุโบสถเป็นศิลปะพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 ช่างฝีมือทำการก่อสร้างสามารถใช้ภูมิปัญญาในการออกแบบลวดลายประกอบเข้ากับ เครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ลายครามชนิดต่างๆ ได้สวยงาม วางลวดลายลงตัวอย่างได้จังหวะ กระจายอย่างได้สัดส่วนเต็มหน้าบัน

ทำ ให้แลดูสวยงามเป็นระเบียบในตัวเอง ภายในพระอุโบสถมีฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระประธาน ในพระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ส่วนพระวิหารมีลักษณะคล้ายกับพระอุโบสถแต่ไม่มีมุข ลวดลายที่บริเวณหน้าบันคล้ายกับพระอุโบสถ ส่วนซุ้มเหนือหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นติดผนังที่เป็นดอกไม้ ใบไม้ วางจังหวะกระจัดกระจายแต่แลดูสวยงาม ภายในพระวิหารมีพระพุทธไสยาสน์ที่มีพระพักตร์งดงามมากบริเวณเหนือซุ้มประตู หน้าต่าง มีภาพเขียนสีน้ำมัน เป็นภาพปริศนาธรรม

สำหรับ พระมณฑปยอดเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ที่บริเวณยอดมีบัวกลุ่มเครื่องยอดมณฑปสวยเด่นมาก นอกจากนั้นบริเวณหลังคาพระมณฑปมุงด้วยกระเบื้องรายล้อมด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ โดยมีพระปรางค์ที่บริเวณมุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข
จากวัดโปรดเกศเชษฐาราม พวกเราเดินทางต่อไปยังวัดทรงธรรมวรวิหาร ซึ่งตั้งอยู่บนถนนทรงธรรม ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง และวัดโปรดเกศเชษฐารามมาประมาณ 200 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร

มี สถาปัตยกรรมที่สวยเด่นได้แก่ พระเจดีย์องค์ใหญ่แบบรามัญ เรียกว่า มหารามัญเจดีย์ โดยมีฐานกว้าง 10 วา 2 ศอก มีพระเจดีย์องค์เล็กอยู่ที่บริเวณมุมฐานทั้ง 4 รวม 4 องค์ สำหรับมหารามัญเจดีย์นี้มีฐานประทักษิณได้สัดส่วนกลมกลืนกับความสวยงามของ องค์พระเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์องค์เล็กแบบรามัญอีกองค์หนึ่ง ฐานกว้าง 3 วา 3 ศอก สูง 4 วา 3 ศอก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันอยู่ในโรงเรียนอำนวยวิทย์ สัดส่วนรูปทรงของพระเจดีย์คล้ายกับเจดีย์องค์เล็กที่มุมฐานของมหารามัญ เจดีย์พระอุโบสถก่ออิฐถือปูนมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมพิเศษกว่าพระอุโบสถอื่นๆ คือเสาระเบียงรองรับน้ำหนักชายคา เป็นเสากลมคู่ ที่อยู่โดยรอบพระอุโบสถจำนวน 56 ต้น


ใน ส่วนของพระวิหารก่ออิฐถือปูนเครื่องบนประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา โดยมีเสานางเรียงรับน้ำหนักของชายคาโดยรอบ เสานางเรียงเป็นเหลี่ยมโคนเสาผายออกยอดเสาเอาเข้าไปรองรับน้ำหนักชายคา


ภายใน พระวิหารมีตู้พระธรรมลายรดน้ำเป็นภาพชุดรามเกียรติ์พวกเราเดินเที่ยวชม สถาปัตยกรรมอันวิจิตรบรรจงภายในวัดทรงธรรมวรวิหารพร้อมกับฟังคำอธิบายจาก พระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ภายในวัดด้วยความสนใจจนสมควรแก่เวลาจากนั้นจึงกราบ ลาพระคุณท่านออกเดินทางต่อไปยังบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอพระสมุทรเจดีย์ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร สาเหตุที่พวกเราเดินทางมายังบ้านสาขลาเพื่อชมพระปรางค์ที่วัดสาขลาซึ่งมี ลักษณะเอนเอียงคล้ายกับหอเอนปิซ่าที่ประเทศอิตาลี พร้อมชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านสาขลาซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ผลิตสินค้า OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศนั้นคือ กุ้งเหยียด
พวก เราใช้เวลาไม่นานนักก็เดินทางมาถึงบ้านสาขลาได้รับการต้อนรับจากลุงประยูร และป้าสุนทร สุวรรณนาวิน ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรนาเกลือแห่งบ้านสาขลา โดยเฉพาะลุงประยูรได้พาพวกเราเดินเที่ยวชมความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชน บ้านสาขลาพร้อมเล่าถึงประวัติความเป็นมาของบ้านสาขลาให้พวกเราฟังว่า


หมู่ บ้านสาขลาเป็นหมู่บ้านมรดกทางวัฒนธรรมโดยมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัย อยุธยาตอนต้นวิถีชีวิตชาวบ้านสาขลาเป็นชุมชนชาวประมงอีกชุมชนหนึ่งซึ่งอาชีพ ส่วนใหญ่ทำการประมงและผลิตภัณฑ์จากทะเลเช่น กะปิกุ้งแห้ง, กุ้งเหยียด,ปู เค็ม ฯลฯ สำหรับสิ่งที่น่าสนใจก็คือความแตกต่างระหว่างชุมชนเมืองและวิถีชีวิตความ เป็นอยู่อย่างเรียบง่ายของชาวบ้าน สำหรับบ้านสาขลาตั้งอยู่ในตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 42 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านสี่หมู่บ้านชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มประมาณ 1,100 หลังคาเรือน นอกจากอาชีพหลักคือการทำประมงแล้วในอดีตเคยมีการทำนาข้าว,นา เกลือ สำหรับการทำนาข้าวได้ยกเลิกไปประมาณ 35 ปีแล้ว ส่วนนาเกลือแถวสุดท้ายเลิกทำเมื่อ พ.ศ. 2539 ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนากุ้ง เลี้ยงปลา ปูทะเล ทำป่าจาก เย็บจาก ค้าขาย รับราชการ ตลอดจนรับจ้างทั่วไป ภายในหมู่บ้านสาขลาประชาชนมีทั้งเชื้อสาย ไทย จีน และมอญ การคมนาคมในสมัยก่อนต้องอาศัยทางน้ำเป็นหลักดังจะเห็นได้จากลำคลองหลายสาย ที่อยู่ภายในบ้านสาขลานอกจากงานสงกรานต์ซึ่งเป็นงานประจำปีแล้วบ้านสาขลา ยังมีงานแห่หลวงพ่อโตจำลองสรรพสามิตไปจนถึงท่าเรือปากน้ำเพื่อให้ประชาชนได้ สักการบูชา โดยในงานมีการแข่งเรือ ประกวดเรือ กลางคืนมีมหรสพสมโภชซึ่งจะจัดขึ้นราวปลายเดือนสิบเอ็ด สำหรับภาษาของชาวสาขลาเหมือนกับชาวภาคกลางทั่วไปเพียงแต่หางเสียงจะมี ลักษณะเหน่อเหมือนภาษามอญ พูดเร็ว โดยมีคำที่แตกต่างจากภาคกลางเล็กน้อย


นอก จากนั้นยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือพระปรางค์เอียงแห่งวัดสาขลา เป็นพระปรางค์ที่มียอดเอนเอียงจากจุดตั้งฉากไปทางทิศตะวันตกประมาณ 15 องศา โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าในการก่อสร้างพระปรางค์ชาวบ้านเกรงกันว่าพระ ปรางค์จะเอนล้มไปทางทิศตะวันออกแล้วจะล้มลงไปในคลอง จึงวางเสาเข็มนอนทางด้านคลองไว้มาก ด้านในองค์พระปรางค์มีเข็มนอนน้อยพระปรางค์จึงเอนเอียงดั่งที่เห็นใน ปัจจุบันนี้ สำหรับความคงทนแข็งแรงของปูนที่ใช้ก่อสร้างองพระปรางค์ชาวบ้านได้นำอ้อยมาตำ จากนั้นนำน้ำอ้อยมาผสมเข้ากับปูน ดังนั้นองค์พระปรางค์จึงมีความคงทนแข็งแรงเป็นพิเศษ สำหรับยุคสมัยในการก่อสร้างองค์พระปรางค์มีการจารึกบนแผ่นศิลาว่า การก่อสร้างองค์พระปรางค์ใช้เวลาในการสร้างหนึ่งปีกับอีกหกเดือนจึงสำเร็จ สิ้นปูนไปเป็นจำนวนหลายร้อยเกวียน สำหรับปี พ.ศ. ที่สร้างองค์พระปรางค์คือ พ.ศ.2427 พวกเราเดินทางเท้าข้ามสะพานจากนั้นลัดเลาะไปตามเส้นทางเดินเท้าแคบที่ราด ด้วยคอนกรีตเข้าไปในชุมชนบ้านสาขลา ผ่านบ้านโดยไทยโบราณที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมจนปราศจากคนอาศัยอยู่ สภาพบ้านไทยโบราณแต่ละหลังมีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี


ชาว บ้านสาขลาดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายโดยมีลำคลองเลียบขนานไปกับบ้านเรือน ผู้คน ซึ่งในอดีตชาวบ้านใช้การคมนาคมโดยทางน้ำเป็นหลัก แต่เมื่อความเจริญเริ่มก้าวเข้ามามีถนนหนทางตัดผ่านสะดวกสบาย การคมนาคมโดยทางน้ำจึงถูกลดระดับความสำคัญลงไปแต่ปัจจุบันก็ยังมีชาวบ้านใช้ การคมนาคมอยู่บ้างแต่มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น พวกเราเพลิดเพลินกับการเดินเล่นเที่ยวชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านสา ขลา จากนั้นจึงซื้อของฝากขึ้นชื่อนั่นคือ กุ้งเหยียด ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ของบ้านสาขลานำมาฝากท่านผู้อ่านได้ลองลิ้มชิมรสกัน ซึ่งการทำกุ้งเหยียดแห่งบ้านสาขลาโดยจะนำเอากุ้งแชบ๊วยสดๆมาวางเรียงไว้ใน หม้อต้มโดยไม่ต้องเติมน้ำเพราะน้ำในตัวกุ้งจะคายออกมาเอง จานั้นโรยน้ำตาลทรายและเกลือป่นลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อม จากนั้นจึงนำเขียงหรือครกหินซึ่งมีน้ำหนักพอประมาณมาวางทับบนตัวกุ้ง พอต้มเสร็จก็จะได้กุ้งเหยียดตัวตรง จากนั้นจึงนำมาทอดน้ำมันทั้งตัวกุ้งเป็นมันวาวน่ารับประทาน จนทำให้กุ้งเหยียดบ้านสาขลามีชื่อเสียงโด่งดัง โดยมีคำกล่าวในหมู่ของนักชิมว่า ใครมาบ้านสาขลาแล้วไม่ได้กินกุ้งเหยียด ถือว่ามาไม่ถึงบ้านสาขลา สำหรับกุ้งเหยียดแห่งบ้านสาขลาที่เป็นที่นิยมคือกุ้งเหยียดน้าสุนทรซึ่ง จำหน่ายกิโลกรัมละ 280 บาท ท่านผู้อ่านอยากจะลองชิมรสชาติของกุ้งเหยียดว่าจะอร่อยสมกับคำร่ำลือหรือไม่ สามารถติดต่อได้ที่โทรศัพท์ 0-2848-4280


หลัง จากที่ลองชิมกุ้งเหยียดของป้าสุนทรอิ่มจนแทบจะนอนเหยียดแล้ว หลังจากนั้นพวกเราจึงออกเดินทางสู่ตำบลบางน้ำผึ้ง ซึ่งที่นี่ก็ทำให้เราแปลกใจอยู่ไม่น้อย เพราะคาดไม่ถึงว่าเพียงข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามา เราก็ได‰พบกับวิถีชาวบ‰านที่เรียบง่ายและสงบจนดูเหมือนว่าเวลาจะเดินช้าลง กลิ่นอายของวิถีชีวิตชาวบ้านและวัฒนธรรมชนบทที่ไม่น่าเชื่อว่าจะอยู่ใกล้ ย่านธุรกิจใหญ่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อย่าง สีลม คลองเตย ได้ และที่นี่เองที่ได้ชื่อว่า เป็นพื้นที่สีเขียวกลางใจเมืองที่คอยช่วยฟอกอากาศให้กับคนกรุงเทพฯ อย่างเงียบๆ มานมนาน และจากการจัดอันดับของ นิตยสารไทม์ แมกกาซีน เมื่อเดือนเมษายน 2549 พื้นที่คุ้งกระเพาะหมู 6 ตำบล ของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับการโหวตให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สีเขียวกลางใจเมืองที่ดีที่สุดของ เอเชีย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีตำบลบางน้ำผึ้งรวมอยู่ด้วย เกือบห้าโมงเย็น เราจึงเดินทางมาถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ซึ่งทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้งได้รอเราอยู่นานแล้ว “สวัสดีครับ นึกว่าจะหาทางเข้ามาไม่ถูกเสียแล้ว นี่กำลังจะให้เจ้าหน้าที่ออกไปรอรับที่ปากทางอยู่พอดี” เสียงนายก อบต. สำเนาว์ รัศมิทัต ทักทายเราด้วยความเป็นห่วง หลังจากที่แนะนำตัวกันอยู่ครู่ใหญ นายก อบต. ก็แนะนำให้เราได้รู้จักกับ ผู้ใหญ่อาภรณ์ พานทอง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่าผู้ใหญ่ปู้ด พร้อมกับฝากฝังเราให้ผู้ใหญ่ปู้ดช่วยดูแลอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลทั้งของ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง แหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น และที่สำคัญที่พักหลับนอนของเราในคืนนี้ที่เราจะได้สัมผัสกับโฮมสเตย์บางน้ำ ผึ้ง ซึ่งก็ไม่ใช่ที่ไหน ก็ที่บ้านของผู้ใหญ่ปู๊ดนั่งเอง
 “แล้วพรุ่งนี้เช้าเราเจอกันที่ตลาดน้ำครับ พอดีติดภารกิจต้องขอตัวก่อน คืนนี้ดึกๆ หน่อย ถ้าฝนไม่ตกอย่าลืมไปดูหิ่งห้อยนะครับ” นายก อบตฯ สำเนา รัศมิทัต สำทับเราก่อนที่เราจะขอตัวตามผู้ใหญ่ปู๊ดออกมาจากสำนักงานองค์การบริหารส่วน ตำบลบางน้ำผึ้ง “เดี๋ยวเราเอาของไปเก็บก่อนแล้วค่อยออกมาทานข้าวกัน ป่านนี้จวนจะเรียบร้อยแล้วมั๊ง” ผู้ใหญ่ปู้ดพูดไปเหลือบมองนาฬิกาที่ข้อมือไป จากที่ทำการฯ เราวนรถออกมาแค่ข้ามสะพานเราก็มาถึงหมู่ 3 ซึ่งจากนี้เราต้องจอดรถเอาไว้ที่ปากทาง แล้วเดินเท้าไปตามสะพานปูนที่ทอดยาวเพื่อไปบ้านผู้ใหญ่ปู๊ด ระหว่างทางเดิน สองข้างทางมีต้นจากซึ่งแต่ละต้นมีทะลายจากติดอยู่แทบจะทุกต้นสลับกับต้นตีน เป็ดน้ำที่มีผลดกไม่แพ้กัน แต่ก่อนนี้ผลตีนเป็ดน้ำแทบจะไม่มีราคา ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ที่นักท่องเที่ยวมักจะมาซื้อหาผลิตภัณฑ์จากผลตีนเป็ดน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของตกแต่งและของเล่นพื้นบ้าน มีไม่น้อยที่มาเหมาซื้อผลตีนเป็ดน้ำที่กำลังแตกแตกยอดอ่อนเอาไปปลูกกัน


เรา เดินตามทางมาเพลินๆ พักเดียวก็ถึงบ้านผู้ใหญ่ปู๊ด ยังไม่ทันจะวางสัมภาระเรียบร้อยดี กับข้าวกับปลา อาหารมื้อเย็นนี้ก็ทะยอยออกมาจากห้องครัว โดยมีเหล่าแม่ครัวกิตติมศักดิ์ ลำเลียงออกมาคนละอย่างสองอย่าง เดี๋ยวๆ รอน้ำพริกกะปิอีกแป๊ปเดียว กำลังโขลกอยู่ ไม่รู้จะถูกปากหรือเปล่า แม่ครัวใหญ่ที่ผู้ใหญ่ปู้ดแนะนำให้เรารู้จักออกตัวด้วยความถ่อมในฝีมือ เหลือบมองไปที่โต๊ะอาหาร กับข้าวกับปลาเต็มโต๊ะทำเอาเราหนักใจพอควรทีเดียว เพราะแแต่ละอย่างน่ารับประทานทั้งนั้น


ทั้ง น้ำพริกกะปิ ปลาทูต้มเค็ม แกงจืดตำลึง อาหารเย็นแบบพื้นบ้านมื้อนี้ทำเอาเราอิ่มอร่อยแทบไม่อยากจะลุกจากโต๊ะอาหาร โดยเฉพาะลูกจากลอยแก้วที่อร่อยเสียจนเราต้องเรียกหาถ้วยที่สองมาทาน ทั้งที่หนังท้องตึงเปรี๊ยะ หลังอาหารมื้อเย็นเรานั่งคุยกับผู้ใหญ่ปู๊ด ฟังเรื่องเล่าตั้งแต่เมื่อครั้งชุมชนย่านนี้ยังไม่มีถนนหนทางให้เดินทาง สะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน การเดินทางต้องใช้เรือเป็นหลักจะไปไหนมาไหน โดยเฉพาะถ้าจะเข้ากรุงเทพฯ ก็ต้องนั่งเรือข้ามฟากไป แต่ถึงแม้การเดินทางจะไม่สะดวกสบายนักแต่เรื่องอาหารการกินในชุมชนย่านนี้ก็ เรียกได้ว่าอุดมสมบูรณ์ เช้าขึ้นมาหุงข้าวรอกับได้เลย อยากกินกุ้งกินปลาก็ไปหาได้ที่ท่าน้ำ อยากกินผักผลไม้ก็เข้าไปเก็บเอาในสวน ไม่ต้องไปซื้อหา แต่ก่อนสวนละแวกนี้มักจะปลูกส้มบางมด ส้มโอ บ้างก็ปลูกแตงโม ถ้าเข้าสวนส้มก็ไปเด็ดกินจากต้นได้เลย ลูกไหนไม่หวานเจี๊ยบถูกปากก็โยนทิ้ง ผู้ใหญ่ปู้ดเล่าว่า สมัยวัยเด็กเด็ดกินจนรู้ว่าต้นส้มต้นไหนหวานมากหวานน้อยกันเลยทีเดียว สมัยนั้นย่านนี้เป็นพื้นที่สวนเสียเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านก็อยู่กันอย่างเรียบง่าย ผู้คนในย่านนี้รู้จักกันหมด เห็นหน้าค่าตาก็แทบจะบอกได้ว่าเป็นลูกหลานบ้านใคร เดี๋ยวนี้ความเจริญเข้ามาอะไรๆ ก็เปลี่ยนไป โชคดีที่ชุมชนในคุ้งกระเพาะหมูทั้งหกตำบล ในอำเภอพระประแดง ต่างร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวผืนใหญ่ใจกลางเมืองเอาไว้ วิถีชีวิตแบบเดิมๆ ก็เลยยังพอมีให้เห็นอยู่ทั้งหกตำบลที่มักจะเรียกติดปากกันว่า บางกะเจ้า ต่างก็มีวิถีชาวบ้านต่างรูปแบบกันออกไปตามแต่ละตำบล อย่างตำบลทรงคนองนอกจากจะเป็นวิถีชาวบ้านแบบชาวสวนที่เน้นการเพาะพันธุ์ ต้นไม้เพื่อจำหน่าย โดยเฉพาะชุมชนหลังวัดป่าเกด ส่วนตำบลบางยอก็จะเน้นเป็นแนวสวนเกษตร ส่วนที่ตำบลบางน้ำผึ้งนั้นจะเน้นนำเสนอ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผสมผสานวิถีชาวบ้านและการอนุรักษ์เชิงนิเวศน์ เรียกได้ว่า ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งเป็นแหล่งรวมความรู้ เรียกว่าเป็นคลังภูมิปัญาท้องถิ่นก็คงไม่ผิดนัก โดยมีโฮมสเตย์บางน้ำผึ้ง เป็นสถานที่รองรับนักท่องเที่ยวที่อยากจะมาสัมผัสวิถีชาวบ้านในชุมชนแห่ง นี้ จากแนวความคิดในการพัฒนาพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ที่ได้รับการสนับสนุนร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านและผู้นำชุมชนในการพัฒนา พื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้ง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผนวกระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์วิถีชาวบ้านของ ชุมชนบางน้ำผึ้ง เพื่อให้เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จนวันนี้ โฮมสเตย์บางน้ำผึ้ง จึงได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้เป็นอีกหนึ่งโฮมสเตย์ที่ได้รับมาตราฐานการรับรองและผ่านการคัดเลือกจนได้ รับตรา มาตราฐานโฮมสเตย์ไทย เมื่อแรกเริ่มเดิมทีนั้นบ้านพักโฮมสเตย์บางน้ำผึ้งนั้นยังไม่มีให้บริการ คงมีเพียงตลาดน้ำบางน้ำผึ้งเท่านั้นที่ได้มีการก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมกัน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ จนกระทั่งได้รับการสอบถามจากนักท่องเที่ยวที่ได้เข้ามาสัมผัสกับวิถีชาวบ้าน หลายต่อหลายคณะต่างถามไถ่ถึงที่พักซึ่งในขณะนั้นในตำบลบางน้ำผึ้งยังไม่มี ที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว จนกระทั่งทางผู้ใหญ่บ้านหมู่3 ได้ปรึกษากับทางคณะกรรมการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งโฮมสเตย์บางน้ำผึ้งขึ้น และต่อมาได้มีการขอความร่วมมือจากชาวบ้านในชุมชนในอันที่จะเริ่มให้บริการ ที่พักในรูปแบบของโฮมสเตย์ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตผลสำคัญในอันที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับวิถี ชาวบ้านพื้นถิ่น กิจกรรมตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง และที่สำคัญกิจกรรมทั้งหมดนี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ พื้นที่สีเขียวผืนใหญ่กลางใจเมือง ซึ่งนับวันกิจกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ ต้องการมาสัมผัสกับวิถีชาวบ้านพื้นถิ่นที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันโฮมสเตย์บางน้ำผึ้งถือเป็นอีกหนึ่งโฮมสเตย์ที่มีชื่อเสียงในหมู่นัก ท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มักจะมาใช้เวลาในวันหยุดพักผ่อน กันที่นี่ ยิ่งเป็นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วยแล้วนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวตำบลบางน้ำ ผึ้งก็ยิ่งหนาตามากขึ้นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มักจะมาเที่ยวกันใน วันเสาร์-อาทิตย์ เนื่องจากมีกิจกรรมตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ส่วนวันธรรมดาจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่นิยมมาพักผ่อนกัน ยาวๆด้วยการจัดการ โดยบริหารและพัฒนาโฮมสเตย์บางน้ำผึ้งด้วยความเอาใจใส่จากผู้นำชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้ทุกวันนี้ โฮมสเตย์บางน้ำผึ้ง ได้รับ มาตราฐานโฮมสเตย์ไทย และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศที่นิยมมาพักผ่อนในช่วงวันหยุดกันที่นี่ หลังจากนั่งคุยกับผู้ใหญ่ปู้ดจนพอสมควรแก่เวลาแล้วหลังจากนั้นพวกเราจึงขอ ตัวผู้ใหญ่ปู้ดพักผ่อน สำหรับบ้านพักในคืนนี้อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในบ้านพักสะอาดสะอ้าน คืนนี้ทำท่าว่าฝนจะตกพรำทั้งคืนบรรยากาศเลยดีจนทำให้พวกเราบางคนสนใจที่จะ ออกมานอนกางมุ้งบริเวณนอกชานของบ้านพักที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อซึม ซาบบรรยากาศความสวยงามของริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในยามค่ำคืน ซึ่งยิ่งดึกอากาศยิ่งเย็นลงเรื่อยๆ จนต้องคว้าผ้าห่มมาห่มนอนสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย จนกระทั่งหลับไปในที่สุด
Day 3 เที่ยวสวนศรีนครเขื่อนขันธ์
แป๊น... แป๊น... แป๊น ... เสียงดังจนแสบแก้วหูปลุกให้เราต้องสะดุ้งตื่นจากภวังค์ ฟ้าเริ่มสางแต่วิถีชีวิตของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าขับเคลื่อนไปล่วงหน้า เหมือนกับที่เคยเป็นมาในอดีตเมื่อครั้งที่วิถีชีวิตแบบชุมชนเกษตรกรรมยัง เป็นอาชีพหลักของที่นี่ แม้วันเวลาจะเปลี่ยนไปพร้อมกับภาพวิถีชีวิตเกษตรกรรมแบบพื้นบ้านที่นับวัน จะมีให้เห็นน้อยลงไปทุกที กาแฟร้อนแบบบริการตัวเองมาวางรอท่าเราตั้งแต่ก่อนจะงัวเงียลุกจากที่นอน เสียงพูดคุยระคนเสียงเครื่องครัวแว่วลอยมาจากละแวกบ้านใกล้เรือนเคียง และที่แน่นอนก็ครัวบ้านผู้ใหญ่ปู้ดที่กำลังลงครัวเตรียมของใส่บาตรพระเช้า นี้ กาแฟร้อนๆ ยามเช้ากับภาพเรือหางยาว และเรือเมล์ที่แล่นผ่านไปมา กับฉากหลังที่เป็นเรือเดินทะเลลำโต ในขณะที่พระอาทิตย์กำลังโผล่พ้นริมขอบฟากเป็นภาพที่ไม่น่าเชื่อว่าอยู่ใก้ล กรุงเทพแค่เพียงแม่น้ำเจ้าพระยาน้ำเราดื่มด่ำกับภาพที่น่าประทับใจเพียง กาแฟหมดถ้วยฟ้าก็สว่างและความถี่ของเที่ยวเรือหางยาวก็มากขึ้นเสียจนเราต้อง ถอนตัวจากริมท่าน้ำมาตั้งหลักกันที่ชานเรือนเหมือนเดิมก่อนที่จะแยกยายกันไป อาบน้ำอาบท่าเตรียมตัวตักบาตรยามเช้า


เช้า นี้เราตั้งใจว่าจะขี่จักยานไปเที่ยวที่สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ หลังจากฝากท้องมื้อเช้าที่บ้านผู้ใหญ่ เป็นข้าวต้มรอ้นๆ กับข้าวง่ายๆ อย่างผัดผักบุ้ง และผัดผัก ที่เพิ่งไปเด็ดมาเมื่อเช้านี้ ช่างเป็นมื้อเช้าที่เรียบง่ายแต่ได้ข้อคิดที่น่าขบว่า ที่จริงแล้ววิถีชีวิตแบบพอเพียงนี่แหละเหมาะสมที่สุดแล้วกับการดำเนินชีวิต ในทุกสภาวะกาลเหมือนกับที่เคยเป็นมาในอดีต


หลัง จากที่ข้าวต้มเรียงเม็ดดีแล้วเราก็มาเลือกจักรยานคู่ใจกันคนละคัน ตรวจสอบความพร้อมกันเรียบร้อยแล้วเราก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปตามสะพานปูนที่ เราเดินเข้ามาเมื่อเย็นวานนี้ ก่อนจะเลี้ยวซ้ายที่ปากท่างออกสู่ถนนอย่างไม่รีบร้อน ไม่ใช่อะไรหรอกครับกลัวตะคริวจะตามมาเกาะน่องเกาะขา เพราะว่าไม่เคยซ้อมไม่ยอมวอล์มอัฟที่สำคัญอายุอานามก็ไม่ใช่น้อยๆ เผลอให้ตะคริวกินขาสงสัยว่าจะไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของสายตาน้องๆ ที่ขับตามมา ก็เลยต้องวางฟอร์มขี่กินลมชมวิวไปเรื่อยๆ ปล่อยให้น้องๆ ทะยอยแซงไปทีละคัน ๆ จน เหลือรั้งท้ายอยู่คันเดียว


นี่ ถ้ามีรถตำรวจตามหลังมาดูท่าว่าจะเหมือนกับ การแข่งขันจักรยานทางไกล ประมาณ เลยที่เดียว ว่าเขาไปนั่น ยิ่งปั่นก็ยิ่งเมื่อยขา ยิ่งเมื่อยก็ยิ่งช้าจนในที่สุดก็เข็นตามระเบียบ ยังดีที่น้องๆ ไม่ห่วงจนต้องวนรถกลับมาตามไม่งั้นหน้าแตก ผมมาพักเหนที่เชิงสะพานทางลงตลาดบางน้ำผึ้งที่วันนี้เงียบเหงาเนื่องจากเป็น วันศุกร์ พรุ่งนี้กับมะรืนบรรยากาศจะตางจากวันนี้แทบจะไม่ใช่ตลาดเดียวกันเลยเพราะผู้ คนจากทั่วสารทิศจะมาเที่ยวทัวร์จะมาลง แม่ค้าแม่ขายมาออกร้านกันแน่นตลาด พักจนหายเหนื่อยดีแล้วก็ออกเดินทางต่อ ความพยายามอยู่ที่ไหนน้องๆ ก็อยู่ที่นั่น..แน่นอน กัดฟันฝืนสังขารอยู่ร่วมครึ่งชั่วโมง เพราะชอบซ่อกแซกเข้าซอยนู๊นออกซอยนี้หาทางลัดไปเรื่อยไม่ใช้ทางหลัก และแล้วความสำเร็จก็มารออยู่ตรงหน้า ประตูทางเข้าสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ คือเส้นชัย

เข้า สู่เขตสวนฯ มาได้ก็เหลียวซ้ายแลขวาหาน้องๆที่แน่นอนว่าล่วงหน้ามาถึงก่อนอย่างไม่ตอ้ง สงสัย มองไปมองมาไม่เจอก็ต้องหาที่พักเหนื่อยก่อน อย่างอื่นค่อยว่ากัน เล็งทำเลเหมาะๆริมทะเลสาบได้ก็ตรงรี่ไปหลบแดดที่ใต้ต้นไม้ริมท่าน้ำ บรรยากาศน่านอนเสียด้วยนะนี่ นึกถึงสวนลุมพินีขึ้นมาตะหงิดๆ แต่ที่นี่ตนไม้ไม่ร่มรื่นเท่า แหมก็ห่างกันเทียบแล้วก็ประมาณปู่กับหลาน สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ หากจะว่าไปแล้วก็ต้องนับเริ่มตั้งแต่มีมติคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2520 รัฐบาลในสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์มีมติให้อนุรักษ์ พื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งแม่น้ำ เจ้าพระยา ฝั่งตรงข้าเขตคลองเตย ให้เป็นปอดกลางเมืองโดยมอบหมายให้ สำนักงาน นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจัดหาพื้นที่ ตำบลบางกระเจ้า เพื่อสร้างเป็นสวนสารธารณะ โดยให้อนุรักษ์พื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 11,819 ไร่ ประกอบด้วย ตำบลบางยอ ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางกอบัว ตำบลบางกระสอบ ตำบลทรงคนอง ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534ได้มีการอนุมัติโครงการสวนกลางมหานคร โดยใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท
โดย มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2534-2542 และตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนมอบให้สำนักงานคณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม )เป็นหน่วยงานผุ้ดำเนินการ ซึ่งขณะนั้นได้รับการต่อต้านจากประชาชน จนได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2534 โดยได้ยกเลิกการเวนคืนที่ดินในบริเวณดังกล่าว

โดย จะให้วิธีซื้อขายโดยสมัครใจ และรัฐบาลจะพัฒนาสิ่งแวดล้อมและชุมชนให้ดีขึ้นเพื่อเป็นการยกฐานะประชาชนใน พื้นที่ ในปี พ.ศ 2535 ได้มีการกำหนดพื้นที่ของสวนสวนสาธารณะ ขื้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนและศึกษาระบบนิเวศน์ชายคลอง สวนสาธารณะแห่งนี้ที่ได้สร้างขึ้น ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "สวนศรีนครเขื่อนขันธ์" แปลว่า สวนสาธารณะที่เป็นศรีแก่นครเขื่อนขันธ์ จนกระทั่งได้โอนโครงการสวนกลางมหานครไปขึ้นอยูกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตวปา และพันธ์พืชเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2546 และท้ายสุดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2548 กรมอุทยานแห่งชาติสัตวปาและพันธุ์พืชได้มอบงาน ศูนย์จัดการพื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศน์นครเขื่อนขันธ์ ให้ กรมป่าไม้ เป็นผู้ดำเนินงาน


ปัจจุบัน ถือได้ว่า สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ เป็นสถานที่พักผ่อนและศึกษาระบบนิเวศนของพันธุ์พืชและพันธุสัตว์ในทองถิ่น และพื้นที่ใกลีคียงที่สำคัญแห่งหนึ่ง โดยลักษณะของสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ เป็นการผสมผสานของสวนสาธารณะที่มีการจัดสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม ประกอบด้วยพันธุ์ไม้น้ำ และพันธุไม้ทองถิ่นที่สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำกร่อย กับการรักษาสภาพสวนเกษตรแบบดั้งเดิมเอาไว้

พัก เหนื่อยอยู่นานไม่เห็นน้องๆ มาตามหาชักใจคอไม่ดีก็เลยต้องเป็นคนออกตามหาน้องๆ เองเพราะมาช้ากว่าเพื่อนไปดูแผนที่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ แล้วก้ให้แน่ใจว่าพวกน้องๆ คงไปชมนกชมไม้กันที่ท้ายสวนฯ เป็นแน่ เพราะที่นั่นนอกจากจะมีนกเยอะแล้วยังมีหอดูนกซึ่งเป็นชมวิวมุมสูงอีกด้วย ซึ่งก็ไม่ผิดคาดเพราะน้องๆ มาเอกเขนกกันบนยอดหอคอย ชั้นบนสุดของหอคอยสามารถมองเห็นวิวของสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ได้โดยรอบซึ่งก็มีแต่ยอดไม่ ยอดไม้ แล้วก็ ยอดไม้ สอบถามเจ้าหน้าที่ที่ตามมาได้ความว่าเป็นการปล่อยให้ระบบนิเวศน์เป็นไปตาม ธรรมชาติ ไม่มีการตัดเสริมเติมแต่งใดๆ ทั้งสิ้น ธรรมชาติล้วนๆ ก็ตกลง..สวยดีครับ แต่ทีเป็นผลดีเป็นอย่างยิ่งก็คือนกเยอะมาก โดยเฉพาะตอนแดดร้อนๆ อย่างนี้นกจะมาหลบร้อนกัน จากบนหอดูนกมองลงไปจะเห็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณโดยรอบจะมีรองน้ำกระจาย อยู่ทั่วไปเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพื้นที่สวนเดิมอย่างที่ทราบ กัน และตามร่องสวน สังเกตดีๆ จะเห็นปลาสารพัดชนิดมากมายลอยตัวนิ่งๆ ถ้าไม่สังเกตุจะไม่รู้เลยว่ามีปลามากมายขนาดไหน ที่สำคัญแต่ละตัวต้องบอกว่าล้นชามเพราะตัวใหญ่มาก เจ้าหน้าที่บอกกับพวกเราว่าแต่ก่อนชอบมีพวกลักลอบเข้ามาจับปลาในพื้นที่อยู่ บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลากลางคืน เนื่องจากพื้นที่สวนฯ กว้างขวางมาก และเจ้าหน้าที่มีน้อยเลยดูแลไม่ทั่วถึง ยิ่งโซนเส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วยแล้ว สวรรค์ของพวกชอบลักลอบเลยทีเดียว ปัจจุบันปัญหานี้เบาบางลงไปเยอะไม่รู้ว่าเป็นเพราะกระแสอนุรักษ์หรือว่าพวก ลักลอบไปเกิดเป็นปลาหมดแล้ว พวกเราเดินลงมาจากหอดูนกมาเดินชมบรรยากาศของเส้นทางศึกษาธรรมชาติกันที่ เบื้องล่างหลังจากที่เต็มอิ่มกับการชมวิวมูมสูงแล้ว ที่สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ แห่งนี้นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแล้วยังมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ เป็นแหล่งรวมระบบนิเวศน์ชายคลอง หรือที่เรียกกันว่า กรีนโอเอซีส จน นิตยสารไทม์จัดให้พื้นที่โดยรอบของบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่สมควรจะได้รับการ อนุรักษ์เอาไว้ให้คงอยู่ในสภาพเดิมเช่นนี้ตลอดไป เพราะว่าจะหาพื้นที่ใกล้เคียงบางกะเจ้าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้ได้ ยากหรือจะว่าไปแล้วไม่มีพื้นที่เช่นนี้หลงเหลืออยู่แล้วในละแวกใกล้เคียง เมื่อความเจริญคืบคลานเข้ามา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องการพื้นที่และทรัพยากรต่างๆในการผลิตสินค้า ยิ่งเป็นพื้นที่ในละแวกนี้ที่มีศักยภาพและมีความสะดวกในการที่จะสามารถขน ส่งสินค้าทางน้ำด้วยแล้ว พื้นที่โดยรอบจึงถูกเปลี่ยนไปเพื่อการพัฒนาอุสาหกรรม คงเหลือพื้นที่บางกะเจ้าผืนเดียวที่ยังคงอยู่เป็นปอดให้กับคนกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ออกนอกเรื่องไปเสียไกล เดินพักเดียวเราก็แทบจะเดินรอบเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่เราค่อนข้างจะประทับใจมากในเส้นทางนี้ก็คือสวนหิ่งห้อยที่กำลังปลูกพรรณ ไม้เพิ่มเติม จำพวกจาก ลำพู ลำแพน ตอนกลางคืนจะจะมีหิ่งห้อยออกมาส่องแสงใต้ต้นลำพูให้ชื่นชม หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมต้องเป็นต้นลำพู หิ่งห้อยถึงจะมารวมกันอยู่มากมากทำไมต้นไม้อื่นเยอะแยะหิ่งห้อยไม่ไปเกาะ คำตอบก็คือใบของต้นลำพูไม่มันจนเกินไปจนทำให้หิ่งห้อยลื่นจนเกาะไม่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นต้นลำพูมีใบมากเหมาะที่จะให้หิ่งห้อยมาเกาะเนื่องจาก หิ่งห้อยแต่ละตัวจะมีอาณาเขตคือใบของต้นลำพูในการหาคู่สืบพันธุ์นั่นเอง แล้วคุณผู้อ่านทราบไหมว่าอาหารของหิ่งห้อยคืออะไร ติ๊กต่อก ๆ ถูกต้องนะคร๊าบ อาหารของหิ่งห้อยก็คือ ทากตัวเล็กๆ Snall หอยเชอรรี่ และก็น้ำค้างนั่นเอง ทั้งที่อยู่อาศัยและอาหารของหิ่งห้อยมีผลต่อการเพิ่มประชากรของหิ่งห้อยเป็น อย่างมาก ปัจจุบันเราจะหาหิ่งห้อยดูได้ยากพอควรเลยต้องออกไปชานเมืองถึงจะพอเห็นถ้า ใครอยากเห็นหิ่งห้อย ถ้าไม่ไป แถว อำเภออัมพวา ก็ที่นี่แหละครับไม่ผิดหวัง
หลังจากที่เราเดินจนหมดเส้นทางเดิน แล้วเราก็กลับมาควบจักรยานกันต่อจากเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเราก็มากันที่ อาคารเอนกประสงค์ตามคำเชิญชวนของเจ้าหน้าที่ ที่นี่หากใครสนใจจะมาเยี่ยมชมทางโครงการจะมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกและมี การบรรยายอธิบายทุกอย่างที่เกี่ยวกับโครงการฯ แต่ต้องแจ้งมาล่วงหน้านะครับได้ข่าวว่าคิวแน่นเหลือเกิน ของแถมก่อนกลับเราได้รับทราบประวัติของบางกระเจ้าว่า แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้ น่าจะเป็นที่ตั้งบ้านเรือของขุนนางหรือคหบดีผู้มีฐานะ ที่ดินแทบจะทั้งหมดของบางกะเจ้าได้รับพระราชทานสิทธิ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 2 จนมาถึงยุคที่มีการออกโฉนดในสมัยรัชกาลที่ 5

ผู้ ที่ต้องการศึกษาวิวัฒนาการของโฉนดที่ดินในประเทศไทยสามารถมาศึกษาได้ที่บาง กะเจ้า เพราะที่นี่มีโฉนดครบทุกยุคสมัย โฉนดบางฉบับแทบจะไม่มีการเปลี่ยนมือจะมีก็ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เราได้เห็นโฉนดตัวจริงเสียงจริงที่เจ้าหน้าที่นำมาให้เราชม ครั้งแรกที่เห็นแทบไม่เชื่อว่าเป็นโฉนดเพราะแผ่นโฉนดใหญ่เสียจนมีขนาดน้องๆ หนังสือพิมพ์
บ่ายคล้อยแล้วเราร่ำลาและกล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ของ โครงการฯ ที่ช่วยชี้แนะและอธิบายให้ความรู้กับพวกเราตลอดที่เราเที่ยวชมอยู่ในสวนศรี นครเขื่อนขันธ์ หากนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจจะมาเที่ยวชมก็ไม่ยาก การเดินทางก็แสนจะสะดวก โดยใช้บริการเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นที่ท่าน้ำในวัดคลองเตยนอก พอขึ้นฝั่งที่ท่าเรือก็เดินต่อไปอีกซัก 5 กิโลเมตร หรือไม่ก็มอไซไม๊เพ่ ก็ถึงสวนฯ แต่ถ้านำรถมาเองก็ใช้เส้นทางด่วนลงที่ถนนสุขสวัสดิ์ แล้ววิ่งรถไปตามทางตามป้ายตลาดบางน้ำผึ้ง ร ับรองไม่มีหลง
ท้องร้อง จ๊อก..เตือนเราให้เร่งหาอะไรอร่อยๆ ทานด่วน เพราะมื้อกลางวันเลยเวลามานานแล้ว เที่ยวเพลินจนลืมหิวจริงๆ เราเห็นพ้องต้องกันว่าคงไม่มีอะไรอร่อยไปกว่ากับข้าวที่บ้านผู้ใหญ่อีกแล้ว (ที่จริงติดใจต้มปลาทู) ตกลงมื้อกลางวันรวมมื้อเย็นและอาจจะเป็นมื้อดึกแบบดินเนอร์เราฝากท้องที่ บ้านผู้ใหญ่สถานเดียว..
ค่ำนี้เรานอนบ้านผู้ใหญ่กันอีกคืนหนึ่งเนื่องจาก วันรุ่งขึ้นจะเป็นวันเสาร์ เป็นวันที่มีตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ค่ำคืนนี้ชานเรือนบ้านผู้ใหญ่เราคงต้องนอนแต่เช้าวันพรุ่งนี้ผู้ใหญ่ปู้ดว่า จะพาเราไปตะเวนแวะชิมขนมไทยๆ ใหม่สดจากเตา ขอให้เราตื่นเช้าเป็นพอ
Day 4 เที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง-ฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ-สถานตากอากาศบางปู
เช้า นี้เราตื่นกันแต่เช้าอาบน้ำอาบท่าเรียบร้อยก็ออกมาที่หน้าบ้านพัก สักพักผู้ใหญ่ปู้ดก็ออกมาพบกับพวกเราที่เพิ่งออกมานั่งรอเช่นกัน “ เดี๋ยวเราจะไปดูบ้านนู๊นเขาทำขนมถ้วยกันไม่รู้ว่าจะเสร็จแล้วหรือยัง” ผู้ใหญ่ปู้ดบอกกับพวกเราด้วยว่ากลัวจะไปไม่ทันเพราะทุกเช้าในวันที่มีตลาด น้ำ บ้านไหนที่ทำขนมขายก็จะตื่นแต่เช้ามืดแล้วทำขนมที่ถนัดออกไปที่ตลาด ถ้าไปไม่ทันก็อดดูวิธีการทำต้องไปชิมเอาที่แผงขาย
เราเดินลัดเลาะสะพาน ปูนไปไม่ไกลนักจากบ้านผู้ใหญ่ก็ถึงบ้านที่ทำขนมถ้วย ดูจากหน้าบ้านที่เงียบเชียบแล้วไม่รู้เลยว่าบ้านหลังไหนทำอะไร มีเพียงควันจากเตาและกลิ่นหอมของขนมที่ลอยอบอวลแทรกอยู่ในบรรยากาศยามเช้า อย่างนี้ สักพักก็มีคนในบ้านมาเปิดประตูให้เรา “สวัดดีค่ะ..เข้ามาข้างในก่อนค่ะกำลังจะเอาขนมไปตลาดพอดี นี่กำลังนึ่งขนมชุดสุดท้ายน่าจะกำลังได้ที่แล้ว” แหมเกือบไม่ทันเสียแล้ว เรารีบเดินเข้าไปดูการทำขนมถ้วยทันนีที่หลังบ้าน


กระทะ ใบบัวใบใหญ่วางบนเตามีซึ้งนึ่งขนมถ้วยวางอยู่ในกระทะกลิ่นหอมของกะทิที่ลอย ออมมาทำเอาเราอยากที่จะลองลิ้มชิมขนมถ้วยใหม่ๆ จากเตากันทุกคน เกีอบสิบนาทีขนมก็ถูกยกออกมาวางที่โต๊ะกลางห้องควันร้อนๆระอุขึ้นมาจากขนม ถ้วยช่างน่าเย้ายวนเสียนี่กะไร

“ร้อน นะคะ..รออีกพักเดียวก็ทานได้แล้ว นี่พอดีเพิ่งยกออกไปที่ตลากแล้วรอบนึง ไม่งั้นได้ชิมชุดนั้นด้วย” เสียงยายที่ทำขนมบอกเราด้วยความเสียดายที่ไม่ได้ชิม ซึ่งก็คงไม่ต่างกับเรานัก คิดในใจว่า เดี๋ยวต้องตามออกไปชิมที่ตลาดให้ได้ทีเดียว
เราสาระวนถ่ายรูป บรรยากาศการทำขนมถ้วยด้วยความอยากรุ้อยากเห็น นั่นอะไรครับ นี่ทำอยากไรคะ เหมือนกับมาล้วงสูตรลับอย่างไรอย่างนั้น ซึ่งคุณยายก็ไม่ปิดบัง มีอะไรบอกหมด น้ำตาลที่ใช้ก็ตองใช้น้ำตาลจากต้นตาลโตนด ส่วนกะทินี่ก็ต้องคั้นเอง ไม่ได้ใช้กะทิสำเร็จรูป รสชาติที่ได้จึงกลมกล่อมหอมหวานมัน ขายไม่ถึงครึ่งวันก็หมดแล้ว เรายังอดถามต่อไม่ได้ว่าทำไมไม่ทำให้เยอะขึ้น แล้วหาลูกมือมาช่วย “โอ๊ย..ไม่ไหว มันเหนื่อย นี่ที่ทำขนมก็เพราะอยากให้ตลาดน้ำมีของขายหลายหลาก ชาวบ้านละแวกนี้ใครถนัดอะไรก็ทำกันนิดหน่อยพออยู่ได้ไม่ขาดทุนก็พอแล้ว ไม่ได้หวังรวยกันหรอก


ถ่าย รุปเสร็จก็ได้เวลาชิมขนมพอดี แหมรสชาติหวานมันกลมกล่อมอร่อยลิ้นจริงๆ เราชิมไปเกือบสิบคู่จนอิ่มขนมไปตามๆกัน รู้สึกตัวอีกที่ ถ้วยขนมเปล่าๆ วางซ้อนกันสูงเป็นคืบ เราขอลายายออกไปที่ตลาดน้ำกันก่อนเพราะนี่ก็ได้เวลากันแล้ว ที่หวังว่าจะไปแวะบ้านหลังอื่นๆ เห็นที่จะหมดหวังเพราะบ้านอื่นก็คงลำเลียงขนมออกไปที่ตลาดแล้วเหมือนกัน
จากบ้านคุณยายทำขนมถ้วยเดินออกมาไม่ไกลนักเราก็มาถึงตลาดบางน้ำผึ้ง


รถ นักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นทะยอยกันเข้ามาจอด ที่ริมถนนฝั่งตรงข้ามทางลงตลาด เสียงเชิญชวนให้เข้ามาชมสินค้าที่ร้านริมทางเดิน ในขณะที่เจ้าของร้านกำลังจัดเตรียมสินค้ าเพื่อเปิดขาย


เช้า อย่างนี้ผู้คนก็เริ่มหนาตาบ้างแล้วหากเป็นวันพรุ่งนี้นักท่องเที่ยวคงจะมา มากกว่าวันนี้แน่ เราเดินชมสินค้า ที่วางขายตลอดทางเดินเป็นซุ้มร้านค้าจัดอย่างเป็นระเบียบ สินค้าส่วนใหญ่จะเน้นนสินค้า OTOP ประเภทของใช้พวก ครีมนวด แชมพู สบู่สมุนไพร


บาง ร้านก็ขายของที่ระลึกตกแต่งบ้านกระจุ๊ก กระจิ๊ก ถ้าใครชอบทานขนมไทยๆ ที่หาทานยาก ก็ต้องรีบมาตลาดบางน้ำผึ้งแต่เช้านะครับ อย่าง ขนมม้าฬ่อ ทองเอก จ่ามงกุฎ ฯลฯ ถ้ามาสายก็ไม่แน่ว่าจะหมดเสียก่อน

จาก โซนสินค้า OTOP ถัดมาเป็นโซนขายขายอาหาร หลากหลายประเภท ทั้งก๋วยเตี๋ยว เรือ ก๋วยเตี๋ยวหมู ซึ่งอยู่ทางด้าน ซ้ายมือ ถ้าใครอยากจะลงพายเรือเล่นก็มีให้บริการ ทางลงอยู่หลังร้านขายก๋วยเตี๋ยวสามารถลงได้ หรือจะเดินไปข้างหน้า อีกหน่อยที่นั่นจะเป็นศาลาท่าน้ำลงเรือโดยเฉพาะ สนนราคา ลำละ 20 บาท ลองมาลับฝีพายกันที่นี่ก็น่าสนุกดี

ส่วน ใครที่พายเรือไม่เป็นก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะที่ท่าเรือทีเจ้าหน้าที่บริการพายเรือให้ เจ้าหน้าที่ที่นี่รุ่นใหญ่ คุยสนุกมาก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับบางน้ำผึ้งไม่รู้จบเรียกว่าพายเรือไปออกแม่น้ำเจ้า พระยาแล้วพายกลับเข้าคลองบางน้ำผึ้งมายังเล่าไม่จบเรื่องเลยทีเดียว ส่วนนักท่องเที่ยวที่อยากขี่จักรยานชมสวนผลไม้ที่นี่ก็มีให้บริการในอัตรา คันละ 30 บาท


ผ่าน โซนร้านอาหาร ที่หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นหอยทอดขนมครก ห่อหมกปลาช่อน และหมูสะเต๊ะ ที่ยั่วยวนชวนให้อยากเข้าไปลองชิม แต่ด้วย หน้าที่(ที่จริงอิ่มตื้อ)ทำให้เราตัดใจเดินเลี้ยวขวาเข้าไปยังโซนจำหน่าย สินค้าทำมือ เราแรกที่เราเจอก็สะดุดตา ด้วยผลงาน หลากหลายจากกะลามะพร้าวล้วนๆ ทั้งโคมไฟ กระปุกออมสินและเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ที่โดดเด่นก็เป็นพระพุทธรูปที่ทำ จากกะลามะพร้าวล้วนๆ ทั้งองค์


ฝี มือเนี๊ยบมากจนต้องขอเข้าไปชมใกล้ๆ สนนราคาก็ต้องบอกว่าคุ้มค่า กับฝีมือจะว่าแพง ก็คงไม่ได้เพราะแต่ละชิ้นใช้เวลาในการทำเป็นเดือนๆและมีเพียงหนึ่งเดียวไม่ ทำซ้ำ สลับจากร้านขายขนมไทยก็เป็นร้านขาย ของที่ระลึกที่ทำจากลูกตีนเป็ดที่เข้าใจนำมาดัดแปลงเป็นโมบายเก๋ๆ รูปสิงสาราสัตว์ น่ารักน่าชมจนเลือกไม่ถูก


สุด ทางเดิน เป็นร้านนวดแผนไทย เช้าๆ อย่างนี้กลับมีนักท่องเที่ยวมารอให้นวดกันแล้ว ดูป้ายราคาก็น่ายืนรอหรอกเพราะมีราคาถูก เสียจนไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าแรงหรือเปล่า ที่ร้านนวดแผนไทยนี้มีสนนราคาอัตราค่าบริการตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักร้อย แล้วแต่ คอรส์และชั่วโมงที่นวด

จากร้าน นวดแผนโบราณ เราเดินเลี้ยวขวามาทางโซนดนตรีในสวน มีโต๊ะเก้าอี้วางเป็นระเบียบ รอเปิดการแสดง โซนนี้ถ้าใครชอบเพลงเก่าก็มาปักหลักได้เลย ไม่ผิดหวัง ถึงเพลงจะเก่าแต่คนร้องไม่แก่นะ จะบอกให้ เพราะดูนักร้องแต่ละคนหน้าไม่มีริ้วรอยว่านกที่ไหนจะมาเกาะ ใครเดินเที่ยวตลาดบางน้ำผึ้งเมื่อยๆ ก็ซื้ออาหารเครื่องดื่ม มาทานกันที่โซนดนตรีในสวนนี้ได้ไม่ผิดกติกา ส่วนใครที่อยากดูดวงก็นี่เลย ฝั่งตรงขามมีคุณยายรับดูดวง แบบหมอลักษณ์ฟันธงชิดซ้ายไปเลย เพราะคุณยายแกวิ่งขวาตลอด ไม่เพียงแค่ฟันธงเท่านั้นแต่แกฟันฉับๆ โฉ๊ะ เป็นฉากๆ ใครที่ชอบดูดวง แบบถึงลูกถึงคนมาที่นี่เลย ตลาดบาง น้ำผึ้ง คุณยายเปิดบริการเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ ค่ายกครูสอบถามกันเอาเอง แบบว่าแกคิดราคาตามฐานานุรูปนะครับ พอดีผมหน้าตาไม่ดี แต่งตัวน่าสงเคราะห์ แกเลยคิด 29 บาท ขาดตัว แต่ได้คำตอบแบบขาดใจเหมือนกัน อันนี้ผมไม่บอกต้องมาลองดูดวงกันเอาเอง คุยกันถูกคอคุณยายแกจะเป่าเมาส์ออแกนแถมให้ฟังด้วย


จาก โซนนี้สุดทางด้านซ้ายเป็นทางวนกลับไปที่สะพาน ท่าน้ำลงเรือพาย ผ่านร้านขายต้นไม้ ส่วนด้านขวาเป็นเส้นทางขี่จักรยานออกไปยังถนนและสวน สามารถขี่จักรยานไปถึง สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ได้ ส่วนด้านหน้าฝั่งตรงข้ามเป็นส่วนของ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล บางน้ำผึ้ง เอ้ามาชมข้อมูลอย่างเป็นทางการของตลาดบางน้ำผึ้งกันก่อนดีกว่า
ตลาด น้ำบางน้ำผึ้ง ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลบางน้ำผึ้ง เป็นการร่วมมือระหว่าง อบต. บางน้ำผึ้ง และชาวบ้านในชุมชนสร้างตลาดน้ำแห่งนี้ เพื่อหาทางแก้ไขภาวะผลผลิตล้นตลาด ซึ่งตลาดน้ำแห่งนี้สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี เสน่ห์ของตลาดน้ำแห่งนี้ คือ วิถีชีวิตชาวบ้านริมคลองซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ และยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอาหารที่มีชื่อเสียงของชุมชน ได้แก่ ดอกไม้เกล็ดปลา ปั้นธูปสมุนไพร หอยทอดขนมครก และมะม่วงน้ำดอกไม้ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะมีเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ สำนักงาน อบต. บางน้ำผึ้ง โทร. 0 2819 6762 มาไม่ถูกหรือหลงทางสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ด้านบนได้เลย เราตะเวนเดินย้อนทางถ่ายรูปร้านค้ากันเสียจนล่วงเลยเวลาข้าวเที่ยว ร้านที่เล็งๆไว้ก็ชวนเชิญเสียเหลือเกิน
กลัว จะเสียน้ำใจ หอบของฝากชิม ขอบอกนะครับว่าฝากชิม แต่หิ้วของพะรุงพะรังจนตัวเอียงนิ้วแทบเคล็ด ของที่แม่ค้าแม่ขายฝากมาให้ พวกเราชิม เอาไปจัดเลี้ยงโโต๊ะจีนชุดใหญ่สบายเลยครับ เราต้องหาที่นั่งเหมาะๆ ที่โซนดนตรีในสวนจัดการกับของฝาก ซะหน่อย พักเที่ยงคร๊าบ ช่วงบ่ายค่อยว่ากันใหม่
หลัง มื้อเที่ยงที่เราฝากท้องกับสาระพันอาหารความหวานกันจะเดินตัวเอียง ช๊อปของฝากเสร็จเราก็กลับไปเก็บข้าวของกราบลาผู้ใหญ่ปู้ดและคุณป้า เหล่าแม่ครัวกิตติมศักดิ์ ออกเดินทางไปเที่ยวกันต่อที่ฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ

ซึ่ง ตั้ง อยู่ถนนท้ายบ้าน ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร หรือสามารถเข้าทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) เทศบาลบางปูซอย 46 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบันเป็นฟาร์มจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในเป็นสถานเพาะเลี้ยงจระเข้ขนาดต่าง ๆ กว่า 60,000 ตัว

มี การแสดงโชว์ของช้างไทยแสนรู้ และโชว์จระเข้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทุก ๆ 1 ชั่วโมง (พักเที่ยง) วันหยุดเพิ่มรอบ 12.00 น.และ 17.00 น. ค่าเข้าชมฟาร์มจระเข้ราคา 60 บาทนอกจากนี้ ยังมี การแสดงของช้างแสนรู้ ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว เป็นอันมาก โดยมีการแสดงทุก 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 -16.30 น. ทุกวัน นอกจากการเลี้ยงจระเข้แล้ว ภายในฟาร์ม ยังมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น เสือ ลิงชิมแปนซี ชะนี เต่า งู นก อูฐ ฮิปโปโปเตมัส กวาง
การ เดินทางไปยังฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ นอกจากรถส่วนตัวแล้ว สามารถใช้บริการรถเมล์ ขสมก. สาย ปอ.7, 8, 11, 102, 142, 145 ปอ.พ.6, 13, 14 หรือรถเมล์ธรรมดาสาย 25 ไปยังสมุทรปราการแล้วต่อรถสองแถวสาย S.1 - S.80 สิ่งอำนวยความสะดวก : ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. ค่าบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่คนละ 50 บาท เด็ก 30 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 300 บาท เด็ก 200 บาท

การ เข้าชมเป็นหมู่คณะหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการวิทยากร ควรมีหนังสือติดต่อล่วงหน้าไปที่ ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ 555 ม.7 ถ.ท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10280 หรือ โทร. 0 2703 4891-5, 0 2703 5144-8
จากฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ เราอกเดินทางไปยังสถานตากอากาศบางปู เป็นสถานที่พักผ่อนยอดนิยมเป็นแหล่งดูนกใกล้เมืองที่สำคัญอีกแห่ง ซึ่งมีนกน้ำหลายพันธุ์ เช่น นกตีนเทียน นกตะขาบทุ่ง นกแว่นตาขาวสีเหลือง นกกะติ๊ดขี้หมู นกนางนวล ซึ่งเป็นนกที่สร้างชื่อเสียงให้กับบางปูเป็นอย่างมาก มาที่นี่อย่าลืมพกแค๊ปหมูมาด้วย ถ้าหาไม่ได้ที่นี่มีขายครับ


ที่ นี่นอกจากจะมีนกนางนวลให้ดูช่วงปลายปีแล้วท่านที่ต้องการมาชมนกชายเลนก็ สามารถมาได้ตลอดทั้งปี ที่นี่มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่ได้ตั้งขึ้นใหม่ ชื่อว่า ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก ฌฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่ากองทัพบก และWWF

จัด เป็นส่วนแสดงนิทรรศการภายใน เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ซึ่งน่าสนใจมากครับ ส่วนเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งตั้งอยู่ด้านนอกเป็นเส้นทางศึกษาพืชพรรณและ สัตว์นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ตั้งแต่ ปลาตีน ไปจนถึงนกสารพัดชนิด

สำหรับ ประวัติสถานตากอากาศบางปู เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2480 โดยจอมพล ป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้ดำริให้สร้างเป็นสถานที่พักผ่อน สำหรับประชาชนทั่วไปเนื่องด้วยพื้นที่ติดชายทะเลและระยะทางไม่ไกล จากกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2482 การดำเนินการก่อสร้างสะพานสุขตาเสร็จเรียบร้อยเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่ว ไป สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยมีอธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นประธานในชื่อเรียก "สถานตากอากาศชายทะเล บางปู"
พ. ศ.2484 หยุดดำเนินการ เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเพื่อใช้เป็นทางผ่านในการสู้รบกับฝ่าย สัมพันธมิตร ในสงครามมหาเอเชียบูรพา
พ.ศ.2490 เมื่อเหตุการณ์สงบลงได้เปิดดำเนินการใหม่อีกครั้งโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดูแล
พ.ศ. 2491 กรมพลาธิการทหารบก ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบตามลำดับ คือ กรมสวัสดิการทหารบก ,
กรมพลาธิการทหารบก องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,กรมพลาธิการทหารบกและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พ.ศ. 2501 กรมพลาธิการเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เปิดบริการขายอาหารและเครื่องดื่ม ที่บริเวณปลายสะพานสุขตา โดยเปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา06.00-20.00 น. จัดดนตรีและลีลาศในวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น.จัดบริการที่พักที่ปลายสะพานสุขตา ในราคา 60-110 บาท/วัน บ้านพักบริเวณริมแนวเขื่อน 80 บาท/วัน
พ.ศ. 2505 กองทัพบกได้จัดตั้งเป็นสถานพักฟื้นและตากอากาศ กองทัพบก โดยมีคณะกรรมการอำนวยการสถานพักฟื้นและตากอากาศ กองทัพบกเป็นผู้กำกับดูแล โดยจัดแบ่งเป็นสถานพักฟื้นและตากอากาศบางปูกับสถานพักฟื้นและตากอากาศหาด เจ้าสำราญ
พ.ศ. 2512 ได้ดำเนินกิจการสถานพักฟื้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดให้มีการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจ บำรุงขวัญ ให้แก่ทหารที่บาดเจ็บจากการสู้รบ ซึ่งรับจาก รพ.พระมงกุฎเกล้าฯ ในชื่อเรียก
" สถานพักฟื้นและพักผ่อนกรมพลาธิการทหารบก "
พ.ศ. 2533 เปิดอนุสรณ์สถานเครื่องหมายทางประวัติศาสตร์ สงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก ณ สถานที่แห่งนี้ โดยมีพลเอกสายหยุด เกิดผล เป็นประธานในพิธี
พ.ศ. 2535 จากการดำเนินการมาหลายปีทำให้สิ่งก่อสร้างบริเวณร้านอาหาร และห้องพักที่ปลายสะพานสุขตาชำรุด ได้ปรับปรุงห้องพักด้านขวาเป็น " ห้องกาแฟนางนวล " และห้องบริเวณด้านซ้ายเป็นที่รับประทานอาหาร
พ.ศ. 2536 ร้านอาหารที่ปลายสะพานสุขตาถึงคราวต้องปิดตัวลง เนื่องจากความทรุดโทรมของฐานรากอาคารชำรุดมาก ไม่ปลอดภัยกับผู้มาใช้บริการ
 พ.ศ. 2537 ดำเนินการก่อสร้างร้านอาหารชั่วคราว บริเวณริมฝั่งด้านทิศตะวันออก เพื่อบริการอาหารเครื่องดื่มจำนวน 8 หลัง เสร็จสิ้นและเปิดบริการเมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม 2537
พ.ศ. 2540 เริ่มดำเนินการปรับปรุงและซ่อมแซมสะพานสุขตาและอาคารร้านอาหารปลายสะพานสุขตา
พ. ศ.2542 เนื่องจากสถานการณ์ภายในบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป การสู้รบตามแนวชายแดนลดน้อยลง ทำให้สถานพักฟื้นไม่มีทหารที่บาดเจ็บจากการสู้รบมาฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่าง กาย กองทัพบกจึงได้มีคำสั่งแก้อัตรากองทัพบกโดยยุบสถานพักฟื้น คงเหลือไว้เพียงสถานพักผ่อน เปลี่ยนชื่อหน่วยจากกองอำนวยการสถานพักฟื้นและพักผ่อนกรมพลาธิการทหารบก เป็นกองอำนวยการสถานพักผ่อนกรมพลาธิการทหารบก มีภารกิจในกิจการของทหารพักผ่อนจากกองทัพภาคต่าง ๆ ปีละ 6 ผลัดสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
พ.ศ. 2543 การปรับปรุงซ่อมแซมสะพานและร้านอาหารปลายสะพานสุขตาได้ดำเนินการเสร็จเรียบ ร้อย พร้อมเปิดให้บริการแก่ข้าราชการ ลูกจ้างสังกัดกองทัพบกตลอดจนประชาชนทั่วไปในเดือนสิงหาคม และ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น " ศาลาสุขใจ "
เรามายืนชมนกนางนวลกันที่สะพานสุข ตา เห็นนกนางนวลบินฉวัดเฉวียงคอยจิกแค๊ปหมุจากมือนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมบน สะพานแห่งนี้ นกนางนวลที่มีในอ่าวไทยมีอยู่ 2 ชนิด นกนางนวลใหญ่ เมื่อบินเหนื่อยแล้วชอบลงลอยตัวบนผิวน้ำทะเลและนกนางนวลแกลบมีในน่านน้ำไทย ถึง15 ชนิด พวกนี้จะไม่ชอบลงลอยบนผิวน้ำทะเล นกนางนวลที่มาอาศัยอยู่ในสถานตากอากาศบางปูเป็นนกที่ทำรังวางไข่อยู่รอบ ๆ ทะเลสาปต่าง ๆ ในทิเบตและมองโกเลีย ในฤดูร้อน (ตรงกับฤดูฝนในประเทศไทย) พอลูกโตแข็งแรงสามารถบินได้ในระยะไกลแล้ว ก็จะพากันบินลงมาหากิน ตามชายทะเลในมหาสมุทรอินเดียจนถึงอ่าวไทย จะย้ายถิ่นถึงอ่าวไทย ในราวต้นเดือนพฤศจิกายน นกนางนวลรุ่นหนุ่มสาวจะมีหัวสีขาว มีจุดสีน้ำตาลคล้ำบริเวณขนคลุมหู พอถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์มันจะเปลี่ยนสีสัน สำหรับเลือกคู่ผสมพันธุ์โดยเริ่มมีขนสีน้ำตาลดำที่หัว เมื่อได้คู่แล้วก็จะทยอยบินกลับไปวางไข่บนที่ราบสูงใกล้ ๆ ทะเลสาปในประเทศทิเบตและมองโกเลียใหม่ มักจะเริ่มบินย้ายถิ่นกลับในราวเดือนเมษายนและพวกสุดท้ายจะกลับปลายเดือน พฤษภาคม การเดินทางมาชมฝูงนกนางนวลที่สถานตากอากาศบางปูจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำผู้ ที่ได้พบเห็นเบิกบานสำราญใจ ทำให้รู้ว่าฤดูฝนได้ผันผ่านไป ฤดูหนาวกำลังจะมาเยือน ลมทะเลพัดเบา ๆ กับบรรยากาศยามเย็นจอดรถชมทิวทัศน์ พระอาทิตย์อัสดง และฝูงนกนางนวลที่บินอวดโฉมกางปีกสวยให้เราได้ชมอย่างใกล้ชิดบนสะพานสุขตา


อิ่ม ตาแล้วต้องอิ่มท้องด้วย เดินเท้าเข้าไปภายในศาลาสุขใจ ซึ่งเปิดเป็นร้านอาหารโดยกรมพลาธิการทหารบกเลือกรายการอาหารทะเลสด ๆ เป็นอาหารค่ำ


หาก ใครมีโอกาสมาในวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 17.00-21.00 น. จะมีกิจกรรมพิเศษเปิดฟลอร์ลีลาศ อิ่มเอมไปกับเสียงเพลงสุนทราภรณ์อันไพเราะ ควบคู่กับอาหารรสชาติอร่อยในราคาปกติตามเมนูให้กับอาหารมื้อเย็นและคนรับ ประทานได้มีความสุขมากยิ่งขึ้น คิดค่าดนตรีภายในฟลอร์ลีลาศเพียงคนละ 50 บาท เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองอำนวยการสถานพักผ่อน สถานตากอากาศบางปู กรมพลาธิการทหารบก ถนนสุขุมวิท ต.บางปู อ.เมือง จ.สมุทรปราการ โทร. 0 2323 9911

ค่ำ นี้เราเลือกที่จะพักที่สถานตากอากาศบางปู เราเพราะอยู่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวของเราในวันพรุ่งนี้ ปัจจุบันบ้านพักของสถานตากอากาศบางปูพัฒนาไปมาก บ้านพักสะอาดสะอ้าน และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาหลายหลัง สนใจก็ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ข้างบนสนนราคาสอบถามกันได้เลยเพราะมีหลาย ราคาตามประเภทและขนาดของบ้านพัก
Day 5 เที่ยวเมืองโบราณ-มูลนิธิธรรมกตัญญู-ค่ายริมขอบฟ้าเมืองโบราณเช้า วันนี้เราจะไปเที่ยวชมเมืองโบราณซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของ จังหวัดสมุทรปราการอีกแห่งหนึ่ง เมืองโบราณแห่งนี้ถือเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งระดับโลกที่ได้รับความสนใจจาก นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก
อีก ทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนัก หากท่านผู้อ่านสนใจที่จะเดินทางมาที่เมืองโบราณแห่งนี้แล้วล่ะก็ไม่ยากเลย ถ้าหากท่านมารถยนต์ส่วนตัวให้ใช้เส้นทางด่วนปลายทางที่สำโรง-สมุทรปราการ พอถึงสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณ กม.33 เมืองโบราณจะอยู่ทางซ้ายมือ หากท่านใดต้องการที่จะเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ ทาง ขสมก.เขาก็มี รถโดยสารปรับอากาศสาย 511(สายใต้ใหม่-ปากน้ำ) ไว้คอยบริการ บอกกระเป๋ารถเมล์ว่าลงสุดสายแล้วต่อรถสองแถวสาย 36 ซึ่งจะวิ่งผ่านหน้าทางเข้าเมืองโบราณ สำหรับวันนี้ผมและทีมงาน www.idotravellers.com ใช้เส้นทางถนนสุขุมวิทสายเก่าเราออกจากสถานตากอากาศบางปูเลี้ยวซ้ายแล้ววิ่ง ตรงขึ้นไปประมาณสะพานลอยที่สองแล้วจึงก็ยูเทิร์นกลับมาจะมองเห็นเมืองโบราณ อยู่ทางซ้ายมือ


เรา เดินทางมาถึงที่เมืองโบราณค่อนข้างจะเร็วเพราะนัดหมายกับคุณพี่จิตตรี เชื้อเจ็ดตน เจ้าหน้าที่ของทางเมืองโบราณเอาไว้ที่หน้าประตูทางเข้าด้านใน ซึ่งเมื่อเรามาถึงก็ได้พบคุณพี่จิตตรีที่รอพบพวกเราอยู่ก่อนแล้ว หลังจากทักทายกันอยู่สักครู่หนึ่งคุณจิตตรีก็ชวนเราไปรับประทานอาหารเช้ากัน ที่ร้านค้าหน้าเมืองโบราณ
ซึ่ง มีทั้งร้านกาแฟและร้านข้าวแกงแสนอร่อย ผมไม่รอช้าจัดแจงสั่งกาแฟโบราณร้อนๆ 1 แก้วและข้าวราดแกงรสเด็ดอีก 1 จาน เท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับยามเช้าเช่นนี้ หลังจากอิ่มอร่อยกับอาหารเช้าแล้วพี่จิตรีก็พาพวกเราไปพบกับพี่สลักจิตร มัคคุเทศก์ท่านหนึ่งของเมืองโบราณเพื่อฟังประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณ โดยคุณพี่สลักจิตรเล่าประวัติของเมืองโบราณให้เราฟังว่า


“เมือง โบราณแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 โดยมี คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ (หรือคุณประไพ วิริยะพันธุ์) เป็นเจ้าของ แรกเริ่มเดิมทีนั้นคุณเล็กตั้งใจที่จะสร้างสนามกอล์ฟในรูปแบบที่มีสถานที่ สำคัญทางประวัติศาสตร์ของแต่ละจังหวัดประกอบอยู่รอบๆสนามกอล์ฟ ความคิดดังกล่าวเปลี่ยนไป

หลัง จากที่คุณเล็กท่านได้พบเห็นว่าสถานที่สำคัญๆทางประวัติศาสตร์บางแห่งนั้น ทรุดโทรม สึกหรอ ผุกร่อนไปตามกาลเวลา ทำให้คุณเล็กรู้สึกเสียดายถ้าหากสถานที่สำคัญๆเหล่านี้จะผุพังและเลือนหายไป ตามกาลเวลา ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเป็นที่มาของแนวคิดที่จะสร้างเมืองจำลอง คุณเล็กเริ่มต้นสร้างเมืองจำลองด้วยพื้นที่ใกล้ทะเลในเขตบางปูกว่า 600 ไร่ โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดผังบริเวณ โดยออกแบบผังของพื้นที่ทั้งหมดให้ออกมาเป็นแผนที่ประเทศไทย ซึ่งเริ่มจากขุดทางน้ำให้เป็นแม่น้ำลำคลองเพื่อที่จะแยกภูมิภาคต่างๆออก จากกัน
แล้ว จำลองสถานที่สำคัญของแต่ละจังหวัดลงไป อย่างเช่น เมืองกรุงเทพฯ จะมีป้อมปราการโอบล้อมซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ระยะแรกนั้นคุณเล็กเริ่มสร้างจากการจำลองสถานที่ต่างๆโดยย่อให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้คนได้เดินชมกันอย่างทั่วถึงและใช้เวลาเดินชมเพียงไม่นาน แต่เมื่อทำไปได้สักสองสามแห่ง คุณเล็กเล็งเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรถ้าเราอยากจะอนุรักษ์บางสถานที่ไว้ให้ ลูกหลานได้ชมโดยใช้เพียงเมืองจำลองขนาดเล็ก ตรงนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองโบราณและด้วยประสบการณ์ด้านการ ทำงานของคุณเล็กท่านจึงเริ่มทำการค้นคว้าอ่านหนังสือหาข้อมูลเพิ่มเติม พบปะและเชิญนักวิชาการผู้รู้ทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และบรรดาศิลปินระดับชาติ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมมาร่วมทำงาน


ใน ขณะเดียวกันก็เดินทางออกไปดูสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตามภาคต่างๆ ทำให้เข้าใจถึงลักษณะภูมิประเทศและสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนว่ามีการเปลี่ยน แปลงและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โครงการสร้างเมืองโบราณจึงเริ่มต้นขึ้นด้วยพื้นที่กว่า 600 ไร่ กับการพัฒนาให้เป็นที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัยในลักษณะแบบชุมชนเมืองได้ แล้วเปลี่ยนมาสร้างสถานที่ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด ในภูมิภาค ให้เป็นสัญลักษณ์บ้านเมืองในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสถานที่เหล่านั้นต่างก็ด้วยขนาดใกล้ของจริงและถ่ายแบบผังมาสร้างขึ้น เพื่อให้ผู้คนที่อยู่ตามท้องถิ่นดั้งเดิมได้เห็นและยอมรับว่าเหมือนกันกับ ของจริงตามท้องถิ่นของตน คุณเล็กและคณะทำงานได้เดินทางออกไปตามท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศเพื่อแสวงหา และเลือกเฟ้นสถานที่ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมด้วยตนเอง ได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และนิเวศวัฒนธรรมของผู้คนตามท้องถิ่นต่างๆอย่างลึกซึ้งและสิ่งที่เป็นผลตาม มา ก็คือ ท่านได้พบบ้านโบราณ อาคารศาสนา และโบราณวัตถุทางชาติพันธุ์ ตลอดจนได้แลเห็นประเพณีพิธีกรรม รวมทั้งแลเห็นวิถีชีวิตและวิธีคิดของผู้คนในท้องถิ่นอีกมากมายสิ่งนี้คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เป็นจุดหักเหให้ท่านเปลี่ยนใจที่จะไม่ไปเพียงแสวงหาและ ถ่ายแบบบรรดาสถานที่ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเพียงอย่างเดียว แต่กลับเปลี่ยนมาเป็นให้ความสนใจกับการรวบรวมโบราณวัตถุทางชาติพันธุ์ไม่ว่า จะเป็นบ้านเรือน อาคารศาสนาที่สร้างด้วยเครื่องไม้ พาหนะโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องทำมาหากิน มาตั้งแสดงที่เมืองโบราณ โดยเฉพาะการจัดสถานที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมชาวนาขึ้นในเมืองโบราณ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ทางชาติพันธุ์แห่งแรกๆของเมืองไทยก็ว่า ได้ ในเรื่องของการหาสิ่งของและอาคารเก่าๆนั้น คุณเล็กท่านมีระบบในการจัดการได้เป็นอย่างดี คือ ก่อนที่เราจะไปเสาะหาสิ่งของโบราณต่างๆเราควรจะศึกษาเรียนรู้เข้าใจถึงความ สำคัญของสิ่งเหล่านั้นเสียก่อน ไม่ใช่ว่าเห็นสิ่งของเหล่านั้นเก่าและสวยงามแล้วจะทึกทักเอาว่าสิ่งของเหล่า นั้นสำคัญ และยิ่งสิ่งของเหล่านั้นมีความหมายและความสำคัญต่อคนในท้องถิ่นแล้วละก็คุณ เล็กท่านจะไม่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งยังพร้อมที่จะสนับสนุนให้อนุรักษ์เป็นของสำคัญของท้องถิ่นดั้งเดิม แต่ถ้าในบางพื้นที่มีสิ่งของควรค่าแก่การอนุรักษ์แต่คนในท้องถิ่นไม่พร้อม ที่จะบูรณะ ซ่อมแซม อาทิเช่น วิหารเก่าแก่ของวัดประจำท้องถิ่น เป็นต้น ทางคุณเล็กก็จะขอทำผาติกรรมเพื่อมาเก็บไว้ที่เมืองโบราณ ดังจะเห็นได้จากหลายสถานที่ในเมืองโบราณ อย่างไรก็ตามความเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งนั้นหาได้หยุดอยู่แต่สิ่งที่เป็น รูปธรรมเท่านั้น หากแต่ยังขยายมาถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมด้วย เช่น ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรม การค้นคว้าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คุณเล็กท่านกระทำอย่างต่อเนื่องจวบจนสิ้นอายุไขเลยทีเดียว ภายหลังจากที่เปิดเมืองโบราณมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว คุณเล็กได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะรองรับการเติบโตของเมืองโบราณออก ไปอีก 200 ไร่ จากเดิม 600 ไร่ รวมเป็น 800 ไร่” ฟังคุณพี่สลักจิตรเล่าถึงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณจบแล้ว พวกเราทีมงานจึงขอตัวเข้าไปเที่ยวชมและบันทึกภาพสถานที่ต่างๆภายในเมือง โบราณมาให้ท่านผู้อ่านได้ชมกันครับ เมืองโบราณแห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. สำหรับราคาบัตรเข้าชมเมืองโบราณนั้นราคาไม่แพงอย่างที่คิดเลยครับ สำหรับคนไทย ผู้ใหญ่ราคา 100 บาท เด็กราคา 50 บาท สำหรับชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ราคา 300 บาท เด็กราคา 200 บาท และพิเศษสำหรับชาวต่างประเทศที่มาทำงานอยู่ในประเทศไทยเพียงแค่ท่านแสดงใบ อนุญาตการทำงานในประเทศไทย (Work Permit) เท่านี้ท่านก็จะได้รับสิทธิพิเศษจ่ายราคาบัตรเท่ากับคนไทยแล้วครับ


สำหรับ บางท่านที่ไม่ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาเองทางเมืองโบราณเขาก็จัดรถไว้ให้ท่าน เลือกใช้บริการอาทิเช่น รถจักรยาน ราคา 50 บาท ต่อวัน รถจักรยานสามัคคี (2-3 ตอน) ราคา 150 บาท ต่อวัน, รถรางเที่ยวชมเมือง ราคา 50 บาทต่อท่าน มีมัคคุเทศก์บรรยายภาษาไทยให้อีกด้วย สำหรับชาวต่างประเทศที่สนใจจะใช้บริการรถรางเที่ยวชมรอบเมืองโบราณแล้วละก็ สะดวกมากๆเลยครับเพราะที่นี่เขาจัดเตรียมมัคคุเทศก์ภาคภาษาอังกฤษไว้ให้ บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศโดยเฉพาะ ซึ่งราคาของรถรางสำหรับชาวต่างชาตินั้นเพิ่มจากราคาบัตรอีกเพียง 75 บาทต่อท่านเท่านั้นเองครับ

นอก จากรถจักรยานและรถรางแล้วทางเมืองโบราณยังมีรถกอล์ฟไว้ให้บริการสำหรับบาง ท่านที่นิยมความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องการออกแรงมากนัก ราคาค่าบริการของรถกอล์ฟนี้แบ่งได้เป็น 2 ราคาคือ รถกอล์ฟ 2 ที่นั่ง ราคา 200 บาท ต่อชั่วโมง และ รถกอล์ฟ 4 ที่นั่ง ราคา 300 บาท ต่อชั่วโมง ส่วนทางผมและทีมงานนิตยสารคนชอบเที่ยวนั้นเลือกใช้บริการรถยนต์ส่วนตัวเข้า เที่ยวชมเอง สำหรับท่านใดที่ต้องการเที่ยวชมรอบเมืองโบราณโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวเหมือนผม นั้นท่านจะต้องเสียค่าเข้าสำหรับรถยนต์เสียก่อนนะครับราคาคันละ50 บาท(รถบัสคันละ 200 บาท) ราคานี้ไม่รวมคนขับนะครับหลังจากจัดการทุกอย่างแล้ว ผมและทีมงานนิตยสารคนชอบเที่ยวไม่รอช้าเหยียบคันเร่งเพื่อเข้าสู่เมืองโบราณ เป้าหมายแรกที่เราจะไปเที่ยวชมก็คือ ตลาดโบราณซึ่งตลาดโบราณแห่งนี้สามารถสะท้อนเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนใน อดีตได้เป็นอย่างดี

มี การจำลองร้านค้าในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นร้านขายของชำ โรงฝิ่น บ่อน โรงโคมเขียว โรงมหรสพ เป็นต้น ผมเดินเที่ยวชมทั่วบริเวณของตลาดโบราณ เดินดูสินค้าอายุเก่าแก่มากมาย แต่ที่รู้สึกถูกใจมากที่สุดก็คือ ขนม ลูกอม ช็อกโกแลต ที่สมัยผมยังเป็นเด็กนั้นเป็นที่นิยมอย่างมากเรียกได้ว่าอุดหนุนกันเป็น ประจำเลย ผมเพลิดเพลินไปกับการเดินชมบ้านเรือนที่รอบบริเวณตลาดโบราณแห่งนี้ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากถนนสายเก่าแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก ผสมผสานกับสภาพบ้านเรือนร้านค้าที่ถนนในเมืองกำแพงเพชร โดยเมืองโบราณได้นำอาคารบ้านเรือนย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯแถบยานนาวามาปลูก สร้างขึ้น

ดัง นั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดเมื่อเราเข้าชมตลาดโบราณจึงให้ภาพความทรงจำ จากอดีตหวนคืนมาสู่ห้องสำนึกให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวา เมื่อชมวิถีชีวิตของตลาดโบราณอยู่สักครู่หนึ่ง ผมจึงออกเดินทางต่อเพราะยังมีอีกหลายสถานที่ที่อยากจะชม แต่ถ้าจะให้อธิบายให้ครบทุกที่นั้นผมว่าคุณผู้อ่านคงจะหลับก่อนอ่านจบแน่เลย ครับ เอาเป็นว่าผมจะเลือกสถานที่สำคัญๆ ออกมาบรรยายให้ท่านผู้อ่านฟังก็แล้วกันนะครับ ห่างจากตลาดโบราณไปไม่ไกลนัก ภาพหอพระไตรปิฎกตั้งอยู่กลางสระน้ำสร้างความสนใจให้กับผมไม่น้อยเลยทีเดียว เลยต้องขอแวะชมดูเสียหน่อย เดิมทีหอพระไตรปิฎกหลังนี้อยู่ที่วัดใหญ่ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรปราการ สาเหตุที่ต้องสร้างกลางสระน้ำนั้นเกิดขึ้นจากความเชื่อของคนสมัยก่อนที่ต้อง การเก็บพระไตรปิฎกให้พ้นจาก มด ปลวก และไฟ

ลักษณะ ทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานกันว่าน่าจะเลียนแบบมาจากสมัยอยุธยา ที่ผนังด้านนอกนั้นมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวปิดทองแต่ในปัจจุบันลบเลือนไปหมดแล้ว เช่นเดียวกับสภาพความทรุดโทรมของหอพระไตรปิฎกในครั้งแรกที่พบด้วยเหตุนี้ เองทางเมืองโบราณจึงได้ขอผาติกรรมมาสร้างไว้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป
จาก หอพระไตรปิฏก เราออกเดินทางกันต่อแบบไม่เร่งรีบ ขับรถกินลมชมวิวไปเรื่อยๆ ชมความสวยงามของภูมิทัศน์ทั้งสองข้างทาง วันนี้อากาศค่อนข้างจะร้อนแต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเที่ยวชมของเราอย่างแน่ นอน สถานที่ต่อไปที่เราจะเข้าไปชม หากเอ่ยชื่อพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทหลายท่านคงจะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทที่ประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวังนั้นสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2332 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นปราสาททรงจตุรมุข สูงใหญ่เท่ากับพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์มรสมัยพระนครศรีอยุธยา พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนั้นเป็นท้องพระโรงว่าราชการ เป็นที่ประทับและที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญๆ ของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอินทราภิเษก ซึ่งต้องอสุนีบาตไฟไหม้ทั้งหลัง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นปราสาททรงไทยแห่งเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่ใน ประเทศไทย
ครั้น เมื่อรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะทั้งหลังทำให้ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 1 ลบหายไปเสียหมด เพราะพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นพระที่นั่งที่มีประวัติความเป็นมาอันยาว นานและงดงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งทางเมืองโบราณจึงให้ความสนใจที่จะสร้างพระที่ นั่งดุสิตมหาปราสาทแต่ย่อส่วนลงมาจำลองไว้ที่เมืองโบราณนั่นเอง เมื่อวางแผนโครงการที่จะสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้วทางทีมงานจึง เริ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูล รวบรวมหลักฐานจากทั้งรูปภาพ จดหมายเหตุพงศาวดาร ประวัติศาสตร์และโบราณคดี พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทของทางเมืองโบราณนั้นได้เพิ่มเสาหานรับยอดกลาง ปราสาท ซึ่งเสาหานนี้ถูกตัดออกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 สีสันและลวดลายประดับเสาใช้แบบจากฐานพระนอน วัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ ลักษณะเพดานและการประดับตกแต่งได้แบบอย่างมาจากไม้แกะในพิพิธภัณฑ์เอกชน ลักษณะเรือนแก้วได้มาจากหลักฐานทางภาพถ่ายปราสาทโบราณ ส่วนภาพเขียนลายรดน้ำระหว่างช่องหน้าต่างนั้นได้แบบอย่างมาจากวัดนางนอง วัดโบราณในเขตธนบุรี โดยเขียนถึงเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5 สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในซึ่งเป็นภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นทางเมืองโบราณได้เปลี่ยนเป็นมาเป็นการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระราช กรณียะกิจของ รัชกาลที่ 1 ว่าด้วยการปกครอง การศาสนา การสงคราม และการติดต่อกับต่างประเทศพอสังเขป ศิลปะการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของที่เมืองโบราณนั้นเขียนด้วยวิธีโบราณ เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการเขียนแบบดั้งเดิมเพราะวิธีการเขียนภาพเช่นนี้ไม่ค่อย มีผู้เขียนนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา นอกจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว ทางเมืองโบราณแห่งนี้ยังมีสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของเมือง โบราณบอกกับเราไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าชมแล้วว่าต้องมาชมให้ได้เพราะหาชมที่ไหน ไม่ได้แล้ว สถานที่ดังกล่าวคือ “พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเท่าใดนัก พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทแห่งนี้เกิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลก นาถ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยเลี่ยงการใช้สถาปัตยกรรมของขอมและไทยเหนือ ดังนั้นพระที่นั่งองค์นี้จึงเป็นที่รวมความเป็นเอกลักษณ์ของอยุธยาเข้าไว้ ด้วยกัน ตั้งแต่ ฐาน เสา ลวดลายประดับ ซุ้มพระทวาร พระบัญชร หลังคาและเครื่องยอด พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีและรับแขกบ้านแขกเมือง ของพระมหากษัตริย์ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301) ได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 พ.ศ.2310 พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทแห่งนี้ถูกพม่าเอาไฟเผาทิ้งทั้งองค์คงเหลือไว้ แต่เพียงซาก

และ สาเหตุที่ผมได้บอกว่าหาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้วนั้นก็เพราะในปัจจุบันพระที่ นั่งสรรเพชญปราสาทนั้นคงเหลือไว้แต่เพียงชื่อกับหลักฐานทางเอกสารเท่านั้น และด้วยเหตุผลนี้เองทางเมืองโบราณจึงได้สร้างพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทขึ้น โดยเริ่มค้นคว้าจากหลักฐานดั้งเดิมที่มีอยู่ทั้งของไทยและต่างชาติมากำหนด เป็นผังขึ้น จากนั้นจึงหาหลักฐานจากภาพเขียนไม้สลักและโบราณวัตถุสมัยอยุธยาที่มีทรวด ทรงคล้ายคลึงกันประกอบกับหลักฐานจากเอกสาร เช่น จดหมายเหตุ ตำนานพงศาวดาร เป็นต้น เมื่อสอบค้นลักษณะภายในของพระมหาปราสาทพร้อมทั้งตรวจสอบหลักฐานและข้อมูล ทุกสิ่งทุกอย่างโดยเชื่อมั่นว่าใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้วจึงเริ่มหาลาย ประดับต่างๆ สมัยอยุธยาที่เหมาะสมกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของปราสาทในขั้นต่อไป ได้แก่ การประดับตกแต่งภายนอก แผนผัง ขององค์มหาปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มุขหน้า-หลัง ยาวทำเป็นสีหบัญชร มุขหน้าสำหรับฝ่ายหน้า มุขหลังสำหรับภายใน มุมซ้าย-ขวา สั้นพระที่นั่งเป็นฐานโค้งตกท้องช้างเป็นฐานปัทม์(บัว) โครงสร้างเครื่องยอดหลังคา ได้รูปแบบโดยรวมเครื่องยอดหลังคาของสังเค็ดไม้ในวิหารวัดพระพุทธชินราช พิษณุโลก


7197267
ส่วน หลังคาดีบุก ได้แบบจากหลังคาพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ ในพระบรมมหาราชวัง และเครื่องหลังคาส่วนนอกนับแต่ นภศูล ปลียอด ปราสาทเหม สามชั้น กลุ่มลูกแก้ว เชิงกลอนซ้อนเจ็ดชั้น บันแถลงนาคปรกบราลี อกไก่ ใบระกา นาคสะดุ้ง ดอกจอก ล้วนหุ้มด้วยดีบุกทั้งสิ้นช่อฟ้าและใบระกาได้แบบมาจากวัดโพธิ์ กรุงเทพฯ ทวย ได้แบบมาจาก วัดศาลาปูน อยุธยา ซุ้มปูนปั้นบนหน้าบันปราสาท ได้แบบมาจากวัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี บานประตูหน้าต่าง บันแถลง และองค์มณฑป ได้แบบมาจากวัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี และวิหารหลวง วัดมหาธาตุ นครศรีธรรมราช ลายปูนปั้นประดับปรางค์วัดจุฬามณี พิษณุโลก ซึ่งเป็นศิลปะสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ลายปูนปั้นประดับฐานปราสาทได้แบบมาจากวัดสระบัว เพชรบุรี สิงห์ ที่ประดับหน้าบันไดทางเข้าถอดแบบมาจากวัดธรรมิกราช อยุธยา การประดับตกแต่งภายใน นั้นผนังด้านใน เป็นลายปูนปั้นลงรักปิดทองประดับกระจก ได้แบบมาจากวัดนางพญา เมืองศรีสัชนาลัย มีเสาสี่ต้นลงรักปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกัน เพดาน ปราสาทได้แบบอย่างมาจากไม้สลัก ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุโขทัย ดาวประดับเพดานได้แบบอย่างมาจากวัดมหาธาตุเชลียง สุโขทัยและวัดหน้าพระเมรุ อยุธยา พระที่นั่งองค์กลางมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องนารายณ์สิบปาง ตามที่ปรากฏหลักฐานจากหนังสือ หอวัง ซึ่งเป็นเอกสารสมัยอยุธยาได้ระบุไว้ และ ณ ที่นี้เคยใช้เป็นที่ตั้งพระแท่นบรรยงค์สามชั้นหุ้มทองคำ ประดับพลอยนวรัตน์ (แต่พม่าขนไปอังวะเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310) ความสำคัญของพระที่นั่งองค์นี้เคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีพระบรมราชาภิเษก หรือรับราชทูตสำคัญๆ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น ครั้งราชทูต เชอร์วาเลีย เดอโชมองด์ เชิญพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสและลาลูแบร์เชิญเข้ามาอีกเป็นคำรบสอง นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้จำลองแบบมาสร้างเป็นพระที่นั่งอินทราภิเษก
แต่ ต้องอสุนีบาตเกิดเพลิงไหม้ จึงได้สร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นแทน และที่พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงใช้เป็นที่รับรองสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบทที่ 2 และพระราชสวามี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ซึ่งในวันนี้ได้ถือเป็นศิริมงคลและเสมอเป็นวันเปิดเมืองโบราณต่อสาธารณชน อย่างเป็นทางการด้วย ในครั้งแรกที่มองพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท นั้นผมมองว่าเครื่องยอดหลังคาทั้งหมดของพระที่นั่งองค์นี้สวยงามจริงๆประกอบ กับลายซุ้มปูนปั้นต่างๆแล้วดูลงตัวดีทีเดียว


ยิ่ง ได้เข้าไปชมศิลปะภายในพระที่นั่งด้วยแล้วยิ่งรู้สึกได้ถึงความอลังการ ประหนึ่งว่าผมได้เข้ามาภายในพระที่นั่งองค์จริงเลยก็ว่าได้ ผมอดคิดที่จะเสียดายสถานที่สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ที่สวยงามหลายๆแห่งบ้างก็ โดนทำลาย บ้างก็ผุพังล้มหายไปตามกาลเวลา ผมใช้เวลาในการเดินชมภายในพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทอยู่นานพอสมควรเพราะมัว แต่ดื่มด่ำกับความสวยงามทางศิลปะของพระที่นั่งแห่งนี้ หลังจากเที่ยวชมจนอิ่มเอมใจแล้วผมและทีมงานจึงออกเดินทางต่อโดยเป้าหมายต่อ ไปเป็นการไปสักการะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมกัน ระยะทางจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทไปถึงมณฑปของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั้น ห่างกันพอสมควรแต่วิธีการไปไม่ยากครับมีจุดสังเกตคือเมื่อท่านขับรถผ่านพระ ปรางค์กลีบมะเฟืองไปไม่ไกลให้เลี้ยวซ้าย จะพบกับสะพานรุ้งที่มีสีสันสวยงาม

สร้าง ขึ้นตามความเชี่อที่ว่าถ้าผู้ใดได้ข้ามสะพานรุ้งแล้วจะพบโชคดี จากสะพานรุ้งผ่านเสาชิงช้า ถึงทางโค้งจะพบกับศาลาพระอรหันต์แล้วเลยไปไม่ถึงร้อยเมตรดีก็จะได้พบกับมณฑป ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแล้วครับ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมองค์นี้สร้างขึ้นจากการแกะสลัก ด้วยไม้ตะเคียนต้นเดียว เป็นปางแสดงเมตตาธรรม ที่เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวจีนและชาวไทยเชื้อจีนมานาน พระโพธิสัตว์คือสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงนามธรรมให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ อีกด้วย เพราะพระโพธิสัตว์นี้เป็นตัวแทนของคุณธรรมสองข้อของมนุษย์นั้นคือความเมตตา กรุณาและความยุติธรรมในความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรคือพระเทพแห่งเมตตาธรรมนับเป็นเทพที่มีความโดดเด่น มากที่สุด

เพราะ มีผู้นับถือกันอย่างแพร่หลาย จากอินเดียไปยังจีน ทิเบต ญี่ปุ่นและเกาหลีทั้งทางบกและทางทะเลภาพลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ทั่ว ไปคือ มีพระวรกายที่งดงามอ่อนโยน ทรงสังวาลเป็นรูปเนื้อทราย และพระพักตร์เศร้าเป็นนิจ พร้อมด้วยสายพระเนตรแสดงถึงความกรุณาห่วงใยมวลมนุษย์ เรียกพระโพธิสัตว์องค์นี้ว่า “กวนอิม” หลังสมัยราชวงศ์ถังลงมาได้เกิดตำนานเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิมขึ้น จึงทำให้มีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์องค์นี้เป็นสตรีไปและปัจจุบันคนส่วนใหญ่ รู้จักว่า “เจ้าแม่กวนอิม” หลังจากที่ผมสักการะเจ้าแม่กวนอิมเสร็จแล้วจึงเดินทางมาชมความสวยงามของพระ โพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปางแสดงปาฏิหาริย์ที่ตั้งอยู่กลางน้ำใกล้กันกับที่ผม สักการเจ้าแม่กวนอิมนั้นเอง


สำหรับ พระโพธิสัตว์องค์นี้เป็นอีกภาคหนึ่งของท่านโดยสื่อความหมายถึงการรักษาพระ พุทธศาสนาหรืออีกนัยหนึ่งคือการรักษาความยุติธรรม แม้จะต้องใช้พระเดชานนุภาพปราบปรามฝ่ายอธรรมที่มาย่ำยีโลกและมวลมนุษย์ด้วย การแสดงปาฏิหาริย์ที่สร้างความสะพรึงกลัวให้ปรากฏแก่หมู่มารทั้งหลาย จากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร


เรา ย้อนกลับออกมาเพื่อที่จะไปชมวัดจองคำวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง วัดจองคำแห่งนี้มีประวัติค่อนข้างหน้าสนใจคือวัดจองคำเดิมเป็นวัดของชาวไทย ใหญ่เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารไม้สักทั้งหลังดูสวยงามและโดดเด่นอีกทั้งเป็นโคลงสร้างของวัดไทย ใหญ่ที่ทำด้วยไม้สักทั้งหลังเป็นวัดที่รวมวิหาร ศาลา และ กุฏิ อยู่ในที่เดียวกันทั้งหมดหลังคาเป็นชั้นซ้อนเป็นทรงสูงต่อด้วยยอดหอทรงแปลก ฝีมือช่างสลักไม้แสดงความองอาจในฝีมือชาวไทยภาคเหนือโดยเฉพาะทั้งการซ้อน หลังคาและการจัดจังหวะช่องไฟของลวดลายตกแต่งก็มีความวิจิตรงดงามอย่างลงตัว วัดจองคำแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ตามแบบพุกามประเทศอันหาดูได้ยาก ครั้งแรกที่ทางทีมงานของเมืองโบราณไปพบวัดจองคำแห่งนี้อยู่ในสถานที่โย้เย้ ทรุดโทรมใกล้จะพัง พอสอบถามก็จะได้ความว่าไม่มีใครสนใจจะบูรณะเพราะกำลังเงินของคณะศรัทธาไม่ เพียงพอ ทางคุณเล็กจึงขอทำการผาติกรรมเพื่อมาเก็บไว้ที่เมืองโบราณซึ่งทางผู้ดูแลก็ ยินยอม แต่เมื่อเมืองโบราณส่งทีมงานขึ้นไปทำผังและเคลื่อนย้ายก็ถูกต่อต้านโดยคน ท้องถิ่นซึ่งอ้างว่าจะทำการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์เอง ทางคุณเล็กก็ไม่ได้ติดใจแต่กลับพึงพอใจที่เห็นคนท้องถิ่นเห็นคุณค่าที่จะ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของพวกตนเองไว้ แต่เมื่อผ่านไปสองปีทางวัดก็แจ้งกลับมาว่าไม่มีการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์ใดตาม ที่ได้ตกลงกันไว้อีกทั้งอาคารวัดก็อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมจนซ่อมไม่ได้จึงขอ ให้ทางเมืองโบราณช่วยไปผาติกรรมไว้ที่เมืองโบราณทางคุณเล็กก็ตกลงแล้ว ผาติกรรมอาคารเก่าวัดจองคำอย่างพอเพียงกับท้องถิ่นที่จะได้สร้างอาคารใหม่ ส่วนอาคารของวัดจองคำที่ได้มานั้นสามารถใช้งานจริงได้เพียง 20% เท่านั้นเอง

กว่า จะซ่อมแซมทุกอย่างได้ลงตัวก็เสียค่าใช้จ่ายเยอะพอสมควรเลยที่เดียวแต่สิ่ง ที่เป็นที่เป็นความน่ายินดีและภูมิใจมากกว่านั้นคือ หลังจากที่บูรณะ วัดจองคำไว้ที่เมืองโบราณเรียบร้อยแล้วนั้น ก็ได้มีพระและชาวบ้านจากท้องถิ่นเมืองงาวมาเที่ยวชมเมืองโบราณพอเห็นและดีใจ ที่อาคารวัดจองคำได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดีสิ่งที่ถือเป็นเสน่ห์ของวัด จองคำที่ผมประทับใจคือภาพภายในวัดที่มีเขตพุทธาวาสและสังฆวาสเชื่อมต่อกัน ในอาคารหลังเดียวกัน ไม่ได้แยกส่วนเช่นในวัดไทยภาคกลางเพราะเป็นวัดของชุมชนที่มีพระน้อยรูปและ เป็นหน้าที่ของชาวบ้านที่ต้องช่วยกันดูแลทั้งพระและวัดในเวลาเดียวกันซึ่ง สร้างความสามัคคีในหมู่ชาวบ้านด้วยกันเอง
จากวัด จองคำผมจะพาท่านไปเที่ยวชมอีกสถานที่น่าสนใจไม่แพ้กันกับวัดจองคำคือวิหาร เชียงของจังหวัดเชียงรายวิหารหลังนี้เมืองโบราณได้ทำการขอผาติกรรมมาจากวัด เชียงของ อ.เชียงของจังหวัดเชียงราย ( ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตจังหวัดพะเยา) วิหารเชียงของนี้เป็นอาคารไม้ที่เก่าแก่ของท้องถิ่นซึ่งนับวันจะหาดูไม่ได้ อีกแล้ว เป็นอาคารโถงขนาดใหญ่ดูแบบบางแต่มั่นคงสร้างขึ้นโดยวิธีการเข้าลิ่มเข้า เดือยโดยไม่ใช้ตะปูเลยทั้งหลัง ซึ่งหาดูได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้ดังจะเห็นได้จากการใช้คานไม้ล้อมเสาวิหาร ทุกต้นไว้ด้วยกันในตอนบน ซึ่งทำให้อาคารตั้งอยู่ได้โดยปลอดภัยแม้ว่าโคนเสาเบื้องล่างจะขาดคอดิน เนื่องจากการผุกร่อนก็ตามการมุงหลังคาด้วยกระเบื้องไม้ก็ใช้ขอไม้เกี่ยวเกาะ กับไม่ระแนงที่ทำจากต้นหมาก วิหารหลังนี้ใหญ่โตโปร่งสบายแต่มีความโดดเด่นและสวยงาม

วัด ไทยทางเหนือแต่โบราณทั้งสุโขทัยและล้านนาให้ความสำคัญแก่วิหารมากกว่าโบสถ์ เพราะว่าวิหารมักเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ผู้คนมาทำบุญกราบ ไว้ และประกอบพิธีกรรมได้ทุกเวลา เนื่องจากได้ชมความสวยงามพระวิหารของวัดเชียงแล้วทัศนียภาพด้านนอกก็ร่ม รื่นมีสัตว์น่ารักที่เมืองโบราณเอามาปล่อยไว้ด้วยเช่น กวาง และกระจง เป็นต้น มีอยู่หลายตัวบ้างก็เชื่องมากแต่ขอเตือนไว้นะครับว่าถ้าไม่แน่ใจอย่าไปใกล้ เขามากนักเพราะถึงอย่างไรกวางก็ยังมีสัญชาติญาณความเป็นสัตว์ป่าหลงเหลือ อยู่หากไปจับมันตอนมันกำลังตื่นคนมันอาจจะทำร้ายได้นะครับ สำหรับผู้ที่ขับรถยนต์ข้ามาเที่ยวชมอย่างพวกเราทีมงานก็ใช้ความระมัดระวัง นิดนึงนะครับ
ปราสาทพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษคือสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ผมขอแนะนำให้ท่านมาเที่ยวชมหากมา เยือนเมืองโบราณแห่งนี้ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดเขาพระวิหารในเทือกเขาพนมดงรักซึ่งกั้นเขตแดน ไทย-กัมพูชาในเขตจังหวัดศรีสะเกษ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งเขมร เมื่อประมาณ พ.ศ. 1581 ลักษณะสถาปัตยกรรมเริ่มตั้งแต่ทางลาดต่ำเชิงเขาเป็นทิวขึ้นไปจนถึงสุดผาชัน มีปราสาทตั้งเรียงรายอยู่สี่ระดับ ทำเป็นอาคารหลังคาทรงจั่ว ไม่มีเรือนยอดอย่างปราสาท ลักษณะเช่นนี้ควรเรียกว่า เป้ยตาดี

ปัจจุบัน นี้เขาพระวิหารอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศกัมพูชา โดยสภาพภูมิศาสตร์ปราสาทพระวิหารเป็นของคนไทย เพราะสร้างอยู่บนยอดเขาที่มีลำน้ำลำห้วยไหลลงสู่แม่น้ำมูลในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ทำให้คนที่อยู่ในภูมิภาคนี้เดินขึ้นลงไปประกอบพิธีกรรมได้อย่างสะดวก ผิดกับพวกขอมในที่ราบเขมรต่ำต้องปีนป่ายขึ้นทางบันไดหักที่สูงชันขึ้นมาได้ เราขึ้นไปชมยังด้านบนมองลงมาเห็นวิวรอบๆ จากมุมสูงแล้วก็ให้นึกขอบคุณในความวิริยะ อุตสาหะของผู้มีส่วนร่วมในการรังสรรค์และสร้างเมืองโบราณแห่งนี้ขึ้นมาให้ เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทย เราชื่นชมทัศนียภาพจากมุมสูงแห่งนี้จนสมควรแก่เวลาจึงได้เดินลงมายังด้าน ล่างเพื่อเดินทางท่องเที่ยวต่อ
จากเมืองโบราณเราจะเดินทางไปเที่ยว กันต่อที่ มูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ 7 ถนนสุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง

เป็น ศาลเจ้าที่สวยงาม สถาปัตยกรรมเพียบพร้อมไปด้วย ศิลปะ วัฒนธรรมของชาวจีนโบราณ ฝีมือแกะสลักหินอันปราณีต เป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าขุนศึกที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวไต้หวัน 5 องค์ คือ เทพเจ้าตระกูลหลี่ เทพเจ้าตระกูลฉือ เทพเจ้าตระกูลอู่ เทพเจ้าตระกูลจู และเทพเจ้าตระกูลฟ่าน ซึ่งเรียกชื่อรวมกันว่า "อู๋ฟุ่เซียนส้วย" (โหวงหวังเอี้ย) ภายในบริเวณศาลเจ้าสามารถชมภาพแกะสลักหินเขียว เกี่ยวกับเทพนิยายจีน และตะเกียงไม้ปิดทองคำซึ่งตกแต่งอยุ่บนฝ้าเพดาน

นอก จากนี้ยังมีศาลเจ้าแม่กวนอิมและเทพเจ้าองค์อื่นๆ เพื่อให้ประชาชนสักการะ เทพเจ้าตระกูลทั้ง 5 แต่สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวจะต้องชมและเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก คือ สิงโตคู่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แกะสลักจากหินหยกเขียว นำเข้าจากประเทศจีน สิงโตคู่ตามความเชื่อของชาวจีนถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคล มีสง่าราศี มองดูน่าเกรงขามยิ่งใหญ่เกรียงไกร


ซึ่ง สิงโตคู่ที่อยู่หน้าศาลของมูลนิธิธรรมกตัญญูได้ผ่านการปลุกเสก สวดมนต์คาถาศักดิ์สิทธ์โดยนักพรตผู้ปฏิบัติธรรมในลัทธิเต๋า มีคติความเชื่อว่า “สิงโตคู่อันศักดิ์สิทธิ์สามารถกำจัดสิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจ สิ่งอาถรรพ์ทั้งปวงได้ และเป็นวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมของจีนโบราณที่สืบทอดกันมานับพันปี” นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังจัดงานประจำปีหลายงาน เช่น วันตรุษจีน วันหยวนเชียว งานเทกระจาดประจำปี และวันเกิดเจ้าของแต่ละองค์ เป็นต้น

“โหง วหวังเอี๋ย” มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 1,480 กว่าปีของประเทศจีน ในสมัยปลายราชวงศ์สุย ช่วงต้นราชวงศ์ถัง เป็นยอดขุนพลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดีของกษัตริย์ “หลี่ซื่อหมิง” โดยทั้ง 5 ตระกูลได้จุดธูปสาบานเป็นพี่น้องต่างตระกูลแต่มีจิตผูกพันธ์และวิสัยทัศน์ ที่เหมือนกัน ทั้งห้ามีความสามารถทั้งบู๊และบุ๋น มีความรักชาติ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูกตเวที เปี่ยมด้วยคุณธรรมที่ล้ำเลิศเกื้อหนุนส่งเสริมให้ราชวงศ์ถังมีความเจริญ รุ่งเรืองยิ่งใหญ่ เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์และเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั้งปวง

นับ ย้อนหลังจากปัจจุบัน 300 กว่าปี (สมัยราชวงศ์หมิง ต้นราชวงศ์ชิง ของประเทศจีน) “โหงวหวังเอี้ย” ได้เสด็จทางเรือตามเจตนารมย์ของฟ้าดินเดินทางลงใต้จากมณฑลฮกเกี้ยนทรงเสด็จ ถึงเกาะหนานคุน ประเทศไต้หวันแห่งยุคปัจจุบัน สาธุชนมีความเลื่อมใสศรัทธา ได้ก่อตั้งเป็นศาลเจ้าขึ้นมากราบไหว้บูชาองค์เทพเจ้าทั้งห้า “โหงวหวังเอี้ย” เสด็จมาเป็นผู้ตรวจการแห่งเทพเจ้าขึ้นเหนือล่องใต้ปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้ง ปวง ส่งเสริมช่วยเหลือคนที่สรรสร้างแต่คุณงามความดี

ประดิษฐาน อยู่ ณ หมู่เกาะไต้หวัน ทรงพระเมตตากรุณาต่อหมู่ชนทั้งปวงตั้งแต่ก่อตั้งเป็นศาลเจ้าเคารพบูชามีผู้ คนเลื่อมใสศรัทธามากขึ้นทุกวัน เกียรติศักดิ์เลื่องลือไปถึงแดนไกลทำให้ผู้คนใฝ่ดีแสวงบุญทั้งปวงต่างเดิน ทางมากราบไหว้บูชา ทำการบนบานศาลกล่าวมาเป็นระยะเวลานานถึง 300 กว่าปี มหาบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่แพร่กระจายไปทุกสารทิศ เฉพาะในหมู่เกาะไต้หวันมีสาขาของศาลเจ้าแห่งนี้มากถึง 7,500 แห่ง เกียรติศักดิ์เลื่องลือขยายกระจายไปสู่แดนไกลอย่างไม่ขาดสาย

การ เดินทางใช้เส้นทางถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 33 อยู่ห่างจากเมืองโบราณประมาณ 1 กม. และจากถนนสุขุมวิทเข้าไปประมาณ 2 กม. เปิดให้เข้าชมและสักการะทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2323 3120-5
จากมูลนิธิธรรมกตัญูเราข้ามฝั่งมารับประทานอาหารเย็นกันที่ร้านอาหารนายหมา ซึ่งมีเมนูเด็ดเปนอาหารทะเลสดๆ


อย่าง ปูผัดผงกะหรี่ ปลากะพงนึ่งมะนาว และเมนูที่หาทานยากอย่าง กั้ง ที่ท่านสามารถเลือกสั่งได้ว่าจะทอดหรือจะผัด สักพักอาหารทะเลก็ทะยอยเสริฟ์มาจนเต็มโต๊ะจนลานตา ทำเอาทีมงานอึ้งไปถนัด เพราะแต่ละเมนูที่เสริฟ์มาล้วนน่าทาน เป็นอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวและนักชิมที่อยากมาลองชิมเมนูเด็ดของร้าอาหารนายหมา สำรองโต๊ะได้ที่ โทร. 0 2709 1118-9 หรือโทรศัพท์มือถือ 081 7539732 ประสบการณ์กว่าสามสิบปีรับประกันความอร่อย
ค่ำนี้เราเลือกพักที่ ค่ายริมขอบฟ้าเมืองโบราณ ซึ่งเป็นกิจการในกลุ่มเมืองโบราณ ซึ่งได้จัดสร้าง“ค่ายริมขอบฟ้า”ในบริเวณเดียวกันกับที่เราได้เข้าชมและท่อง เที่ยวเมื่อเช้านี้
ที่ ค่ายริมขอบฟ้านอกจากจะให้บริการด้านการออกค่ายแล้วยังให้บริการห้อง ประชุม-สถานที่จัดเลี้ยง พร้อมอุปกรณ์ อำนวยความสะดวก ต่างๆ อาทิ ห้องพักสำหรับ ผู้เข้าสัมมนา ทั้งแบบห้องพักคู่และ ห้องพักรวม, หอวัฒนธรรมริมขอบฟ้า แหล่งรวบรวมข้อมูล ทางสังคม-วัฒนธรรม โดยการสนับสนุนของมูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และหอประชุม ขนาด 600 ที่นั่ง เป็นต้น เพื่อรองรับกิจกรรมอันหลากหลายตามความต้องการใช้สถานที่ของผู้มาเยือน รวมไปถึง ฐานกิจกรรม ท่ามกลางสิ่งปลูกสร้างและสวนขนาดใหญ่ของเมืองโบราณ ที่พร้อมบริการ จัดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อการสร้างความคุ้นเคยและ การทำงานเป็นทีมของกลุ่มบุคคล ที่เข้าร่วมกิจกรรม สนใจมาใช้บริการก็ติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 0 2323 4094-99 แฟกซ์ : 0 2323 4055 หรือที่เว็บไซต์ :http://www.ancientcity.com
เรา เข้าเก็บสัมภาระส่วนตัวกันที่ ค่ายริมขอบฟ้าเมืองโบราณ และพักผ่อนตามอัธยาศัยเย็นนี้เรามีนัดที่ภัตตาคารชมทะเล(ง้วนเฮง) เราจึงขอปลีกเวลาพักผ่อนเพื่อรอให้แดดร่มลมตกใกล้เวลานัดแล้วค่อยออกเดินทาง ก็ยังทันเพราะภัตตาคารชมทะเล(ง้วนเฮง)อยู่ไม่ไกลจากค่ายริมขอบฟ้ามากนัก เรียกได้ว่าอยู่เยื้องๆ กับเมืองโบราณเพียงยูเทรินรถที่บริเวณ กม 35 ก่อนถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปูเมื่อกลับรถแล้วก็สังเกตซอยเทศบาลบางปู 94 เข้าไปสุดซอยท่านก็จะเห็นภัตตาคารชมทะเล อยู่ทางด้านซ้ายมือ สังเกตเห็นได้ชัดเจน ที่ภัตตาคารชมทะเลแห่งนี้นับว่าเป็นภัตตาคารที่สร้างจากไม้ยางพาราทั้ง หลังใหญ่ที่สุดในประเทศก็ว่าได้ เมื่อได้เวลากะว่าเดินทางไปถึงที่ภัตตาคารชมทะเลพอดีเวลานัดเราก็ออกเดิน ทางกัน ไม่ถึงสิบนาทีเราก็เดินทางมาถึงภัตตาคารชมทะเล จากภายนอกที่เราเห็นก็เรียกได้ว่าภัตตาคารชมทะเลเป็นภัตตาคารที่ตั้งอยู่ ในทำเลดีมาก ด้านข้างรับลมทะเลเย็นสบาย ได้บรรยากาศสายลมและเกลียวคลื่นดีแท้ เหมาะที่จะชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นริมทะเลอ่าวไทยแต่เมื่อเราได้ขึ้นไปชมที่ ห้องจัดเลี้ยงด้านบนก็ต้องแปลกใจเพราะการจัดและตกแต่งห้องจัดเลี้ยงได้สวย งามสไตล์ยุโรป
ต่าง จากมุมมองที่เห็นจากด้านนอกของตัวภัตตาคาร ที่ภัตตาคารชมทะเลแห่งนี้เหมาะที่จะเป็นสถานที่จัดเลี้ยง ประชุมสัมมนา และจัดงานแต่งงาน เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถรองรับการจัดงาน ตั้งแต่ 10 ท่าน จนถึง 800 ท่าน ส่วนห้องประชุมสัมมนาของทางภัตตาคารชมทะเล ก็สามารถรองรับกลุ่มประชุมสัมมนาขนาด 30-600 ท่าน
เมื่อได้เวลานัดซึ่งเป็นเวลาทานอาหารเย็นพอดี เมนูอาหารค่ำวันนี้มีหลากหลายจนลานตา ถึงแม้ว่าเราจะอิ่มหนำมาจาก

ร้าน อาหารนายหมามาเมื่อมื้อกลางวัน แต่เมนูที่ทยอยมา ทั้ง ปลากะพงชมทะเล กุ้งทอดครีมสลัด และเมนูอื่นๆ ที่ยกมาวางก็ไม่ต้องถามชื่อกันละครับเพราะอร่อยจริงๆ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตบท้ายด้วยน้ำแตงโมรสชาติเยี่ยมเสียแล้ว นักชิมท่านใดอยากมาลองลิ้มชิมรสชาติที่ ภัตตาคารชมทะเล(ง้วนเฮง) สำรองโต๊ะจองเมนูอาหาร ได้ที่ โทร.0 2709 5774, 0 2710 6277-8
หลัง จากที่ได้คุยธุระจนสมควรแก่เวลาก็ได้เวลาปิดร้านพอดี เราจึงเดินทางกลับไปพักผ่อนที่ค่ายริมขอบฟ้า ค่ำนี้หลับสบายเพราะได้ลิ้มรสชาติอาหารอร่อย หลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ครับ
Day 6 สนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต-ตลาดน้ำโบราณวัดบางพลีใหญ่ใน-วัดบางพลีใหญ่กลาง
เช้า นี้เราออกเดินทางจากค่ายริมขอบฟ้า มายังสนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกันนัก ท่ามกลางความงดงามแห่งภูมิทัศน์ที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่น เนินสูงต่ำอันท้าทาย หลุมทรายที่ดักได้อย่างเหมาะสม ผสมผสานกับหมู่แมกไม้พฤกษาอันเขียวขจี สายลมเย็น แห่งท้องทะเลที่โบกพัด


ณ ที่แห่งนี้ สนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คุณจะได้รู้ถึงสัมผัสแห่ง ความสบาย และด้วยความท้าทายด้วยผลงานการออกแบบ บริหารและสร้างสรรค์อย่างพิถี พิถัน ด้วยฝีมือของสุดยอดโปรกอล์ฟระดับโลก 'อาร์โนลด์ พาล์มเมอร์' จุดเด่นของสนาม อยู่ที่แรงลม เนื่องจากอยู่ใกล้กับทะเล และทิศทางลมจะเปลี่ยนตามฤดูกาล ทำให้การเล่นกอล์ฟ มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น


รูป แบบของสนาม โดยรวม 70 % แฟร์เวย์จะค่อนข้างตรง 30%จะมี Dog Leg & Blind Shot แทรกด้วยบ่อทรายและอุปสรรคน้ำข้าง,อุปสรรคน้ำขวางได้ อย่างลงตัว ลักษณะกรีน มีทั้งยกขึ้นสูงกับยกขึ้นนิดหน่อย คละเคล้ากันไป ส่วนขนาดของกรีน จะไม่เล็กไม่ใหญ่ หลุม 4 พาร์ 3 แท่นทีออฟยาวและยกสูง จะมี บ่อทราย 5 บ่อ ดักอยู่รอบกรีน อีกทั้ง อุปสรรคน้ำด้านข้าง (ขวา) ลัดเลาะเกือบตลอดแนวจนถึงข้างกรีน หลุมนี้ วิธีการเล่นให้ได้สกอร์ดีๆ คือ ต้องเช็คแรงลม เพื่อเลือกเหล็กให้เหมาะสม (ฤดูหนาว จะตามลม, ส่วนหน้าร้อนกับหน้าฝน จะทวนลม) และควรจะเล็งเผื่อด้านซ้ายนิดหน่อย (ประมาณแนวขอบกรีน) เพื่อให้ลมหอบเข้ากลางกรีน หลุม 9 พาร์ 4 จากทีออฟ จะต้องวางตัวที่หน้าน้ำ ประมาณ 220-240 หลา หลุมนี้ หน้าหนาว จะทวนลม และหน้าร้อน,หน้าฝนจะตามลม มีอุปสรรคบ่อทรายกลางแฟร์เวย์ 3 บ่อ และ รอบกรีนอีก 4 บ่อ ช็อต 2 ต้องแม่นจริงๆ ถึงจะสามารถ ออนได้ ลักษณะกรีนหลุมนี้ กรีนจะยกสูง หน้ากรีนแคบ และลึก เป็น สองลอน ที่สำคัญคือ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านขวาของแฟร์เวย์เว้าเข้ามาหน้ากรีน กรีนฟี วันธรรมดา นักกอล์ฟทั่วไป 2,400 บาท วันเสาร์-อาทิตย์-นักขัตฤกษ์ นักกอล์ฟทั่วไป 2,400 บาท ค่าแค็ดดี้ 200 บาท/18 หลุม รถกอล์ฟ 700 บาท/18 หลุม
เรานั่งรถกอลฟ์ชมบริเวณรอบๆของสนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต พร้อมกับถ่ายรูปไปด้วย เท่าที่เราได้ชมก็ต้องยอมรับ ว่าเป็นสนามกลอฟ์ที่ท้าทายนักหวด มีความกว้างขางเหมาะที่จะมาออกรอบจริงๆ สำหรับนักกลอฟ์ที่อยากมาลองสนาม หาประสบการณ์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2324 0320-9 ต่อ 0, 200, 135 ส่วนท่านที่อยากสมัครสมาชิก สนามกอลฟ์ ที่สนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต ที่นี่คิดค่าสมาชิกในอัตรา 30 ปี เพียง 180,000 บาท คุ้มค่ามากครับ เรียกว่าออกรอบกันให้หายอยากกันไปเลย


อ้อ เกือบลืมไป ที่สนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต ใช่ว่าจะมีเพียงส่วนของ สนามกอลฟ์เท่านั้น นักกลอฟ์ยังสามารถมาพักผ่อนออกกำลังการที่สปอร์ตคอมเพลค ได้อีกด้วย ที่นี่มีให้บริการทั้งกีฬา เทนนิส แบดมินตั้น สคว๊อช ว่ายน้ำ และฟิสเนส ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย เหนื่อยจากการออกกำลังกาย หรือออกรอบ ก็สามารถเข้าไปพักผ่อนทานอาหารกันได้ที่ Lobby Loung ที่นี่มีเมนูสุขภาพบริการกว่า 130 รายการ ท่ามกลาง บรรยากาศที่เป็นส่วนตัว
จากสนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต เราจะเดินทางไปยังวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งที่นี่ มีตลาดน้ำโบราณเก่าแก่อายุกว่า 140 ปี ให้ได้ชมด้วย เพียงไม่นานจากสนามบางปู กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต เราก็เดินทางมาถึง วัดบางพลีใหญ่ใน เราไม่รอช้ารีบเดินเข้าไปสักการะหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งประดิษฐานอยู่ ในโบสถ์ของวัด วันนี้แม้จะไม่ใช่วันพิเศษ แต่นักท่องเที่ยวและสาธุชนที่เลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ก็เดินเข้าออกที่โบสถ์กันอย่างไม่ขาดสาย หลวงพ่อโตองค์นี้ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน
ซึ่ง เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสามพี่น้องที่ลอยน้ำมา คือหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร และหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ซึ่งในพระพุทธรูปสามพี่น้องนั้น หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน เป็น พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่หากจะเรียงลำดับแล้วต้อถือว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นองค์พี่ หลวงพ่อโสธรเป็น องค์กลาง และหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ในเป็นองค์น้องเล็ก ซึ่งนับจากเวลาที่อัญเชิญองค์พระขึ้นจากน้ำสำเร็จนั่นเอง วัดบางพลีใหญ่ในตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ตำบลบางพลีใหญ่ ซึ่งแต่เดิมชุมชนบริเวณนี้เป็นชุมชนใหญ่ที่มีความรุ่งเรืองมาก ถือว่าเป็นแหล่งค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในย่านนี้ จนมีการขยายชุมชนออกไปรอบๆ สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่าเมื่อครั้งยังเด็กถ้าได้ออกจากสวนมาที่ตลาดน้ำวัดบางพลีแห่งนี้ละ ก็ ตื่นเต้นจนแทบนอน ไม่หลับเลยทีเดียว เพราะที่นี่ถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับเป็นตลาดกลางซื้อขายสินค้าใน ปัจจุบันนั่งเอง เราออกเดินชมตลาดน้ำโบราณ ซึ่งตั้งอยู่หลังวัด ดูแล้วเป็นชุมชนเก่าแก่ย่อมๆ แห่งหนึ่งทีเดียว แม้ปัจจุบันจะถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไปบ้างตามสมัยนิยม แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของอดีตที่วันนี้หาชมได้ยากแล้วในละแวกนี้ จะมีก็เพียงตลาดคลองสวนร้อยปีเท่านั้นที่ยังคงถือได้ ว่าเป็นชุมชนดั้งเดิมเหมือนกับที่นี่ นอกนั้นก็ล้วนปิดตัวกันไปหมดแล้ว

ที่ นี่นอกจากจะมีขนมชั้น ร้านบุญศรี ที่ขึ้นชื่อลือชา และสินค้า OTOP ที่มีให้เลือกจนลานตาแล้ว หากนักท่องเที่ยวเดินข้ามสะพานไปยังฝั่งตรงข้ามหลังวัด จะพบกับชุมชนชาวจีน ที่ปัจจุบันนี้ยังคงวิถีชีวิตแบบเดิมๆให้ได้เห็นกันอยู่แม้จะเป็นชุมชนเล็กๆ ก็ตามที ที่ย่านนี้นักท่องเที่ยวที่เดินข้ามสะพานมา สามารถเลือกชิมขนมและของฝากจากฝีมือพ่อค้าแม่ขายในและแวกนี้ได้ เรามาสดุดตากับร้านทำทอง ที่ขึ้นป้ายว่า “ เล้า หลี เส็ง ร้านช่างทอง” ด้วยเครื่องมือดั้งเดิม เราขอเข้าไปชมกรรมวิธีทำทอง ซึ่งขอบอกว่าหาชมได้น้อยมากแล้วในปัจจุบัน ที่จะใช้เครื่องมือแบบโบราณมานั่งหลังขดหลังแข็งเคาะต๊อกๆ ขึ้นรูปเป็นชิ้นงานฝีมือปราณีตให้ได้ชมกัน


ถ้า ใครรักชอบ ฝีมือทำทองแบบโบราณก็มาติดต่อได้ที่นี่เลยครับ สนนราคาไม่แพงถ้าเทียบกับฝีมือ แต่ที่แน่นๆ ก็ต้องใจเย็นนิดนึงเพราะ มีพี่สาวแกเป็นผู้สืบทอดวิชาทำทองจากบรรพบุรุษเพียงคนเดียว นอกนั้นหันไปทำอาชีพอื่นกันหมด สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ เจ้หมวย โทร.0 2751 1678 โทรศัพท์มือถือ 081 5589492 ถ้าใครอยากจะมาชมที่ร้านก็สามารถมาได้ทางวัดบางพลีใหญ่ใน สอบถามเส้นทางได้จากแม่ค้าในละแวกนี้ได้ เพราะมีเจ้หมวยเปิดร้านทองเพียง เจ้าเดียว ส่วนท่านที่นำรถมาหากมาทางเส้นทางหลังวัดด้านห้างบิ๊กซี สาขาบางพลี ก็สามารถจอดรถที่ห้างบิ๊กซี สาขาบางพลี แล้วเดินข้ามฟากมายังชุมชนหลังวัดบางพลีใหญ่ในได้โดยเดินเลี้ยวขวามา ร้านทองเจ้หมวยจะอยู่ด้านซ้ายมือ สังเกตุง่ายๆ จะมีเครื่องไม้เครื่องมือและเครื่องใช้ไม้สอยทำทองจัดวางอยุ่ในตัวร้าน ทั้งเครื่องกรอฟัน (ช่างทองโบราณรับทำฟันด้วย) มีเพียงร้านเดียวหาง่ายครับ ถ้าใครเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินเที่ยวข้างร้าเจ้หมวยมีบริการนวดแผนโบราณ และร้านอาหารสามารถนั่งพักผ่อนรับลมเย็นๆ จากคลองบางพลีได้นะครับ

จากวัด บางพลีใหญ่ในเราออกเดินทางต่อมายัง วัดบางพลีใหญ่กลาง แต่เดิมวัดแห่งนี้รู้จักกัน ในนามว่า “วัดกลาง” ที่วัดบางพลีใหญ่กลางแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน สมเด็จพระศากยะมุนีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีความยาวจากพระเกศถึงพระบาท 53 เมตร


ภายใน แบ่งเป็น ชั้นๆ มีห้องปฎิบัติธรรม และมีภาพวาดเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ และเรื่องราวเกี่ยวกับ นรกสวรรค์ ชั้นบนสุด ณ ตำแหน่ง พระอุระขององค์พระมีห้องหัวใจพระ ซึ่งมีชาวบ้านมาปิดทองขอพร ให้มีสุขภาพดี มีความเชื่อกันว่าถ้าอยากให้สุขภาพ ภายในร่างกายดีตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต ม้าม หัวใจ ก็ปิดทองบริเวณนั้นขององค์พระ แล้วสวดมนตร์ขอพรก็จะ ประสบผลดั่งที่หวังไว้ หลังจากที่เราสักการะพระพุทธไสยาสน์แล้วเราก็เดินอ้อมมาทางด้านหลัง ขององค์พระจะมีประตู เป็นทางขึ้นสู่ภายในด้านบนขององค์พระ


หลัง จากที่เราเดินชมภาพวาดในแต่ละชั้นแล้วเราก็มาเดิน ขึ้นมาสุดทางที่ห้อง หัวใจพระ วันนี้ออกจะมีสาธุชนมาปิดทองมากสักหน่อย เพราะเราต้องรอเข้าคิวกันที่บันไดทางขึ้นกว่า ที่เราจะได้เดินขึ้นไป ปิดทองก็ต้องรอเกือบครึ่งชั่วโมง เท่าที่เราได้เห็นไม่ใช่เพียงมีการปิดทองที่หัวใจเพียงอย่างเดียวส่วนอื่นๆ ภายในขององค์พระ ก็มีการถูกปิดทองเช่นเดียวกัน

ที่ สังเกตุเห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งคือแต่ละคนที่ปิดทองเสร็จแล้วต่างมีสีหน้า ที่อิ่มเอิบออกมา สงสัยจะเป็นด้วยอานิสงค์ผลบุญเป็นแน่ทีเดียว นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมายังวัดบางพลีใหญ่กลาง สามารถใช้เส้นทาง ถนน บางนา-ตราด มุ่งหน้าไปยังจังหวัดชลบุรี เมื่อถึง กม.ที่ 12 ก็ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้าย เข้าถนน บางพลี-กิ่งแก้ว ประมาณ 3 กม. แล้วเลี้ยวว้ายไปตามป้ายบอกทางไปอีกประมาณ 3 กม. ก็จะถึง วัดบางพลีใหญ่กลาง สังเกตุรั้ววัด ได้ชัดเจนครับ ส่วนท่านที่เดินทางมาทางด้านวัดบางพลีใหญ่ใน ก็วิ่งมาตามทางได้เลย มีป้ายบอกทางเรียบร้อย
จากวัดบางพลีใหญ่กลาง เย็นนี้เราจะเข้าพักที่โรงแรมแกรนด์ อินคำ

ซึ่ง ที่นี่ถือว่าเป็นโรงแรมระดับมาตราฐานแห่งหนึ่ง ของจังหวัดสมุทรปราการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ ที่สำคัญของจังหวัดและใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้มีนักท่องเที่ยว นักธุรกิจชาวต่างชาติและบริษัททัวร์นิยมมาใช้บริการกันมาก เนื่องจากสะดวกในการเดินทาง ท่องเที่ยว ทั้งในตัวจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดใกล้เคียงทางภาคตะวันออก อย่าง ชลบุรี พัทยา และท่าเรือทางฝั่ง ตะวันออก โดยใช้เส้นทางด่วนมอเตอร์เวย์เป็นเส้นทางสายหลัก โรงแรมแกรนด์ อินคำ เพรียบพร้อมด้วยห้องพักหรูมีระดับ 143ห้องและห้องสูท ในราคา 2,200-2,400 บาท ตั้งแต่ Single Room จนถึง Suite Room
เรา เดินทางมาถึงโรงแรมแกรนด์ อินคำ เอาเมื่อแดดร่มลมตก เข้าเช็คอินที่ฟอนท์เรียบร้อยแล้วก็ตรงรี่เข้าไปยังภัตตาคาร คริสตัล ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รอต้อนรับเราก็ได้เตรียมเมนูเด็ดไว้รับรองเราล่วงหน้า เรียบร้อยแล้ว ส่วนสัมภาระของเราไม่ต้องห่วง พนักงานของโรงแรมได้ส่งตรงขึ้นห้องพักอย่างหมดห่วงสบายใจไร้กังวล ที่ภัตตาคารคริสตัลในช่วงนี้มีการจัดเทศกาลต้มยำ ซึ่งเป็นช่วงโปรโมชั่นต้มยำและต้มข่าสารพันชนิด ทั้งต้มยำไก่มะขามอ่อน ต้มยำรวมมิตรทะเลน้ำ-แห้ง ต้มยำปลาช่อน-กุ้ง ต้มยำซี่โครงหมู ส่วนเมนูต้มข่าก็มีต้มข่าทะเล ต้มข่าไก่ ฯลฯ สนนราคาแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นอาหารภัตตาคาร เพราะคิดเพียง เมนูละ 80 บาทเท่านั้น
ส่วน เมนูอื่นๆ ตามสั่งประเภทอาหารยุโรปอย่างสเต็ก สลัด ก็มีให้บริการตามปกติ แต่จะเป็นอีกราคา ไม่ใช่ราคาโปรโมชั่นอย่างต้มยำ-ต้มข่า สำรองโต๊ะหรือติดต่อห้องพักได้ที่ โทร. 027388191-9 หลังจากที่อิ่มหนำสำราญไปกับเมนูต้มยำเคล้าเสียงเพลงจนหนังตาปรือแล้วเราก็ ขอตัวไปพักผ่อนกันก่อนเพราะเที่ยวมาทั้งวัน พรุ่งนี้ต้องตื่นแต่เช้า เรามีโปรแกรมสนุกๆ น่าสนใจรออยู่อีกมากทีเดียว ค่ำนี้ราตรีสวัสดิ์ครับ
Day 7 เที่ยวไปกับไทยรุ่งทัวร์-วัดมงคลโคธาวาส-เดอะกลาส
เสียง โทรศัพท์ มามอนิ่งคอล์เราตั้งแต่ฟ้าเพิ่งเริ่มสาง เช้านี้เรามีโปรแกรมเที่ยวไปกับ บริษัท ไทยรุ่งทัวร์ จำกัด ซึ่งเช้านี้คุณอาวุธ เจ้าของบริษัท ส่งรถมาอุ้ม เอ้ย! ไม่ใช่ มารับเราเราไปลงเรือท่องเที่ยวแต่เช้า โปรแกรมท่องเที่ยววันนี้ เราจะไปชมการทำประมงชายฝั่ง โดยเรืออวนลาก เนื่องจากเรามีนัดช่วงบ่าย เราจึงขอแค่ครึ่งโปรแกรมจากโปรแกรมเต็มวัน ที่ทาง บริษัท ไทยรุ่งทัวร์ จำกัด จัดขึ้น สำหรับโปรแกรมปกตินั้นทาง บริษัท ไทยรุ่งทัวร์ จำกัด จะมีการจัดแบบ หนึ่งวัน เที่ยวเกาะสีชัง ซึ่งจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวออกจากท่าเรือไทยรุ่งทัวร์ ที่คลองด่านไปชมการทำประมงชายฝั่ง การเลี้ยงหอยแมลงภู่ การทำโป๊ะ อวนลาก อวนลอย จากนั้นจะไปรับประทานอาหารเที่ยงบนเรือที่เกาะสีชัง แล้วขึ้นฝั่ง ไปชมพระราชวังบนเกาะสีชัง ซึ่งพระราชวังแห่งนี้เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ท่านได้โปรด ให้ทรงสร้างขึ้น ความสำคัญอีกประการหนึ่งของเกาะสีชังแห่งนี้คือ เคยเป็นที่ประทับครั้งเสด็จประพาสของพระมหากษัตริย์ ไทยถึงสามรัชกาล คือ รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 6 จากนั้นจะเดินทางขึ้นไปสักการะ เจ้าพ่อเขาใหญ่ และเข้าชม พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ชมวิวิช่องเขาขาด และปิดท้ายบนเกาะสีชังด้วยการช๊อปปิ้งของฝากของที่ระลึกตามอัธยาศัย ช่วงเย็น จะเดินทางออกจากเกาะสีชังพร้อมกับรับประทานอาหารเย็นบนเรือด้วยเมนูซีฟู๊ด สดๆ ทานไปชมวิวทะเลไป ก่อนจะเดิน ทางถึงท่าเรือไทยรุ่งทัวร์ คลองด่าน เวลาหกโมงเย็น สนนราคาโปรแกรมหนึ่งวัน เที่ยวเกาะสีชัง ราคา 1,200 บาท ต่อท่าน ซึ่งถือว่าไม่แพงเลยสำหรับเส้นทางนี้ ส่วนโปรแกรม สองวัน หนึ่งคืน เที่ยวเกาะสีชัง จะเป็นเส้นทางเดียวกันกับโปรแกรม หนึ่งวัน แต่ท่านจะได้พักบนเกาะสีชัง และช่วงค่ำจะมีโปรแกรมตกปลาหมึก ซึ่งโปรแกรมนี้จะเป็นโปรแกรมแบบสบายๆ เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่อยากจะใช้เวลาบนเกาะสีชังให้เต็มที่ นอกจากนี้ บริษัท ไทยรุ่งทัวร์ จำกัด ยังมีโปรแกรม ประจวบ-บ้านกรูด สองวัน หนึ่งคืน เที่ยวเกาะทะลุ ดำน้ำชมปะการังที่เกาะสังข์ ชมอุทยานประวัติศาสตร์หว้ากอ และชมความน่ารัก ของค่างแว่นถิ่นใต้ที่เขาล้อมหมวก โปรแกรมนี้ถ้าโชคดีท่านจะได้ชมลูกค่างแว่นถิ่นใต้ซึ่งมีขนสีทองเป็นที่แปลก ตา สำหรับ โปรแกรมนี้จะมีออกเดินทางทุกวันเสาร์ (นักท่องเที่ยว 10 ท่าน ขึ้นไป) หากเดินทางเป็นหมู่คณะสามารถเลือกวันเดินทาง ได้เอง สนนราคาท่านละ 2,990 บาท นอกจากเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือนี้แล้ว ทางบริษัท ไทยรุ่งทัวร์ จำกัด ยังมีโปรแกรม ใหม่ซึ่งเป็นที่นิยมเป้นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว ได้แก่โปรแกรม ราชบุรี-สวนผึ้ง จนทางบริษัทฯ ต้องเพิ่ม เที่ยวบิน เอ้ย! เที่ยวรถ ขึ้นเป็นพิเศษ สนใจสอบถามโปรแกรมทัวร์ ได้ที่ โทร. 0 2707 5599 โทรศัพท์มือถือ 089 0132567, 081 9266299 คุณอาวุธ จะคิดราคาให้เป็นพิเศษ อีกทั้งท่านยังได้รับ สิทธิพิเศษ เป็นโปรแกรมลดน้ำหนัก โดยเลือกได้ว่าจะว่ายน้ำตามเรือเส้นทาง คลองด่าน-เกาะสีชัง หรือจะวิ่งมาราธอน ตามรถ กรุงเทพฯ-ราชบุรี ให้เป็นพิเศษอีกด้วย (โปรแกรมลดน้ำหนักนี่ผมแถมให้เองนะครับไม่ต้องติดต่อผ่านบริษัทไทยรุ่ง) เข้าเรื่องอีกนิด ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ของทุกปี ทางบริษัท ไทยรุ่งทัวร์ จำกัด จะเพิ่มโปรแกรมนำชมปลาโลมา ที่ปากอ่าวแม่น้ำบางปะกงด้วย เผลอโม้นิดเดียวเรือก็พาพวกเรามาไกลเสียแล้ว หันหลังกลับไปเห็นแนวป่าโกงกางอยู่ลิบๆ ส่วนด้านข้างเรือทั้งซ้ายขวา มีโป๊ะกระจายเป็นหย่อมๆ เรือพาเรามาลอยลำอยู่กลางทะเลสักพักใหญ่ เรือก็หันหัวไปยังกลุ่มเรอืสองสามลำที่มองเห็นอยู่ ลิบๆ

ไต๋ เรือบอกกับเราว่านั่นเป็นเรืออวนลากกำลังลงอวนกันอยู่พอดี แต่เราต้องลอยลำอยู่ห่างๆ จนกว่าเรืออวนอีกลำจะวน กลับมาเกี่ยวอวนที่เรือลำแรก เราถึงจะขยับเข้าไปได้ใกล้อีกสักหน่อย จนยกอวนขึ้นเรือหมดแล้วเราถึงจะได้ชมผลงานจาก น้ำพักน้ำแรงเรืออวนลากอย่างเต็มตา ทีมงานไอดูทราเวลเลอร์ ถ่ายรูปไปลุ้นไปจนตัวโก่ง เพราะวิ๊นซ์ที่ลากอวนขึ้นมาทำท่า จะรับน้ำหนักไม่อยู้ ไต๋เรือบอกกับพวกเราว่าสงสัยเที่ยวนี้จะได้ปลามากพอดู แต่ถ้าจะให้แน่ต้องยกขึ้นมาจนเกือบจะถึง ก้นอวนนั่นแหละถึงจะรู้ สำหรับชาวเรืออวนลากแล้ว เขาจะนับน้ำหนักคร่าวๆของปลาที่ยกขึ้นมาได้เป็นข้อๆ พอวิ๊นซ์ลาก อวนขึ้นมาได้คนงานในเรือจะมัดเชือกที่อวนเหมือนกับมัดไส้กรอกเป็นเปาะๆ แล้วก็ค่อยๆลากผืนอวนขึ้นมาถ้าการลงอวน ครั้งไหนได้ปลา 2 เปาะขึ้นไปก็ถือว่าพอจะคุ้มค่าน้ำมัน ถ้าเกินกว่านี้ก็มีกำไรแน่ๆ แต่ถ้าได้เปาะเดียวเมื่อไหร่ก็ต้องเหนื่อย หาทำเลลงอวนกันใหม่ ทั้งนี้ต้องดูปลาที่ได้ด้วยส่วนใหญ่จะเป็นปลาเล็กปลาน้อยเสียมากกว่า

เกือบ ชั่วโมงถัดมาเราถึงนำเรือ เข้าเทียบเรืออวนได้ คิดว่าจะไม่ได้เทียบเรือเสียแล้วเพราะเชือกที่รัดอวนเกิดขาด เพราะรับน้ำหนักมากไป ทำให้เรืออวนลาก ต้องรีบหย่อนอวนกะเปาะแรกลงในท้องเรือเพื่อเคลียร์น้ำหนัก เพราะถ้ารอช้าปลาที่ยกขึ้นมาจะกลับไปรวมตัวกันที่ท้องอวน จะเป็นการยากที่จะยกขึ้นมาได้ต้องเริ่มมามัดกันใหม่ ดูแล้วเป็นการใช้แรงงานที่ต้องทำแข่งกับเวลาและต้องแก้ไขสถานการณ์ เฉพาะหน้าตลอดเวลา จนกว่าอวนจะถูกยกขึ้นมาทั้งผืนก็ใช่ว่างานจะจบเพราะคนงานบนเรือต้องรีบคัด แยกปลาทันที หลังจากที่เราเทียบเรือแล้วจากสายตาคร่าวๆ

ปลา ส่วนใหญ่จะเป็นปลาเล็กๆ อย่างปลาไส้ตันหลังแถบ ปลากะตัก เสียมาก แต่ก็มีปลาชายฝั่งชนิดอื่นอยู่บ้าง เช่น ปลากระทุงเหว ปลากะพงข้างเหลือง ปลาจะละเม็ดดำ ปลาดาบเงินใหญ่ ริวกิว โม่งลัง ที่เป็นทีเด็ดจนคนงานในเรืออวนต้องรีบคัดใส่ลังส่งขึ้นมาบนเรือที่เรายืน อยู่ พอเห็นชัดๆ ก็ต้องร้อง อ๋อ ปลากุเราสี่เส้น นี่เอง ปลาชนิดนี้มักจะไม่ค่อยเข้ามาติดอวนสักเท่าไหร่ ที่มีหลงมาบ้างก็น่าจะว่ายตามมากินปลาเล็กจนหลงเข้าอวน อย่างครั้งนี้ หลงติดอวนมาสี่ตัว แต่ละตัวยาวกว่าครึ่งเมตร ไต๋เรือบอกกับเราว่าปลาชนิดนี้ทำปลาเค็มสุดยอด อร่อยลืมปลาอื่นไปเลย อันนี้ผมขอยืนยันด้วยคน ถึงจะเคยลิ้มรสแต่ปลากุเราขนาดฟุตกว่าๆก็เถอะ ทอดให้เหลืองกินกับข้าวต้อมร้อนๆ อร่อยเหาะ เราชมการคัดแยกปลาอยู่พักใหญ่เรือก็ออกเดินเครื่องกลับเข้าฝั่ง นี่ขนาดยังไม่เต็มโปรแกรมยังทำเอาเราตื่นเต้นขนาดนี้ ครั้งหน้าต้องหาเวลาว่างมาเที่ยวชมอีกครั้งให้ได้ เกือบเที่ยงเรือก็พาเรามาเทียบฝั่ง หลังจากที่จอดเรือถ่ายรูปการเก็บหอย แมลงภู่ ที่คนงานต้องลงไปตัดตอไม้ที่ฝังอยู่ในดินเลนใต้น้ำขึ้นมาเพื่อขูดเอาหอย แมลงภู่ ที่เกาะอยู่ใส่ในเรือหางจนเกือบ เต็มลำ


ไต๋ เรือบอกกับเราว่าแต่ก่อนฟาร์มหอยแมลงภู่เก็บหอยกันทีวันละสี่ห้าเที่ยวยัง เก็บแทบไม่ทัน เดี๋ยวนี้น้ำเปลี่ยนไป ขนาดหอยก็ตัวเล็กลง ปริมาณก็น้อยลงไปด้วย ถ้าช่วงไหนน้ำดีก็พอมีกำรี้กำไร แต่ที่ชาวบ้านทำอยู่ก็แค่พอกินพอใช้ ไม่ได้กำไรมากเหมือนก่อน หลังจากขึ้นเรือมาได้สักพัก กินน้ำกินท่าพักจนหายเหนื่อยแล้วเราก็ขอตัว กราบลา คุณอาวุธ เพื่อออกเดินทางต่อ จากนี้เราจะเดินทางไปยังวัดมงคลโคธาวาส หรือมีชื่อเดิมที่คุ้นหูว่า “วัดบางเหี้ย”
 
เนื่อง จากพื้นที่บริเวณนี้แต่เดิมมี ตัวเงินตัวทองอาศัยอยู่มาก แม้แต่ตำบลก็ยังพลอยมีชื่อว่าตำบลบางเหี้ยไปด้วย มาเปลี่ยนชื่อวัดและชื่อตำบลเอาเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จมาประทับแรมที่ประตูน้ำคลองบางเหี้ย ตามที่ข้าราชการและราษฎรกราบบังคม ทูลต่อพระองค์ท่าน ด้วยว่าประตูน้ำคลองบางเหี้ยแห่งนี้ปิดน้ำไม่อยู่ ทำให้น้ำเค็มเข้าไปทำความเสียหายแก่พืชสวนไร่นาของ ชาวบ้านอยู่เป็นประจำ แม้ว่านายช่างจะได้ทำการซ่อมแวมอย่างไรก็ไม่สามารถปิดกั้นน้ำได้ต้องซ่อมแซม ทุกปี พระองค์ท่าน จึงได้โปรดเกล้า ฯ เสด็จเยี่ยม และประทับแรมที่ที่ประตูน้ำคลองบางเหี้ยแห่งนี้เป็นเวลาถึง 3 วัน สมัยนั้นด้วยความเชื่อของ ราษฎรมีความเชื่อกันว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จไป ณ ที่แห่งใด ที่แห่งนั้นก็จะมีความเป็นศิริมงคล น่าแปลกที่นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประตูน้ำคลองบางเหี้ย ก็ไม่มีปัญหาปิดน้ำไม่อยู่อีกเลย และครั้งนี้เองที่พระองค์ได้โปรด เกล้าพระราชทานนามของตำบลแห่งนี้เสียใหม่ว่า “คลองด่าน” และพระราชทานนามวัดบางเหี้ย เป็น “วัดมงคลโคธาวาส” ปัจจุบันประตูน้ำคลองบางเหี้ยได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประตูน้ำชลหารพิจิตร” สำหรับความสำคัญของวัดมงคลโคธาวาส แห่งนี้ ถือว่าเป็นอีกวัดหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการที่มีพระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อ เอ่ยนามแล้วต้องร้อง อ๋อ กันทุกคน โดยเฉพาะ นักนิยมสะสมเครื่องรางไม่มีใครไม่รู้จัก เสือหลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย ด้วยว่าเป็นของขลังที่หายากจนของเก็ เลียนแบบมีมาก กว่าของแท้เสียอีก สำหรับประวัติของ หลวงปู่ปาน วัดมงคลโคธาวาส มีดังนี้
 

หลวง พ่อปาน วัดบางเหี้ย ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อ ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขาย ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มี ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัดบาง
พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า “พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้นลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้างใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไป เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ บางทีก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากในสมัยนั้น
 

ยุค สมัยของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้น อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2411-2453 เป็นช่วงที่ท่านออกธุดงค์ เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา รวมถึงเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ยด้วยครับ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒนนิสิรธกิจ" จวบจนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา และถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2453
หลังจากที่เราได้สัการะรูปหล่อของหลวง ปู่ปานแล้ว เราจึงออกเดินทางต่อไปชมผลิตภัณฑ์ OTOP 5 ดาว ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการ ที่ บริษัท เดอะกลาส จำกัด บริษัทแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย คุณจันทิรา ไชยเสน ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการธุรกิจเครื่องประคับแก้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ดดยผลิตภัณฑ์หลักของที่ เดอะกลาส นี้จะเน้นผลิตเครื่องประดับที่ทำจาก แก้ว โบโรซิลิเกต ซึ่งเป็นแก้วเนื้อแข็ง เน้นทำเครื่องประคับรูปสัตว์เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่ เดิมใครที่คุ้นตา เครื่องประดับรูปสัตว์ที่เป่าด้วยแก้วแล้วละก็ส่วนใหญ่ก็จะเป้นของที่เดอะ กลาสแทบจะทั้งสิ้น จนเมื่อราวๆ ปี พ .ศ. 2548 คุณจันทิรา จึงได้ปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดขึ้น โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า ซึ่งแต่เดิมเป็นเครื่อง ประดับแก้วใสธรรมดา มาเป้นเครื่องประดับแก้วที่มีการตกแต่งด้วยสีสรรต่างๆ และสีทอง ซึ่งขั้นตอนในการทำงาน แม้จะ มากขึ้น แต่ก็เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า จน บริษัท เดอะกลาส จำกัด สามารถมีผลประกอบการที่น่าพอใจ ปัจจุบันลูกค้าหลักของ บริษัท เดอะกลาส จำกัดจะเป็นลูกค้าต่างประเทศถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และชิ้นงานส่วนใหญ่แล้ว จะเน้นทำตามสั่ง ลูกค้าต่างประเทศ ที่เป็นหลักใหญ่ได้แก่ ประเทศ เอสโตรเนีย คูเวต อิหร่าน ญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกา ฯลฯ นักท่องเที่ยวบ้านเราที่เดินทางไปต่างประเทศแล้วซื้อเครื่องประดับรูปสัตว์ ทำด้วแก้วกลับมาเมืองไทย อย่าเพิ่งดีใจไปว่าได้ของนอก พลิกไปพลิกมาอาจจะละม้ายคล้ายสินค้าที่สวนจตุจักร ซึ่งเป็นหน้าร้านของ บริษัท เดอะกลาส จำกัด ซึ่งมีเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ที่ โครงการ 19 ซอย 9 เปิดบริการทุกวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สนใจสินค้าสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0 2272 5855 หรือที่ โทรศัพท์มือถือ 081 3481399, 081 6653506 ส่วนที่สำนักงานใหญ่ (บางพลี) โทร. 02 3160898, 02 3169443 เราเดินชมสินค้าของทาง บริษัท เดอะกลาส จำกัด ด้วยความชื่นชมในฝีมือและการออกแบบที่ลงตัว ทั้งความประณีตและความสวยงาม

สินค้า เป็นพันๆ รายการถูกจัดวางเรียง โชว์ในโชว์รูมจนลานตาไปหมด คุณจันทิรา บอกกับทีมงานพวกเราว่า นี่ยังมีสินค้าอีกมากที่ยังไม่ได้นำมาโชว์ เพราะส่วนใหญ่แล้วทำตามสั่ง ของบางแบบจึงไม่ไม่มีมาโชว์ให้ได้เห็น เมื่อเดินชมจนสมควรแก่เวลา คุณจันทิรา จึงได้พา พวกเราเดินเข้าไปชมกรรมวิธีขั้นตอนการผลิตชิ้นงานในโรงงาน ซึ่งก็ใกล้เวลาเลิกงานแล้ว เราจึงได้ชมการสาธิต แบบผลิต ตัวงานจริงๆ จากแท่งแก้วกลมธรรมดาผ่านเปลวไฟที่หัวพ่นเป่าจนได้ที่ เพียงแค่พนักงานดึงๆ ยืดๆ แก้วที่หลอม ละลาย หมุนไปหมุนมาอีกไม่ถึงนาที ก็ได้ตัวแพะภูเขามาให้เราได้ชมกัน คุณจันทิราบอกกับพวกเราว่า ขั้นตอกการทำเป็นรูปตัวสัตว์ นั้นแล้วแต่ว่าช่างฝีมือคนใดจะถนัดแบบไหน แต่โดยมากแล้ว ช่างของที่นี่มักจะทำรูปสัตว์กันได้แทบจะทุกประเภทที่มีใน แคตตาล๊อก จากโต๊ะเป่าแก้วเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานและความสมบูรณ์ ก่อนที่จะทำความสะอาดเพื่อนำ ไปลงสีตามต้องการ ซึ่งถ้าเป็นสีทองก็ต้องผ่านขั้นตอนกระบวการอบด้วยความร้อนอีกครั้ง เพื่อให้สีทองติดแน่นเป็นเนื้อเดียว กับผิวแก้วและมีความแวววาว และขั้นตอนสุดท้ายต้องมีการตกแต่งชิ้นงานก่อนที่จะบรรจุหีบห่อเพื่อนำส่ง ลูกค้า

เรา เดินชม ขั้นตอนการผลิตอยู่พักใหญ่ก็มาสะดุดกับเด็กตัวน้อยที่กำลังขมีขมันเป่าแก้ว ด้วยท่าทางทะมัดทะแมง และมีสมาธินิ่งมาก คุณจันทิราบอกกับเราว่า “อ๋อ ลูกจ้างพิเศษค่ะ ลูกดิฉันเอง ได้ค่าจ้างเป็นค่าขนม เหมือนกับคนงานในโรงงานคนหนึ่งนี่แหละ เริ่มฝึกไม่กี่เดือนแต่ก็พอที่จะทำรูปสัตว์ง่ายๆ ได้แล้ว” เห็นแล้วต้องขอชมเลยครับ อนาคตไกลแน่หนู นอกจากที่สำนักงานใหญ่(บางพลี) แล้ว บริษัท เดอะกลาส จำกัด ยังมีฐานผลิตย่อยอยู่ต่างจังหวัด กระจายไปทั่วประเทศ กว่า 200 แห่ง หลักๆ จะตั้งอยู่ที่ จังหวัด สระบุรี และกำแพงเพชร สนใจจะนำสินค้าไปจำหน่าย ติดต่อสายตรงได้ที่ บริษัท เดอะกลาส จำกัด เลยครับ 
Day 8 สนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ-ตลาดคลองสวนร้อยปี
เช้า วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่พวกเราจะใช้ชีวิตเดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัด สมุทรปราการ หลังจากรับประทานอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้น พวกเราจึงออกเดินทางมุ่งหน้าสู่อำเภอบางบ่อเพื่อเดินทางท่องเที่ยวระหว่าง เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนบางนา-ตราดบริเวณกิโลเมตรที่27 (ฝั่งขาเข้ากรุงเทพ)พวกเราก็เดินทางมาถึงสนามกอล์ฟเดอะวินเทจ คลับซึ่งตั้งอยู่บนถนนปานวิถี ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสุมทรปราการ และที่บริเวณล๊อบบี้ของสนามกอล์ฟวินเทจ พวกเราได้พบกับประชาสัมพันธ์สาวสวยของสนามกอล์ฟเดอะวินเทจ คลับ

ซึ่ง ให้การต้อนรับเราเป็นอย่างดีพร้อมกับพาพวกเรานั่งรถกอล์ฟเที่ยวชม บรรยากาศภายในสนามกอล์ฟเดอะวินเทจ คลับและเล่าถึงประวัติความเป็นมาของสนามกอล์ฟแห่งนี้ให้พวกเราฟังว่า
 สนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ ตั้งอยู่บนถนนปานวิถี ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ จุดเชื่อมต่อ ระหว่าง ถ.บางนา-ตราด กม.ที่27 (ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ) ภายใต้การบริหารงานในเครือเซ็นทรัล เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2539 สนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ เป็นสนามกอล์ฟขนาดมาตรฐาน 18 หลุม พาร์ 72 ความยาว 6,720 หลา ออกแบบโดย Arthur Hills and Associates นายกสมาคมนักออกแบบสนามกอล์ฟ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในโลก และออกแบบสนามกอล์ฟมาแล้วมากกว่า 100 สนาม สนามกอล์ฟได้รับการออกแบบสไตล์ Classic Desing ในลักษณะ Rolling Terrain เพื่อให้นักกอล์ฟทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับความสามารถ เล่นได้อย่างสนุกสนาน
อาคาร คลับเฮาส์ ออกแบบในสไตล์ Tudor ของอังกฤษพื้นที่ประมาณ 6,000 ตารางเมตรสวยงามเป็นธรรมชาติ ร่มรื่นด้วยน้ำพุขนาดใหญ่กลางคลับเฮาส์ เน้นความสะอาดสบายของนักกอล์ฟ และผู้มาใช้บริการเป็นหลัก โดยพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดเป็นชั้นเดียว แยกห้องล็อคเกอร์ชาย และหญิง กับส่วนสปอร์ตคอมเพล็กซ์ ไว้คนละด้าน คั่นกลางด้วยห้องอาหาร และห้องจัดเลี้ยง เพื่อสะดวกในการใช้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนบริเวณ ล็อคเกอร์ ชาย – หญิง มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย อย่างเช่น สตีมรูม , จากุชชี่ , ห้องนั่งเล่น , ห้องนวดแผนโบราณ นวดตัวและฝาเท้า เพื่อให้ท่านนักกอล์ฟได้ผ่อนคลาย ก่อนและหลัง การออกรอบในแต่ละครั้ง


ใน ส่วนของห้องอาหาร มีทั้งอาหารไทย , จีน ,ฝรั่ง และ อาหารญี่ปุ่น พร้อมอาหารจานโปรดหรืออาหารพิเศษที่มีชื่อเสียง ประจำสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ อาทิ ยำปลาสลิด , หรือจะเป็นข้าวผัดปลาสลิด เป็นต้น โดย เชฟฝีมือเยี่ยมจากโรงแรมระดับ 5 ดาว ไว้คอยต้อนรับนักกอล์ฟทุกท่านที่เหน็ดเหนื่อยจากการออกรอบ นอกจากนี้ท่านนักกอล์ฟทุกท่านทีมาใช้บริการเป็นกรุ๊ป เช่น การปิดสนามสำหรับการแข่งขันและจัดเลี้ยง หรือสัมมนา ทางสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ มีห้องจัดเลี้ยงให้กับท่านนักกอล์ฟเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆได้ตั้งแต่ 10 – 250 ท่าน ไม่ว่าจะเป็นอาหารบุฟเฟต์หรือ เซ็ทเมนูราคาที่เป็นกันเองทางสนามยังมี กรีนซ้อมพัต และสนามไดร์ มีความยาวถึง 350 หลา ไว้สำหรับท่านนักกอล์ฟได้ซ้อมก่อนการออกรอบ สนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสภาพสนามใหม่ตลอดเวลา โดยผู้บริหารมืออาชีพอย่าง คุณสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ เพื่อให้ท่านนักกอล์ฟได้ทดสอบความท้าทาย และเป็นการพัฒนาฝีมือของท่านนักกอล์ฟด้วย รวมทั้งยังใช้เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันกอล์ฟระดับอาชีพมากที่สุดแห่ง หนึ่ง บวกกับความโดดเด่นและความหลากหลายโดยแต่ละหลุมมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวแฝง ความยาก ง่าย ท้าทายฝีมือท่านนักกอล์ฟ ตลอดการออกแบบรอบทั้ง 18 หลุมเลยทีเดียว

สนาม กอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ต้อนรับท่าน และคณะในโอกาสอันใกล้นี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายการตลาด โทรศัพท์ 02-707-3820-5 โทรสาร 02-707-3829 เว็บไซด์www.vintagethaigolf.com E-mail : marketing@vintagethaigolf.com
ประชา สัมพันธ์สาวสวยของสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับท์พาพวกเราเที่ยวชมบรรยากาศของสนามกอล์ฟเดอะวินเทจคลับ ซึ่งกำลังคับคั่งไปด้วยนักกอล์ฟซึ่งมาใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก จากนั้นประชาสัมพันธ์ของสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับได้เอ่ยปากชักชวนพวกเราให้ลองออกรอบตีกอล์ฟกันดูบ้าง แต่เผอิญพวกเราไม่ถนัดในเรื่องการตีกอล์ฟหลายคน จะถนัดในการตีกบมากกว่า จึงตอบปฎิเสธไป จากนั้นจึงกล่าวคำอำลาประชาสัมพันธ์ของสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับที่ให้การต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดีในการเดินทางมาเยี่ยมชมสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับในครั้งนี้
จากสนามกอล์ฟ เดอะวินเทจ คลับ พวกเราขับรถมาเรื่อยๆบนถนนสายบางนา-ตราด ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 29 ขวามือหน้าปั้มน้ำมัน ป.ต.ท มีทางเลี้ยวขวาถนนลาดยางมีป้ายบอกเส้นทางสู่ตลาดคลองสวนร้อยปีตลอดทาง และในที่สุดพวกเราก็เดินทางมาถึงตลาดคลองสวนร้อยปี เผอิญวันนี้เป็นวันอาทิตย์บรรยากาศบริเวณตลอดคลองสวนร้อยปีกำลังคับคั่งไป ด้วยนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ตลอดจนประชาชนทั่วไปเดินทางมาจับจ่ายซื้อของกันในบริเวณตลาดคลองสวนร้อยปี แห่งนี้ หลังจากที่พวกเราหาสถานที่จอดรถเหมาะๆเป็นที่เรียบร้อยจากนั้นจึงเริ่มต้น ออกเดินเท้าเที่ยวชมและซื้อสินค้าของฝากคนทางบ้านก่อนเดินทางกลับเข้าสู่ กรุงเทพฯ
 ประชาสัมพันธ์สาวสวยของสนามกอล์ฟเดอะวินเทจคลับก็พาพวกเราเที่ยวชมบรรยากาศ ของสนามกอล์ฟเดอะวินเทจคลับ ซึ่งกำลังคับคั่งไปด้วยนักกอล์ฟซึ่งมาใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก จากนั้นประชาสัมพันธ์ของสนามกอล์ฟเดอะวินเทจคลับ ได้เอ่ยปากชัดชวนพวกเราให้ลองออกรอบตีกอล์ฟกันดูบ้าง แต่เผอิญพวกไม่ถนัดการตีกอล์ฟหลายคนจะถนัดในการตีกบมากกว่า จึงตอบปฏิเสธไป จากนั้นจึงกล่าวคำอำลาประชาสัมพันธ์ของ สนามกอล์ฟเดอะวินเทจคลับ ที่ให้การต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดีในการเดินทางมาเยี่ยมชมสนามกอล์ฟเดอะวิ นเทจคลับ ในครั้งนี้
 จากสนามกอล์ฟเดอะวินเทจคลับ พวกเราขับรถมาเรื่อยๆบนถนนสายบางนา-ตราด ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 29 ขวามือหน้าปั้มน้ำมันป.ต.ท. มีทางเลี้ยวขวาถนนลาดยางมีป้ายบอกทางสู่ตลาดคลองสวนร้อยปีตลอดทาง และในที่สุดพวกเราก็เดินทางมาถึงตลาดคลองสวนร้อยปี เผอิญวันนี้เป็นวันอาทิตย์บรรยากาศบริเวณตลาดคลองสวนร้อยปีกำลังคับคั่งไป ด้วยนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯตลอดจนประชาชนทั่วไปเดินทางมาจับจ่ายซื้อของ กันในบริเวณตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้ หลังจากที่พวกเราหาสถานที่จอดรถเหมาะๆเป็นที่เรียบร้อย จากนั้นจึงเริ่มต้นออกเดินเท้าเที่ยวชมและซื้อสินค้าของฝากคนทางบ้านก่อน เดินทางกลับเข้าสู่กรุงเทพฯ

สำหรับ ตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ รอยต่ออำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราโดยมีคลองนาคราช เป็นเส้นแบ่งเขตแดนของทั้งสองจังหวัด ตลาดคลองสวนร้อยปีเป็นตลาดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ริมคลองประเวศน์บุรีรมย์ เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ สำหรับการเดินเข้าสู่กรุงเทพฯในอดีตนิยมใช้เรือเมล์ขาวของนายเลิศเพียงลำ เดียวเท่านั้น ที่แล่นจากประตูน้ำท่าถั่ว(ฉะเชิงเทรา)ผ่านตลาดคลองสวนก่อนจะแล่นเข้าสู่ ประตูน้ำ(วังสระปทุม)กรุงเทพฯ สำหรับอดีตที่ผ่านมาตลาดคลองสวนแห่งนี้เต็มไปด้วยบรรยากาศของความคึกคัก สินค้าสินค้าขายดีไปหมดทุกอย่างภายในตลาดมีทั้งโรงหนัง,โรงฝิ่น,วิกยี่เก แม่ค้าพ่อค้าพูดจาปราศรัยอย่างมีไมตรีเป็นกันเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจในตลาดแห่งนี้คือ บรรยากาศแบบโบราณ โครงสร้างของตลาดเป็นอาคารไม้แบบเก่าๆ ป้ายโฆษณาสินค้าในอดีตก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ ป้ายชื่อร้านค้าที่เก่าตามกาลเวลา ขวดน้ำมันมะเน็ดรุ่นเก่าเป็นของแปลกตา ป้ายโฆษณาน้ำอัดลม กระป๋องนมตราหมีรุ่นเก่าที่ทำจากอลูมิเนียม ของเล่นรุ่นคุณพ่อคุณแม่ยังเป็นหนุ่มสาว ก็ยังหาชมได้ภายในตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้ สินค้าในอดีตที่หาดูได้ยากในปัจจุบันเป็นที่ต้องการของนักสะสมก็ยังสามารถหา ดูได้ในตลาดแห่งนี้ ตลาดคลองสวนร้อยปีเป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้กำกับภาพยนต์ที่แสวงหาฉาก บรรยากาศย้อยยุคในอดีตเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ย้อนยุค ร้านกาแฟที่เป็นต้นตำหรับของกาแฟโบราณและสภากาแฟที่มีผู้เฒ่าผู้แก่มานั่ง สนทนาในทุกๆเรื่องอย่างออกรสชาติ ร้านตัดผมรุ่นเก่าที่ตัดผมให้กับคุณปู่ถึงรุ่นคุณพ่อแม้แต่รุ่นลูกก็ยังเปิด ให้บริการอยู่เช่นเดิม ซึ่งภายในร้านตัดผมเต็มไปด้วยรูปแบบทรงผมของดาราภาพยนตร์ทั้งไทยและเทศ รุ่นเก่าๆอาทิ เจมส์ดีน, อเลนเดอลอง, สตีฟแมคควีน, มิตร ชัยบัญชา ไม่เว้นแม้แต่นักร้องยุคซิคตี้อาทิเช่น เอลวิส เพลสรีย์ และ เดอะบีทเทิ้ล เป็นต้น แต่สิ่งที่น่าสนใจในอีกอย่างหึ่งก็คือ ศาลเจ้า,มัสยิด,วัด จะตั้งอยู่ภายในละแวกเดียวกันทั้งหมด ซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ทุกๆคนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็อยู่ร่วมกันในตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้อย่าง มีความสุข วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตลาดคลองสวนจะอยู่รวมกันหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวไทยพุทธ, ชาวไทยจีน, ชาวไทยมุสลิม ซึ่งเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของคนหลายเชื้อชาติได้อย่างลงตัวและเห็นได้อย่าง ชัดเจน โรงเจ,วัดและสุเหร่า จะตั้งอยู่ในละแวกเดียวกัน การแสดงอุปรากรจีนหรือเรียกกันว่า “งิ้ว” ตลอดจนยี่เก ก็ยังแสดงสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้คือ ร้านขายของทุกๆร้านจะเปิดขายของทุกวันไม่มีวันหยุดตั้งแต่เช้าจรดค่ำ บรรยากาศเมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นอย่างไร ตลาดคลองสวนร้อยปีก็ยังมีสภาพอย่างนั้น เข็มนาฬิกาบอกเวลารู้สึกจะเดินทางเชื่องช้ามาก เมื่อได้มีโอกาสมาเดินเที่ยวชมตลาดคลองสวนแห่งนี้ ในทุกๆวันจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเดินเที่ยวชมพร้อมกับเลือกซื้อสินค้าที่ถูกใจกัน อย่างคับคั่งโดยเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่เป็นวันหยุดตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้จะคับคั่งเป็นพิเศษ เสียงเพลงย้อนยุคจากน้ำเสียงของหม่อมถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ยังคงส่งเสียงเจื้อยแจ้วตามสายออกไปยังลำโพงที่ติดตั้งอยู่ทั่วบริเวณตลาด ช่างเป็นเสียงเพลงที่เข้ากับบรรยากาศคลองสวนร้อยปีแห่งนี้ดีแท้

สำหรับ ผู้ริเริ่มสร้างตลาดแห่งนี้คือ บรรพบุรุษขอลตระกูลอัศวาณิชย์ "เหล่ากง" ของตระกูลนี้ แซ่เบ๊ เดินทางเข้ามาเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกับชาวจีนในสมัยรัชกาลนั้นที่มักจะกระจายไปตามทางน้ำจากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดต่างๆทั่วภาคกลาง เริ่มต้นทำมาหากินค้าขายตามชุมชนริมแม่น้ำสายต่างๆจนคึกคัก พัฒนามาเป็นตลาดโบราณย่านต่างๆเช่น สามชุกที่สุพรรณบุรี ลุ่มน้ำแม่กลองก็ที่อัมพวา ดำเนินสะดวก เรื่อยขึ้นเหนือไปจนถึง อุทัยธานี นครสวรรค์ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเลยมาจนถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ไปจนถึงจันทบุรี ชาวจีนยุคนั้นอพยพมาพร้อมกับ “โผว์ฮาว” ทางด้านการค้าขาย การผลิต ตลอดจนการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เช่น การย้อมผ้า,ทำอาหาร,ทำขนม,ปลูกผัก,ปั้นถ้วยชามโอ่งไห,ตัดเย็บเสื้อผ้า,ช่าง ไม้,ช่างกลึงเหล็กฯลฯ ชาวจีนเหล่านี้เดินทางเข้ามาโดยไม่ต้องมีการส่งเสริมจาก BOI หนีร้อนมาพึ่งเย็นมาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย และบรรดาเหล่ากงนี้ก็มาก่อร่างสร้างตัวมีลูกเมียอยู่ที่เมืองไทยและหนึ่งใน บรรดา “เหล่ากง”นี้ได้แก่คุณบรรจง อัศวาณิชย์ หรือที่ชาวตลาดคลองสวนเรียกกันว่า “อาเสี่ย” ทำกิจการโรงสีและเป็นผู้สร้างตลาดคลองสวนแห่งนี้ขึ้นมาสำหรับโรงสีของตระกูล นี้ตั้งอยู่บริเวณตรงหัวตลาด ส่วนตัวตลาดเป็นเรือนแถวริมน้ำ ยาวประมาณ 500 เมตร จนจรดคลองนาคราชสุดเขตจังหวัดสมุทรปราการพอดี ต่อมามีคหบดีจีนแซ่ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทราอีกฟากหนึ่งของคลองนาคราชก็ สร้างตลาดอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาด้วยรูปลักษณ์แบบเดียวกันเป๊ะต่อยาวไปอีก 500 เมตร ตลาดคลองสวนของตระกูลแซ่เบ๊และตลาดเทพราชของตระกูลแซ่ตั้ง จึงเป็นคู่แข่งกันมาโดยตลอดและท้ายที่สุด ทายาทของทั้งสองตระกูลก็เลยดองเป็นทองแผ่นเดียวกัน ทำการสร้างสะพานข้ามคลองนาคราชให้ตลาดทั้งสองเชื่อมติดต่อเข้าหากันชาวบ้าน จึงสามารถเดินข้ามคลองไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันได้โดยสะดวกตั้งแต่บัดนั้นเป็น ต้นมาสองตลาดก็เลยเป็นตลาดแห่งเดียวกันคือตลาดคลองสวนดังที่เห็นในปัจจุบัน นี้ กิจการค้าขายในตลาดคลองสวนคึกคักเรื่อยมาจนในที่สุดเมื่อความเจริญรุ่งเรือง เริ่มเยื้องกรายเข้ามามีถนนตัดใหม่เกิดขึ้นมากมายหลายสาย การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดระดับความสำคัญลงไปเรื่อยๆจนในที่สุดตลาดคลองสวนที่ เคยคึกคักก็เริ่มซบเซาลงเรื่อยๆเหมือนตลาดโบราณริมน้ำทุกๆแห่งและเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา มีโครงการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ตลาดและชุมชนย่านคลองสวนขึ้นมา ตลาดคลองสวนแห่งนี้จึงฟื้นคืนชีพมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งปกติในวันธรรมดาชาวไร่ชาวนาละแวกนี้จะเดินทางมาหาซื้อของกินของใช้ใน ชีวิตประจำวันกันที่ตลาดคลองสวนแต่ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตลาดคลองสวนแห่งนี้จะคึกคักเป็นพิเศษกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ นักท่องเที่ยวจากจังหวัดต่างๆเดินทางมาท่องเที่ยวดูร่องรอยของอดีตที่ยังคง หลงเหลืออยู่


พวก เราเดินเท้าเที่ยวชมตลาดคลองสวนไปพลางแวะซื้อขนมนมเนยแบบโบราณรับประทานไป ด้วยเรียกว่าเดินไปกินไปตลอดทาง สำหรับบรรยากาศหน้าตาของร้านรวงต่างๆภายในตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้ยังคง สภาพเดิมอยู่มาก ป้ายชื่อร้านเก่แก่ยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วไปเช่น บ้านฮั้วโอสถ ขายยา,ไทยสง่า ซ่อมนาฬิกา หลายร้านมีของเก่าๆรูปภาพเก่าๆ เช่น ขวดโคล่าเก่าๆ ก็เอามาใส่ตู้โชว์เก่าๆตั้งไว้หน้าร้าน ตลาดทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่เลียบคลองประเวศน์บุรีรมย์มีความยาวประมาณหนึ่ง กิโลเมตรเศษ มีจำนวนร้านทั้งหมด 220 ร้าน พวกเราค่อยๆเดินเที่ยวชมไปเรื่อยๆเมื่อยนักก็แวะพักนั่งกินน้ำกินท่ากันที่ ร้านกาแฟโบราณร้านเจ๊เกียว กาแฟแป๊ะหลีคนดังอายุ 82 ปีแล้วก็ยังยืนชงกาแฟอยู่,ไข่เค็มเจ๊สุ,ฮ่อยจ๊อกรรเชียงปูของแม่อำไพ,กุน เชียงแป๊ะงึ้นสูตรโบราณ ส่งทั้งตลาดคลองสวนแห่งนี้มีร้านจำหน่ายอาหารของกินตลอดจนขนมนมเนยต่างๆให้ พวกเราได้เลือกชิมเลือกซื้ออยู่มากมายหลายสิบร้าน พวกเรารับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านเจ๊เจ็ง ก๋วยเตี๋ยวเป็ดพะโล้ชื่อดังในตลาดคลองสวน ตบท้ายด้วยขนมชั้นแม่สุรียืรสชาติหอมนุ่มนวลและไม่หวานจนเกินไป นอกจากร้านอาหารและขนมสูตรโบราณแล้วยังมีร้านขายของเล่นและขนมเค้กสูตรโบราณ สมัยคุณพ่อยังนุ่งกางเกงขาสั้นเดินดูดไอติมไปโรงเรียน คุณแม่ยังผูกคอซองทำท่าเดินอายคุณพ่อ เป็นขนมยอดฮิตเมื่อประมาณ 40-50 ปีก่อนเช่น ขนมโก๋ กินขนมโก๋ไปต้องกินน้ำตามเข้าไปทันทีถ้าไม่เช่นนั้นติดคอ,หมากฝรั่งบุหรี่ ตราแมวดำ, ขนมในกล่องลูกเต๋ารูปน้ำเต้า กุ้ง หอย ปู ปลา ช้าง เสือ หมี เก้ง และอีกสารพัดสรรพสัตว์ที่พวกจิ๊กโก๋หลังวังในอดีตนิยมนำมาเขย่าเอาขันครอบ เล่นพนันกินตังค์กันในยามว่าง รวมทั้งของเล่นที่ทำมาจากสังกะสีไขลานต่างๆตลอดจนเรือสังกะสีที่ต้มน้ำด้วย เทียนไขก็ยังคงมีวางขายอยู่ภายในตลาดคลองสวนร้อยปีแห่งนี้


พวก เราเดินเที่ยวชมตลาดคลองสวนร้อยปีจากหัวตลาดยันท้ายตลาดมือสองข้างพะรุง พะรังไปด้วยของฝากของที่ระลึกและของกินมากมายหลากหลายชนิด เดินไปเดินมาแข้งขาเริ่มสั่นเพราะความเมื่อยล้า จนสมควรแก่เวลา ได้เวลาลาจากตลาดคลองสวนร้อยปีที่เพียงเท่านั้น ก่อนลาจากตลาดคลองสวนพวกเราไม่ลืมที่จะกราบอำลาศาลเจ้าพ่อคลองสวนซึ่งเป็น ที่เคารพบูชาของชาวบ้านภายในตลาดคลองสวนมานมนานหลายชั่วอายุคน ใครที่ยังไม่มีลูกอยากได้ลูกชายยิ่งพลาดไม่ได้มีวิธิขอเขียนบอกไว้อย่าง ละเอียดข้างศาลเจ้า ให้ใช้ผลไม้ 5 อย่างและของใช้เด็กอ่อน ถ้าจะให้แน่นอนต้องมีงิ้วแก้บน เดือนมีนาคมพองิ้วแสดงตอนไหว้เทวดา งิ้วจะอุ้มตุ๊กตาออกมาด้วย ให้รับตุ๊กตาไท้จื้อจากมืองิ้วไปวางไว้ที่กระถางธูปแล้วอธิษฐานขอให้ได้ลูก ชาย รับรองจะสัมฤทธิผลสมใจปรารถนาภายในเก้าเดือนลูกชายจะคลานออกมาจากท้องแม่ เป้นขบวนจนเลี้ยงกันไม่หวั่นไม่ไหวแน่นอน


ตลาด คลองสวนร้อยปีแห่งนี้ก็เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวหลายสิบแห่งในจังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งถ้ามีโอกาสเดินทางมาท่องเที่ยวยังเมืองสมุทรปราการแล้วท่านผู้อ่านไม่ ควรพลาดที่จะเดินทางมาเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะท่านผู้อ่านประเภทขิง แก่ เหมือนกับได้เข้าเครื่องย้อนเวลากลับมาระลึกถึงอดีตในช่วงเวลาที่ยังเป็นขิง อ่อนอยู่ ส่วนนักท่องเที่ยวประเภทข่าตะไคร้ใบมะกรูด ก็ไม่ควรพลาดเดินทางมาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีขนมอร่อยๆให้เลือกชิมมากมาย ส่วนพวกเราขอกราบลาท่านผู้อ่านเดินทางกลับกรุงเทพฯแต่เพียงเท่านี้แหละครับ บ๊าย บาย.
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.idotravellers.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น